ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรมประมง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 50: บรรทัด 50:
| รัฐมนตรี10_ชื่อ =
| รัฐมนตรี10_ชื่อ =
| รัฐมนตรี10_ตำแหน่ง =
| รัฐมนตรี10_ตำแหน่ง =
| หัวหน้า1_ชื่อ = [[ดร.]]วิมล จันทโรทัย<ref>http://www.dailynews.co.th/politics/346654</ref>
| หัวหน้า1_ชื่อ = อดิศักดิ์ พร้อมเทพ
| หัวหน้า1_ตำแหน่ง = อธิบดี
| หัวหน้า1_ตำแหน่ง = อธิบดี
| หัวหน้า2_ชื่อ = มีศักดิ์ ภักดีคง
| หัวหน้า2_ชื่อ = มีศักดิ์ ภักดีคง

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:44, 20 เมษายน 2559

กรมประมง
Department of Fisheries
ไฟล์:โลโก้กรมประมง150.jpg
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้งพ.ศ. 2476
สำนักงานใหญ่50 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
งบประมาณประจำปี4,055.498 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • อดิศักดิ์ พร้อมเทพ, อธิบดี
  • มีศักดิ์ ภักดีคง, รองอธิบดี
  • จูอะดี พงศ์มณีรัตน์, รองอธิบดี
  • ว่าง, รองอธิบดี
เว็บไซต์http://www.fisheries.go.th

กรมประมง (อังกฤษ: Department of Fisheries) เป็น หน่วยงานของรัฐที่ทำการศึกษา ค้นคว้า สำรวจ วิจัย วิเคราะห์ ทดลอง ด้านวิชาการทุกสาขาวิชาการของประมง ตลอดจนทำการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนา อาชีพที่เกี่ยวกับการประมงของประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต

เดิม กรมการประมง เป็นกรมสังกัด กระทรวงเศรษฐการ (ราชการส่วนเกษตร) [2] และย้ายมาสังกัดกระทรวงเกษตราธิการ ในปี พ.ศ. 2484[3] ปัจจุบันเป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

หน่วยงานในสังกัด

ราชการบริหารส่วนกลาง[4]

  • สำนักงานเลขานุการกรม
  • กองคลัง
  • กองการเจ้าหน้าที่
  • กองแผนงาน
  • กองประมงต่างประเทศ
  • กองตรวจสอบรับรองมาตรฐานคุณภาพสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ
  • กองพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ
  • กองพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการประมง
  • สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด
  • สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง
  • สำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล
  • สำนักบริหารและจัดการด้านการประมง
  • สถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ
  • กลุ่มตรวจสอบภายใน
  • กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
  • กลุ่มอำนวยการและประสานงานวิชาการ
  • สำนักงานตรวจราชการกรม
  • ศูนย์สารสนเทศ

ราชกรบริหารส่วนภูมิภาค

  • สำนักงานประมงจังหวัด
  • ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด 31 หน่วยงาน และสถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำ
  • ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง 15 หน่วยงาน และสถาบันวิจัยอาหารสัตว์น้ำชายฝั่ง
  • ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเล 5 หน่วยงาน
  • ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล 1 หน่วยงาน
  • ศูนย์วิจัยและตรวจสอบพันธุ์สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ 3 หน่วยงาน
  • ศูนย์วิจัยและทดสอบพันธุ์สัตว์น้ำ 5 หน่วยงาน
  • ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืด 7 หน่วยงาน และหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืด 10 หน่วยงาน
  • ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเล 5 หน่วยงาน
  • สถานีประมงน้ำจืด 14 หน่วยงาน
  • สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง 5 หน่วยงาน
  • ส่วนตรวจการค้าสัตว์น้ำ 1 หน่วยงาน และด่านตรวจสัตว์น้ำ 6 หน่วยงาน

งานวันประมงน้อมเกล้าฯ

งานประมงน้อมเกล้าฯ เป็นกิจกรรมการแสดงนิทรรศการของการประมงในประเทศไทย โดยเน้นไปที่ปลาสวยงามเป็นหลัก จัดขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จัดงานดังกล่าวขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 ณ บริเวณสวนอัมพร[5]

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
  2. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช ๒๔๗๖
  3. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช ๒๔๘๔
  4. http://www.fisheries.go.th/fish/web/new_struc1.html
  5. หน้า ๑๗๔, ๘๔ ปี สถาปนากรมประมง, วารสารพิเศษของกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๕๓

แหล่งข้อมูลอื่น