ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นักเทคนิคการแพทย์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sutthinan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
มาร (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
== '''เทคนิคการแพทย์ ทนพ.หรือ ทนพญ.''' ==
== '''เทคนิคการแพทย์ ทนพ.หรือ ทนพญ.''' ==
({{lang-en|Medical technologist หรือ Medical laboratory technologist หรือ Medical Laboratory Scientist}}) เป็นวิชาชีพทางการแพทย์ ที่ปฏิบัติงานภายใน[[ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์]] หรือ [[ห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตร]] ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. 2547 ได้ให้ความหมายของวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ไว้ว่า เป็นวิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์เพื่อให้ได้สิ่งตัวอย่างทางการแพทย์ และการดำเนินการโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการตรวจ ทดสอบ วิเคราะห์ วิจัย และการรายงานผลการตรวจ เพื่อวินิจฉัย การติดตามการรักษา การพยากรณ์โรค และการป้องกันโรค หรือเพื่อประเมินภาวะสุขภาพ และใช้คำนำหน้านามว่า ทนพ.หรือ ทนพญ. นำหน้าชื่อสกุลได้<ref>[http://www.thaimedtech.org/MTLAW2547.pdf พระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. 2547] </ref>
(lang-en|Medical technologist หรือ Medical laboratory technologist หรือ Medical Laboratory Scientist) เป็นวิชาชีพทางการแพทย์ ที่ปฏิบัติงานภายใน[[ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์]]
หรือ [[ห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตร]] ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. 2547 ได้ให้ความหมายของวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ไว้ว่า
เป็นวิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์เพื่อให้ได้สิ่งตัวอย่างทางการแพทย์ และการดำเนินการโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการตรวจ ทดสอบ วิเคราะห์ วิจัย
และการรายงานผลการตรวจ เพื่อวินิจฉัย การติดตามการรักษา การพยากรณ์โรค และการป้องกันโรค
หรือเพื่อประเมินภาวะสุขภาพ และใช้คำนำหน้านามว่า ทนพ.หรือ ทนพญ. นำหน้าชื่อสกุลได้<ref>[http://www.thaimedtech.org/MTLAW2547.pdf พระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. 2547] </ref>


== ประวัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ในประเทศไทย ==
== ประวัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ในประเทศไทย ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:04, 2 มิถุนายน 2554

เทคนิคการแพทย์ ทนพ.หรือ ทนพญ.

(lang-en|Medical technologist หรือ Medical laboratory technologist หรือ Medical Laboratory Scientist) เป็นวิชาชีพทางการแพทย์ ที่ปฏิบัติงานภายในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ หรือ ห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตร ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. 2547 ได้ให้ความหมายของวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ไว้ว่า เป็นวิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์เพื่อให้ได้สิ่งตัวอย่างทางการแพทย์ และการดำเนินการโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการตรวจ ทดสอบ วิเคราะห์ วิจัย และการรายงานผลการตรวจ เพื่อวินิจฉัย การติดตามการรักษา การพยากรณ์โรค และการป้องกันโรค หรือเพื่อประเมินภาวะสุขภาพ และใช้คำนำหน้านามว่า ทนพ.หรือ ทนพญ. นำหน้าชื่อสกุลได้[1]

ประวัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ในประเทศไทย

วิชาชีพเทคนิคการแพทย์ในประเทศนั้น มีประวัติความเป็นมา[2] ดังนี้

  • พ.ศ. 2487 เนื่องจาก คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ขาดแคลนบุคลากรที่จะทำการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ จึงนำพยาบาลมาฝึกหัดในการตรวจวิเคราะห์ ซึ่งเป็นการใช้บุคลากรไม่ตรงตามสาขาวิชาที่เรียนมา ทางคณะฯ จึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อร่างหลักสูตรในการผลิตบุคลากรทางห้องปฏิบัติการ แต่โครงการต้องระงับไป เนื่องจากอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
  • พ.ศ. 2497 อธิบดีกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้ขอความช่วยเหลือจากองค์การบริหารวิเทศกิจแห่งสหรัฐอเมริกา (USAID ในปัจจุบัน) และได้ส่ง นพ.วีกูล วีรานุวัตติ์ และ นพ.เชวง เดชะไกศยะ ไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับเทคนิคการแพทย์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 1 ปี
  • พ.ศ. 2499 ได้เริ่มการก่อสร้างโรงเรียนเทคนิคการแพทย์ ขึ้นที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และมีพระราชกฤษฎีจัดตั้ง “โรงเรียนเทคนิคการแพทย์” สังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขโดยนักศึกษาเทคนิคการแพทย์รุ่นแรกของประเทศไทย สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาเทคนิคการแพทย์ (อทกพ.)
  • พ.ศ. 2500 มีพระราชกฤษฎีจัดตั้ง "คณะเทคนิคการแพทย์ " ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ซึ่งมีศาสตราจารย์นายแพทย์วีกูล วีรานุวัตติ์ เป็นคณบดีท่านแรก ซึ่งนับเป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์เทคนิคการแพทย์ในประเทศไทย นับแต่นั้นเป็นต้นมา
  • พ.ศ. 2503 คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ได้ปรับขยายหลักสูตรจากอนุปริญญา เป็นระดับปริญญาตรี ได้วุฒิวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) ซึ่งเป็นการปรับหลักสูตรก่อนประเทศสหรัฐอเมริกาถึง 2 ปี
  • พ.ศ. 2549 กระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา โดยชื่อเทคนิคการแพทย์สำหรับหลักสูตรที่เปิดดำเนินการอยู่แล้วให้ใช้ชื่อเดิมคือ “วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์)" และชื่อย่อ “วท.บ. (เทคนิคการแพทย์) ” สำหรับหลักสูตรที่จะขอเปิดใหม่ ตามประกาศดังกล่าวให้ใช้ชื่อปริญญาระดับปริญญาตรีว่า “เทคนิคการแพทยบัณฑิต” และใช้ชื่อย่อ “ทพ.บ.” [3]

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ในประเทศไทย

การเรียนการสอนวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ เริ่มขึ้นที่คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นแห่งแรก ในปี พ.ศ. 2500[4] โดยมีที่ทำการอยู่ 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ต่อมาคณะเทคนิคการแพทย์ ที่ตั้งอยู่ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้โอนมาเป็นภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแยกออกมาเป็นคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2534[5] ซึ่งนับเป็นสถาบันแห่งที่ 2 ที่เปิดการเรียนการสอนในวิชาชีพนี้ ต่อมาจึงมีการตั้ง คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นแห่งที่ 3 ปัจจุบัน มีสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดการเรียนการสอนทั้งหมด 11 แห่ง ได้แก่

ดูเพิ่ม รายชื่อคณะสหเวชศาสตร์ในประเทศไทย

สาขาวิชา

การเรียนการสอนในสาขาเทคนิคการแพทย์นั้น ครอบคลุมสาขาวิชาต่าง ๆ ดังนี้

ในการเรียนชั้นปีที่ 4 จะได้มีการฝึกปฏิบัติงานตามโรงพยาบาลคลอบคลุมทุกสาขาวิชา ปัจจุบันได้มีการเปิดสอนเทคนิคการแพทย์เฉพาะสาขา ใน การดูแลของ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล[6] ในหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตเทคนิคการแพทย์ (สาขาวิชาหลัก) ป. บัณฑิตเทคนิคการแพทย์ (สาขาวิชาหลัก)

การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ

ในอดีตผู้ที่จะประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ได้นั้น จะต้องจบหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) และต้องขึ้นทะเบียนขอใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ ซึ่งออกโดยกองการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข แต่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์จะต้องขึ้นทะเบียนขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ จาก สภาเทคนิคการแพทย์

ในบางมลรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา เช่น ใน มลรัฐฮาวาย, มลรัฐแคลิฟอร์เนีย, มลรัฐฟลอริดา, มลรัฐเนวาดา และมลรัฐลุยเซียนา เป็นต้น นักเทคนิคการแพทย์จะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมาย และจะต้องมีการศึกษาต่อเนื่องเพื่อต่ออายุใบอนุญาตเป็นประจำ

คำนำหน้าชื่อและอักษรย่อ

ในประเทศไทย นักเทคนิคการแพทย์สามารถใช้คำนำหน้าชื่อ เพื่อแสดงถึงการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ได้ โดยให้ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ชาย ใช้คำนำหน้าชื่อ "ทนพ." และผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์หญิง ใช้คำนำหน้าชื่อ "ทนพญ." [7]

สำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกา นักเทคนิคการแพทย์จะใช้อักษรย่อว่า "MT" ซึ่งมาจาก "Medical technologist (เรียกสั้น ๆ ว่าMed tech)" ซึ่งคล้าย ๆ กับแพทย์ที่ใช้อักษรย่อคำว่า "MD" ย่อมาจาก Doctor of medicine และ พยาบาลจะใช้คำย่อว่า "RN" ซึ่งย่อมาจาก Registered Nurse และถ้าหากนักเทคนิคการแพทย์ที่ผ่านการรับรองจาก "ชมรมพยาธิวิทยาคลินิกแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ American Society for Clinical Pathology" ก็อาจจะใช้คำย่อว่า "MT (ASCP)" และเช่นเดียวกัน ถ้าหากผ่านรับการรับรองจาก "สมาคมธนาคารเลือดแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ American Association of Blood Banks ก็สามารถใช้ชื่อย่อว่า "SBB" ได้เช่นกัน โดยสามารถเขียนอักษรย่อเป็น "MT (ASCP) SBB"

หน้าที่ของเทคนิคการแพทย์

เทคนิคการแพทย์นั้นมีหน้าที่ในการเก็บตัวอย่างได้แก่ การเจาะเลือดผู้ป่วย ผู้มารับบริการ ทางเส้นเลือดดำ เส้นเลือดปลายนิ้วเป็นต้น หากสิ่งส่งตรวจจากผู้เข้ามารับบริการ เช่น เลือด ปัสสาวะ อุจจาระ ได้ถูกส่งต่อมา เทคนิคการแพทย์จะมีหน้าที่ในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพก่อนการวิเคราะห์ โดยจะทำการตรวจสอบชื่อและสิ่งส่งตรวจของผู้ป่วยว่าเป็นคนเดียวกัน และคุณภาพของสิ่งส่งตรวจว่าเหมาะสมสำหรับนำมาทดสอบทางห้องปฏิบัติการหรือไม่ เนื่องจากสิ่งส่งตรวจที่ไม่เหมาะสมจะมีผลต่อการผลทดสอบด้วย

หลังจากนั้น จะนำสิ่งส่งตรวจไปทำการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์เพื่อวินิจฉัย พยากรณ์ ติดตาม หรือประเมินสุขภาวะของผู้เข้ามารับบริการ ซึ่งจะรายงานผลให้แก่แพทย์หรือผู้ป่วยได้ทราบต่อไป

นอกจากนั้น เทคนิคการแพทย์ยังต้องควบคุมคุณภาพต่าง ๆ ภายในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ อาทิเช่น การควบคุมคุณภาพของการรับสิ่งส่งตรวจ ขั้นตอนระหว่างการทดสอบ และตรวจสอบความถูกต้องของผลทดสอบ โดยปกตินั้น เทคนิคการแพทย์จะทำการลงชื่อเพื่อรับรองผลการทดสอบทุกครั้งก่อนรายงานผลทางห้องปฏิบัติการ

การประกอบอาชีพ

เทคนิคการแพทย์สามารถทำงานในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ทั้งในภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้ ยังสามารถทำงานอย่างอื่นได้ เช่น เป็นผุ้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์เครื่องมือและน้ำยาทางการแพทย์ หรือศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกได้ในหลายสาขาทั้งในและต่างประเทศเช่น

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น