ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โภชนาการ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
คัดลอกมาจากบทความ น้ำตาล
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 17: บรรทัด 17:
วิตามินที่ละลายในน้ำ เช่น B1, B2, B3, B5, B6, B12, H, M, C เป็นต้น
วิตามินที่ละลายในน้ำ เช่น B1, B2, B3, B5, B6, B12, H, M, C เป็นต้น
วิตามินที่ละลายในไขมันเช่น A, D, E, K เป็นต้น
วิตามินที่ละลายในไขมันเช่น A, D, E, K เป็นต้น

วิตามินมีชื่อเรียก ดังนี้

วิตามินเอ : Retinol
วิตามินบี 1 : Thiamine
วิตามินบี 2 : Riboflavin
วิตามินบี 3 : Niacin
วิตามินบี 5 : Pantothenic Acid
วิตามินบี 6 : Pyridoxine
วิตามินบี 7 : Biotin
วิตามินบี 9 : Folic Acid
วิตามินบี 12 : Cyanocobalamin
วิตามินซี : Ascorbic Acid
วิตามินดี : Ergocalciferol และ Cholecalciferol
วิตามินอี : Tocopherol และ Tocotrienol
วิตามินเค : Naphthoquinone

วิตามินนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายของ แต่ถ้าได้รับวิตามินในปริมาณที่เกินพอดี อาจจะมีผลเสียต่อร่างกายได้ดังนี้

วิตามินเอ ถ้าได้รับในปริมาณมากเกินไป จะเกิดอาการอาเจียน ผมร่วง ผิวหนังแห้งตกสะเก็ต ทำลายประสาทตา ตับ และกระดูก หรืออาจทำให้เด็กในท้องพิการได้
วิตามินบี6 ถ้าได้รับในปริมาณมากเกินไป จะมีอาการเดินเซ มือเท้าชา และส่งผลให้ประสาทกล้ามเนื้อแขนขาถูกทำลาย
วิตามินซี ถ้าได้รับในปริมาณมากเกินไป จะมีอาการปวดท้อง แน่นท้อง ท้องเสีย ท้องอืด และอาจรุนแรงถึงขั้นเป็นนิ่วในไตได้ แต่ถ้าหยุดรับประทานอาการเหล่านี้จะหายไป
วิตามินอี ถ้าได้รับในปริมาณมากเกินไป จะมีอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ตาพร่ามัว กล้ามเนื้อล้า แน่นท้อง และท้องร่วง และถ้าร่างกายขาดวิตามินอีสูงมาก อาจขัดขวางวิตามินเอได้


=== กรดไขมัน ===
=== กรดไขมัน ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:07, 1 เมษายน 2552

ภาพพีระมิดอาหารซึ่งเผยแพร่ในปี 2548 เพื่อแนะนำปริมาณการบริโภคอาหาร

โภชนาการ เป็นสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บ นักโภชนาการเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพซึ่งมีความรู้ความชำนาญในสาขานี้

โภชนาการกับสุขภาพ

กรดอะมิโน

ร่างกายต้องการกรดอะมิโนเพื่อสร้างโปรตีนขึ้นใหม่และเพื่อแทนที่โปรตีนที่เสื่อมสภาพซึ่งจะถูกขับถ่ายออกทางปัสสาวะ ในร่างกายของสัตว์ ความต้องการกรดอะมิโนชนิดใดๆจะขึ้นอยู่กับว่ากรดอะมิโนชนิดนั้นๆเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็น (ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้) หรือกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น (ร่างกายสามารถสร้างขึ้นเองได้จากสารประกอบไนโตรเจน) การบริโภคอาหารที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นในปริมาณที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของสัตว์

วิตามิน

วิตามิน เป็นสารอินทรีย์ที่สิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องได้รับในบริมาณเล็กน้อย สำหรับการเติบโต ขยายพันธุ์ และช่วยให้ให้มีสุขภาพดี ถ้าสิ่งมีชีวิตขาดวิตามินตัวใดตัวหนึ่งจะมีอาการป่วยซึ่งมีลักษณะเฉพาะขึ้นกับวิตามินที่ขาด

วิตามินแบ่งออกเป็น 2 จำพวก คือ

วิตามินที่ละลายในน้ำ เช่น B1, B2, B3, B5, B6, B12, H, M, C เป็นต้น วิตามินที่ละลายในไขมันเช่น A, D, E, K เป็นต้น

กรดไขมัน

ในทางเคมี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชีวเคมี, กรดไขมัน เป็น คาร์บอกซิลิก แอซิด (carboxylic acid) ซึ่งมีหางเป็นโซ่แบบ อะลิฟาติก (aliphatic) ยาว มีทั้งอิ่มตัว (saturated) และไม่อิ่มตัว กรดไขมันจะมีคาร์บอน อย่างน้อย 8 อะตอม และส่วนใหญ่จะเป็นจำนวนเลขคู่ เพราะกระบวนการชีวสังเคราะห์ ของกรดไขมันจะเป็นการเพิ่มโมเลกุลของอะซิเตต ซึ่งมีคาร์บอน อยู่ 2 อะตอม

ในอุตสาหกรรม กรดไขมันผลิตโดยการไฮโดรไลสิส (hydrolysis) เอสเตอร์ ลิงเกจส์ ในไขมัน หรือน้ำมันในรูปของ ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ด้วยการกำจัด กลีเซอรอล ออกไป ดู โอลีโอเคมิคอล(oleochemical)


น้ำตาล

น้ำตาล คือ สารให้ความหวานตามธรรมชาติชนิดหนึ่ง มีเรียกกันหลายแบบ ขึ้นอยู่กับรูปร่างลักษณะของน้ำตาล เช่น น้ำตาลทราย น้ำตาลกรวด น้ำตาลก้อน น้ำตาลปีบ เป็นต้น แต่ในทางเคมี โดยทั่วไปหมายถึง ซูโครส หรือ แซคคาโรส ไดแซคคาไรด์ ที่มีลักษณะเป็นผลึกของแข็งสีขาว น้ำตาลเป็นสารเพิ่มความหวานที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขนมหวาน และเครื่องดื่ม ในทางการค้าน้ำตาลผลิตจาก อ้อย(sugar cane) , ต้นตาล(sugar palm),ต้นมะพร้าว(coconut palm),ต้นเมเปิ้ลน้ำตาล(sugar maple) และ หัวบีท (sugar beet) ฯลฯ น้ำตาลที่มีองค์ประกอบทางเคมีแบบง่ายที่สุด หรือ โมโนแซคคาไรด์ เช่น กลูโคส เป็นที่เก็บพลังงาน ที่จะต้องใช้ในกิจกรรม ทางชีววิทยา ของเซลล์ ศัพท์ทางเทคนิคที่ใช้เรียกน้ำตาลจะลงท้ายด้วยคำว่า "-โอส" (-ose) เช่น กลูโคส

แบคทีเรียในลำไส้

ในปัจจุบันเป็นที่รู้กันว่าระบบย่อยอาหารของมนุษย์ต้องอาศัยแบคทีเรียบางชนิดที่มีปฏิกิริยาต่ออาหารที่รับประทานเข้าไป บทบาทและความสำคัญของแบคทีเรียในลำไส้ยังคงเป็นที่ศึกษาค้นคว้ากันอยู่ ในอวัยวะย่อยอาหารมีแบคทีเรียทั้งที่เป็นประโยชน์และเป็นโทษอาศัยอยู่ การบริโภคอาหารที่มีสารอาหารที่มีประโยชน์น้อยแต่มีน้ำตาลมากจะเร่งให้แบคทีเรียที่เป็นโทษเจริญเติบโตได้มากขึ้น แบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มโปรไบโอติค แบคทีเรียที่สำคัญ ได้แก่ แบคทีเรียสกุลแลคโตบาซิลลัส เป็นต้น

โภชนาการกับการกีฬา

โภชนาการมีความสำคัญมากในการพัฒนาสมรรถภาพทางด้านกีฬา วิธีพัฒนาสมรรถภาพโดยการบริโภคที่ทำการโดยทั่วไปคือ บริโภคโปรตีนในปริมาณมากๆ โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ที่มีสีแดง เพื่อช่วยในการสร้างกล้ามเนื้อ ซึ่งประสิทธิภาพของวิธีดังกล่าวยังไม่แน่ชัด เพราะปริมาณของโปรตีนในอาหารทั่วไปที่บริโภคกันในทุกวันนี้ ก็มีมากกว่าปริมาณของโปรตีนในกล้ามเนื้อที่ร่างกายสังเคราะห์ได้ในแต่ละวัน

ในการเร่งการสังเคราะห์กล้ามเนื้อ นักกีฬาจะมีเป้าหมายในการหาวิธีที่สามารถฟื้นฟูเนื้อเยื่อได้เร็วที่สุด การทำให้กล้ามเนื้อเย็นตัวหรือร้อนขึ้นเพื่อลดอาการบวมและกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด การพักผ่อนอย่างเพียงพอ การบริหารร่างกายอย่างเบาๆ การนวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ รวมทั้งการบริโภคอาหารอย่างถูกหลักโภชนาการ เป็นหนทางที่ดีสำหรับการฟื้นฟูเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อ และก่อนเล่นกีฬา การดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มที่มีสารละลายอิเล็กโทรไลต์ก็จะช่วยป้องกันการสูญเสียน้ำของร่างกายได้

โภชนาการกับอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร

ตั้งแต่ยุคสมัยของการปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อประมาณ 200 ปีก่อน อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารได้มีเทคโนโลยีต่างๆที่ช่วยให้เก็บอาหารให้คงความสดได้นานขึ้น และแปรรูปอาหารให้มีสภาพเปลี่ยนไปจากที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ การแช่เย็นเป็นเทคโนโลยีขั้นต้นที่สามารถรักษาความสดได้ ขณะที่เทคโนโลยีอื่นๆจะช่วยให้เก็บรักษาอาหารไว้ได้นานที่สุดโดยไม่เน่าเสีย