พายุไต้ฝุ่นทิป (พ.ศ. 2522)
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA) | |||
---|---|---|---|
พายุไต้ฝุ่น (TMD) | |||
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS) | |||
พายุไต้ฝุ่นทิปขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2522
| |||
ก่อตัว | 4 ตุลาคม พ.ศ. 2522 | ||
สลายตัว | 24 ตุลาคม พ.ศ. 2522
(กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนหลังจาก 19 ตุลาคม พ.ศ. 2522) | ||
ความเร็วลม สูงสุด |
| ||
ความกดอากาศต่ำสุด | 870 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 25.69 นิ้วปรอท) | ||
ผู้เสียชีวิต | 99 ราย | ||
ความเสียหาย | ไม่ทราบ | ||
พื้นที่ได้รับ ผลกระทบ |
หมู่เกาะแคโรไลน์, ฟิลิปปินส์, เกาหลีใต้, เกาหลีเหนือ, ญี่ปุ่น, จีน, รัสเซียตะวันออกไกล, รัฐอะแลสกา | ||
ส่วนหนึ่งของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2522 |
พายุไต้ฝุ่นทิป หรือที่ในฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุไต้ฝุ่นวาร์ลิง (ตากาล็อก: Warling) เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่ใหญ่และรุนแรงที่สุด[1] เป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนที่ 43, พายุโซนร้อนที่ 19, พายุไต้ฝุ่นที่ 12 และซุปเปอร์ไต้ฝุ่นที่สามของฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิกปี พ.ศ. 2522 พายุลูกนี้พัฒนาจากความไม่สงบในร่องมรสุมเมื่อวันที่ 4 ตุลาคมใกล้กับเกาะโปนเป ประเทศไมโครนีเชีย เริ่มแรกเป็นเพียงพายุโซนร้อนเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นขัดขวางการพัฒนาและการเคลื่อนที่ของพายุทิป แต่หลังจากที่พายุเคลื่อนไปทางเหนือไกลขึ้น พายุทิปกลับมีความรุนแรงขึ้น หลังจากผ่านกวม พายุทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็วและมีความเร็วลมถึง 305 กม./ชม. (190 ไมล์ต่อชั่วโมง) และมีความกดอากาศที่ต่ำเป็นประวัติการณ์ที่ 870 hPa (25.69 inHg) เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นทิปเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ด้วยเส้นผ่าศูนย์กลาง 2,220 กม. (1,380 ไมล์) หลังจากนั้นพายุไต้ฝุ่นทิปก็อ่อนกำลังลงอย่างช้าๆ ขณะที่ยังคงเคลื่อนที่ต่อไปทางตะวันตกเฉียงเหนือและต่อมาได้เคลื่อนที่ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ พายุไต้ฝุ่นทิปขึ้นฝั่งที่ทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 19 ตุลาคมและกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนเพียงหลังจากนั้นไม่นาน พายุไต้ฝุ่นทิปแม้จะกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนแต่ยังคงมีขนาดใหญ่และยังคงเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันออก - ตะวันออกเฉียงเหนือเล็กน้อย จนกระทั่งพายุสลายไปที่บริเวณหมู่เกาะอะลูเชียน, รัฐอะแลสกาเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม
เครื่องบินลาดตระเวนของกองทัพอากาศสหรัฐ ได้ทำการบินไปปฏิบัติภารกิจลาดตระเวนทางอากาศจำนวนถึง 60 ครั้งในบริเวณรอบ ๆ ไต้ฝุ่นทิป ทำให้ไต้ฝุ่นทิปเป็นหนึ่งในพายุหมุนเขตร้อนที่สังเกตเห็นได้ใกล้มากที่สุด[2] ผลจากสภาพอากาศของไต้ฝุ่นทิปนำไปสู่การเสียชีวิตของนาวิกโยธิน 13 รายและมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 68 ราย ที่ศูนย์ฝึกที่ค่ายฟูจิในจังหวัดชิซุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น และในพื้นที่ต่างๆ ภายในประเทศ พายุไต้ฝุ่นทิปส่งผลให้เกิดน้ำท่วมอย่างหนักและมีผู้เสียชีวิต 42 ราย และในซากเรืออับปางมีผู้เสียชีวิตและสูญหายรวม 44 ราย
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา
[แก้]- วันที่ 1 ตุลาคม เกิดร่องมรสุมบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเยื้องออกมาจากฟิลิปปินส์ไปทางหมู่เกาะมาร์แชล
- วันที่ 3 ตุลาคม พายุโซนร้อนโรเจอร์ก่อตัวจากร่องมรสุมเดียวกันทางตะวันตกเฉียงใต้ของกวม
- วันที่ 5 ตุลาคม ร่องรอยความไม่สงบที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของความกดอากาศต่ำ มีความรุนแรงมากพอที่จะกำหนดให้เป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนที่ 23
- วันที่ 9 ตุลาคม การเคลื่อนที่ไปด้านหน้าของพายุทิปมีความเสถียรมากขึ้นและเคลื่อนที่ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือไปยังกวม หลังจากนั้นพายุหมุนเขตร้อนทิปหันไปทางทิศตะวันตกและกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นในไม่นาน
- วันที่ 11 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นทิปเป็นซุปเปอร์ไต้ฝุ่นที่มีความเร็วลมอย่างน้อย 241 กม./ชม. (150 ไมล์ต่อชั่วโมง) และวัดเส้นผ่านศูนย์กลางของพายุไต้ฝุ่นได้ 2,220 กิโลเมตร
- วันที่ 12 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นทิปยังคงทวีความรุนแรงเหนือน่านน้ำเปิดของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก จนกระทั่งถึงจุดสูงสุด อยู่ทางประมาณ 837 กม. (520 ไมล์) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกวม เมื่อมาถึงจุดนี้วัดอัตราเร็วลมได้ 306 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (190 ไมล์ต่อชั่วโมง) ตาพายุกว้าง 15 กม. (9.3 ไมล์) และแรงดันส่วนกลางอยู่ที่ 870 มิลลิบาร์ (hPa)
- วันที่ 17 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นอ่อนกำลังลง มีขนาดเล็กลงจากนั้นเคลื่อนที่เป็นแนวโค้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
- วันที่ 19 ตุลาคม ไต้ฝุ่นทิปที่อ่อนกำลังลงอย่างมาก ได้ขึ้นฝั่งที่เกาะฮอนชูซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นด้วยอัตราเร็วลม 129 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (80 ไมล์ต่อชั่วโมง)
- วันที่ 22 ตุลาคม พายุเคลื่อนที่ข้ามเกาะอย่างรวดเร็วและสลายตัวอย่างรวดเร็ว พายุกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน ที่ทางภาคเหนือของเกาะฮอนชูเพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากขึ้นฝั่งแผ่นดินใหญ่ เศษของพายุหมุนนอกเขตร้อนทิปเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและค่อยๆ อ่อนกำลังลง และข้ามผ่านเส้นแบ่งเขตวันสากลในวันเดียวกัน
- วันที่ 24 ตุลาคม พายุถูกพบครั้งสุดท้ายใกล้กับหมู่เกาะอะลูเชียน รัฐอะแลสกา
ผลกระทบ
[แก้]อันดับ | พายุไต้ฝุ่น | ปี | ความกด อากาศ (hPa) |
---|---|---|---|
1 | ทิป | 2522 | 870 |
2 | จูน | 2518 | 875 |
นอรา | 2516 | ||
4 | ฟอร์เรสต์ | 2526 | 876 |
5 | ไอดา | 2501 | 877 |
6 | ริตา | 2521 | 878 |
7 | คิท | 2509 | 880 |
วาเนสซา | 2527 | ||
9 | แนนซี | 2504 | 882 |
10 | เออร์มา | 2514 | 885 |
11 | นีน่า | 2496 | 885 |
โจน | 2502 | ||
เมกี | 2553 | ||
ที่มา: การวิเคราะห์ของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น[3] |
พายุไต้ฝุ่นก่อให้เกิดฝนตกหนักตลอดเวลา ในขณะที่อยู่ใกล้กวมเกิดฝนตกหนักวัดได้ 23.1 เซนติเมตร (9.09 นิ้ว) ที่ฐานทัพอากาศแอนเดอร์เซน[1] บริเวณด้านนอกของเมฆฝนก่อให้เกิดฝนตกปานกลางในบริเวณพื้นที่ภูเขาของหมู่เกาะฟิลิปปินส์, เกาะลูซอนและวิสายาส์[4] ปริมาณน้ำฝนจากพายุไต้ฝุ่นทิปได้ทำลายกำแพงกั้นน้ำท่วมที่ค่ายฟูจิซึ่งเป็นสถานที่สำหรับฝึกอบรมนาวิกโยธินของสหรัฐฯ ใกล้เมืองโยะโกะซุกะ จังหวัดคานางาวะ[5] นาวิกโยธินในค่าย ได้หลบฝนในกระท่อมที่ตั้งอยู่ที่ฐานของเนินเขาซึ่งเป็นที่ตั้งของถังเชื้อเพลิง นำไปสู่การที่เชื้อเพลิงบางส่วนไหลออกจากโรงเก็บของสองแห่ง เชื้อเพลิงไหลลงมาจากเนินเขาและถูกจุดโดยฮีตเตอร์ที่ใช้อยู่ในกระท่อมแห่งหนึ่ง[6] เหตุการณ์ครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตเป็นนาวิกโยธิน 13 ราย บาดเจ็บ 68 ราย[7] และก่อให้เกิดความเสียหายแก่สถานที่ปฏิบัติงานปานกลาง ค่ายทหารถูกทำลาย พร้อมกับกระท่อมอีกสิบห้าแห่งและโครงสร้างอื่นๆ อีกหลายแห่ง ค่ายทหารถูกสร้างขึ้นมาใหม่[5] โดยมีการสร้างอนุสรณ์สำหรับผู้ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนี้
ในระหว่างการหันทิศของพายุไต้ฝุ่นทิป ห่างไปประมาณ 65 กม. (40 ไมล์) ทางตะวันออกของเกาะโอกินาวะ ความเร็วลมขณะนั้นมากถึง 72 กม./ชม. (44 ไมล์ต่อชั่วโมง) โดยมีอัตราเร็วลมกระโชกแรงถึง 112 กม./ชม. (69 ไมล์ต่อชั่วโมง) ความเร็วลมในญี่ปุ่นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เส้นทางของพายุไต้ฝุ่นผ่านภูมิภาคต่างๆ ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมการเกษตรและการประมงของประเทศกว่าหลายล้านดอลลาร์ เรือ 8 ลำถูกเกยตื้นหรือจมโดยพายุทิป ทำให้ชาวประมง 44 คนเสียชีวิตหรือหายสาบสูญ เรือสินค้าของจีนถูกหักครึ่งอันเป็นผลมาจากพายุไต้ฝุ่นแต่ลูกเรือ 46 คนได้รับการช่วยเหลือ[4] ปริมาณน้ำฝนนำไปสู่ดินโคลนถล่มกว่า 600 แห่งทั่วภูเขาของญี่ปุ่น และเกิดน้ำท่วม ท่วมกว่า 22,000 หลังคาเรือน มีผู้เสียชีวิต 42 รายทั่วประเทศ มีผู้สูญหาย 71 ราย บาดเจ็บ 283 ราย[4] เขื่อนกั้นแม่น้ำพังไป 70 แห่งทำลายสะพาน 27 แห่ง เขื่อนกั้นน้ำถูกทำลายไปประมาณ 105 แห่ง หลังเกิดพายุ ประชาชนอย่างน้อย 11,000 คนไม่มีที่อยู่อาศัย พายุไต้ฝุ่นทิปทำลายทุ่งแอปเปิ้ล, ข้าว, ลูกพีชและพืชอื่นๆ เรือห้าลำจมลงในทะเลนอกชายฝั่ง และอาคารสูง 50 ชั้นซึ่งตั้งอยู่ในนครโตเกียวเกิดการสั่นไหว การขนส่งในประเทศหยุดชะงัก ขบวนรถไฟ 200 เที่ยวและเที่ยวบินภายในประเทศ 160 เที่ยวถูกยกเลิก ไต้ฝุ่นทิปถูกนับว่าเป็นพายุที่แรงที่สุดที่เข้าปะทะญี่ปุ่นในรอบ 13 ปี[8]
บันทึกและสถิติทางอุตุนิยมวิทยา
[แก้]พายุไต้ฝุ่นทิปเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วยเส้นผ่าศูนย์กลาง 2,220 กม. (1,380 ไมล์) เป็นเกือบสองเท่าของสถิติก่อนหน้านี้ที่ 1,130 กิโลเมตร (700 ไมล์) เมื่อเทียบพายุไต้ฝุ่นมาร์จในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2494[9][10][11] ขณะที่พายุไต้ฝุ่นทิปมีขนาดใหญ่ที่สุด โดยมีขนาดเกือบครึ่งหนึ่งของประเทศสหรัฐอเมริกา[12] อุณหภูมิสูงสุดภายในตาพายุของไต้ฝุ่นทิปคือ 30 °C (86 °F) ซึ่งนับว่าสูงเป็นพิเศษ[1] ด้วยความเร็วลมเฉลี่ย 10 นาทีที่ 160 ไมล์ต่อชั่วโมง (260 กม./ชม.) พายุไต้ฝุ่นทิปเป็นพายุไซโคลนที่แข็งแกร่งที่สุดในบรรดาพายุหมุนเขตร้อน โดยสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น
พายุไต้ฝุ่นทิปเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ด้วยแรงกดอากาศเพียง 870 mbar (25.69 inHg) ต่ำกว่าสถิติของพายุก่อนหน้านี้โดยซูเปอร์ไต้ฝุ่นจูนในปี 2518[1][13][14] ประมาณ 6 mbar (0.18 inHg) สถิติของไต้ฝุ่นทิปทางเทคนิคแล้วยังคงเป็นอันดับหนึ่งแม้ว่าจะสิ้นสุดการลาดตระเวนของเที่ยวบินลาดตระเวนตามปกติในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกในเดือนสิงหาคมปี 2530 นักวิจัยสมัยใหม่ได้ตั้งคำถามว่าไต้ฝุ่นทิปยังคงสถิติความแข็งแกร่งอยู่หรือไม่ หลังจากการศึกษาอย่างละเอียด นักวิจัยสามคนระบุว่าพายุไต้ฝุ่นสองลูกคือ ไต้ฝุ่นแองเจล่าในปี 2538 และ ไต้ฝุ่นเกย์ในปี 2535 มีจำนวนค่าทางดีโวแร็คที่สูงกว่าไต้ฝุ่นทิปและสรุปว่าหนึ่งหรือทั้งสองอาจรุนแรงกว่าไต้ฝุ่นทิป[15] พายุลูกใหม่ๆ อาจมีความรุนแรงมากกว่าไต้ฝุ่นทิปที่จุดแรงสุด เช่นการประมาณค่าความเข้มข้นที่ได้จากดาวเทียมสำหรับพายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนในปี 2556 ชี้ให้เห็นว่ามีแรงกดอากาศเพียง 858 mbar (25.34 inHg)[16] แต่เนื่องจากการขาดแคลนการสังเกตโดยตรงของนักวิจัยและการสังเกตของนักล่าพายุดังนั้นพายุเหล่านี้จึงไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด
แม้ความรุนแรงและความเสียหายของพายุไต้ฝุ่นทิป แต่ชื่อ ทิป ยังไม่ถูกปลดออกจากรายชื่อและถูกนำกลับมาใช้ใหม่ในปี 2526, 2529 และ 2532
ดูเพิ่ม
[แก้]- ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2522
- รายชื่อพายุทิป
- พายุไต้ฝุ่นที่มีเส้นทางที่คล้ายกัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 George M. Dunnavan; John W. Dierks (1980). "An Analysis of Super Typhoon Tip (October 1979)" วารสาร Monthly Weather Review. ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม
- ↑ University of Rhode Island. "1979- Typhoon Tip"
- ↑ Japan Meteorological Agency. "RSMC Best Track Data (Text)" (TXT).
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Debi Iacovelli; Tim Vasquez (August 1998). Marthin S. Baron (ed.). "Super Typhoon Tip: Shattering all records" (PDF). Mariners Weather Log. โครงการ Voluntary Observing Ship Project.
- ↑ 5.0 5.1 "History of the U.S. Naval Mobile Construction Battalion FOUR". U.S. Naval Construction Force. 2004
- ↑ "Camp Fuji Fire Memorial". เหล่านาวิกโยธินสหรัฐ. 2006-08-03
- ↑ George M. Dunnavan; John W. Diercks (1980)"An Analysis of Super Typhoon Tip (October 1979)" เก็บถาวร 2020-06-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "International News". Associated Press. 1979-10-22.
- ↑ National Weather Service Southern Region Headquarters (2010-01-05). "Tropical Cyclone Structure" เก็บถาวร 2013-12-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. JetStream - Online School for Weather: Tropical Weather.
- ↑ Bryan Norcross (2007). Hurricane Almanac: The Essential Guide to Storms Past, Present, and Future. St. Martin's Press.
- ↑ Steve Stone (2005-09-22). "Rare Category 5 hurricane is history in the making". The Virginia Pilot.
- ↑ M. Ragheb (2011-09-25). "Natural Disasters and Man made Accidents" (PDF). University of Illinois at Urbana-Champaign
- ↑ Jay Barnes (2007). Florida's Hurricane History. Chapel Hill Press.
- ↑ National Weather Service (2005). "Super Typhoon Tip". องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ
- ↑ Karl Hoarau; Gary Padgett; Jean-Paul Hoarau (2004). Have there been any typhoons stronger than Super Typhoon Tip? (PDF)
- ↑ Satellite Services Division (2013). "Typhoon 31W". National Environmental Satellite, Data, and Information Service.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- พายุหมุนเขตร้อนระบบดิจิทัล (Digital Typhoon) ข้อมูลของพายุไต้ฝุ่นทิป (7920)
- กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ข้อมูลเส้นทางของพายุไต้ฝุ่นทิป (7920)
- กรมอุตุนิยมวิทยาไทย (TMD) ข้อมูลเส้นทางของพายุไต้ฝุ่นทิป (7920)
- ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ข้อมูลเส้นทางของพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นทิป (23W)