ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2514

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2514
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว8 มกราคม พ.ศ. 2514
ระบบสุดท้ายสลายตัว30 ธันวาคม พ.ศ. 2514
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อเออร์มา
 • ลมแรงสูงสุด285 กม./ชม. (180 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 1 นาที)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด885 hPa (มิลลิบาร์)
สถิติฤดูกาล
พายุดีเปรสชันทั้งหมด55 ลูก
พายุโซนร้อนทั้งหมด35 ลูก
พายุไต้ฝุ่น24 ลูก
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น6 ลูก (ไม่เป็นทางการ)
ผู้เสียชีวิตทั้งหมดอย่างน้อย 617 คน
ความเสียหายทั้งหมด57.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 1971)
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก
2512, 2513, 2514, 2515, 2516

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2514 เป็นฤดูกาลที่ไม่การกำหนดขอบเขตอย่างเป็นทางการ โดยดำเนินอยู่ภายในปี พ.ศ. 2514 แต่พายุหมุนเขตร้อนส่วนใหญ่มีแนวโน้มก่อตัวขึ้นภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม วันเหล่านี้ถือเป็นธรรมเนียมในการกำหนดขอบเขตของแต่ละฤดูกาล เมื่อพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวขึ้นภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ

ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ทางฝั่งตะวันตกของเส้นแบ่งเขตวันสากล ส่วนพายุใดที่ก่อตัวขึ้นทางฝั่งตะวันออกของเส้นดังกล่าวจะเรียกว่า พายุเฮอร์ริเคน (ดูที่ ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแปซิฟิก พ.ศ. 2514) ในช่วงเวลานี้ พายุใดที่ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนในมหาสมุทรตะวันตกจะได้รับชื่อจากศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม ส่วนพายุดีเปรสชันเขตร้อนใดที่ก่อตัวขึ้นในแอ่งนี้จะได้รับการกำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร "W" ต่อท้ายเป็นรหัสเรียก ส่วนพายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกใดที่ก่อตัวขึ้นหรือเคลื่อนตัวเข้าไปภายในพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ พายุลูกนั้นจะได้รับชื่อจากสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ หรือ PAGASA ด้วย ด้วยเหตุนี้พายุเพียงหนึ่งลูก อาจมีชื่อถึงสองชื่อก็ได้

ภาพรวมฤดูกาล[แก้]

ตามที่ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมสหรัฐระบุไว้ ฤดูกาลปี พ.ศ. 2514 นี้เคยเป็นฤดูกาลที่มีกิจกรรมมากที่สุดนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 โดยมีพายุโซนร้อนถูกติดตามทั้งหมดถึง 35 ลูกภายในปีนี้[1] นอกจากพายุโซนร้อนทั้ง 35 ลูกแล้ว กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นยังถือว่า พายุดีเปรสชันเขตร้อน 25W เป็นพายุโซนร้อนด้วย แม้ว่าศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมจะจัดเป็นเพียงพายุดีเปรสชันเขตร้อนก็ตาม[2]

พายุ[แก้]

พายุโซนร้อนกำลังแรงซาราห์[แก้]

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 8 – 11 มกราคม
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)

วันที่ 8 มกราคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเริ่มติดตามพายุดีเปรสชันเขตร้อนที่ก่อตัวขึ้น ห่างจากเมืองเงรุลมุด ปาเลาไปทางทิศตะวันออกประมาณ 500 กม.[3] อีกสองสามวันต่อมา ระบบมีการพัฒนาขึ้นและมีทิศทางเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกค่อนไปทางเหนือ ก่อนที่ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมจะจัดให้ระบบเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ ซาราห์ (Sarah) ภายหลังจากที่อากาศยานของกองทัพเรือสหรัฐได้พบการจัดระบบของพายุ[3][4] ระบบพายุค่อย ๆ เคลื่อนตัวโค้งขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ และถูกจัดให้เป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงโดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นในวันที่ 10 มกราคม[5] ในวันนั้น ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมก็ได้รายงานว่าระบบมีกำลังแรงสูงสุด โดยมีลมพัดต่อเนื่อง 1 นาทีเร็ว 95 กม./ชม.[4] อีกสองสามวันต่อมา ระบบอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนในวันที่ 11 มกราคม[4] เศษที่หลงเหลือของพายุนอกเขตร้อนซาราห์ยังคงเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ และพัดขึ้นฝั่งที่ประเทศแคนาดา และสลายตัวไปเหนือเทือกเขาในรัฐบริติชโคลัมเบียเมื่อวันที่ 17 มกราคม[4]

พายุโซนร้อนเทลมา (เบเบง)[แก้]

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 16 – 21 มีนาคม
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
994 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.35 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นเวรา (การิง)[แก้]

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 6 – 19 เมษายน
ความรุนแรง 165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
965 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.5 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นวานดา (ดีดิง)[แก้]

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 22 เมษายน – 5 พฤษภาคม
ความรุนแรง 140 กม./ชม. (85 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
980 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.94 นิ้วปรอท)

วันที่ 23 เมษายน พายุโซนร้อนวานดา (Wanda) เริ่มก่อตัวขึ้นทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งมันเคลื่อนตัวผ่านหมู่เกาะและลงสู่ทะเลจีนใต้ในวันที่ 25 เมษายน จากนั้นพายุมีทิศทางการเคลื่อนตัวโค้งขึ้นไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ และทวีกำลังขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นบริเวณแนวชายฝั่งประเทศเวียดนามในวันที่ 1 พฤษภาคม ต่อมาคลื่นกระแสลมฝั่งตะวันตกได้พัดให้วานดาเคลื่อนไปทางเหนือ และทางตะวันออกเฉียงเหนือตามลำดับ จากนั้นจึงอ่อนกำลังลง กระทั่งสลายตัวไปใกล้กับเกาะไหหนันในวันที่ 4 พฤษภาคม

พายุนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 56 คน (สูญหาย 14 คน) และสร้างความเสียหาย 7 แสนดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี 2514) จากอุทกภัยครั้งใหญ่ทั่วประเทศฟิลิปปินส์[6] ขณะที่วานดาเคลื่อนตัวไปตามแนวชายฝั่งของประเทศเวียดนามนั้น กองทัพบกสหรัฐได้นำอากาศยานส่วนใหญ่ลงจอดในพื้นที่ทางเหนือ และลดการปะทะกันเล็กน้อยในสงครามเวียดนามลงชั่วคราว จนพายุนั้นผ่านพ้นไป[7] โดยในจังหวัดกว๋างหงาย มีผู้เสียชีวิตจำนวน 23 คน[8]

พายุไต้ฝุ่นเอมี[แก้]

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 27 เมษายน – 7 พฤษภาคม
ความรุนแรง 280 กม./ชม. (175 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
890 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.28 นิ้วปรอท)

จากเส้นทางเดินพายุที่ดีที่สุด (best track) ของศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม เอมีก่อตัวขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในวันที่ 29 เมษายน และทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อนได้ในเวลาไม่นาน จากนั้นทวีกำลังขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นในวันที่ 1 พฤษภาคม พายุนี้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 โดยมีความเร็วลมแรงสุดใน 1 นาที 280 กม./ชม. ในวันที่ 2 พฤษภาคม ส่วนกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นประมาณความกดอากาศต่ำสุดที่ศูนย์กลางที่ 890 มิลลิบาร์[9] แม้ว่าศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมจะประมาณไว้สูงกว่าที่ 895 มิลลิบาร์ก็ตาม พร้อมทั้งยังมีการสังเกตถึงตาพายุขนาดเล็กประมาณ 10 ไมล์ทะเล[10] แม้ว่าเอมีจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 ในวันที่ 3 พฤษภาคม แต่มันได้ทวีกำลังกลับขึ้นเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 อีกครั้งในวันต่อมา โดยมีความเร็วลมรอบศูนย์กลางสูงสุดใน 1 นาทีที่ 260 กม./ชม. และความกดอากาศที่ศูนย์กลาง 900 มิลลิบาร์ พายุเริ่มอ่อนกำลังลงตั้งแต่วันที่ 4 เป็นต้นมา และถูกบันทึกไว้ท้ายสุดด้วยแรงลมระดับพายุโซนร้อนในวันที่ 7 พฤษภาคม[11] ก่อนที่เอมีจะถูกดูดซึมเข้าไปโดยแนวปะทะอากาศ[10] เอมีเป็นหนึ่งในพายุที่ทรงพลังที่สุดที่บันทึกได้ในเดือนพฤษภาคม[12]

ในอะทอลล์ทรุก (Truk Atoll) ซึ่งในปัจจุบันรู้จักกันในชื่ออะทอลล์ชุก (Chuuk Atoll) มีผู้เสียชีวิตหนึ่งรายจากการถูกต้นมะพร้าวโค่นทับ[13] วันที่ 18 พฤษภาคม สหพันธรัฐไมโครนีเชียถูกประกาศให้เป็นเขตภัยพิบัติโดยสำนักจัดการภาวะฉุกเฉินกลาง[14] บนอะทอลล์นาโมนุยโต สถานีตรวจอากาศและบ้านเรือนมากกว่า 2,250 หลังถูกทำลายลง[10]

พายุโซนร้อนกำลังแรงเบบ (เอตัง)[แก้]

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 2 – 7 พฤษภาคม
ความรุนแรง 100 กม./ชม. (65 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนกำลังแรงคาร์ลา (เฮนิง)[แก้]

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 17 – 23 พฤษภาคม
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
995 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.38 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นไดนาห์ (เฮร์มิง)[แก้]

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 23 – 31 พฤษภาคม
ความรุนแรง 165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
960 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.35 นิ้วปรอท)

พายุได้พัดผ่านประเทศฟิลิปปินส์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 13 คน และสูญหายอีก 14 คน สร้างความเสียหายถึง 4 ล้านเปโซฟิลิปปินส์[6]

พายุโซนร้อนเอ็มมา (อีซิง)[แก้]

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 27 พฤษภาคม – 3 มิถุนายน
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นฟรีดา (ลูดิง)[แก้]

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 9 – 19 มิถุนายน
ความรุนแรง 140 กม./ชม. (85 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
980 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.94 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นกิลดา (มาเมง)[แก้]

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 22 – 28 มิถุนายน
ความรุนแรง 165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
975 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.79 นิ้วปรอท)

ในประเทศฟิลิปปินส์ มีผู้เสียชีวิตจำนวน 1 คน และมีความเสียหายเกิดขึ้นถึง 8 ล้านเปโซฟิลิปปินส์[6]

พายุไต้ฝุ่นแฮเรียต (เนเนง)[แก้]

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 30 มิถุนายน – 8 กรกฎาคม
ความรุนแรง 230 กม./ชม. (145 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
925 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.32 นิ้วปรอท)

ในประเทศฟิลิปปินส์ แฮเรียตทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่งราย[15]

พายุได้พัดขึ้นฝั่งใกล้กับเขตปลอดทหารระหว่างประเทศเวียดนามเหนือและประเทศเวียดนามใต้ ในฐานะของพายุไต้ฝุ่นที่ทรงพลังมาก พายุไต้ฝุ่นแฮเรียตเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้สงครามเวียดนามชะงักลง ปฏิบัติการทางทหารของทั้งสองฝั่งต้องยุติลงชั่วคราว โดยเฮลิคอปเตอร์ทุกลำของสหรัฐต้องกลับลงฐาน การเคลื่อนพลบนบกเป็นได้อย่างจำกัด แม้พายุจะทรงพลังมาก แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นค่อนข้างเบา โดยที่ค่ายอีเกิล (Camp Eagle) มีรายงานหลังคาปลิวไปตามลม เนื่องจากลมพัดแรง 120 กม./ชม.[16] ในเมืองดานัง วัดปริมาณน้ำฝนได้ 8 ถึง 10 นิ้ว (200 ถึง 250 มม.) และมีลมพายุพัดแรงในพื้นที่[17] ส่วนฝนสะสมสูงที่สุดใน 24 ชั่วโมงวัดที่ 10.16 นิ้ว (258 มม.) ที่ค่ายอีแวนส์ (Camp Evans) ทั่วทั้งประเทศเวียดนาม มีผู้เสียชีวิตจำนวนสี่ราย และมีรายงานผู้สูญหายจำนวนสิบสี่ราย ที่จังหวัดเถื่อเทียน มีความเสียหายเกิดขึ้นค่อนข้างมาก โดยบ้านเรือนประมาณ 2,500 หลังถูกทำลายหรือได้รับความเสียหาย[15]

พายุโซนร้อนกำลังแรงไอวี[แก้]

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 4 – 8 กรกฎาคม
ความรุนแรง 110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนกำลังแรงคิม (โอเนียง)[แก้]

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 8 – 14 กรกฎาคม
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
980 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.94 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นจีน (เปปัง)[แก้]

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 8 – 19 กรกฎาคม
ความรุนแรง 155 กม./ชม. (100 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
975 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.79 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นลูซี (โรซิง)[แก้]

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 13 – 24 กรกฎาคม
ความรุนแรง 240 กม./ชม. (150 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
910 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.87 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นที่รุนแรงที่สุดของปีที่พัดผ่านประเทศฟิลิปปินส์ พายุหมุนเขตร้อนลูกนี้เคลื่อนตัวอย่างช้า ๆ มาจากบริเวณมาเรียนา ลมกระโชกฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ส่งผลกระทบกับบางส่วนของเกาะวิซายัสและลูซอน รวมถึงกรุงมะนิลาด้วย โดยพายุเคลื่อนผ่านพื้นที่ดังกล่าวในวันที่ 21 กรกฎาคม ลมแรงสุด 190 กม./ชม. ถูกบันทึกได้ในเมืองบัสโก จังหวัดบาตาเนส ฝนตกหนักเกิดขึ้น ปริมาณฝนสะสมสูงสุด 24 ชั่วโมงวัดได้ 379.5 มิลลิเมตรในนครบาเกียว ฝนที่ตกอย่างหนักทำให้เกิดอุทกภัยและแผ่นดินถล่มในส่วนตอนบนและตอนกลางของประเทศฟิลิปปินส์[18]

พายุไต้ฝุ่นแมรี[แก้]

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 16 – 21 กรกฎาคม
ความรุนแรง 150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
975 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.79 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นเนดีน (ซีซัง)[แก้]

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 19 – 27 กรกฎาคม
ความรุนแรง 280 กม./ชม. (175 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.58 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นเนดีน ก่อตัวขึ้นในวันที่ 20 กรกฎาคม ต่อมาวันที่ 24 กรกฎาคม มันทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีกำลังสูงสุดที่ 282 กม./ชม. โดยพายุได้อ่อนกำลังลงเล็กน้อยขณะเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ และขึ้นฝั่งที่ด้านตะวันออกของเกาะไต้หวันในวันที่ 25 กรกฎาคม ที่ลมพัดแรงมากกว่า 200 กม./ชม. เนดีนอ่อนกำลังลงในวันรุ่งขึ้นในประเทศจีน หลังจากทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 28 คน (สูญหายอีก 25 ราย) และสร้างความเสียหายอย่างหนักในเกาะไต้หวันจากอุทกภัย เนดีนยังเป็นสาเหตุให้อากาศยานขนส่งสินค้าแพนอเมริกาตก และทำให้ลูกเรือจำนวนสี่รายเสียชีวิต

พายุไต้ฝุ่นโอลีฟ[แก้]

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 24 กรกฎาคม – 7 สิงหาคม
ความรุนแรง 155 กม./ชม. (100 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
935 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.61 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นโอลีฟก่อตัวขึ้นในวันที่ 29 กรกฎาคม ใกล้กับบริเวณศูนย์สูตร และเคลื่อนตัวไปส่งผลกระทบกับด้านตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 4 สิงหาคม จากนั้นพายุมีทิศทางมุ่งหน้าไปทางเหนือต่อ และกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนบริเวณทะเลญี่ปุ่น ฝนที่ตกหนักจากโอลีฟทำให้เกิดโคลนถล่มจำนวนมาก มีผู้เสียชีวิตจำนวน 69 คน และยังไปขัดขวางการจัดงานชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่สิบสาม ซึ่งประเทศญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพในครั้งนั้น

พายุโซนร้อนกำลังแรงพอลลี (ตรีนิง)[แก้]

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 3 – 11 สิงหาคม
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
980 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.94 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นโรส (ยูริง)[แก้]

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 6 – 17 สิงหาคม
ความรุนแรง 220 กม./ชม. (140 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
960 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.35 นิ้วปรอท)

พื้นที่การไหลเวียนขนาดเล็กก่อตัวขึ้นใกล้กับชุก จะจัดระบบขึ้นเป็นพายุโซนร้อนโรส (Rose) ในวันที่ 10 สิงหาคม โดยเป็นระบบพายุขนาดเล็กสุดขั้วที่มีสนามลมกว้างเพียง 150 ไมล์ทะเล (280 กิโลเมตร) โรสได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นในวันถัดไป และต่อมาได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนในวันที่ 11 สิงหาคม แต่กลับมาทวีกำลังขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นอีกครั้งในตอนที่มันเคลื่อนตัวไปทางตะวันตก ในวันที่ 13 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นโรสพัดขึ้นฝั่งทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะลูซอนด้วยความเร็วลมรอบศูนย์กลางกว่า 210 กม./ชม. มันอ่อนกำลังลงเป็นพายุไต้ฝุ่นกำลังอ่อนเนื่องจากพัดผ่านพื้นที่ที่เป็นภูเขา แต่เมื่อเคลื่อนตัวลงทะเลจีนใต้ โรสได้กลับมาทวีกำลังแรงอย่างรวดเร็วอีกครั้ง โดยมีความเร็วลมสูงสุดถึง 230 กม./ชม. ในวันที่ 16 สิงหาคม บริเวณใกล้กับชายฝั่งของฮ่องกง โดยกระแสพัดเข้าเริ่มถูกขัดขวาง แต่โรสยังคงสถานะเป็นพายุไต้ฝุ่นที่ความเร็วลม 200 กม./ชม. ได้อยู่ในวันที่ 16 สิงหาคม โดยพายุไต้ฝุ่นสลายตัวลงในวันถัดไป พายุทำให้มีผู้เสียชีวิตในฮ่องกงถึง 130 ราย ผู้คนกว่า 5,600 คนต้องไร้ที่อยู่ โดยมีเรือเฟอร์รีของมาเก๊าอัปปางลง ทำให้ลูกเรือและผู้โดยสารจำนวน 88 คนเสียชีวิต

พายุไต้ฝุ่นเชอร์ลีย์[แก้]

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 10 – 17 สิงหาคม
ความรุนแรง 165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
955 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.2 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นทริกซ์[แก้]

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา 19 สิงหาคม – 1 กันยายน
ความรุนแรง 185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
915 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.02 นิ้วปรอท)

ความกดอากาศต่ำขั้นบนก่อตัวขึ้นเป็นพายุโซนร้อนทริกซ์ (Trix) ในวันที่ 20 สิงหาคม จากนั้นพายุได้เคลื่อนตัวโค้งไปทางเหนือ จากนั้นโค้งไปยังตะวันตกเพื่อตอบสนองต่อการก่อตัวของแนวสันกึ่งเขตร้อน ทริกซ์ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างช้า ๆ หลังจากเป็นพายุไต้ฝุ่นในวันที่ 21 สิงหาคม และมีความเร็วลมสูงสุด 185 กม./ชม. ในวันที่ 28 สิงหาคม ทริกซ์เคลื่อนตัวโค้งไป และขึ้นฝั่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 29 สิงหาคม ในฐานะพายุไต้ฝุ่นที่มีความเร็วลม 153 กม./ชม. จากนั้นพายุได้กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนทางตะวันออกเฉียงเหนือในวันที่ 30 สิงหาคม เพียงอาทิตย์เดียวหลังพายุไต้ฝุ่นโอลีฟ พายุทริกซ์ทิ้งปริมาณน้ำฝนมหาศาลลงในประเทศญี่ปุ่น มากถึง 43 นิ้ว (1,100 มม.) ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 44 คน สร้างความเสียหายถึง 50.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 25W[แก้]

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 23 – 29 สิงหาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
992 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.29 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นเวอร์จิเนีย[แก้]

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา 1 – 8 กันยายน
ความรุนแรง 185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
955 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.2 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นเวนดี[แก้]

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 4 – 13 กันยายน
ความรุนแรง 260 กม./ชม. (160 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
915 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.02 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 28W[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 13 – 15 กันยายน
ความรุนแรง 45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
996 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.41 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นแอกเนส (วาร์ลิง)[แก้]

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 10 – 19 กันยายน
ความรุนแรง 140 กม./ชม. (85 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
975 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.79 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นเบสส์ (ยายัง)[แก้]

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 16 – 23 กันยายน
ความรุนแรง 260 กม./ชม. (160 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.72 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนกำลังแรงคาร์เมน[แก้]

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 22 – 26 กันยายน
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นเดลลา (อาดิง)[แก้]

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 24 กันยายน – 1 ตุลาคม
ความรุนแรง 130 กม./ชม. (80 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
980 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.94 นิ้วปรอท)

พายุเอเลน (บารัง)[แก้]

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา 1 – 9 ตุลาคม
ความรุนแรง 185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
965 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.5 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนกำลังแรงเฟย์-กลอเรีย (กรีซิง-ดาดัง)[แก้]

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 4 – 15 ตุลาคม
ความรุนแรง 120 กม./ชม. (75 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นเฮสเตอร์ (โกยิง)[แก้]

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 18 – 24 ตุลาคม
ความรุนแรง 165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
970 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.64 นิ้วปรอท)

ระบบก่อตัวขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในวันที่ 18 ตุลาคม ใกล้กับเกาะปาเลา โดยระบบทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนเฮสเตอร์ (Hester) ขณะเคลื่อนไปทางตะวันตกสู่ประเทศฟิลิปปินส์[19][20] และเคลื่อนตัวข้ามประเทศฟิลิปปินส์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนหกราย และมีความเสียหายกว่า 5 ล้านเปโซฟิลิปปินส์[6] หลังจากเคลื่อนผ่านเกาะมินดาเนาและหมู่เกาะวิซายัสในฐานะพายุโซนร้อนในระหว่างวันที่ 20 ถึง 21 ตุลาคม พายุโซนร้อนได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นก่อนขึ้นฝั่งในจังหวัดปาลาวัน เมื่อลงสู่ทะเลจีนใต้แล้ว เฮสเตอร์ทวีกำลังแรงขึ้น และมีกำลังสูงสุดที่ความเร็วลม 165 กม./ชม. ในวันที่ 23 ตุลาคมพายุพัดขึ้นฝั่งใกล้กับเมืองเว้ ประเทศเวียดนามใต้ เมื่ออยู่บนแผ่นดิน เฮสเตอร์อ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วและสลายตัวไปเหนือประเทศลาวในวันที่ 24 ตุลาคม[19][20]

ความเสียหายที่สำคัญจากพายุไต้ฝุ่นเฮสเตอร์ในประเทศเวียดนามใต้ ลมที่แรงกว่า 155 กม./ชม. สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงให้กับฐานของกองทัพบกสหรัฐหลายฐาน ฐานที่เสียหายมากที่สุดอยู่คือฐานจูลาย โดยมีชาวอเมริกันสามรายเสียชีวิต โครงสร้างของฐานอย่างน้อย 75 เปอร์เซ็นต์ได้รับความเสียหาย อากาศยาน 123 ลำถูกทำลายหรือได้รับความเสียหาย[19] หนังสือพิมพ์รายงานว่าชาวเวียดนามจำนวน 100 คนเสียชีวิตจากพายุ รวมถึงจากเหตุอากาศยานตกใกล้เมืองกวีเญิน[21][22]

พายุดีเปรสชันเขตร้อนโฮบิง[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (PAGASA)
Counterclockwise vortex
ระยะเวลา 4 – 5 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1001 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.56 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นเออร์มา (อีนิง)[แก้]

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 7 – 16 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 285 กม./ชม. (180 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
885 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.13 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นที่ทรงพลังที่สุดของฤดูกาล เออร์มา (Irma) มีความเร็วลมถึง 290 กม./ชม. ในวันที่ 11 พฤศจิกายน แต่มันเคลื่อนตัวอยู่เพียงในทะเลเท่านั้น ส่งผลกระทบเพียงกับเรือ และสร้างความเสียหายเล็กน้อยกับหมู่เกาะในแปซิฟิกตะวันตก ในเวลานั้น พายุไต้ฝุ่นนี้ถูกบันทึกว่าทวีกำลังแรงขึ้นเร็วที่สุดในระยะเวลา 24 ชั่วโมง โดยความกดอากาศลดต่ำลงจาก 980 มิลลิบาร์เหลือเพียง 885 มิลลิบาร์[23]

พายุโซนร้อนกำลังแรงจูดี[แก้]

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 15 – 19 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)

พายุอื่น[แก้]

ในระหว่างวันที่ 7-8 มกราคม PAGASA ได้ติดตามพายุดีเปรสชันเขตร้อนอูริง[24] และนอกเหนือจากรายการพายุด้านบนนั้นแล้ว กรมอุตุนิยมวิทยาจีนยังติดตามพายุหมุนเขตร้อนอีกหลายลูก ประกอบด้วยพายุโซนร้อนหนึ่งลูก และพายุโซนร้อนกำลังแรงอีกสองลูก

  • 3 – 7 เมษายน ความเร็วลม 55 กม./ชม. ความกดอากาศ 1008 มิลลิบาร์[25]
  • 16 – 19 พฤษภาคม ความเร็วลม 55 กม./ชม. ความกดอากาศ 1005 มิลลิบาร์[26]
  • 13 – 17 มิถุนายน ความเร็วลม 55 กม./ชม. ความกดอากาศ 996 มิลลิบาร์[27]
  • 20 – 21 กรกฎาคม ความเร็วลม 75 กม./ชม. ความกดอากาศ 990 มิลลิบาร์ กรมอุตุนิยมวิทยาจีนรายงานว่าพายุนี้เป็นระบบทุติยภูมิในช่องแคบไต้หวัน ที่สัมพันธ์กับพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นลูซี[28]
  • 8 – 10 สิงหาคม ความเร็วลม 45 กม./ชม. ความกดอากาศ 995 มิลลิบาร์[29]
  • 28 สิงหาคม – 1 กันยายน ความเร็วลม 55 กม./ชม. ความกดอากาศ 1002 มิลลิบาร์[30]
  • 12 – 15 กันยายน ความเร็วลม 45 กม./ชม. ความกดอากาศ 1000 มิลลิบาร์[31]
  • 13 – 17 กันยายน ความเร็วลม 55 กม./ชม. ความกดอากาศ 996 มิลลิบาร์[32]
  • 25 – 30 กันยายน ความเร็วลม 55 กม./ชม. ความกดอากาศ 1001 มิลลิบาร์[33]
  • 5 – 7 ตุลาคม ความเร็วลม 95 กม./ชม. ความกดอากาศ 1002 มิลลิบาร์[34]
  • 10 – 17 ตุลาคม ความเร็วลม 110 กม./ชม. ความกดอากาศ 988 มิลลิบาร์[35]
  • 4 – 8 พฤศจิกายน ความเร็วลม 55 กม./ชม. ความกดอากาศ 1002 มิลลิบาร์[36]
  • 5 – 8 พฤศจิกายน ความเร็วลม 45 กม./ชม. ความกดอากาศ 1006 มิลลิบาร์[37]
  • 20 – 24 พฤศจิกายน ความเร็วลม 55 กม./ชม. ความกดอากาศ 1006 มิลลิบาร์[38]
  • 27 – 30 พฤศจิกายน ความเร็วลม 55 กม./ชม. ความกดอากาศ 1002 มิลลิบาร์[39]
  • 27 – 30 พฤศจิกายน ความเร็วลม 45 กม./ชม. ความกดอากาศ 1005 มิลลิบาร์[40]

นอกจากนี้ ยังมีพายุอีกสองระบบที่ถูกบันทึกไว้ในรายการฐานข้อมูลเส้นทางเดินพายุที่ดีที่สุดสากล ลูกหนึ่งเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และอีกลูกเป็นพายุโซนร้อน

  • 11 – 12 มิถุนายน ความเร็วลม 45 กม./ชม.[41]
  • 12 – 14 กันยายน ความเร็วลม 65 กม./ชม.[42]

ผลกระทบ[แก้]

ตารางนี้รวมเอาทั้งหมดของระบบพายุที่ก่อตัวภายใน หรือ เคลื่อนตัวเข้ามาในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ ทางฝั่งตะวันตกของเส้นแบ่งวันสากล ภายในปี พ.ศ. 2514 ตารางนี้ยังมีภาพรวมของความรุนแรงของระบบ ระยะเวลา บริเวณที่มีผลกระทบกับแผ่นดิน และจำนวนความเสียหายหรือจำนวนผู้เสียชีวิตใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบพายุทั้งทางตรง และทางอ้อม (เช่นอุบัติเหตุทางการจราจรอันเนื่องจากพายุ) ความเสียหายและผู้เสียชีวิตรวมถึงพายุที่กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน คลื่น หรือหย่อมความกดอากาศต่ำ ความเสียหายทั้งหมดเป็นค่าเงินปี ค.ศ. 1971 (พ.ศ. 2514) ส่วนชื่อในวงเล็บเป็นชื่อที่กำหนดโดย PAGASA

ชื่อ ช่วงวันที่ ระดับความรุนแรง
ขณะมีกำลังสูงสุด
ความกดอากาศ พื้นที่ผลกระทบ ความเสียหาย
(ดอลลาร์สหรัฐ)
ผู้เสียชีวิต อ้างอิง
อูริง 7 – 8 มกราคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
ซาราห์ 8 – 11 มกราคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 990 hPa (29.23 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
TD 9 – 11 กุมภาพันธ์ พายุดีเปรสชันเขตร้อน 1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
เทลมา
(เบเบง)
16 – 21 มีนาคม พายุโซนร้อน 994 hPa (29.35 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
TD 4 – 5 เมษายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
เวรา
(การิง)
6 – 19 เมษายน พายุไต้ฝุ่น 965 hPa (28.50 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
วานดา
(ดีดิง)
22 เมษายน – 5 พฤษภาคม พายุไต้ฝุ่น 980 hPa (28.94 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
เวียดนามเหนือ เวียดนามเหนือ
เวียดนามใต้ เวียดนามใต้
จีน ตอนใต้ของจีน
>&0000000000700000000000700 พันดอลลาร์สหรัฐ 79
TD 25 – 28 เมษายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
TD 28 เมษายน – 1 พฤษภาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 997 hPa (29.44 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
TD 30 เมษายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
เอมี 27 เมษายน – 7 พฤษภาคม พายุไต้ฝุ่น 890 hPa (26.28 นิ้วปรอท) ไมโครนีเชีย ไมโครนีเชีย
สหรัฐ หมู่เกาะมาเรียนา
&00000000064000000000006.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 1
เบบ
(เอตัง)
2 – 7 พฤษภาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 990 hPa (29.23 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
TD 14 – 16 พฤษภาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
TD 16 – 19 พฤษภาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
คาร์ลา
(เฮนิง)
17 – 23 พฤษภาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 995 hPa (29.38 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
ไดนาห์
(เฮร์มิง)
23 – 31 พฤษภาคม พายุไต้ฝุ่น 960 hPa (28.35 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
จีน จีนตอนใต้
ไม่ทราบ 13
เอ็มมา
(อีซิง)
27 พฤษภาคม – 3 มิถุนายน พายุโซนร้อน 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
ฟรีดา
(ลูดิง)
9 – 19 มิถุนายน พายุไต้ฝุ่น 980 hPa (28.94 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
จีน ตะวันออกเฉียงใต้ของจีน
ไม่ทราบ 7
TD 12 – 17 มิถุนายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
TD 14 – 14 มิถุนายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 1008 hPa (29.77 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
กิลดา
(มาเมง)
22 – 28 มิถุนายน พายุไต้ฝุ่น 975 hPa (28.79 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
จีน จีนตอนใต้
ไม่ทราบ 1
แฮเรียต
(เนเนง)
30 มิถุนายน – 8 กรกฎาคม พายุไต้ฝุ่น 925 hPa (27.32 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
เวียดนามเหนือ เวียดนามเหนือ
เวียดนามใต้ เวียดนามใต้
ไม่ทราบ 5
ไอวี 4 – 8 กรกฎาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 990 hPa (29.23 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น ไม่ทราบ 1
คิม
(โอเนียง)
8 – 14 กรกฎาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 980 hPa (28.94 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
จีน จีนตอนใต้
เวียดนามเหนือ เวียดนามเหนือ
เวียดนามใต้ เวียดนามใต้
ไม่ทราบ ไม่มี
จีน
(เปปัง)
8 – 19 กรกฎาคม พายุไต้ฝุ่น 975 hPa (28.79 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
จีน จีนตอนใต้
เวียดนามเหนือ เวียดนามเหนือ
เวียดนามใต้ เวียดนามใต้
ลาว ลาว
ไม่ทราบ ไม่มี
ลูซี
(โรซิง)
13 – 24 กรกฎาคม พายุไต้ฝุ่น 910 hPa (26.87 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
จีน จีน
ไม่ทราบ 2
แมรี 16 – 21 กรกฎาคม พายุไต้ฝุ่น 975 hPa (28.79 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
เนดีน
(ซีซัง)
19 – 27 กรกฎาคม พายุไต้ฝุ่น 900 hPa (26.58 นิ้วปรอท) สหรัฐ หมู่เกาะมาเรียนา
ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
จีน จีน
ไม่ทราบ 32
โอลีฟ 24 กรกฎาคม – 7 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่น 935 hPa (27.61 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น ไม่ทราบ 69
พอลลี
(ตรีนิง)
3 – 11 สิงหาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 980 hPa (28.94 นิ้วปรอท) จีน จีน ไม่ทราบ ไม่มี
TD 7 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 1008 hPa (29.77 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
TD 8 – 11 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
โรส
(อูริง)
6 – 17 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่น 960 hPa (28.35 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
จีน จีน
ไม่ทราบ 130
เชอร์ลีย์ 10 – 17 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่น 955 hPa (28.20 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
ทริกซ์ 19 สิงหาคม – 1 กันยายน พายุไต้ฝุ่น 955 hPa (27.02 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น &000000005060000000000050.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 45
25W 23 – 29 สิงหาคม พายุโซนร้อน 992 hPa (29.29 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
TD 27 – 31 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
TD 30 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 1010 hPa (29.83 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
เวอร์จิเนีย 1 – 8 กันยายน พายุไต้ฝุ่น 955 hPa (28.20 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น ไม่ทราบ 56
TD 4 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 1008 hPa (29.77 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
เวนดี 4 – 13 กันยายน พายุไต้ฝุ่น 915 hPa (27.02 นิ้วปรอท) เกาะเวก ไม่ทราบ ไม่มี
TD 6 – 8 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
TD 9 – 11 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
TD 12 – 15 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
28W 13 – 15 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 996 hPa (29.41 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
TD 14 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
แอกเนส
(วาร์ลิง)
10 – 19 กันยายน พายุไต้ฝุ่น 975 hPa (28.79 นิ้วปรอท) สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
จีน จีน
ไม่ทราบ 1
เบสส์
(ยายัง)
16 – 23 กันยายน พายุไต้ฝุ่น 905 hPa (26.72 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น หมู่เกาะรีวกีว
สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
จีน จีน
ไม่ทราบ 32
คาร์เมน 22 – 26 กันยายน พายุโซนร้อนกำลังแรง 990 hPa (29.23 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น ไม่ทราบ 20
TD 24 – 29 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
เดลลา
(อาดิง)
24 กันยายน – 1 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่น 980 hPa (28.94 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
จีน จีนตอนใต้
เวียดนามเหนือ เวียดนามเหนือ
เวียดนามใต้ เวียดนามใต้
ลาว ลาว
ไม่ทราบ ไม่มี
เอเลน
(บารัง)
1 – 9 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่น 965 hPa (28.50 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
จีน จีนตอนใต้
เวียดนามเหนือ เวียดนามเหนือ
เวียดนามใต้ เวียดนามใต้
ไม่ทราบ 29
เฟย์
(กรีซิง)
4 – 15 ตุลาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 985 hPa (29.09 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ ไม่ทราบ 13
TD 6 – 7 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 1003 hPa (29.62 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
TD 7 – 8 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
TS 7133 11 – 14 ตุลาคม พายุโซนร้อน 992 hPa (29.29 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
TD 11 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 998 hPa (29.47 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
TD 16 – 17 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 1010 hPa (29.83 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
เฮสเตอร์
(โกยิง)
18 – 24 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่น 970 hPa (28.64 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
เวียดนามเหนือ เวียดนามเหนือ
เวียดนามใต้ เวียดนามใต้
ลาว ลาว
>&00000000036000000000003.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 119
TD 26 – 27 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 1012 hPa (29.88 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
TD 31 ตุลาคม – 2 พฤศจิกายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
TD 2 – 7 พฤศจิกายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
TD 4 – 8 พฤศจิกายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
TD 4 – 5 พฤศจิกายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
TD 5 – 8 พฤศจิกายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
เออร์มา
(อีนิง)
7 – 16 พฤศจิกายน พายุไต้ฝุ่น 885 hPa (26.13 นิ้วปรอท) ไมโครนีเชีย ไมโครนีเชีย
ญี่ปุ่น หมู่เกาะรีวกีว
ไม่ทราบ ไม่มี
จูดี 15 – 19 พฤศจิกายน พายุโซนร้อนกำลังแรง 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี
TD 18 – 20 พฤศจิกายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 1008 hPa (29.77 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
TD 19 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 1004 hPa (29.77 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
TD 28 – 29 ธันวาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
สรุปฤดูกาล
69 ลูก 8 มกราคม – 29 ธันวาคม 885 hPa (26.13 นิ้วปรอท) &000000006130000000000061.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 642


ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Holliday, Charles R. Schwerdt, Richard W (บ.ก.). "Typhoons of the Western North Pacific 1971". The Mariners Weather Log. Vol. 16 no. 4. pp. 218–230.
  2. "Climatology of Tropical Cyclones". Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ August 16, 2016.
  3. 3.0 3.1 Tropical Storm Sarah (RSMC Tropical Cyclone Best Track). Japan Meteorological Agency. June 1, 1989. สืบค้นเมื่อ August 16, 2016.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Schwerdt, Richard W (July 1971). "Smooth Log, North Pacific Weather January and February 1971". The Mariners Weather Log. Vol. 15 no. 4. p. 225.
  5. http://agora.ex.nii.ac.jp/cgi-bin/weather-chart/show.pl?type=as&id=19710110_2&lang=en
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 "Destructive Typhoons 1970-2003". National Disaster Coordinating Council. November 9, 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 12, 2004. สืบค้นเมื่อ April 2, 2013.
  7. "Typhoon rains quench fires of war". Boston Globe. May 3, 1971. p. 8. สืบค้นเมื่อ April 5, 2013.[ลิงก์เสีย]
  8. "Annual Tropical Cyclone Report: Typhoon Wanda" (PDF). Joint Typhoon Warning Center. United States Navy. 1972. pp. 100–106. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ September 25, 2018. สืบค้นเมื่อ April 3, 2013.
  9. "Digital Typhoon: Typhoon 197105 (AMY) - Detailed Track Information". Japan Meteorological Agency. June 6, 1981. สืบค้นเมื่อ January 11, 2016.
  10. 10.0 10.1 10.2 "Annual Tropical Cyclone Report: Typhoon Amy" (PDF). Joint Typhoon Warning Center. United States Navy. 1972. pp. 107–116. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ September 25, 2018. สืบค้นเมื่อ January 11, 2016.
  11. "Best Track Data for Typhoon Amy (05W)". Joint Typhoon Warning Center. January 19, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 25, 2018. สืบค้นเมื่อ January 11, 2016.
  12. Henderson, Bob (May 10, 2015). "Tropical Storms, Tornadoes, a Cat 5 Typhoon, and a Blizzard, Oh My!". Weather Underground. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 14, 2016. สืบค้นเมื่อ January 11, 2016.
  13. United Press International (May 5, 1971). "Pacific Storm Raging". The Times-News. Agana, Guam. p. 6. สืบค้นเมื่อ April 9, 2013.
  14. "Federated States of Micronesia Typhoon Amy (DR-307)". Federal Emergency Management Agency. United States Government. May 18, 1971. สืบค้นเมื่อ April 9, 2013.
  15. 15.0 15.1 "Annual Tropical Cyclone Report: Typhoon Harriet" (PDF). Joint Typhoon Warning Center. United States Navy. 1972. pp. 131–136. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-09-25. สืบค้นเมื่อ April 10, 2013.
  16. Associated Press (July 7, 1971). "Typhoon Harriet Stalls Viet Battles". The Spokesman-Review. Saigon, Vietnam. p. 2. สืบค้นเมื่อ April 10, 2013.
  17. Associated Press (July 6, 1971). "Typhoon Curtails U.S. Operations". The Fort Scott Tribune. Saigon, Vietnam. p. 1. สืบค้นเมื่อ April 10, 2013.
  18. Roman L. Kintinar (1972). Tropical Cyclones For 1971. Philippine Weather Bureau. pp. 36–37.
  19. 19.0 19.1 19.2 "Annual Tropical Cyclone Report: Typhoon Hester" (PDF). Joint Typhoon Warning Center. United States Navy. 1972. pp. 237–240. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-09-25. สืบค้นเมื่อ April 8, 2013.
  20. 20.0 20.1 "1971 Hester (1971291N11134)". International Best Track Archive. 2013. สืบค้นเมื่อ April 8, 2013.[ลิงก์เสีย]
  21. Times Wire Service (October 27, 1971). "Enemy Attacks Flare Near Saigon". St. Petersburg Times. p. 3A.
  22. Associated Press (October 25, 1971). "Viet Storm Aid Rushed: Toll Up to 103". Spokane Daily Chronicle. Saigon, Vietnam. p. 29. สืบค้นเมื่อ April 8, 2013.
  23. Charles R. Holliday (1971). "Weather Note: Record 12 and 24-Hour Deepening Rates in a Tropical Cyclone" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2007-04-28.
  24. http://www.typhoon2000.ph/stormstats/1963-1988_PTC.txt
  25. "1971 Missing (1971093N28158)". International Best Track Archive. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 9, 2013. สืบค้นเมื่อ April 2, 2013.
  26. "1971 Missing (1971136N10137)". International Best Track Archive. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 9, 2013. สืบค้นเมื่อ April 2, 2013.
  27. "1971 Missing (1971164N12115)". International Best Track Archive. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 9, 2013. สืบค้นเมื่อ April 2, 2013.
  28. "1971 Lucy-1 (1971201N24120)". International Best Track Archive. 2013. สืบค้นเมื่อ April 5, 2013.[ลิงก์เสีย]
  29. "1971 Missing (1971220N21126)". International Best Track Archive. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 10, 2013. สืบค้นเมื่อ April 2, 2013.
  30. "1971 Missing (1971240N11113)". International Best Track Archive. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 9, 2013. สืบค้นเมื่อ April 2, 2013.
  31. "1971 Missing (1971255N17158)". International Best Track Archive. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 9, 2013. สืบค้นเมื่อ April 2, 2013.
  32. "1971 Missing (1971257N25162)". International Best Track Archive. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 10, 2013. สืบค้นเมื่อ April 2, 2013.
  33. "1971 Missing (1971269N17116)". International Best Track Archive. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 10, 2013. สืบค้นเมื่อ April 2, 2013.
  34. "1971 Missing (1971278N18134)". International Best Track Archive. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 9, 2013. สืบค้นเมื่อ April 2, 2013.
  35. "1971 Missing (1971280N09141)". International Best Track Archive. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 10, 2013. สืบค้นเมื่อ April 2, 2013.
  36. "1971 Missing (1971308N09163)". International Best Track Archive. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 10, 2013. สืบค้นเมื่อ April 2, 2013.
  37. "1971 Missing (1971309N23172)". International Best Track Archive. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 9, 2013. สืบค้นเมื่อ April 2, 2013.
  38. "1971 Missing (1971324N06112)". International Best Track Archive. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 9, 2013. สืบค้นเมื่อ April 2, 2013.
  39. "1971 Missing (1971331N11114)". International Best Track Archive. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 10, 2013. สืบค้นเมื่อ April 2, 2013.
  40. "1971 Missing (1971362N10130)". International Best Track Archive. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 10, 2013. สืบค้นเมื่อ April 2, 2013.
  41. "1971 Missing (1971163N10132)". International Best Track Archive. 2013. สืบค้นเมื่อ April 7, 2013.[ลิงก์เสีย]
  42. "1971 Missing (1971255N20130)". International Best Track Archive. 2013. สืบค้นเมื่อ April 7, 2013.[ลิงก์เสีย]