พายุไต้ฝุ่นทิป (พ.ศ. 2522)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พายุไต้ฝุ่นทิป (วาร์ลิง)
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
พายุไต้ฝุ่นทิปขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2522
พายุไต้ฝุ่นทิปขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2522
พายุไต้ฝุ่นทิปขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2522
ก่อตัว 4 ตุลาคม พ.ศ. 2522
สลายตัว 24 ตุลาคม พ.ศ. 2522

(กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนหลังจาก 19 ตุลาคม พ.ศ. 2522)

ความเร็วลม
สูงสุด
เฉลี่ยลมใน 10 นาที:
260 กม./ชม. (160 ไมล์/ชม.)
เฉลี่ยลมใน 1 นาที:
315 กม./ชม. (195 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด 870 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 25.69 นิ้วปรอท)
ผู้เสียชีวิต 99 ราย
ความเสียหาย ไม่ทราบ
พื้นที่ได้รับ
ผลกระทบ
หมู่เกาะแคโรไลน์, ฟิลิปปินส์, เกาหลีใต้, เกาหลีเหนือ, ญี่ปุ่น, จีน, รัสเซียตะวันออกไกล, รัฐอะแลสกา
ส่วนหนึ่งของ
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2522

พายุไต้ฝุ่นทิป หรือที่ในฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุไต้ฝุ่นวาร์ลิง (ตากาล็อก: Warling) เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่ใหญ่และรุนแรงที่สุด[1] เป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนที่ 43, พายุโซนร้อนที่ 19, พายุไต้ฝุ่นที่ 12 และซุปเปอร์ไต้ฝุ่นที่สามของฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิกปี พ.ศ. 2522 พายุลูกนี้พัฒนาจากความไม่สงบในร่องมรสุมเมื่อวันที่ 4 ตุลาคมใกล้กับเกาะโปนเป ประเทศไมโครนีเชีย เริ่มแรกเป็นเพียงพายุโซนร้อนเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นขัดขวางการพัฒนาและการเคลื่อนที่ของพายุทิป แต่หลังจากที่พายุเคลื่อนไปทางเหนือไกลขึ้น พายุทิปกลับมีความรุนแรงขึ้น หลังจากผ่านกวม พายุทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็วและมีความเร็วลมถึง 305 กม./ชม. (190 ไมล์ต่อชั่วโมง) และมีความกดอากาศที่ต่ำเป็นประวัติการณ์ที่ 870 hPa (25.69 inHg) เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นทิปเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ด้วยเส้นผ่าศูนย์กลาง 2,220 กม. (1,380 ไมล์) หลังจากนั้นพายุไต้ฝุ่นทิปก็อ่อนกำลังลงอย่างช้าๆ ขณะที่ยังคงเคลื่อนที่ต่อไปทางตะวันตกเฉียงเหนือและต่อมาได้เคลื่อนที่ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ พายุไต้ฝุ่นทิปขึ้นฝั่งที่ทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 19 ตุลาคมและกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนเพียงหลังจากนั้นไม่นาน พายุไต้ฝุ่นทิปแม้จะกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนแต่ยังคงมีขนาดใหญ่และยังคงเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันออก - ตะวันออกเฉียงเหนือเล็กน้อย จนกระทั่งพายุสลายไปที่บริเวณหมู่เกาะอะลูเชียน, รัฐอะแลสกาเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม

เครื่องบินลาดตระเวนของกองทัพอากาศสหรัฐ ได้ทำการบินไปปฏิบัติภารกิจลาดตระเวนทางอากาศจำนวนถึง 60 ครั้งในบริเวณรอบ ๆ ไต้ฝุ่นทิป ทำให้ไต้ฝุ่นทิปเป็นหนึ่งในพายุหมุนเขตร้อนที่สังเกตเห็นได้ใกล้มากที่สุด[2] ผลจากสภาพอากาศของไต้ฝุ่นทิปนำไปสู่การเสียชีวิตของนาวิกโยธิน 13 รายและมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 68 ราย ที่ศูนย์ฝึกที่ค่ายฟูจิในจังหวัดชิซุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น และในพื้นที่ต่างๆ ภายในประเทศ พายุไต้ฝุ่นทิปส่งผลให้เกิดน้ำท่วมอย่างหนักและมีผู้เสียชีวิต 42 ราย และในซากเรืออับปางมีผู้เสียชีวิตและสูญหายรวม 44 ราย

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา[แก้]

แผนที่แสดงเส้นทาง และความรุนแรงของพายุตามมาตราส่วนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน
ความรุนแรงของพายุ
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
  พายุที่ไม่ทราบความเร็วลม
ประเภทของพายุ
■ พายุหมุนกึ่งเขตร้อน
▲ พายุหมุนนอกเขตร้อน / หย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือ / รบกวนของเขตร้อน / ลมมรสุมพายุดีเปรสชั่นเขตร้อน
  • วันที่ 1 ตุลาคม เกิดร่องมรสุมบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเยื้องออกมาจากฟิลิปปินส์ไปทางหมู่เกาะมาร์แชล
  • วันที่ 3 ตุลาคม พายุโซนร้อนโรเจอร์ก่อตัวจากร่องมรสุมเดียวกันทางตะวันตกเฉียงใต้ของกวม
  • วันที่ 5 ตุลาคม ร่องรอยความไม่สงบที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของความกดอากาศต่ำ มีความรุนแรงมากพอที่จะกำหนดให้เป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนที่ 23
  • วันที่ 9 ตุลาคม การเคลื่อนที่ไปด้านหน้าของพายุทิปมีความเสถียรมากขึ้นและเคลื่อนที่ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือไปยังกวม หลังจากนั้นพายุหมุนเขตร้อนทิปหันไปทางทิศตะวันตกและกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นในไม่นาน
  • วันที่ 11 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นทิปเป็นซุปเปอร์ไต้ฝุ่นที่มีความเร็วลมอย่างน้อย 241 กม./ชม. (150 ไมล์ต่อชั่วโมง) และวัดเส้นผ่านศูนย์กลางของพายุไต้ฝุ่นได้ 2,220 กิโลเมตร
  • วันที่ 12 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นทิปยังคงทวีความรุนแรงเหนือน่านน้ำเปิดของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก จนกระทั่งถึงจุดสูงสุด อยู่ทางประมาณ 837 กม. (520 ไมล์) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกวม เมื่อมาถึงจุดนี้วัดอัตราเร็วลมได้ 306 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (190 ไมล์ต่อชั่วโมง) ตาพายุกว้าง 15 กม. (9.3 ไมล์) และแรงดันส่วนกลางอยู่ที่ 870 มิลลิบาร์ (hPa)
  • วันที่ 17 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นอ่อนกำลังลง มีขนาดเล็กลงจากนั้นเคลื่อนที่เป็นแนวโค้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
  • วันที่ 19 ตุลาคม ไต้ฝุ่นทิปที่อ่อนกำลังลงอย่างมาก ได้ขึ้นฝั่งที่เกาะฮอนชูซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นด้วยอัตราเร็วลม 129 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (80 ไมล์ต่อชั่วโมง)
  • วันที่ 22 ตุลาคม พายุเคลื่อนที่ข้ามเกาะอย่างรวดเร็วและสลายตัวอย่างรวดเร็ว พายุกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน ที่ทางภาคเหนือของเกาะฮอนชูเพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากขึ้นฝั่งแผ่นดินใหญ่ เศษของพายุหมุนนอกเขตร้อนทิปเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและค่อยๆ อ่อนกำลังลง และข้ามผ่านเส้นแบ่งเขตวันสากลในวันเดียวกัน
  • วันที่ 24 ตุลาคม พายุถูกพบครั้งสุดท้ายใกล้กับหมู่เกาะอะลูเชียน รัฐอะแลสกา

ผลกระทบ[แก้]

อันดับพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิกที่รุนแรงที่สุด
ลำดับที่ พายุไต้ฝุ่น ปี ความกดอากาศ
1 ทิป 2522 870
2 จูน 2518 875
นอรา 2516
4 ฟอร์เรสต์ 2526 876
5 ไอดา 2501 877
6 ริตา 2521 878
7 คิท 2509 880
วาเนสซา 2527
9 แนนซี 2504 882
10 เออร์มา 2514 885
11 นีน่า 2496 885
โจน 2502
เมกี 2553
ที่มา:การวิเคราะห์ของกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น [3]

พายุไต้ฝุ่นก่อให้เกิดฝนตกหนักตลอดเวลา ในขณะที่อยู่ใกล้กวมเกิดฝนตกหนักวัดได้ 23.1 เซนติเมตร (9.09 นิ้ว) ที่ฐานทัพอากาศแอนเดอร์เซน[1] บริเวณด้านนอกของเมฆฝนก่อให้เกิดฝนตกปานกลางในบริเวณพื้นที่ภูเขาของหมู่เกาะฟิลิปปินส์, เกาะลูซอนและวิสายาส์[4] ปริมาณน้ำฝนจากพายุไต้ฝุ่นทิปได้ทำลายกำแพงกั้นน้ำท่วมที่ค่ายฟูจิซึ่งเป็นสถานที่สำหรับฝึกอบรมนาวิกโยธินของสหรัฐฯ ใกล้เมืองโยะโกะซุกะ จังหวัดคานางาวะ[5] นาวิกโยธินในค่าย ได้หลบฝนในกระท่อมที่ตั้งอยู่ที่ฐานของเนินเขาซึ่งเป็นที่ตั้งของถังเชื้อเพลิง นำไปสู่การที่เชื้อเพลิงบางส่วนไหลออกจากโรงเก็บของสองแห่ง เชื้อเพลิงไหลลงมาจากเนินเขาและถูกจุดโดยฮีตเตอร์ที่ใช้อยู่ในกระท่อมแห่งหนึ่ง[6] เหตุการณ์ครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตเป็นนาวิกโยธิน 13 ราย บาดเจ็บ 68 ราย[7] และก่อให้เกิดความเสียหายแก่สถานที่ปฏิบัติงานปานกลาง ค่ายทหารถูกทำลาย พร้อมกับกระท่อมอีกสิบห้าแห่งและโครงสร้างอื่นๆ อีกหลายแห่ง ค่ายทหารถูกสร้างขึ้นมาใหม่[5] โดยมีการสร้างอนุสรณ์สำหรับผู้ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนี้

ในระหว่างการหันทิศของพายุไต้ฝุ่นทิป ห่างไปประมาณ 65 กม. (40 ไมล์) ทางตะวันออกของเกาะโอกินาวะ ความเร็วลมขณะนั้นมากถึง 72 กม./ชม. (44 ไมล์ต่อชั่วโมง) โดยมีอัตราเร็วลมกระโชกแรงถึง 112 กม./ชม. (69 ไมล์ต่อชั่วโมง) ความเร็วลมในญี่ปุ่นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เส้นทางของพายุไต้ฝุ่นผ่านภูมิภาคต่างๆ ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมการเกษตรและการประมงของประเทศกว่าหลายล้านดอลลาร์ เรือ 8 ลำถูกเกยตื้นหรือจมโดยพายุทิป ทำให้ชาวประมง 44 คนเสียชีวิตหรือหายสาบสูญ เรือสินค้าของจีนถูกหักครึ่งอันเป็นผลมาจากพายุไต้ฝุ่นแต่ลูกเรือ 46 คนได้รับการช่วยเหลือ[4] ปริมาณน้ำฝนนำไปสู่ดินโคลนถล่มกว่า 600 แห่งทั่วภูเขาของญี่ปุ่น และเกิดน้ำท่วม ท่วมกว่า 22,000 หลังคาเรือน มีผู้เสียชีวิต 42 รายทั่วประเทศ มีผู้สูญหาย 71 ราย บาดเจ็บ 283 ราย[4] เขื่อนกั้นแม่น้ำพังไป 70 แห่งทำลายสะพาน 27 แห่ง เขื่อนกั้นน้ำถูกทำลายไปประมาณ 105 แห่ง หลังเกิดพายุ ประชาชนอย่างน้อย 11,000 คนไม่มีที่อยู่อาศัย พายุไต้ฝุ่นทิปทำลายทุ่งแอปเปิ้ล, ข้าว, ลูกพีชและพืชอื่นๆ เรือห้าลำจมลงในทะเลนอกชายฝั่ง และอาคารสูง 50 ชั้นซึ่งตั้งอยู่ในนครโตเกียวเกิดการสั่นไหว การขนส่งในประเทศหยุดชะงัก ขบวนรถไฟ 200 เที่ยวและเที่ยวบินภายในประเทศ 160 เที่ยวถูกยกเลิก ไต้ฝุ่นทิปถูกนับว่าเป็นพายุที่แรงที่สุดที่เข้าปะทะญี่ปุ่นในรอบ 13 ปี[8]

บันทึกและสถิติทางอุตุนิยมวิทยา[แก้]

ภาพของการเทียบขนาดพายุไต้ฝุ่นทิปกับไซโคลนเทรซี (หนึ่งในพายุที่เล็กที่สุด) ทับลงบนแผนที่สหรัฐอเมริกา

พายุไต้ฝุ่นทิปเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วยเส้นผ่าศูนย์กลาง 2,220 กม. (1,380 ไมล์) เป็นเกือบสองเท่าของสถิติก่อนหน้านี้ที่ 1,130 กิโลเมตร (700 ไมล์) เมื่อเทียบพายุไต้ฝุ่นมาร์จในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2494[9][10][11] ขณะที่พายุไต้ฝุ่นทิปมีขนาดใหญ่ที่สุด โดยมีขนาดเกือบครึ่งหนึ่งของประเทศสหรัฐอเมริกา[12] อุณหภูมิสูงสุดภายในตาพายุของไต้ฝุ่นทิปคือ 30 °C (86 °F) ซึ่งนับว่าสูงเป็นพิเศษ[1] ด้วยความเร็วลมเฉลี่ย 10 นาทีที่ 160 ไมล์ต่อชั่วโมง (260 กม./ชม.) พายุไต้ฝุ่นทิปเป็นพายุไซโคลนที่แข็งแกร่งที่สุดในบรรดาพายุหมุนเขตร้อน โดยสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น

พายุไต้ฝุ่นทิปเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ด้วยแรงกดอากาศเพียง 870 mbar (25.69 inHg) ต่ำกว่าสถิติของพายุก่อนหน้านี้โดยซูเปอร์ไต้ฝุ่นจูนในปี 2518[1][13][14] ประมาณ 6 mbar (0.18 inHg) สถิติของไต้ฝุ่นทิปทางเทคนิคแล้วยังคงเป็นอันดับหนึ่งแม้ว่าจะสิ้นสุดการลาดตระเวนของเที่ยวบินลาดตระเวนตามปกติในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกในเดือนสิงหาคมปี 2530 นักวิจัยสมัยใหม่ได้ตั้งคำถามว่าไต้ฝุ่นทิปยังคงสถิติความแข็งแกร่งอยู่หรือไม่ หลังจากการศึกษาอย่างละเอียด นักวิจัยสามคนระบุว่าพายุไต้ฝุ่นสองลูกคือ ไต้ฝุ่นแองเจล่าในปี 2538 และ ไต้ฝุ่นเกย์ในปี 2535 มีจำนวนค่าทางดีโวแร็คที่สูงกว่าไต้ฝุ่นทิปและสรุปว่าหนึ่งหรือทั้งสองอาจรุนแรงกว่าไต้ฝุ่นทิป[15] พายุลูกใหม่ๆ อาจมีความรุนแรงมากกว่าไต้ฝุ่นทิปที่จุดแรงสุด เช่นการประมาณค่าความเข้มข้นที่ได้จากดาวเทียมสำหรับพายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนในปี 2556 ชี้ให้เห็นว่ามีแรงกดอากาศเพียง 858 mbar (25.34 inHg)[16] แต่เนื่องจากการขาดแคลนการสังเกตโดยตรงของนักวิจัยและการสังเกตของนักล่าพายุดังนั้นพายุเหล่านี้จึงไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด

แม้ความรุนแรงและความเสียหายของพายุไต้ฝุ่นทิป แต่ชื่อ ทิป ยังไม่ถูกปลดออกจากรายชื่อและถูกนำกลับมาใช้ใหม่ในปี 2526, 2529 และ 2532

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 George M. Dunnavan; John W. Dierks (1980). "An Analysis of Super Typhoon Tip (October 1979)" วารสาร Monthly Weather Review. ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม
  2. University of Rhode Island. "1979- Typhoon Tip"
  3. Japan Meteorological Agency. "RSMC Best Track Data (Text)" (TXT).
  4. 4.0 4.1 4.2 Debi Iacovelli; Tim Vasquez (August 1998). Marthin S. Baron (ed.). "Super Typhoon Tip: Shattering all records" (PDF). Mariners Weather Log. โครงการ Voluntary Observing Ship Project.
  5. 5.0 5.1 "History of the U.S. Naval Mobile Construction Battalion FOUR". U.S. Naval Construction Force. 2004
  6. "Camp Fuji Fire Memorial". เหล่านาวิกโยธินสหรัฐ. 2006-08-03
  7. George M. Dunnavan; John W. Diercks (1980)"An Analysis of Super Typhoon Tip (October 1979)"
  8. "International News". Associated Press. 1979-10-22.
  9. National Weather Service Southern Region Headquarters (2010-01-05). "Tropical Cyclone Structure" เก็บถาวร 2013-12-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. JetStream - Online School for Weather: Tropical Weather.
  10. Bryan Norcross (2007). Hurricane Almanac: The Essential Guide to Storms Past, Present, and Future. St. Martin's Press.
  11. Steve Stone (2005-09-22). "Rare Category 5 hurricane is history in the making". The Virginia Pilot.
  12. M. Ragheb (2011-09-25). "Natural Disasters and Man made Accidents" (PDF). University of Illinois at Urbana-Champaign
  13. Jay Barnes (2007). Florida's Hurricane History. Chapel Hill Press.
  14. National Weather Service (2005). "Super Typhoon Tip". องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ
  15. Karl Hoarau; Gary Padgett; Jean-Paul Hoarau (2004). Have there been any typhoons stronger than Super Typhoon Tip? (PDF)
  16. Satellite Services Division (2013). "Typhoon 31W". National Environmental Satellite, Data, and Information Service.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]