พายุไต้ฝุ่นแนนซี (พ.ศ. 2504)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซุปเปอร์ไต้ฝุ่นแนนซี
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ภาพเรดาร์ของพายุแนนซี
ภาพเรดาร์ของพายุแนนซี
ภาพเรดาร์ของพายุแนนซี
ก่อตัว 7 กันยายน พ.ศ. 2504
สลายตัว 22 กันยายน พ.ศ. 2504
(เป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนหลังวันที่ 16 กันยายน)
ความเร็วลม
สูงสุด
เฉลี่ยลมใน 1 นาที:
345 กม./ชม. (215 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด 882 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.05 นิ้วปรอท)
ผู้เสียชีวิต 202 (ได้ยืนยันอย่างเป็นทางการ รวมถึง 8 คนหายสาบสูญ)
ความเสียหาย 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี 1961)
4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2006)
พื้นที่ได้รับ
ผลกระทบ
กวม, หมู่เกาะริวกิว, ญี่ปุ่น
ส่วนหนึ่งของ
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2504

ซุปเปอร์ไต้ฝุ่นแนนซี หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ไต้ฝุ่นมุโรโตะครั้งที่ 2 (ญี่ปุ่น: 第二室戸台風โรมาจิDaini-muroto Taifū) เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่ทรงพลังอย่างมากในฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2504 และเป็นหนึ่งในพายุที่รุนแรงที่สุด พายุนี้อาจมีความเร็วลมแรงที่สุดที่เคยวัดมาโดยอยู่อันดับเดียวกับพายุเฮอริเคนแพทริเซียในปี 2558 พายุแนนซีสร้างความเสียหายอย่างกว้างขวางรวมถึงผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 202 คนและบาดเจ็บอีกเกือบห้าพันคนในญี่ปุ่นและที่อื่น ๆ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2504

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา[แก้]

แผนที่แสดงเส้นทางและความรุนแรงของพายุตามมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน

พายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นในวันที่ 7 กันยายนจากหย่อมความกดอากาศต่ำ ใกล้กับ Kwajalein Atoll พายุทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในเวลานั้นตำแหน่งของพายุแนนซีมีการเปลี่ยนแปลง และพายุเกือบถึงระดับพายุไต้ฝุ่นเมื่อวันที่ 8 กันยายน พายุมีการเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเรื่อย ๆ พายุแนนซีเกิดการทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีความเร็วลมเทียบเท่ากับซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (ตามมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน) ในวันที่ 9 กันยายน[1]

ไม่นานหลังจากถึงจุดแรงสุด พายุแนนซีมุ่งเข้าหาหมู่เกาะรีวกีว และเริ่มเปลี่ยนทิศ ไปทางโอกินาวา และเกาะฮาเสะ อิทธิพลจากสันเขาทำให้ไต้ฝุ่นหันไปทางประเทศญี่ปุ่น พายุแนนซีขึ้นฝั่งขณะที่เป็นพายุไต้ฝุ่นที่ทรงพลังเมื่อวันที่ 16 กันยายนขณะที่มันผ่านตรงไปยัง มุโรโต-ซากิ พายุแนนซีขึ้นฝั่งครั้งที่สองบนเกาะฮนชู ใกล้กับโอซากะ พายุไต้ฝุ่นเดินทางไปตามแนวยาวของเกาะอย่างรวดเร็วขณะที่เร่งความเร็วต่อไป ในท้ายที่สุดก็มาถึงระดับความเร็ว 65 ไมล์ต่อชั่วโมง (105 กม./ชม. หรือประมาณ 56 นอต) พายุไต้ฝุ่นข้ามผ่านเกาะอย่างรวดเร็วข้ามฮอกไกโด ก่อนเข้าสู่ ทะเลโอค็อตสค์ ในระดับของพายุโซนร้อน พายุแนนซีกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน ในวันที่ 17 กันยายน พายุกึ่งเขตร้อนในที่สุดก็ข้ามผ่าน คาบสมุทรคัมชัตคา และเข้าสู่มหาสมุทรเปิด[2]

ผลกระทบ[แก้]

แม้ว่าจะไม่ทราบถึงความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั้งหมด แต่ความเสียหายนั้นเป็น "ปรากฏการณ์" ในทุกพื้นที่ที่พายุแนนซีเข้าปะทะ เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลญี่ปุ่นยืนยันว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 194 คนและ 8 คนสูญหาย

กวม[แก้]

บน เกาะกวม พืชผลครึ่งหนึ่งถูกทำลายเนื่องจากลมและฝนตกหนัก รวมมูลค่าความเสียหาย 40,000 ดอลลาร์ (USD; ค่าเงินปี พ.ศ. 2504) ความเสียหายส่วนมากเกิดขึ้นกับถนนบนเกาะ ความเสียหายส่วนใหญ่อยู่ทางใต้สุดของเกาะ ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตในกวม

ประเทศญี่ปุ่น[แก้]

ในประเทศญี่ปุ่น ตามรายงานยืนยันอย่างเป็นทางการจากหน่วยดับเพลิงและการจัดการภัยพิบัติญี่ปุ่น รายงานว่ามีผู้เสียชีวิต 194 รายสูญหาย 8 รายและบาดเจ็บ 4,972 ราย ยอดเหล่านี้ทำให้ในเวลานั้นไต้ฝุ่นแนนซีเป็นไต้ฝุ่นที่อันตรายเป็นอันดับหกที่เข้าปะทะญี่ปุ่น คำเตือนที่รวดเร็วและการเตรียมการที่ดี เป็นสาเหตุที่มีจำนวนผู้เสียชีวิตที่ค่อนข้างต่ำ ความเสียหายนั้น "น้อย" เมื่อเทียบกับไต้ฝุ่นลูกอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่ประชากรหนาแน่นของญี่ปุ่น

ชีวิตของผู้คนหลายแสนคนได้รับผลกระทบ ซูเปอร์ไต้ฝุ่นแนนซีทำลายบ้านเรือน 11,539 หลัง เสียหาย 32,604 หลังคาเรือนและน้ำท่วมอีก 280,078 แห่ง แม้ว่าจำนวนที่ยืนยันอาจไม่แน่นอน หนังสือพิมพ์ Stars and Stripe รายงานเมื่อปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2504 ว่าเรือโดยเฉพาะเรือประมงมากกว่า 1,056 ลำถูกจมหรือถูกพัดขึ้นฝั่ง

น้ำท่วมทำให้สะพานจำนวน 566 แห่งเสียหาย และทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม 1,146 แห่ง ถนนถูกทำลายไปทั้งหมด 2,053 แห่ง ความเสียหายที่โอซากะ มีจำนวนถึง 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี พ.ศ. 2504)[3]

สถิติ[แก้]

เครื่องบินลาดตระเวนที่บินเข้าไปในพายุไต้ฝุ่นในขณะที่มีความหนาแน่นใหล้จุดสูงสุดในวันที่ 12 กันยายน ได้วัดความเร็วลมเฉลี่ยหนึ่งนาทีของพายุแนนซีได้ 185 นอต (215 ไมล์ต่อชั่วโมง; 345 กม./ชม.) หากค่าที่วัดได้นี้มีความน่าเชื่อถือจะเป็นความเร็วลมสูงสุดที่เคยวัดได้ในกลุ่มพายุหมุนเขตร้อน[4] อย่างไรก็ตามในภายหลังได้มีการพิจารณาแล้วว่าการวัดและการประมาณค่าความเร็วลมจากปี ค.ศ. 1940 ถึง 1960 นั้นมากเกินไป ดังนั้นความเร็วลมของพายุแนนซีอาจต่ำกว่าค่าวัดได้ที่ดีที่สุดอย่างเป็นทางการ[4] ในปี พ.ศ. 2559 การวิเคราะห์ซ้ำในกรณีของพายุเฮอริเคนแพทริเซีย ได้มีการตั้งข้อสังเกตว่าพายุแพทริเชียอาจมีความแรงลมเทียบเท่ากับพายุแนนซีซึ่งเป็นสถิติที่สูงที่สุดในฝั่งซีกโลกตะวันตก[5]

ถึงแม้ว่ามาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน (SSHWS) จะยังไม่มีอยู่ในตอนนั้น แต่แนนซีอาจจะถูกจัดอยู่ในระดับ 5 นานห้าวันครึ่ง (หรือ 132 ชั่วโมง) โดยสันนิษฐานว่าข้อมูลความเร็วลมนั้นมีความน่าเชื่อถือ ถ้าเป็นเช่นนั้นนี่จะเป็นสถิติของซีกโลกเหนือ และกินเวลายาวนานกว่าอันดับที่สองคือไต้ฝุ่นคาเรนในปี พ.ศ. 2505 หนึ่งวัน[6]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Unisys Tracking Data accessed March 7, 2006
  2. Digital Typhoon: Typhoon list View accessed March 7, 2006
  3. David Longshore Encyclopedia of Hurricanes, Typhoons, and Cyclones pg. 233
  4. 4.0 4.1 NOAA Tropical Cyclone FAQ Subject E1 เก็บถาวร ธันวาคม 6, 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน accessed March 7, 2006
  5. Feltgen, Dennis (2016-02-04). "Tropical Cyclone Report for 2015's Hurricane Patricia Released" (PDF) (Press release). National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ 2016-02-04.
  6. NOAA Tropical Cyclone FAQ Subject E8 เก็บถาวร พฤษภาคม 27, 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน accessed March 7, 2006

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]