พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารุจาวรฉวี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารุจาวรฉวี
พระราชวรวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นโท
ประสูติ22 กรกฎาคม พ.ศ. 2417
สิ้นพระชนม์18 ตุลาคม พ.ศ. 2478 (61 ปี)
หม่อมหม่อมน้อม รุจจวิชัย ณ อยุธยา
พระบุตรหม่อมเจ้าฉวีวงศ์ รุจจวิชัย
หม่อมเจ้าพงศ์รุจา รุจจวิชัย
ราชสกุลรุจจวิชัย
ราชวงศ์จักรี
พระบิดากรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
พระมารดาจอมมารดาสมบุญ

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารุจาวรฉวี (22 กรกฎาคม พ.ศ. 2417 — 18 ตุลาคม พ.ศ. 2478) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 19 ในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ประสูติแต่จอมมารดาสมบุญ

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารุจาวรฉวี
รับใช้กรมวังนอก
ชั้นยศ ร้อยเอก

พระประวัติ[แก้]

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารุจาวรฉวี ประสูติเมื่อวันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2417[1] เป็นพระราชโอรสในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ที่ประสูติแต่จอมมารดาสมบุญ ธิดาพระยาภักดีภูบาล[2]

พระองค์เจ้ารุจาวรฉวีทรงรับราชการในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีความรู้ทางช่างจากวังหน้ามาก่อน จึงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นปลัดกรมวังนอก บังคับการพลชาววังประจำการในพระบรมมหาราชวัง[3] ว่าที่นายร้อยเอกบังคับกอง กองร้อยที่ 1 กรมวังนอก[4] ผู้ช่วยเจ้ากรมวังนอก ทรงบังคับบัญชาทหารรักษาวัง และกำกับพนักงานยิงปืนบอกเวลา ต่อมาเมื่อมีการโอนย้ายกรมช่างสิบหมู่มาสังกัดกรมวังนอก พระองค์จึงได้เปลี่ยนมาทรงงานช่างที่ถนัด จนสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว[5]

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารุจาวรฉวี สิ้นพระชนม์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2478[6] สิริพระชันษา 61 ปี[1]

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารุจาวรฉวี เป็นต้นราชสกุลรุจจวิชัย[7] เสกสมรสกับหม่อมน้อม รุจจวิชัย ณ อยุธยา มีพระโอรสและพระธิดา 2 องค์ คือ

  • หม่อมเจ้าหญิงฉวีวงศ์ รุจจวิชัย (ประสูติ พ.ศ. 2448) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์เพื่อสมรส
  • หม่อมเจ้าพงศ์รุจา รุจจวิชัย[8] (5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 — 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2516) เสกสมรสกับหม่อมสมศรี รุจจวิชัย ณ อยุธยา และหม่อมนิลุบล รุจจวิชัย ณ อยุธยา มีโอรสและธิดา ดังนี้
    • หม่อมราชวงศ์ชาญชัย รุจจวิชัย
    • หม่อมราชวงศ์ไวยวุฒิ รุจจวิชัย
    • หม่อมราชวงศ์ชุติชนิศ รุจจวิชัย
    • หม่อมราชวงศ์อิศเรศ รุจจวิชัย
    • หม่อมราชวงศ์เชษฐชัย รุจจวิชัย
    • หม่อมราชวงศ์รมัยฤทธิ์ รุจจวิชัย
    • หม่อมราชวงศ์หญิงมิสกมาน รุจจวิชัย
    • หม่อมราชวงศ์หญิงภุมวารวดี รุจจวิชัย
    • หม่อมราชวงศ์อัจฉรีย์ชัย รุจจวิชัย
    • หม่อมราชวงศ์หญิงปรไมศวรรย์ รุจจวิชัย

พระอิสริยยศ[แก้]

  • 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2417 — 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 : พระบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารุจาวรฉวี[9]
  • 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 — 18 ตุลาคม พ.ศ. 2478 : พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารุจาวรฉวี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 142. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2017-06-30.
  2. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. ตำนานวังเก่า. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แสงดาว, พ.ศ. 2553. 178 หน้า. หน้า 127. ISBN 978-616-508-214-3
  3. ตำแหน่งข้าราชการกระทรวงวัง ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 13 หน้า 326
  4. ตำแหน่งข้าราชการกระทรวงวัง
  5. สมประสงค์ ทรัพย์พาลี. ๑๐๑ จุลจักรี ๑๐๑ ปีจุลจอมเกล้า. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ๒๓๒๕, พ.ศ. 2554. 142 หน้า. หน้า 151. ISBN 978-616-90926-0-5
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก วันจันทร์ที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ เล่ม 52 ตอน 0 ง, 27 ตุลาคม พ.ศ. 2478, หน้า 2247.
  7. "ย้อนรอยสายราชสกุล…ในพระบรมราชจักรีวงศ์ (จบ)". ASTV ผู้จัดการรายวัน. 13 กุมภาพันธู์ 2551. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-22. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  8. หนังสืออนุสรณ์พระราชทานเพลิงหม่อมเจ้าพงศ์รุจา รุจจวิชัย https://archive.org/details/unset0000unse_d5r0/page/n7
  9. ราชบัณฑิตยสถาน. พระเจ้าวรวงศ์เธอ (ตอนที่ ๑) (๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒). เรียกดูเมื่อ 13 กันยายน 2563
  10. โรงเรียนมหาดเล็ก. บาญชีพระบรมวงษานุวงษ์ฝ่ายน่าฝ่ายใน ศก 128. กรุงเทพ : โรงพิมพ์สามมิตร, พ.ศ. 2452. 70 หน้า. หน้า 7.
  11. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2018-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 37 หน้า 358 ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 7 ตุลาคม 119
  12. พระราชทานเหรียญราชรุจิ เล่ม 18 หน้า 438 ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 29 กันยายน 120