พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรวิสุทธิ์
พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรวิสุทธิ์ | |
---|---|
พระราชวรวงศ์เธอ ชั้น 5 พระองค์เจ้าชั้นโท | |
ประสูติ | 21 มกราคม พ.ศ. 2426 |
สิ้นพระชนม์ | 8 เมษายน พ.ศ. 2453 (27 ปี) |
ชายา | หม่อมเจ้ากมลเปรมปรีดิ์ วิสุทธิ |
พระบุตร | หม่อมเจ้าพงศ์ประพันธ์ วิสุทธิ หม่อมเจ้านันทิวัฒน์ วิสุทธิ หม่อมเจ้ารัตยากร วิสุทธิ หม่อมเจ้าขจรปรีดี วิสุทธิ |
ราชสกุล | วิสุทธิ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ |
พระมารดา | จอมมารดาสอาด |
นายร้อยตรี พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรวิสุทธิ์ (21 มกราคม พ.ศ. 2426 — 8 เมษายน พ.ศ. 2453) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 27 ในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ประสูติแต่จอมมารดาสอาด (ธิดาพระยาทิพมณเฑียร)[1] เมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ แรม 9 ค่ำ ปีมะแม เบญจศก จ.ศ. 1245 ตรงกับวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2426 พระองค์เจ้าบวรวิสุทธิ์ทรงรับราชการที่กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[2] ทรงเป็นที่โปรดปรานของ "พระพุทธเจ้าหลวง" แต่พระองค์ยังไม่ได้ทรงกรม ก็สิ้นพระชนม์เมื่อวันศุกร์ เดือน 4 แรม 14 ค่ำ ปีจอ โทศก จ.ศ. 1272 ตรงกับวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2453 สิริพระชันษา 28 ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2455 เป็นต้นราชสกุล วิสุทธิ [3]
พระโอรสธิดา
[แก้]พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรวิสุทธิ์ เสกสมรสกับหม่อมเจ้ากมลเปรมปรีดิ์ วิสุทธิ (ราชสกุลเดิม นวรัตน; พระธิดาในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ กับหม่อมนุ่ม นวรัตน ณ อยุธยา) มีพระโอรสธิดา 6 องค์ คือ
- หม่อมเจ้าชาย(ไม่ปรากฏพระนาม)
- หม่อมเจ้าหญิงพงศ์ประพันธ์ วิสุทธิ (ประสูติ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2445)
- หม่อมเจ้านันทิวัฒน์ วิสุทธิ (สิ้นชีพิตักษัย 22 มกราคม พ.ศ. 2449 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2455)
- หม่อมเจ้ารัตยากร วิสุทธิ เสกสมรสกับหม่อมเจ้าสุลัภวัลเลง วิสุทธิ (ราชสกุลเดิม สวัสดิวัตน์) มีโอรส ดังนี้
- หม่อมราชวงศ์เกษมวิสุทธิ์ วิสุทธิ
- หม่อมราชวงศ์สุทธิสวัสดิ์ วิสุทธิ
- หม่อมราชวงศ์โสรัจจ์ วิสุทธิ
- หม่อมเจ้าชาย(ไม่ปรากฏพระนาม)
- หม่อมเจ้าขจรปรีดี วิสุทธิ (ประสูติปี พ.ศ. 2450) เสกสมรสกับหม่อมมณี วิสุทธิ ณ อยุธยา มีธิดา คือ
- หม่อมราชวงศ์กันดา วิสุทธิ
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของพระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรวิสุทธิ์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. ตำนานวังเก่า. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แสงดาว, พ.ศ. 2553. 178 หน้า. หน้า 127. ISBN 978-616-508-214-3
- ↑ สมประสงค์ ทรัพย์พาลี. ๑๐๑ จุลจักรี ๑๐๑ ปี จุลจอมเกล้า. กรุงเทพ : [ม.ป.พ.], พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2555. 154 หน้า. ISBN 9786169092605
- ↑ "ย้อนรอยสายราชสกุล…ในพระบรมราชจักรีวงศ์ (จบ)". ASTV ผู้จัดการรายวัน. 13 กุมภาพันธู์ 2551. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-22. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help)