ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ประเทศไทย)
ผู้สำเร็จราชการแทน แห่งราชอาณาจักรไทย | |
---|---|
ธงประจำตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ | |
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน ตำแหน่งว่าง ตั้งแต่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 | |
ผู้แต่งตั้ง | พระมหากษัตริย์ไทย |
วาระ | ขึ้นอยู่กับพระมหากษัตริย์ |
สถาปนา | พ.ศ. 2411 |
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็นผู้บริหารราชการแผ่นดินในพระปรมาภิไธยหรือพระนามาภิไธยพระมหากษัตริย์ไทย เนื่องจากพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในสถานะพิเศษ หรือทรงพระประชวรก็ดี ทรงไม่อาจบริหารพระราชกิจได้ก็ดี หรือไม่ทรงอยู่ในประเทศไทยก็ดี
ข้อกำหนดตามรัฐธรรมนูญ
[แก้]รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ภายใต้วิธีการและเงื่อนไขดังต่อไปนี้
มาตรา 16
ในเมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือจะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ด้วยเหตุใดก็ตาม จะทรงแต่งตั้งบุคคลคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นคณะขึ้น ให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์หรือไม่ก็ได้ และในกรณีที่ทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
มาตรา 17
ในกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามมาตรา 16 หรือในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่สามารถทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพราะยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะหรือเพราะเหตุอื่น แต่ต่อมาคณะองคมนตรีพิจารณาเห็นว่ามีความจำเป็นสมควรแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และไม่อาจกราบบังคมทูลให้ทรงแต่งตั้งได้ทันการ ให้คณะองคมนตรีเสนอชื่อบุคคลคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นคณะ ตามลำดับที่โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมกำหนดไว้ก่อนแล้วให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แล้วแจ้งประธานรัฐสภาเพื่อประกาศในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ แต่งตั้งผู้นั้นขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
มาตรา 18
ในระหว่างที่ไม่มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามมาตรา 16 หรือ มาตรา 17 ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน
ในกรณีที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา 16 หรือ มาตรา 17 ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ประธานองคมนตรีทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน
ในระหว่างที่ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามวรรคหนึ่งหรือในระหว่างที่ประธานองคมนตรีทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามวรรคสอง ประธานองคมนตรีจะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นประธานองคมนตรีมิได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้คณะองคมนตรีเลือกองคมนตรีคนหนึ่งขึ้นทำหน้าที่ประธานองคมนตรีเป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน
ธงประจำตำแหน่ง
[แก้]ธงประจำตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์กำหนดให้มีขึ้นครั้งแรกในพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2479 สำหรับใช้เป็นเกียรติยศของผู้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ธงนี้มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส พื้นธงสีขาว ตรงกลางของผืนธงมีอาร์มสีเหลือง กว้าง 1 ใน 3 ส่วนของความกว้างของผืนธง ภายในอาร์มสีเหลืองมีอาร์มสีธงชาติกว้าง 3 ใน 5 ส่วนของความกว้างของอาร์มสีเหลือง เหนืออาร์มมีครุฑพ่าห์สีแดงขนาดเท่าอาร์มสีเหลือง
รายพระนามและรายนามผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของไทย
[แก้]รัชกาลที่ 5
[แก้]ลำดับ | รูป | รายพระนาม/รายนาม | ระยะการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
1 | สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) | พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2416 | ผู้สำเร็จราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(ครองราชสมบัติครั้งที่ 1) | |
2 | สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอัครราชเทวี | 7 เมษายน พ.ศ. 2440[1] - 16 ธันวาคม พ.ศ. 2440 | ผู้สำเร็จราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1 ซึ่งภายหลังได้มีการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น
สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ | |
3 | สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร | 27 มีนาคม พ.ศ. 2450[2] - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450 | ผู้สำเร็จราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ซึ่งภายหลังได้ทรงขึ้นครองสิริราชสมบัติเป็น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) |
รัชกาลที่ 6
[แก้]ลำดับ | รูป | รายพระนาม/รายนาม | ระยะการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
1 | สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา | พ.ศ. 2468 | ผู้สำเร็จราชการในขณะที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประชวรเมื่อปลายรัชกาล ซึ่งภายหลังขึ้นครองราชย์เป็น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) |
รัชกาลที่ 7
[แก้]ลำดับ | รูป | รายพระนาม/รายนาม | ระยะการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
1 | สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต | 9 เมษายน พ.ศ. 2475 - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 | ผู้สำเร็จราชการในขณะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออกจากกรุงเทพมหานครในช่วงเสด็จแปรพระราชฐานฤดูร้อน โดยพระองค์เสด็จไปประทับยังวังไกลกังวล ที่หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ | |
2 | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ | 12 มกราคม พ.ศ. 2477[3][2] - 2 มีนาคม พ.ศ. 2478[2] | ผู้สำเร็จราชการในขณะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จยังต่างประเทศ จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ พระองค์จึงพ้นจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ |
รัชกาลที่ 8
[แก้]เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรยังทรงพระเยาว์ ไม่สามารถปฏิบัติพระราชภารกิจได้ สภาผู้แทนราษฎรจึงได้ตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขึ้น ประกอบด้วย[4]
ลำดับ | รูป | รายพระนาม/รายนาม | ระยะการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
1 | พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ | 2 มีนาคม พ.ศ. 2478[2] - 12 สิงหาคม พ.ศ. 2478 | ทรงเป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ต่อมาพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ | |
2 | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา | 2 มีนาคม พ.ศ. 2478[2] - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 | เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หลังจากการสิ้นพระชนม์ของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ ทำให้ทรงเป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต่อมาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ทรงลาออกจากตำแหน่ง | |
3 | เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) | 2 มีนาคม พ.ศ. 2478[2] - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2481 | เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต่อมาเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ถึงแก่อสัญกรรม ทำให้พ้นจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ | |
4 | เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน) | 21 สิงหาคม พ.ศ. 2478[5] - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 | ได้รับการแต่งตั้งหลังจากการสิ้นพระชนม์ของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2478)
ต่อมาเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธินถึงแก่อสัญกรรม ทำให้พ้นจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ | |
5 | หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) | 16 ธันวาคม พ.ศ. 2484[6] - 20 กันยายน พ.ศ. 2488 | ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2484
แทนเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ซึ่งถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ ต่อมาเมื่อเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน ถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ. 2485 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ทรงลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 และไม่ได้แต่งตั้งผู้ใดเพิ่ม จึงมีนายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แต่ผู้เดียว[7] |
รัชกาลที่ 9
[แก้]ลำดับ | รูป | รายพระนาม/รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ |
พระสุธรรมวินิจฉัย (ชม วณิกเกียรติ) | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | 16 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | เป็นผู้สำเร็จราชการแทนเป็นการชั่วคราว[8] | ||
พระยานลราชสุวัจน์ (ทองดี นลราชสุวัจน์) | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | 16 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | เป็นผู้สำเร็จราชการแทนเป็นการชั่วคราว[8] | ||
สงวน จูฑะเตมีย์ | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | 16 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | เป็นผู้สำเร็จราชการแทนเป็นการชั่วคราว[8] | ||
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร | 16 มิถุนายน พ.ศ. 2489[9] | 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 | |||
พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) | |||||
คณะอภิรัฐมนตรี ทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ |
9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490[10] | 23 มกราคม หรือ 23 มีนาคม พ.ศ. 2492 | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ได้ให้อำนาจในการจัดตั้ง
คณะอภิรัฐมนตรี ประกอบด้วย | ||
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร | 23 มิถุนายน พ.ศ. 2492[11] | พ.ศ. 2492 | |||
4 มิถุนายน พ.ศ. 2493[12] | 7 มีนาคม พ.ศ. 2494 | ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ สิ้นพระชนม์ขณะดำรงตำแหน่ง | |||
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร | 12 มีนาคม พ.ศ. 2494[13] | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2495 | |||
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี | 22 ตุลาคม พ.ศ. 2499[14] | 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 | ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระผนวช
ซึ่งภายหลังได้มีการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ | ||
สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ | 18 ธันวาคม พ.ศ. 2502[15] | 21 ธันวาคม พ.ศ. 2502 | ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนสาธารณรัฐเวียดนาม | ||
8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503[16] | 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 | ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนสาธารณรัฐอินโดนีเซีย | |||
2 มีนาคม พ.ศ. 2503[17] | 5 มีนาคม พ.ศ. 2503 | ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนสหภาพพม่า | |||
14 มิถุนายน พ.ศ. 2503[18] | 18 มกราคม พ.ศ. 2504 | ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนสหรัฐอเมริกา และหลายประเทศในทวีปยุโรป | |||
11 มีนาคม พ.ศ. 2505[19] | 22 มีนาคม พ.ศ. 2505 | ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนสาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน | |||
20 มิถุนายน พ.ศ. 2505[20] | 27 มิถุนายน พ.ศ. 2505 | ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนสหพันธรัฐมาลายา | |||
17 สิงหาคม พ.ศ. 2505[21] | 13 กันยายน พ.ศ. 2505 | ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนนิวซีแลนด์และเครือรัฐออสเตรเลีย | |||
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร (ประธานองคมนตรี) |
27 พฤษภาคม พ.ศ. 2506[22] | 8 มิถุนายน พ.ศ. 2506 | ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนประเทศญี่ปุ่นและสาธารณรัฐจีน | ||
9 กรกฎาคม พ.ศ. 2506[23] | 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 | ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ | |||
สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ | 12 กันยายน พ.ศ. 2507[24] | 6 ตุลาคม พ.ศ. 2507 | ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนราชอาณาจักรกรีซ และสาธารณรัฐออสเตรีย | ||
15 กรกฎาคม พ.ศ. 2509 [25] | 7 ตุลาคม พ.ศ. 2509 | ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนสหราชอาณาจักร | |||
23 เมษายน พ.ศ. 2510[26] | 30 เมษายน พ.ศ. 2510 | ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนจักรวรรดิอิหร่าน | |||
6 มิถุนายน พ.ศ. 2510[27] | 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 | ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนสหรัฐอเมริกาและแคนาดา |
รัชกาลที่ 10
[แก้]ลำดับ | รูป | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ |
1 | เปรม ติณสูลานนท์ | 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 | 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559[28] | เป็นผู้สำเร็จราชการแทนเป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน โดยผลของมาตรา 24 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550[29] ประกอบมาตรา 2 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557[30] ระหว่างรอพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ตอบรับคำเชิญเถลิงราชสมบัติกษัตริย์รัชกาลใหม่[31][32] โดยมิได้มีการประกาศแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๓, แผ่นที่ ๕๑, วันที่ ๒๑ มีนาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๕, หน้า ๕๙๙
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 นับตามปีปฏิทินสากล
- ↑ พระราชกฤษฎีกา ตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พุทธศักราช ๒๔๗๖ เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา, ๑๑ มกราคม ๒๔๗๖, เล่ม ๕๐, หน้า ๘๓๘, สืบค้นวันที่ 6 พฤศจิกายน 2561
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพิเศษ เรื่อง ตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๑, ตอน ๐ก, ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗, หน้า ๑๓๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ ตั้งซ่อมคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และตั้งประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ใหม่ เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๒, ตอน ๐ก, ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘, หน้า ๑๒๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งซ่อมคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘, ตอน ๐ก, ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔, หน้า ๑๘๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร เรื่องตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , เล่ม ๖๑, ตอน ๔๕ก, ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๗, หน้า ๗๓๐
- ↑ 8.0 8.1 8.2 พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๖ ราย)
- ↑ ประกาศ ตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศแต่งตั้ง อภิรัฐมนตรี เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 64, ตอน 54, 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490, หน้า 688
- ↑ "ประกาศ ตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2018-11-06.
- ↑ "ประกาศ ตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2018-11-06.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้ง ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์, เล่ม 69, ตอน 18, 20 มีนาคม พ.ศ. 2494, หน้า 402
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้ง สมเด็จเจ้าฟ้ามหานคร กริชกรณ์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในระหว่างที่ผนวช เก็บถาวร 2011-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 73, ตอน 76 ก, 25 กันยายน พ.ศ. 2499, หน้า 1035
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤติยากร ประธานองคมนตรี)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤติยากร ประธานองคมนตรี)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
- ↑ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์ เป็นพระมหากษัตริย์ "ประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 133 (102 ก): 2. 1 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2567.
- ↑ มาตรา 24 ในระหว่างที่ยังไม่มีประกาศอัญเชิญองค์พระรัชทายาทหรือองค์ผู้สืบราชสันตติวงศ์ขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ตามมาตรา 23 ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน แต่ในกรณีที่ราชบัลลังก์ว่างลงในระหว่างที่ได้แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไว้ตามมาตรา 18 หรือมาตรา 19 หรือระหว่างเวลาที่ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามมาตรา 20 วรรคหนึ่ง ให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์นั้น ๆ แล้วแต่กรณี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อไป ทั้งนี้ จนกว่าจะได้ประกาศอัญเชิญองค์พระรัชทายาทหรือองค์ผู้สืบราชสันตติวงศ์ขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์
- ↑ มาตรา 2 ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้บทบัญญัติของหมวด 2 พระมหากษัตริย์ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 11/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 ยังคงใช้บังคับต่อไปเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญนี้ และภายใต้บังคับมาตรา 43 วรรคหนึ่ง ที่ใดในบทบัญญัติดังกล่าวอ้างถึงรัฐสภา หรือประธานรัฐสภา ให้หมายถึง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามรัฐธรรมนูญนี้ แล้วแต่กรณี
- ↑ กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี (2017-01-01). "เหตุการณ์แห่งปี ร.10 ขึ้นทรงราชย์ 1 ธ.ค. 59". สืบค้นเมื่อ 2024-03-28.
- ↑ "Thailand's King Bhumibol Adulyadej dead at 88". BBC News. 13 October 2016. สืบค้นเมื่อ 28 March 2024.