ข้ามไปเนื้อหา

บัณฑิต ฤทธิ์ถกล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บัณฑิต ฤทธิ์ถกล
เกิด21 มีนาคม พ.ศ. 2494 [1]
บัณฑิต ลี้ตระกูล
เสียชีวิต1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 (อายุ 58 ปี)
โรงพยาบาลวชิรพยาบาล
คู่สมรสนันทนา คุ้มวงษ์ [2]
อาชีพผู้กำกับ, นักเขียนบท
ปีที่แสดงพ.ศ. 2526 - 2552
ผลงานเด่นด้วยเกล้า
บุญชู (ภาค 1-9)
พระสุรัสวดีผู้กำกับยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2544 - 14 ตุลา สงครามประชาชน
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2532 - บุญชู 2 น้องใหม่
พ.ศ. 2544 - 14 ตุลา สงครามประชาชน
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2533 - ส.อ.ว.ห้อง 2 รุ่น 44
บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2544 - 14 ตุลา สงครามประชาชน
สุพรรณหงส์ผู้กำกับยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2535 - อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป
พ.ศ. 2537 - กาลครั้งหนึ่งเมื่อเช้านี้
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2530 - ด้วยเกล้า
พ.ศ. 2535 - อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป
พ.ศ. 2537 - กาลครั้งหนึ่งเมื่อเช้านี้
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2530 - ด้วยเกล้า
พ.ศ. 2537 - กาลครั้งหนึ่งเมื่อเช้านี้
ชมรมวิจารณ์บันเทิงผู้กำกับยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2533 - ส.อ.ว.ห้อง 2 รุ่น 44
พ.ศ. 2535 - อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2533 - ส.อ.ว.ห้อง 2 รุ่น 44
พ.ศ. 2535 - อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป
พ.ศ. 2544 - 14 ตุลา สงครามประชาชน
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2533 - ส.อ.ว.ห้อง 2 รุ่น 44
พ.ศ. 2544 - 14 ตุลา สงครามประชาชน
ฐานข้อมูล
IMDb
ThaiFilmDb

บัณฑิต ฤทธิ์ถกล (21 มีนาคม พ.ศ. 2494 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552) ผู้กำกับภาพยนตร์และนักเขียนบทภาพยนตร์ชาวไทย มีผลงานที่มีชื่อเสียงจากภาพยนตร์ ด้วยเกล้า (2530) และภาพยนตร์ในชุด บุญชู ที่สร้างชื่อเสียงให้กับดาราคู่ขวัญ จินตหรา สุขพัฒน์ และสันติสุข พรหมศิริ ซึ่งมีการสร้างภาคต่อรวมทั้งสิ้น 8 ครั้ง [3]

ประวัติ

[แก้]

บัณฑิต ฤทธิ์ถกล เกิดที่อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน โดยบัณฑิตเป็นพี่คนโต จบการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา และอัสสัมชัญพานิช เมื่อ พ.ศ. 2514 จากนั้นเริ่มทำงานเป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น และเริ่มทำงานเขียนคอลัมน์วิจารณ์ภาพยนตร์ เขียนบทภาพยนตร์ และเป็นผู้ช่วยผู้กำกับในภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น โบตั๋น (2518), เสือภูเขา (2522), ไอ้ผาง ร.ฟ.ท. (2525), ทอง ภาค 2 (2525)

ผลงานกำกับภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกของบัณฑิต คือเรื่อง คาดเชือก เมื่อ พ.ศ. 2526 ออกฉายปี พ.ศ. 2527 จากนั้นจึงมาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ของบริษัทไฟว์สตาร์ จากการแนะนำของ ชาลี อินทรวิจิตร (ศิลปินแห่งชาติ) นักแต่งเพลงและผู้กำกับภาพยนตร์ที่บัณฑิตเคยช่วยกัน โดยเริ่มด้วยเรื่อง คู่วุ่นวัยหวาน (2529) จนถึงเรื่อง กาลครั้งหนึ่งเมื่อเช้านี้ (2537) ก่อนจะเปิดบริษัทของตนเองโดยรับผลิตภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ และกลับมาร่วมงานกับไฟว์สตาร์อีกครั้ง โดยกำกับภาพยนตร์เรื่อง สตางค์, 14 ตุลาสงครามประชาชน ต่อมาได้ร่วมงานกับค่ายสหมงคลฟิล์ม และพระนครฟิล์ม โดยภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องสุดท้ายที่กำกับคือ อนึ่ง คิดถึงเป็นอย่างยิ่ง กับไฟว์สตาร์ และยังมีผลงานการกำกับภาพยนตร์ขนาดสั้นอีก 2 เรื่อง

บัณฑิตป่วยเป็นโรคไตตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ต้องเข้ารับการฟอกไตเป็นประจำ และในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 บัณฑิตเกิดอาการหัวใจวายในขณะที่ทำการฟอกโลหิต และได้เสียชีวิตในเวลาต่อมา[4]

ผลงานกำกับภาพยนตร์

[แก้]

บทภาพยนตร์

[แก้]

อำนวยการสร้าง

[แก้]

ดำเนินงานสร้าง

[แก้]

ที่ปรึกษาภาพยนตร์

[แก้]

โปรดิวเซอร์

[แก้]

ผลงานแสดงภาพยนตร์

[แก้]
ปี เรื่อง บทบาท
2531 คู่กรรม หมอโยชิ
2531 เขาชื่อกานต์
2535 เจาะเวลาหาโก๊ะ

กำกับละคร

[แก้]

บทละคร

[แก้]

แสดงละคร

[แก้]
  • ชมรมขนหัวลุก FRIDAY ตอน มหกรรมขนหัวลุก กับ 3 ผู้กำกับระดับหัวกะทิ (2540)

รางวัล

[แก้]

รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี

[แก้]
ผู้กำกับยอดเยี่ยม
  • พ.ศ. 2543 - สตางค์ (เข้าชิง)
  • พ.ศ. 2544 - 14 ตุลา สงครามประชาชน
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
  • พ.ศ. 2532 - บุญชู 2 น้องใหม่
  • พ.ศ. 2543 - สตางค์ (เข้าชิง)
  • พ.ศ. 2544 - 14 ตุลา สงครามประชาชน
  • พ.ศ. 2545 - สาบเสือที่ลำน้ำกษัตริย์ (เข้าชิง)
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม

รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ

[แก้]
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม

รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์

[แก้]
ผู้กำกับยอดเยี่ยม
  • พ.ศ. 2535 - อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป
  • พ.ศ. 2536 - หอบรักมาห่มป่า (เข้าชิง)
  • พ.ศ. 2537 - กาลครั้งหนึ่งเมื่อเช้านี้
  • พ.ศ. 2544 - 14 ตุลา สงครามประชาชน (เข้าชิง)
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
  • พ.ศ. 2535 - อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป
  • พ.ศ. 2537 - กาลครั้งหนึ่งเมื่อเช้านี้
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
  • พ.ศ. 2534 - ส.อ.ว.ห้อง 2 รุ่น 44 (เข้าชิง)
  • พ.ศ. 2534 - บุญชู 6 โลกนี้ดีออก สุดสวย น่ารักน่าอยู่ ถ้าหงุ่ย (เข้าชิง)
  • พ.ศ. 2537 - กาลครั้งหนึ่งเมื่อเช้านี้

รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง

[แก้]
ผู้กำกับยอดเยี่ยม
  • พ.ศ. 2533 - ส.อ.ว.ห้อง 2 รุ่น 44
  • พ.ศ. 2535 - อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
  • พ.ศ. 2533 - ส.อ.ว.ห้อง 2 รุ่น 44
  • พ.ศ. 2535 - อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป
  • พ.ศ. 2544 - 14 ตุลา สงครามประชาชน
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
  • พ.ศ. 2533 - ส.อ.ว.ห้อง 2 รุ่น 44
  • พ.ศ. 2535 - อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป (เข้าชิง)
  • พ.ศ. 2537 - หอบรักมาห่มป่า (เข้าชิง)
  • พ.ศ. 2544 - 14 ตุลา สงครามประชาชน

อ้างอิง

[แก้]