ข้ามไปเนื้อหา

เสน่ห์กรุงเทพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สวัสดีบางกอก)
เสน่ห์กรุงเทพ
กำกับบัณฑิต ฤทธิ์ถกล
วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง
ปรัชญา ปิ่นแก้ว
ฤทัยวรรณ วงศ์สิรสวัสดิ์
เป็นเอก รัตนเรือง
อาทิตย์ อัสสรัตน์
สันติ แต้พานิช
ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล
คงเดช จาตุรันต์รัศมี
อำนวยการสร้างศักดิ์ศิริ จันทรังษี โดย
กรุงเทพมหานคร และสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย
นักแสดงนำ(ดูในเนื้อหา)
ผู้จัดจำหน่ายสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย
วันฉายกรกฎาคม พ.ศ. 2553
ความยาว15-20 นาที (ในแต่ละตอน)
ภาษาไทย
อังกฤษ
ข้อมูลจาก IMDb

เสน่ห์กรุงเทพ หรือ สวัสดีบางกอก (อังกฤษ: Charming Bangkok, Sawasdee Bangkok) เป็นภาพยนตร์สั้นสัญชาติไทย ออกฉายในปี พ.ศ. 2553 ทางสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย เป็นผลงานการแสดงของหลายนักแสดง และการกำกับของหลายผู้กำกับฯ

ตอน

[แก้]
ตอน นักแสดง ผู้กำกับ
มาหานคร
ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ
ทราย เจริญปุระ
บัณฑิต ฤทธิ์ถกล

  สน ชาวนาชาวอ่างทองบังเอิญถูกล็อตเตอรี จึงเดินทางมากรุงเทพฯเป็นครั้งแรก พร้อมกับ ม้าย เมียสาว เพื่อหวังที่จะถ่ายรูปวัดพระแก้ว สนและม้ายได้ไปในหลายที่ของที่มีคนบอกว่า คือ สัญลักษณ์ของกรุงเทพฯที่แท้จริง ในที่สุด เขาก็ต้องตกรถ แต่ในที่สุดเขาและเมียก็ได้พบกับความหมายที่แท้จริงของคำว่า "กรุงเทพฯ"

ทัศนา
บงกช คงมาลัย
แทนไท ประเสริฐกุล
วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง

  นา สาวตาบอด หารายได้จากการขายล็อตเตอรีอาศัยอยู่ใต้สะพานโทรม ๆ เธอปรารถนาที่จะมองเห็น จนกระทั่งในวันหนึ่งเธอก็ได้พบกับเทวดา ผู้ที่ทำหน้าที่เสมือนดวงตาให้เธอ

กรุงเทพมหาเสน่ห์
-
ปรัชญา ปิ่นแก้ว

  ภาพยนตร์ในเชิงสารคดีถ่ายทอดเรื่องราวของหลากหลายวิถีชีวิตผู้คนในกรุงเทพฯ ด้วยอารมณ์ขันแบบเสียดสี ตลก แต่น่ารัก

หลงแต่ไม่ลืม
วินัย พันธุรักษ์
อารักษ์ อมรศุภศิริ
ฤทัยวรรณ วงศ์สิรสวัสดิ์

  แอ๊ด อดีตนักดนตรีวัยกว่า 60 เดินทางด้วยรถเมล์ เขาได้พบกับนักดนตรีหนุ่มรุ่นหลานบนรถ และหลงทางไปจนถึงเวิ้งนาครเกษม ณ ที่นั่นความทรงจำเดิม ๆ ในวัยหนุ่มจึงกลับมาคืนมาอีกครั้ง

Silence
พลอย หอวัง
นพชัย ชัยนาม
เป็นเอก รัตนเรือง

  หญิงสาววัยรุ่นแต่งตัวโฉบเฉี่ยวตามสมัย เธอออกเที่ยวกลางคืนอย่างสุดเหวี่ยง แต่เผอิญขากลับรถเกิดเสีย เธอได้พบกับคนบ้าใบ้ท่าทางน่ากลัว เหมือนกับว่าจะมาคุกคามเธอ แต่แล้วเธอก็ได้พบกับความหมายที่แท้จริง

Bangkok Blues
อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม
หลุยส์ สก็อต
อาทิตย์ อัสสรัตน์

  เด็กหนุ่มลูกครึ่ง 2 คน เพื่อนกัน คนหนึ่งกำลังหัวเสียเนื่องจากแฟนสาวบอกเลิก จึงชวนอีกคนหนึ่งตามไปง้อ ซึ่งเด็กหนุ่มคนนั้นเป็นคนชอบบันทึกเสียงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ต่างสถานที่ ต่างเวลากัน

กรุงเทพที่รัก
-
สันติ แต้พานิช

  ภาพยนตร์สารคดี บทสัมภาษณ์ของหลากหลายผู้คนในกรุงเทพฯ ตั้งแต่พระสงฆ์จนถึงสาวประเภทสอง

พี่-น้อง
ธาราทิพย์ ศรีดี
ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล

  เอิน เด็กสาววัยมัธยมต้น มีความอิจฉาลึก ๆ ต่อ แอน พี่สาว ซึ่งเป็นนักกีฬายิมนาสติกลีลาสาวสวยของโรงเรียน แอนมีทุกอย่างสมบูรณ์พร้อมไปหมด เอินพยายามจะทำทุกวิถีทางเพื่อหาจุดอ่อนที่จะเป็นความล้มเหลวของพี่สาวตัวเองให้ได้ และเมื่อแอนกำลังจะมีแฟนหนุ่ม เอินจึงพยายามทำลาย แต่แล้วเธอก็ได้พบกว่า แท้จริงแล้วพี่สาวเธอ รวมทั้งพ่อแม่รักเธอยิ่งกว่าอะไรทั้งหมด

ผีมะขาม
นะโม ทองกำเหนิด
คงเดช จาตุรันต์รัศมี

  ชายหนุ่มคนหนึ่งได้ซื้อบริการและหลับนอนกับโสเภณี ที่โรงแรมโทรม ๆ เขาและเธอได้พูดคุยกัน พร้อมกับเดินไปด้วยกันจากสนามหลวงจนถึงถนนราชดำเนินในยามค่ำคืน ณ ที่นั่น เธอได้เล่าเรื่องราวของเธอให้เขารู้ ท้ายที่สุดเขาไม่แน่ใจว่า เธอคือ คนหรือผีกันแน่

เบื้องหลังและการออกฉาย

[แก้]

เสน่ห์กรุงเทพ หรือ สวัสดีบางกอก เป็นภาพยนตร์สั้น 9 เรื่อง จาก 9 ผู้กำกับฯ และหลายนักแสดงที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก ความยาวตอนละประมาณ 20 นาที จากการอำนวยการสร้างและผลิตโดย กรุงเทพมหานคร และสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย

โดยเป็นภาพยนตร์ในแนวอิสระ เชิงสร้างสรรค์ มีจุดประสงค์ที่จะสร้างสรรค์ผลงานมาตรฐานสากลสำหรับผู้ชมทั่วโลก ที่จะช่วยสร้างภาวะสมดุล ในขณะที่การเจริญเติบโตของเมืองใหญ่ระดับมหานครอย่าง กรุงเทพฯนั้น ต้องแลกกับความเจริญทางด้านวัตถุ ซึ่งก่อให้เกิดมลภาวะทางจิตใจ ความเครียด และความท้อแท้ ภาพยนตร์ชุดนี้จึงน่าจะเป็นสื่อฯที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้พลเมืองกรุงเทพ ฯ และผู้มาเยือนให้มีความรู้สึกร่วม และผูกพันกับเมืองหลวงแห่งนี้มากขึ้นได้

ออกฉายครั้งแรกในงานเทศกาล บางกอกฟิล์มอินเตอร์เนชั่นแนลเฟสติวัล ครั้งที่ 7 วันที่ 24 – 30 กันยายน 2552 และออกฉายในกลางปี พ.ศ. 2553 ทางสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย เวลา 20.25 น. ทุกคืนวันจันทร์ โดยหลังฉายจบ จะมีบทสัมภาษณ์ของทีมงานสร้าง ผู้กำกับฯ และนักแสดงด้วย [1]

และได้เข้าฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโทรอนโต ที่ประเทศแคนาดา ครั้งที่ 9[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สวัสดีกรุงเทพ
  2. "สวัสดีบางกอก – Sawasdee Bangkok หนังไทยมาตรฐานสากล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-29. สืบค้นเมื่อ 2012-02-23.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]