จิ๊ด เศรษฐบุตร
จิ๊ด เศรษฐบุตร | |
---|---|
เกิด | จิ๊ด เศรษฐบุตร 18 มกราคม พ.ศ. 2449 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 19 มกราคม พ.ศ. 2538 (89 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
สัญชาติ | ไทย |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
อาชีพ | นักกฎหมาย นักการทูต |
มีชื่อเสียงจาก | การเมือง |
คู่สมรส | พิพิธ เศรษฐบุตร |
บุตร | 3 คน |
ศาสตราจารย์จิ๊ด เศรษฐบุตร (18 มกราคม 2449[1] — 19 มกราคม 2538[1]) เป็นตุลาการ นักนิติศาสตร์ และนักการทูตชาวไทย
ประวัติ
[แก้]จิ๊ดเกิดที่บ้านพริบพรี ถนนตีทอง อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร[1] (ปัจจุบันคือ ถนนตีทอง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร) เป็นบุตรคนที่หกในจำนวนบุตรแปดคนของมหาอำมาตย์โท พระยานรเนติบัญชากิจ (ลัด เศรษฐบุตร) กับคุณหญิงโต๊ะ นรเนติบัญชากิจ (ชื่อสกุลเดิม โภคสุพัฒน์)[1]
จิ๊ดสำเร็จประถมศึกษาจากโรงเรียนครูบุญเกิด จังหวัดพระนคร เมื่อปี พ.ศ. 2455 ต่อมาจึงเข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเมื่อปี พ.ศ. 2457 ก่อนย้ายไปชั้นเตรียมมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ภาคภาษาฝรั่งเศส) ที่โรงเรียนอัสสัมชัญ เมื่อปี พ.ศ. 2461 แล้วจึงศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับปริญญาตรีที่วิทยาลัยลีเซสต็องดาล (Lycée Stendhal) เมืองเกรอน็อบล์ (Grenoble) ประเทศฝรั่งเศส จนสำเร็จเมื่อปีพ.ศ. 2468 แล้วได้ศึกษาชั้นต่อมา โดยได้ประกาศนียบัตรทางกฎหมายพาณิชย์ และปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขาเดียวกัน จากมหาวิทยาลัยเกรอน็อบล์ (University of Grenoble) เมื่อปี พ.ศ. 2469[1] และกลับมาเรียนในประเทศไทยที่โรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม สำเร็จกฎหมายภาค 1 เมื่อปีพ.ศ. 2476[2]
การทำงาน
[แก้]สำเร็จการศึกษาแล้ว จิ๊ดได้เข้ารับราชการในรัฐบาลไทย ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ ตามลำดับดังนี้ คือ[2][3]
เป็นผู้พิพากษาศาลแพ่งตั้งแต่ปี 2476 และเป็นผู้พิพากษาศาลหัวหน้าศาลจังหวัดหนองคายตั้งแต่ปี 2483 แล้วจึงโอนจากกระทรวงยุติธรรมมากระทรวงต่างประเทศ เพื่อเป็นเลขานุการเอกในกรมการเมืองตะวันออก (ปัจจุบันคือ กรมอาเซียน) ตั้งแต่ปี 2490 และได้เป็นเลขานุการเอกประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส ตั้งแต่ปี 2494
ต่อมา เลื่อนขึ้นเป็นเลขานุการชั้นพิเศษและเป็นอัครราชทูตประจำกรุงมอสโกตั้งแต่ปี 2496 และไปรักษาการอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายตั้งแต่ปี 2503 แล้วจึงเป็นรัฐทูตวิสามัญและอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำสาธารณรัฐโปรตุเกสตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2506 ในโอกาสเดียวกันนั้น ยังได้เป็นเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจประจำสาธารณรัฐฝรั่งตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2506
ครั้นแล้ว จึงได้เป็นเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำสมาพันธรัฐสวิสตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2507 และย้ายไปเป็นรัฐทูตวิสามัญกับอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำสมาพันธ์สาธารณรัฐประชาชนยูโกสลาเวียตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม 2507 กระทั่งเกษียณอายุราชการเมื่อปี 2510
ครอบครัว
[แก้]สำหรับชีวิตครอบครัวนั้น จิ๊ดสมรสกับพิพิธ เศรษฐบุตร (ชื่อสกุลเดิม สุนทรวร) ซึ่งเป็นบุตรีของพระยาจ่าแสนยบดีศรีบริบาล (ชิต สุนทรวร) กับคุณหญิงเลื่อน จ่าแสนยบดี[1] จิ๊ดและภริยามีบุตรด้วยกันสามคนตามลำดับดังนี้[1]
- จิตริก เศรษฐบุตร สมรสกับจานีน อ็อกเซีย หญิงต่างประเทศ แต่ต่อมาหย่าร้างกัน และจิตริกสมรสใหม่กับหม่อมราชวงศ์วิวรรณ วรวรรณ
- จิรศักดิ์ เศรษฐบุตร สมรสกับวรวรรณ พรหมเพ็ญ
- เทพขจิต เศรษฐบุตร ต่อมาสมรสกับรองอำมาตย์ตรีณรงค์ วงศ์ไพบูลย์ จึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อสกุลสามี
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]ในบั้นปลายชีวิตตั้งแต่ราวปี 2526 จิ๊ดประสบภาวะสมองเสื่อม ความทรงจำจึงเสื่อมถอย สติฟั่นเฟือน และมีความบกพร่องในทางสื่อสารและรับรู้ หทัย ชิตานนท์ แพทย์ประจำตัว ตรวจแล้วพบว่า ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ศาลแพ่งจึงสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถตามคำร้องของพิพิธ ภริยา และสั่งให้อยู่ความอนุบาลของนรนิติ เศรษฐบุตร ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม 2534[4]
ในปี 2537 จิ๊ดได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลรามคำแหง จนถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบเมื่อวันที่ 19 มกราคม ปี 2538 ต่อมา[1] สิริอายุได้ 89 ปี 1 วัน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]จิ๊ดได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยตามลำดับดังนี้[3]
- พ.ศ. 2509 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2506 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2509 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[7]
- พ.ศ. 2485 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[8]
- พ.ศ. 2506 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[9]
- พ.ศ. 2500 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 จิ๊ด เศรษฐบุตร (กรกฎาคม 2554). ดาราพร ถิระวัฒน์ (บ.ก.). หลักกฎหมายแพ่งลักษณะหนี้. กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. p. 6. ISBN 9789744665577.
- ↑ 2.0 2.1 "Hall of Frame - ศาสตราจารย์ ดร.จิ๊ด เศรษฐบุตร". คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2555.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|year=
(help) - ↑ 3.0 3.1 จิ๊ด เศรษฐบุตร (กรกฎาคม 2554). ดาราพร ถิระวัฒน์ (บ.ก.). หลักกฎหมายแพ่งลักษณะหนี้. กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. p. 7. ISBN 9789744665577.
- ↑ ศาลแพ่ง (9 เมษายน 2534). "ประกาศศาลแพ่ง เรื่อง ศาลมีคำสั่งให้นายจิ๊ด เศรษฐบุตร เป็นคนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความอนุบาลของนายนรนิติ เศรษฐบุตร ลงวันที่ 22 มีนาคม 2534" (pdf). ราชกิจจานุเบกษา. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. เล่ม 108, ตอนที่ 64 (-): 3286. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2555.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๑๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓, ๑๙ ธันวาคม ๒๕๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๔๓ ง หน้า ๑๘๓๒, ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔๗๔, ๓ สิงหาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๕๓ ง หน้า ๑๔๕๑, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๖๑, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๐
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2449
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2538
- ศาสตราจารย์
- อาจารย์คณะนิติศาสตร์
- นักวิชาการชาวไทย
- ตุลาการชาวไทย
- นักกฎหมายชาวไทย
- นักการทูตชาวไทย
- บุคคลจากเขตพระนคร
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- สกุลเศรษฐบุตร