การเลือกตั้งในฝรั่งเศสสมัยสาธารณรัฐที่ 5
|
การเลือกตั้งในประเทศฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Élections en France) เป็นกระบวนการทางประชาธิปไตยในระบอบสาธารณรัฐของประเทศฝรั่งเศส ตัวแทนฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติจะถูกเลือก (ทางตรงหรือทางอ้อม) โดยประชาชนฝรั่งเศสหรือถูกแต่งตั้งโดยตัวแทนที่ถูกเลือกมาแล้ว ประชาชนฝรั่งเศสยังมีโอกาสแสดงความคิดเห็นในการลงประชามติอีกด้วย
การเลือกตั้งในสมัยสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 มี 2 ประเภท ได้แก่
- ประมุขแห่งรัฐ (Chef d'État) หรือ ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ (Président de la République) ได้รับเลือกตั้งโดยตรงแบบสากล มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ดูเพิ่ม การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส)
- รัฐสภา (Parlement) ประกอบด้วย 2 สภา:
- สภาผู้แทนราษฎร (Assemblée Nationale) มีสมาชิก 577 คน ได้รับเลือกตั้งโดยตรงแบบสากล มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ดูเพิ่ม การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส)
- วุฒิสภา (Sénat) มีสมาชิก 331 คน ได้รับเลือกตั้งโดยอ้อม มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี : 319 คน ได้รับเลือกผ่านคณะเลือกตั้งที่เป็นตัวแทนของแคว้น, จังหวัด, เทศบาลและอาณานิคมโพ้นทะเล ส่วนอีก 12 คนผ่านทางสมัชชาชาวฝรั่งเศสต่างประเทศ (Assemblée des Français de l'étranger) (ดูเพิ่ม การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาฝรั่งเศส)
กฎเกณฑ์ต่าง ๆ
[แก้]ชาวฝรั่งเศสเองก็สามารถเลือกตั้งได้อีกหลายหลายแบบในส่วนการปกครองท้องถิ่น ทั้งยังมีการเลือกตั้งที่ไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับพรรคการเมือง เช่น การจัดการบริหารกฎหมายแรงงาน (Tribunaux de prud'hommes) ซึ่งได้ให้ลูกจ้าง คนงาน หรือแม้กระทั่งเจ้าของกิจการเป็นคนเลือกตั้งโดยตรง
ประเทศฝรั่งเศสนั้นมิได้ดำรงอยู่ในระบบพรรคการเมืองสองพรรคแบบสมบูรณ์ ซึ่งเป็นระบบที่มีพรรคการเมืองหลายพรรค แต่มีเพียง 2 พรรคที่มีโอกาสในการเลือกตั้งและช่วงชิงอำนาจกัน แต่การเมืองประเทศฝรั่งเศสนั้น ถึงจะมีลักษณะโน้มเอียงไปทางระบบพรรคการเมืองสองพรรค แต่ก็มีลักษณะพิเศษคือ พรรคการเมืองต่าง ๆ ค่อนข้างมีอำนาจสลับกันและยังให้การร่วมมืออย่างมั่นคง ซึ่งนำโดยแกนนำจากพรรคการเมืองต่างขั้วกัน ฝ่ายซ้าย คือพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศส ส่วนฝ่ายขวาคือ พรรคอูแอ็มเป (UMP) และพรรคก่อน ๆ
การเลือกตั้งในประเทศฝรั่งเศสนั้นจะจัดขึ้นเฉพาะในวันอาทิตย์เท่านั้น มีการหยุดการรณรงค์หาเสียงในคืนวันศุกร์ก่อนการเลือกตั้งที่จะถึง และด้วยกฎหมาย ผลการสำรวจต่าง ๆ ไม่สามารถตีพิมพ์ได้ ผู้สมัครไม่สามารถออกโทรทัศน์ ในวันเสาร์และวันอาทิตย์ (วันเลือกตั้ง) คูหาเลือกตั้งจะเปิดตั้งแต่ 08.00 น. และจะปิดในเวลา 18.00 น. (ในเมืองเล็ก ๆ) หรือ 20.00 น. (ในเมืองใหญ่ ๆ) แล้วแต่การตัดสินใจของเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ ตามกฎหมาย มีการห้ามตีพิมพ์ผลการเลือกตั้งหรือการคาดคะเนผลการเลือกตั้ง แต่อย่างไรก็ตามผลการเลือกตั้งมักจะปรากฏจากสื่อมวลชนของประเทศเบลเยียมและสวิตเซอร์แลนด์ หรือจากเว็บไซต์ต่างประเทศทางอินเทอร์เน็ต การประเมินผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการจะปรากฏเป็นครั้งแรกที่กรุงปารีส ในเวลา 20.00 น. (เวลาท้องถิ่นกรุงปารีส) แต่กระนั้นก็มีผลกระทบที่เกิดขึ้น เช่น ในเฟรนช์เกียนา มาร์ตีนิก และกัวเดอลุป สามารถทราบถึงการประเมินผลการเลือกตั้งทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้ปิดการเลือกตั้ง (เนื่องจากเวลาที่แตกต่างกัน) ซึ่งทำให้เป็นการตัดกำลังใจในการเลือกตั้ง และด้วยเหตุผลนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 การเลือกตั้งของฝรั่งเศสในแถบอเมริกา รวมทั้งสถานทูตและสถานกงสุลจะจัดขึ้นในวันเสาร์เป็นการพิเศษ
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
[แก้]ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะเป็นชาวฝรั่งเศสที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และจะต้องอยู่รายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งอีกด้วย สำหรับการเลือกตั้งส่วนท้องถิ่นหรือการเลือกตั้งยุโรป พลเมืองที่มีอายุ 18 ปีหรือมากกว่าซึ่งมาจากประเทศในเครือสหภาพยุโรป สามารถเลือกได้ว่าจะลงคะแนนเสียงในประเทศฝรั่งเศสหรือไม่ การลงทะเบียนมีสิทธิในการเลือกตั้งนั้นไม่เป็นการบังคับ แต่การงดออกเสียงจะทำให้ความเป็นไปได้ของการออกคะแนนเสียงหมดลง ปัจจุบันประชาชนที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์จะได้รับการลงทะเบียนอัตโนมัติ
พลเมืองสามารถลงทะเบียนเลือกตั้งตามทะเบียนบ้านของตนเองหรือสถานที่แห่งหนึ่งที่ตนเองได้ชำระภาษีท้องถิ่นในบริเวณนั้น ๆ เป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี พลเมืองเองไม่สามารถลงทะเบียนเลือกตั้งมากกว่าหนึ่งที่ ส่วนพลเมืองที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศสามารถลงทะเบียน ณ สถานกงสุลตามเขตการปกครองที่ตนเองอาศัยอยู่
พลเมืองที่ลงทะเบียนเลือกตั้งอย่างถูกกฎหมายเท่านั้นที่สามารถทำงานในสำนักงานทั่ว ๆ ไปได้
ถึงกระนั้นก็มีข้อยกเว้นในกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ข้างต้น นักโทษที่มีความผิดอาจจะถูกตัดสิทธิที่พึงจะมีบางประการ ซึ่งรวมสิทธิในการลงคะแนนเสียง ขึ้นอยู่กับคดีของแต่ละคน โดยเฉพาะข้าราชการที่ได้รับการเลือกตั้งที่ได้ใช้เงินในทางที่ผิด อาจะถูกตัดสิทธิในการทำงานในสำนักงานทั่ว ๆ ไปเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ระบุไว้สำหรับควบคุมความประพฤติของนักการเมืองยังเป็นที่ขัดแย้งกันอยู่ ซึ่งเห็นได้จากคดีความของอาแล็ง ฌูว์เป
การใช้ตัวแทนลงคะแนนเสียงแทนเจ้าตัวนั้นก็สามารถเป็นไปได้ถ้าพลเมืองคนนั้น ๆ ไม่สามารถลงคะแนนเสียงด้วยเหตุผลบางประการเช่น ปัญหาด้านสุขภาพ ผู้มีสิทธิไม่ได้อาศัยอยู่ในเขตการเลือกตั้งของตนเอง ผู้มีสิทธิไปทำงานหรือท่องเที่ยวในต่างประเทศหรืออยู่ในระหว่างการจองจำ (ยังไม่ได้ตัดสินคดีความแต่ถูกตัดสิทธิในการเลือกตั้ง) ฯลฯ การแต่งตั้งหรือเลือกตัวแทนนั้น ตัวแทนจะต้องมาจากเทศบาลเดียวกัน การแต่งตั้งหรือเลือกตัวแทนนั้น จะต้องกระทำต่อหน้าพยานซึ่งถูกต้องตามกฎหมาย เช่น ผู้พิพากษา ตุลาคม เสมียนผู้พิพากษาหรือเจ้าหน้าที่จากศาลยุติธรรม หรือในกรณีนอกประเทศฝรั่งเศสจะต้องกระทำต่อหน้าเอกอัครราชทูตหรือกงสุล ส่วนกรณีผู้พิการหรือบาดเจ็บสาหัส เจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรมหรือผู้แทนจะถูกส่งไปยังบ้านของพลเมืองนั้น ๆ และเป็นพยานในการแต่งตั้งผู้แทนการเลือกตั้ง ระเบียบการดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายที่จะหลีกเลี่ยงความกดดันของผู้ออกเสียง
ขั้นตอนการลงคะแนนเสียง
[แก้]โดยทั่วไปการลงคะแนนเลือกตั้งจะกระทำโดยใช้กระดาษและนับผลการเลือกตั้งด้วยมือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะได้รับบัตรลงคะแนนเสียงที่ถูกพิมพ์มาล่วงหน้าแล้ว จากโต๊ะบริเวณทางเข้าสำนักงานเลือกตั้ง (ซึ่งอาจจะได้รับผ่านทางเมล) รวมทั้งทางจดหมาย ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะเข้าไปในคูหาหรือหน่วยลงบัตรเลือกตั้ง ซึ่งจะถูกปิดบังจากการมองเห็น และสอดบัตรที่จัดไว้เฉพาะไว้ในซองจดหมาย แล้วเขาผู้นั้นจะเดินไปยังหีบบัตรเลือกตั้งและแสดงบัตรลงทะเบียนของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ไม่เป็นการบังคับ) และต้องแสดงเอกสารระบุเอกลักษณ์ตนเอง (ในเมืองที่มีผู้อยู่อาศัยมากกว่า 5000 คน จะต้องนำเอกสารระบุเอกลักษณ์ตนเองมาแสดง) หลังจากนั้น เจ้าพนักงานจะรับรองสิทธิในการลงคะแนนเสียง และหย่อนซองจดหมายลงไปในหีบบัตรเลือกตั้ง จากนั้นจะต้องเซ็นลงในรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงและบัตรลงทะเบียนจะถูกประทับตรา
มีวิธีการลงคะแนนเสียงที่แตกต่างไปจากนั้น แต่ไม่เป็นที่กว้างขวางในประเทศฝรั่งเศสมากนัก คือการลงคะแนนเสียงโดยใช้เครื่องลงคะแนนเสียง
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด
[แก้]การเลือกตั้งประธานาธิบดี
[แก้]อันดับที่ | ผู้สมัครเลือกตั้ง | พรรค | รอบแรก | รอบสอง | ||
คะแนนเสียง | เปอร์เซ็นต์ | คะแนนเสียง | เปอร์เซ็นต์ | |||
1 | นีกอลา ซาร์กอซี | อูว์นียงปูร์เอิงมูฟว์ม็องปอปูแลร์ (UMP) | 11,448,663 | 31.18% | 18,983,138 | 53.06% |
2 | เซกอแลน รัวยาล | พรรคสังคมนิยม (PS) | 9,500,112 | 25.87% | 16,790,440 | 46.94% |
3 | ฟร็องซัว บายรู | อูว์นียงปูร์ลาเดมอคราซีฟร็องแซซ (UDF) | 6,820,119 | 18.57% | ||
4 | ฌอง-มารี เลอ เป็ง | ฟรงนาซียอนาล (FN) | 3,834,530 | 10.44% | ||
5 | โอลีวีเย เบอซ็องเซอโน | ลีกกอมูว์นิสต์เรวอลูว์ซียอแนร์ (LCR) | 1,498,581 | 4.08% | ||
6 | ฟีลิป เดอ วีลีเย | มูฟว์ม็องปูร์ลาฟร็องส์ (MPF) | 818,407 | 2.23% | ||
7 | มารี-ฌอร์ฌ บูว์แฟ | ปาร์ตีกอมูว์นิสต์ฟร็องแซ (PCF) | 707,268 | 1.93% | ||
8 | ดอมีนิก วัวแน | เลแวร์ (Les Verts) | 576,666 | 1.57% | ||
9 | อาร์แล็ต ลากีเย | ลุตอูวรีแยร์ (LO) | 487,857 | 1.33% | ||
10 | โฌเซ บอเว | ผู้สมัครอิสระ | 483,008 | 1.32% | ||
11 | เฟรเดริก นีอู | ชัส แป็ช นาตูร์ ทราดีซียง (CPNT) | 420,645 | 1.15% | ||
12 | เฌราร์ ชีวาร์ดี | ปาร์ตีเดทราวาเยอร์ (PT) | 123,540 | 0.34% | ||
ผลรวม | 36,719,396 | 35,773,578 | ||||
เสียงข้างมากเด็ดขาด (18,359,698) | ||||||
บัตรดี | 36,719,396 | 98.56% | 35,773,578 | 95.80% | ||
บัตรเสีย | 534,846 | 1.44% | 1,568,426 | 4.20% | ||
จำนวนผู้ออกเสียงเลือกตั้ง | 37,254,242 | 83.77% | 37,342,004 | 83.97% | ||
จำนวนผู้งดออกเสียงเลือกตั้ง | 7,218,592 | 16.23% | 7,130,729 | 16.03% | ||
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | 44,472,834 | 100% | 44,472,733 | 100% |
ดูเพิ่ม: การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส ค.ศ. 2007
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]พรรคการเมือง | รอบแรก | รอบสอง | รวมที่นั่ง ในรัฐสภา | ||||
คะแนนเสียง | เปอร์เซนต์ | ที่นั่ง | คะแนนเสียง | เปอร์เซนต์ | |||
พรรคสหภาพเพื่อการเคลื่อนไหวของปวงชน (UMP) | 10,289,028 | 39.54% | 98 | 9,463,408 | 46.37% | 313 | |
พรรคกลางใหม่ (NC) | 616,443 | 2.37% | 7 | 432,921 | 2.12% | 22 | |
พรรคการเมืองปีกขวาอื่นๆ | 641,600 | 2.47% | 2 | 238,585 | 1.17% | 9 | |
พรรคขบวนการเพื่อฝรั่งเศส (MPF) | 312,587 | 1.20% | 1 | - | - | 1 | |
รวมเสียงข้างมากประธานาธิบดี (ขวา) | 11,859,658 | 45.58% | 345 | ||||
พรรคสังคมนิยมฝรั่งเศส (PS) | 6,436,136 | 24.73% | 1 | 8,622,529 | 42.25% | 186 | |
พรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส (PCF) | 1,115,719 | 4.29% | - | 464,739 | 2.28% | 15 | |
พรรคการเมืองปีกซ้ายอื่นๆ | 513,457 | 1.97% | - | 503,674 | 2.47% | 15 | |
พรรคหัวรุนแรงซ้าย (PRG) | 343,580 | 1.31% | - | 333,189 | 1.63% | 7 | |
พรรคเขียว (Les Verts) | 845,884 | 3.25% | - | 90,975 | 0.45% | 4 | |
รวมเสียงฝ่ายซ้าย | 9,254,776 | 35.55% | 227 | ||||
พรรคขบวนการประชาธิปไตย (MoDem) | 1,981,121 | 7.61% | - | 100,106 | 0.49% | 3 | |
ลัทธิแบ่งแยกการปกครอง | 131,585 | 0.51% | - | 106,459 | 0.52% | 1 | |
อื่นๆ | 267,987 | 1.03% | - | 33,068 | 0.16% | 1 | |
พรรคแนวหน้าแห่งชาติ (FN) | 1,116,005 | 4.29% | - | 17,107 | 0.08% | - | |
พรรคซ้ายจัดอื่นๆ (รวมทั้ง พรรคสันนิบาตคอมมิวนิสต์ปฏิวัติ (LCR) และ พรรคพลังแรงงาน (LO)) | 887,887 | 3.41% | - | - | - | - | |
พรรคล่าสัตว์ ตกปลา ธรรมชาติและประเพณี (CPNT) | 213,448 | 0.82% | - | - | - | - | |
นักนิเวศวิทยาอื่นๆ | 208,465 | 0.80% | - | - | - | - | |
พรรคขวาจัดอื่นๆ (รวมทั้ง พรรคขบวนการสาธารณรัฐแห่งชาติ (MNR)) | 102,100 | 0.39% | - | - | - | - | |
ผลรวม | 26,023,052 | 100% | 110 | 21,130,346 | 100% | 577 |
ดูเพิ่ม: การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส พ.ศ. 2550
รายชื่อการเลือกตั้งในประเทศฝรั่งเศส
[แก้]