การเลือกตั้งในฝรั่งเศสสมัยสาธารณรัฐที่ 5

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การเลือกตั้งในประเทศฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Élections en France) เป็นกระบวนการทางประชาธิปไตยในระบอบสาธารณรัฐของประเทศฝรั่งเศส ตัวแทนฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติจะถูกเลือก (ทางตรงหรือทางอ้อม) โดยประชาชนฝรั่งเศสหรือถูกแต่งตั้งโดยตัวแทนที่ถูกเลือกมาแล้ว ประชาชนฝรั่งเศสยังมีโอกาสแสดงความคิดเห็นในการลงประชามติอีกด้วย

การเลือกตั้งในสมัยสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 มี 2 ประเภท ได้แก่

กฎเกณฑ์ต่าง ๆ[แก้]

ชาวฝรั่งเศสเองก็สามารถเลือกตั้งได้อีกหลายหลายแบบในส่วนการปกครองท้องถิ่น ทั้งยังมีการเลือกตั้งที่ไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับพรรคการเมือง เช่น การจัดการบริหารกฎหมายแรงงาน (Tribunaux de prud'hommes) ซึ่งได้ให้ลูกจ้าง คนงาน หรือแม้กระทั่งเจ้าของกิจการเป็นคนเลือกตั้งโดยตรง

เหตุการณ์ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2550 : ผู้ประเมินยืนอยู่ข้างหลังหีบบัตรเลือกตั้งโปร่งใส

ประเทศฝรั่งเศสนั้นมิได้ดำรงอยู่ในระบบพรรคการเมืองสองพรรคแบบสมบูรณ์ ซึ่งเป็นระบบที่มีพรรคการเมืองหลายพรรค แต่มีเพียง 2 พรรคที่มีโอกาสในการเลือกตั้งและช่วงชิงอำนาจกัน แต่การเมืองประเทศฝรั่งเศสนั้น ถึงจะมีลักษณะโน้มเอียงไปทางระบบพรรคการเมืองสองพรรค แต่ก็มีลักษณะพิเศษคือ พรรคการเมืองต่าง ๆ ค่อนข้างมีอำนาจสลับกันและยังให้การร่วมมืออย่างมั่นคง ซึ่งนำโดยแกนนำจากพรรคการเมืองต่างขั้วกัน ฝ่ายซ้าย คือพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศส ส่วนฝ่ายขวาคือ พรรคอูแอ็มเป (UMP) และพรรคก่อน ๆ

การเลือกตั้งในประเทศฝรั่งเศสนั้นจะจัดขึ้นเฉพาะในวันอาทิตย์เท่านั้น มีการหยุดการรณรงค์หาเสียงในคืนวันศุกร์ก่อนการเลือกตั้งที่จะถึง และด้วยกฎหมาย ผลการสำรวจต่าง ๆ ไม่สามารถตีพิมพ์ได้ ผู้สมัครไม่สามารถออกโทรทัศน์ ในวันเสาร์และวันอาทิตย์ (วันเลือกตั้ง) คูหาเลือกตั้งจะเปิดตั้งแต่ 08.00 น. และจะปิดในเวลา 18.00 น. (ในเมืองเล็ก ๆ) หรือ 20.00 น. (ในเมืองใหญ่ ๆ) แล้วแต่การตัดสินใจของเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ ตามกฎหมาย มีการห้ามตีพิมพ์ผลการเลือกตั้งหรือการคาดคะเนผลการเลือกตั้ง แต่อย่างไรก็ตามผลการเลือกตั้งมักจะปรากฏจากสื่อมวลชนของประเทศเบลเยียมและสวิตเซอร์แลนด์ หรือจากเว็บไซต์ต่างประเทศทางอินเทอร์เน็ต การประเมินผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการจะปรากฏเป็นครั้งแรกที่กรุงปารีส ในเวลา 20.00 น. (เวลาท้องถิ่นกรุงปารีส) แต่กระนั้นก็มีผลกระทบที่เกิดขึ้น เช่น ในเฟรนช์เกียนา มาร์ตีนิก และกัวเดอลุป สามารถทราบถึงการประเมินผลการเลือกตั้งทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้ปิดการเลือกตั้ง (เนื่องจากเวลาที่แตกต่างกัน) ซึ่งทำให้เป็นการตัดกำลังใจในการเลือกตั้ง และด้วยเหตุผลนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 การเลือกตั้งของฝรั่งเศสในแถบอเมริกา รวมทั้งสถานทูตและสถานกงสุลจะจัดขึ้นในวันเสาร์เป็นการพิเศษ

หีบบัตรเลือกตั้งโปร่งใสมาตรฐานใช้ในประเทศฝรั่งเศส ผู้ลงคะแนนจะหย่อนซองจดหมายที่มีชื่อหรือรายชื่อที่ผู้ลงคะแนนได้ลงคะแนนให้ จากนั้นจะต้องเซ็นในเอกสารเพื่อหลีกเลี่ยงการลงคะแนนซ้อน

ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง[แก้]

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะเป็นชาวฝรั่งเศสที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และจะต้องอยู่รายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งอีกด้วย สำหรับการเลือกตั้งส่วนท้องถิ่นหรือการเลือกตั้งยุโรป พลเมืองที่มีอายุ 18 ปีหรือมากกว่าซึ่งมาจากประเทศในเครือสหภาพยุโรป สามารถเลือกได้ว่าจะลงคะแนนเสียงในประเทศฝรั่งเศสหรือไม่ การลงทะเบียนมีสิทธิในการเลือกตั้งนั้นไม่เป็นการบังคับ แต่การงดออกเสียงจะทำให้ความเป็นไปได้ของการออกคะแนนเสียงหมดลง ปัจจุบันประชาชนที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์จะได้รับการลงทะเบียนอัตโนมัติ

พลเมืองสามารถลงทะเบียนเลือกตั้งตามทะเบียนบ้านของตนเองหรือสถานที่แห่งหนึ่งที่ตนเองได้ชำระภาษีท้องถิ่นในบริเวณนั้น ๆ เป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี พลเมืองเองไม่สามารถลงทะเบียนเลือกตั้งมากกว่าหนึ่งที่ ส่วนพลเมืองที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศสามารถลงทะเบียน ณ สถานกงสุลตามเขตการปกครองที่ตนเองอาศัยอยู่

พลเมืองที่ลงทะเบียนเลือกตั้งอย่างถูกกฎหมายเท่านั้นที่สามารถทำงานในสำนักงานทั่ว ๆ ไปได้

คูหาเลือกตั้ง

ถึงกระนั้นก็มีข้อยกเว้นในกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ข้างต้น นักโทษที่มีความผิดอาจจะถูกตัดสิทธิที่พึงจะมีบางประการ ซึ่งรวมสิทธิในการลงคะแนนเสียง ขึ้นอยู่กับคดีของแต่ละคน โดยเฉพาะข้าราชการที่ได้รับการเลือกตั้งที่ได้ใช้เงินในทางที่ผิด อาจะถูกตัดสิทธิในการทำงานในสำนักงานทั่ว ๆ ไปเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ระบุไว้สำหรับควบคุมความประพฤติของนักการเมืองยังเป็นที่ขัดแย้งกันอยู่ ซึ่งเห็นได้จากคดีความของอาแล็ง ฌูว์เป

การใช้ตัวแทนลงคะแนนเสียงแทนเจ้าตัวนั้นก็สามารถเป็นไปได้ถ้าพลเมืองคนนั้น ๆ ไม่สามารถลงคะแนนเสียงด้วยเหตุผลบางประการเช่น ปัญหาด้านสุขภาพ ผู้มีสิทธิไม่ได้อาศัยอยู่ในเขตการเลือกตั้งของตนเอง ผู้มีสิทธิไปทำงานหรือท่องเที่ยวในต่างประเทศหรืออยู่ในระหว่างการจองจำ (ยังไม่ได้ตัดสินคดีความแต่ถูกตัดสิทธิในการเลือกตั้ง) ฯลฯ การแต่งตั้งหรือเลือกตัวแทนนั้น ตัวแทนจะต้องมาจากเทศบาลเดียวกัน การแต่งตั้งหรือเลือกตัวแทนนั้น จะต้องกระทำต่อหน้าพยานซึ่งถูกต้องตามกฎหมาย เช่น ผู้พิพากษา ตุลาคม เสมียนผู้พิพากษาหรือเจ้าหน้าที่จากศาลยุติธรรม หรือในกรณีนอกประเทศฝรั่งเศสจะต้องกระทำต่อหน้าเอกอัครราชทูตหรือกงสุล ส่วนกรณีผู้พิการหรือบาดเจ็บสาหัส เจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรมหรือผู้แทนจะถูกส่งไปยังบ้านของพลเมืองนั้น ๆ และเป็นพยานในการแต่งตั้งผู้แทนการเลือกตั้ง ระเบียบการดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายที่จะหลีกเลี่ยงความกดดันของผู้ออกเสียง

บางเมืองในประเทศฝรั่งเศสใช้เครื่องลงคะแนนเสียง

ขั้นตอนการลงคะแนนเสียง[แก้]

โดยทั่วไปการลงคะแนนเลือกตั้งจะกระทำโดยใช้กระดาษและนับผลการเลือกตั้งด้วยมือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะได้รับบัตรลงคะแนนเสียงที่ถูกพิมพ์มาล่วงหน้าแล้ว จากโต๊ะบริเวณทางเข้าสำนักงานเลือกตั้ง (ซึ่งอาจจะได้รับผ่านทางเมล) รวมทั้งทางจดหมาย ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะเข้าไปในคูหาหรือหน่วยลงบัตรเลือกตั้ง ซึ่งจะถูกปิดบังจากการมองเห็น และสอดบัตรที่จัดไว้เฉพาะไว้ในซองจดหมาย แล้วเขาผู้นั้นจะเดินไปยังหีบบัตรเลือกตั้งและแสดงบัตรลงทะเบียนของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ไม่เป็นการบังคับ) และต้องแสดงเอกสารระบุเอกลักษณ์ตนเอง (ในเมืองที่มีผู้อยู่อาศัยมากกว่า 5000 คน จะต้องนำเอกสารระบุเอกลักษณ์ตนเองมาแสดง) หลังจากนั้น เจ้าพนักงานจะรับรองสิทธิในการลงคะแนนเสียง และหย่อนซองจดหมายลงไปในหีบบัตรเลือกตั้ง จากนั้นจะต้องเซ็นลงในรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงและบัตรลงทะเบียนจะถูกประทับตรา

มีวิธีการลงคะแนนเสียงที่แตกต่างไปจากนั้น แต่ไม่เป็นที่กว้างขวางในประเทศฝรั่งเศสมากนัก คือการลงคะแนนเสียงโดยใช้เครื่องลงคะแนนเสียง

การเลือกตั้งครั้งล่าสุด[แก้]

การเลือกตั้งประธานาธิบดี[แก้]

· ·
ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส 22 เมษายน และ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
อันดับที่ ผู้สมัครเลือกตั้ง พรรค รอบแรก รอบสอง
คะแนนเสียง เปอร์เซ็นต์ คะแนนเสียง เปอร์เซ็นต์
1 นีกอลา ซาร์กอซี อูว์นียงปูร์เอิงมูฟว์ม็องปอปูแลร์ (UMP) 11,448,663 31.18% 18,983,138 53.06%
2 เซกอแลน รัวยาล พรรคสังคมนิยม (PS) 9,500,112 25.87% 16,790,440 46.94%
3 ฟร็องซัว บายรู อูว์นียงปูร์ลาเดมอคราซีฟร็องแซซ (UDF) 6,820,119 18.57%
4 ฌอง-มารี เลอ เป็ง ฟรงนาซียอนาล (FN) 3,834,530 10.44%
5 โอลีวีเย เบอซ็องเซอโน ลีกกอมูว์นิสต์เรวอลูว์ซียอแนร์ (LCR) 1,498,581 4.08%
6 ฟีลิป เดอ วีลีเย มูฟว์ม็องปูร์ลาฟร็องส์ (MPF) 818,407 2.23%
7 มารี-ฌอร์ฌ บูว์แฟ ปาร์ตีกอมูว์นิสต์ฟร็องแซ (PCF) 707,268 1.93%
8 ดอมีนิก วัวแน เลแวร์ (Les Verts) 576,666 1.57%
9 อาร์แล็ต ลากีเย ลุตอูวรีแยร์ (LO) 487,857 1.33%
10 โฌเซ บอเว ผู้สมัครอิสระ 483,008 1.32%
11 เฟรเดริก นีอู ชัส แป็ช นาตูร์ ทราดีซียง (CPNT) 420,645 1.15%
12 เฌราร์ ชีวาร์ดี ปาร์ตีเดทราวาเยอร์ (PT) 123,540 0.34%
ผลรวม 36,719,396 35,773,578
เสียงข้างมากเด็ดขาด (18,359,698)  
บัตรดี 36,719,396 98.56% 35,773,578 95.80%
บัตรเสีย 534,846 1.44% 1,568,426 4.20%
จำนวนผู้ออกเสียงเลือกตั้ง 37,254,242 83.77% 37,342,004 83.97%
จำนวนผู้งดออกเสียงเลือกตั้ง 7,218,592 16.23% 7,130,729 16.03%
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 44,472,834 100% 44,472,733 100%

ดูเพิ่ม: การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส ค.ศ. 2007

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

· ·
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส 10 และ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2550
พรรคการเมือง รอบแรก รอบสอง รวมที่นั่ง
ในรัฐสภา
คะแนนเสียง เปอร์เซนต์ ที่นั่ง คะแนนเสียง เปอร์เซนต์
พรรคสหภาพเพื่อการเคลื่อนไหวของปวงชน (UMP) 10,289,028 39.54% 98 9,463,408 46.37% 313
พรรคกลางใหม่ (NC) 616,443 2.37% 7 432,921 2.12% 22
พรรคการเมืองปีกขวาอื่นๆ 641,600 2.47% 2 238,585 1.17% 9
พรรคขบวนการเพื่อฝรั่งเศส (MPF) 312,587 1.20% 1 - - 1
รวมเสียงข้างมากประธานาธิบดี (ขวา) 11,859,658 45.58% 345
พรรคสังคมนิยมฝรั่งเศส (PS) 6,436,136 24.73% 1 8,622,529 42.25% 186
พรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส (PCF) 1,115,719 4.29% - 464,739 2.28% 15
พรรคการเมืองปีกซ้ายอื่นๆ 513,457 1.97% - 503,674 2.47% 15
พรรคหัวรุนแรงซ้าย (PRG) 343,580 1.31% - 333,189 1.63% 7
พรรคเขียว (Les Verts) 845,884 3.25% - 90,975 0.45% 4
รวมเสียงฝ่ายซ้าย 9,254,776 35.55% 227
พรรคขบวนการประชาธิปไตย (MoDem) 1,981,121 7.61% - 100,106 0.49% 3
ลัทธิแบ่งแยกการปกครอง 131,585 0.51% - 106,459 0.52% 1
อื่นๆ 267,987 1.03% - 33,068 0.16% 1
พรรคแนวหน้าแห่งชาติ (FN) 1,116,005 4.29% - 17,107 0.08% -
พรรคซ้ายจัดอื่นๆ (รวมทั้ง พรรคสันนิบาตคอมมิวนิสต์ปฏิวัติ (LCR) และ พรรคพลังแรงงาน (LO)) 887,887 3.41% - - - -
พรรคล่าสัตว์ ตกปลา ธรรมชาติและประเพณี (CPNT) 213,448 0.82% - - - -
นักนิเวศวิทยาอื่นๆ 208,465 0.80% - - - -
พรรคขวาจัดอื่นๆ (รวมทั้ง พรรคขบวนการสาธารณรัฐแห่งชาติ (MNR)) 102,100 0.39% - - - -
ผลรวม 26,023,052 100% 110 21,130,346 100% 577

ดูเพิ่ม: การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส พ.ศ. 2550

รายชื่อการเลือกตั้งในประเทศฝรั่งเศส[แก้]

ครั้งที่ วันที่ ประเภท รอบ ชื่อการเลือกตั้ง หมายเหตุ
1 28 กันยายน พ.ศ. 2501 การลงประชามติ การลงประชามติรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส พ.ศ. 2501 เป็นการก่อตั้งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5
2 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 นิติบัญญัติ 1 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส พ.ศ. 2501
30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 2
3 21 ธันวาคม พ.ศ. 2501 ประธานาธิบดี การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2501 ชาร์ล เดอ โกล ได้เป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
4 8 มีนาคม พ.ศ. 2502 ท้องถิ่น 1 การเลือกตั้งท้องถิ่นฝรั่งเศส พ.ศ. 2502
15 มีนาคม พ.ศ. 2502 2
5 6 เมษายน พ.ศ. 2502 วุฒิสภา การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาฝรั่งเศส พ.ศ. 2502
6 8 มกราคม พ.ศ. 2504 การลงประชามติ การลงประชามติปกครองตนเองของแอลจีเรีย พ.ศ. 2504 เพื่อให้ประเทศแอลจีเรียเป็นอิสรภาพในอนาคต
7 4 มิถุนายน พ.ศ. 2504 อำเภอ 1 การเลือกตั้งอำเภอฝรั่งเศส พ.ศ. 2504 เลือกตั้งซ่อมอำเภอปี พ.ศ. 2498
11 มิถุนายน พ.ศ. 2504 2
8 8 เมษายน พ.ศ. 2505 การลงประชามติ การลงประชามติข้อตกลงเอวียอง พ.ศ. 2505 เป็นการยุติสงครามแอลจีเรียและประกาศอิสรภาพให้แก่ประเทศแอลจีเรีย
9 28 ตุลาคม พ.ศ. 2505 การลงประชามติ การลงประชามติการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2505 ประเทศฝรั่งเศสเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรงแบบสากล
10 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 นิติบัญญัติ 1 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส พ.ศ. 2505
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 2
11 8 มีนาคม พ.ศ. 2507 อำเภอ 1 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส พ.ศ. 2507 เลือกตั้งซ่อมอำเภอปี พ.ศ. 2501
15 มีนาคม พ.ศ. 2507 2
12 14 มีนาคม พ.ศ. 2508 ท้องถิ่น 1 การเลือกตั้งท้องถิ่นฝรั่งเศส พ.ศ. 2508
21 มีนาคม พ.ศ. 2508 2
13 5 ธันวาคม พ.ศ. 2508 ประธานาธิบดี 1 การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2508 ชาร์ล เดอ โกลได้เป็นประธานาธิบดีอีกสมัย
19 ธันวาคม พ.ศ. 2508 2
14 5 มีนาคม พ.ศ. 2510 นิติบัญญัติ 1 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส พ.ศ. 2510
12 มีนาคม พ.ศ. 2510 2
15 24 กันยายน พ.ศ. 2510 อำเภอ 1 การเลือกตั้งอำเภอฝรั่งเศส พ.ศ. 2510 เลือกตั้งซ่อมอำเภอปี พ.ศ. 2504
1 ตุลาคม พ.ศ. 2510 2
16 23 มิถุนายน พ.ศ. 2511 นิติบัญญัติ 1 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส พ.ศ. 2511
30 มิถุนายน พ.ศ. 2511 2
17 27 เมษายน พ.ศ. 2512 การลงประชามติ การลงประชามติปฏิรูปวุฒิสภาและการกระจายอำนาจ พ.ศ. 2512
18 1 มิถุนายน พ.ศ. 2512 ประธานาธิบดี 1 การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2512 ฌอร์ฌ ปงปีดู ได้เป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
15 มิถุนายน พ.ศ. 2512 2
19 23 กันยายน พ.ศ. 2513 อำเภอ 1 การเลือกตั้งอำเภอฝรั่งเศส พ.ศ. 2513 เลือกตั้งซ่อมอำเภอปี พ.ศ. 2506
30 กันยายน พ.ศ. 2513 2
20 14 มีนาคม พ.ศ. 2514 ท้องถิ่น 1 การเลือกตั้งท้องถิ่นฝรั่งเศส พ.ศ. 2514
21 มีนาคม พ.ศ. 2514 2
21 23 เมษายน พ.ศ. 2515 การลงประชามติ การลงประชามติขยายประชาคมเศรษฐกิจยุโรป พ.ศ. 2515
22 4 มีนาคม พ.ศ. 2516 นิติบัญญัติ 1 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส พ.ศ. 2516
11 มีนาคม พ.ศ. 2516 2
23 23 กันยายน พ.ศ. 2516 อำเภอ 1 การเลือกตั้งอำเภอฝรั่งเศส พ.ศ. 2516 เลือกตั้งซ่อมอำเภอปี พ.ศ. 2510
30 กันยายน พ.ศ. 2516 2
24 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 ประธานาธิบดี 1 การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2517 วาเลรี ฌิสการ์ แด็สแต็ง ได้เป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
19 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 2
25 7 มีนาคม พ.ศ. 2519 อำเภอ 1 การเลือกตั้งอำเภอฝรั่งเศส พ.ศ. 2519 เลือกตั้งซ่อมอำเภอปี พ.ศ. 2513
14 มีนาคม พ.ศ. 2519 2
26 13 มีนาคม พ.ศ. 2520 ท้องถิ่น 1 การเลือกตั้งท้องถิ่นฝรั่งเศส พ.ศ. 2520
20 มีนาคม พ.ศ. 2520 2
27 12 มีนาคม พ.ศ. 2521 นิติบัญญัติ 1 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส พ.ศ. 2521
19 มีนาคม พ.ศ. 2521 2
28 18 มีนาคม พ.ศ. 2522 อำเภอ 1 การเลือกตั้งอำเภอฝรั่งเศส พ.ศ. 2522 เลือกตั้งซ่อมอำเภอปี พ.ศ. 2516
25 มีนาคม พ.ศ. 2522 2
29 7 มิถุนายน พ.ศ. 2522 ยุโรป การเลือกตั้งรัฐสภายุโรป พ.ศ. 2522
29 24 เมษายน พ.ศ. 2524 ประธานาธิบดี 1 การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2524 ฟร็องซัว มีแตร็อง ได้เป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
10 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 2
30 14 มิถุนายน พ.ศ. 2524 นิติบัญญัติ 1 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส พ.ศ. 2524
21 มิถุนายน พ.ศ. 2524 2
31 14 มีนาคม พ.ศ. 2525 อำเภอ 1 การเลือกตั้งอำเภอฝรั่งเศส พ.ศ. 2525 เลือกตั้งซ่อมอำเภอปี พ.ศ. 2519
21 มีนาคม พ.ศ. 2525 2
32 6 มีนาคม พ.ศ. 2526 ท้องถิ่น 1 การเลือกตั้งท้องถิ่นฝรั่งเศส พ.ศ. 2526
13 มีนาคม พ.ศ. 2526 2
33 17 มิถุนายน พ.ศ. 2527 ยุโรป การเลือกตั้งรัฐสภายุโรป พ.ศ. 2527
34 10 มีนาคม พ.ศ. 2528 อำเภอ 1 การเลือกตั้งอำเภอฝรั่งเศส พ.ศ. 2528 เลือกตั้งซ่อมอำเภอปี พ.ศ. 2522
17 มีนาคม พ.ศ. 2528 2
35 16 มีนาคม พ.ศ. 2529 นิติบัญญัติ พิเศษ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส พ.ศ. 2529
36 16 มีนาคม พ.ศ. 2529 แคว้น การเลือกตั้งแคว้นฝรั่งเศส พ.ศ. 2529
37 24 เมษายน พ.ศ. 2531 ประธานาธิบดี 1 การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2531 ฟร็องซัว มีแตร็องได้เป็นประธานาธิบดีอีกสมัย
8 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 2
38 5 มิถุนายน พ.ศ. 2531 นิติบัญญัติ 1 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส พ.ศ. 2531
12 มิถุนายน พ.ศ. 2531 2
39 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 การลงประชามติ การลงประชามติข้อตกลงมาติญง พ.ศ. 2531
40 25 กันยายน พ.ศ. 2531 อำเภอ 1 การเลือกตั้งอำเภอฝรั่งเศส พ.ศ. 2531 เลือกตั้งซ่อมอำเภอปี พ.ศ. 2525
2 ตุลาคม พ.ศ. 2531 2
41 12 มีนาคม พ.ศ. 2532 ท้องถิ่น 1 การเลือกตั้งท้องถิ่นฝรั่งเศส พ.ศ. 2532
19 มีนาคม พ.ศ. 2532 2
42 18 มิถุนายน พ.ศ. 2532 ยุโรป การเลือกตั้งรัฐสภายุโรป พ.ศ. 2532
43 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 อำเภอ 1 การเลือกตั้งอำเภอฝรั่งเศส พ.ศ. 2535 เลือกตั้งซ่อมอำเภอปี พ.ศ. 2529
44 แคว้น การเลือกตั้งแคว้นฝรั่งเศส พ.ศ. 2535
29 มีนาคม พ.ศ. 2535 อำเภอ 2 การเลือกตั้งอำเภอฝรั่งเศส พ.ศ. 2535 เลือกตั้งซ่อมอำเภอปี พ.ศ. 2529
45 20 กันยายน พ.ศ. 2535 การลงประชามติ การลงประชามติสนธิสัญญามาสทริชต์ พ.ศ. 2535
46 21 มีนาคม พ.ศ. 2536 นิติบัญญัติ 1 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส พ.ศ. 2536
28 มีนาคม พ.ศ. 2536 2
47 20 มีนาคม พ.ศ. 2537 อำเภอ 1 การเลือกตั้งอำเภอฝรั่งเศส พ.ศ. 2537 เลือกตั้งซ่อมอำเภอปี พ.ศ. 2531
27 มีนาคม พ.ศ. 2537
48 12 มิถุนายน พ.ศ. 2537 ยุโรป การเลือกตั้งรัฐสภายุโรป พ.ศ. 2537
48 23 เมษายน พ.ศ. 2538 ประธานาธิบดี 1 การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2538 ฌัก ชีรัก ได้เป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
7 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 2
49 11 มิถุนายน พ.ศ. 2538 ท้องถิ่น 1 การเลือกตั้งท้องถิ่นฝรั่งเศส พ.ศ. 2538
18 มิถุนายน พ.ศ. 2538 2
50 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 นิติบัญญัติ 1 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส พ.ศ. 2540
1 มิถุนายน พ.ศ. 2540 2
51 15 มีนาคม พ.ศ. 2541 อำเภอ 1 การเลือกตั้งอำเภอฝรั่งเศส พ.ศ. 2541 เลือกตั้งซ่อมอำเภอปี พ.ศ. 2535
52 แคว้น การเลือกตั้งแคว้นฝรั่งเศส พ.ศ. 2541
22 มีนาคม พ.ศ. 2541 อำเภอ 2 การเลือกตั้งอำเภอฝรั่งเศส พ.ศ. 2541 เลือกตั้งซ่อมอำเภอปี พ.ศ. 2535
53 13 มิถุนายน พ.ศ. 2542 ยุโรป การเลือกตั้งรัฐสภายุโรป พ.ศ. 2542
54 24 กันยายน พ.ศ. 2543 การลงประชามติ การลงประชามติวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี วาระการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีฝรั่งเศสลดลงจาก 7 ปีเหลือ 5 ปี
55 11 มีนาคม พ.ศ. 2544 อำเภอ 1 การเลือกตั้งอำเภอฝรั่งเศส พ.ศ. 2544 เลือกตั้งซ่อมอำเภอปี พ.ศ. 2537
56 ท้องถิ่น 1 การเลือกตั้งท้องถิ่นฝรั่งเศส พ.ศ. 2544
18 มีนาคม พ.ศ. 2544 อำเภอ 2 การเลือกตั้งอำเภอฝรั่งเศส พ.ศ. 2544 เลือกตั้งซ่อมอำเภอปี พ.ศ. 2537
ท้องถิ่น 2 การเลือกตั้งท้องถิ่นฝรั่งเศส พ.ศ. 2544
57 21 เมษายน พ.ศ. 2545 ประธานาธิบดี 1 การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2545 ฌัก ชีรักได้เป็นประธานาธิบดีอีกสมัย
5 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 2
58 9 มิถุนายน พ.ศ. 2545 นิติบัญญัติ 1 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส พ.ศ. 2545
16 มิถุนายน พ.ศ. 2545 2
59 21 มีนาคม พ.ศ. 2547 อำเภอ 1 การเลือกตั้งอำเภอฝรั่งเศส พ.ศ. 2547 เลือกตั้งซ่อมอำเภอปี พ.ศ. 2541
60 แคว้น 1 การเลือกตั้งแคว้นฝรั่งเศส พ.ศ. 2547
28 มีนาคม พ.ศ. 2547 อำเภอ 2 การเลือกตั้งอำเภอฝรั่งเศส พ.ศ. 2547 เลือกตั้งซ่อมอำเภอปี พ.ศ. 2541
แคว้น 2 การเลือกตั้งแคว้นฝรั่งเศส พ.ศ. 2547
61 13 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ยุโรป การเลือกตั้งรัฐสภายุโรป พ.ศ. 2547
62 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 การลงประชามติ การลงประชามติสนธิสัญญาก่อตั้งรัฐธรรมนูญเพื่อยุโรป
63 18 มิถุนายน พ.ศ. 2549 สมัชชาชาวฝรั่งเศสในต่างประเทศ (AFE)
64 22 เมษายน พ.ศ. 2550 ประธานาธิบดี 1 การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2550 นีกอลา ซาร์กอซี ได้เป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
6 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 2
65 10 มิถุนายน พ.ศ. 2550 นิติบัญญัติ 1 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส พ.ศ. 2550
17 มิถุนายน พ.ศ. 2550 2
66 9 มีนาคม พ.ศ. 2551 ท้องถิ่น 1 การเลือกตั้งท้องถิ่นฝรั่งเศส พ.ศ. 2551
67 อำเภอ 1 การเลือกตั้งอำเภอฝรั่งเศส พ.ศ. 2551 เลือกตั้งซ่อมอำเภอปี พ.ศ. 2544
16 มีนาคม พ.ศ. 2551 ท้องถิ่น 2 การเลือกตั้งท้องถิ่นฝรั่งเศส พ.ศ. 2551
อำเภอ 2 การเลือกตั้งอำเภอฝรั่งเศส พ.ศ. 2551 เลือกตั้งซ่อมอำเภอปี พ.ศ. 2544
68 กันยายน พ.ศ. 2551 วุฒิสภา การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาฝรั่งเศส พ.ศ. 2551 มีการเลือกตั้งเป็นบางจังหวัดเท่านั้น (จังหวัดกลุ่ม A)
69 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ยุโรป การเลือกตั้งรัฐสภายุโรป พ.ศ. 2552
70 พ.ศ. 2553 แคว้น การเลือกตั้งแคว้นฝรั่งเศส พ.ศ. 2553
71 เมษายน พ.ศ. 2555 ประธานาธิบดี 1 การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2555
พฤษภาคม พ.ศ. 2555 2


อ้างอิง[แก้]