น้ำหนักลด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Weight loss)
น้ำหนักลด
ภาพแสดงการลดน้ำหนัก

ในบริบททางการแพทย์ สุขภาพ และความฟิตของร่างกาย การลดน้ำหนัก หรือ น้ำหนักลด (อังกฤษ: weight loss) หมายถึงการลดน้ำหนัก/มวลกายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเพราะเสียน้ำ ลดไขมัน หรือมวลกายอื่น ๆ เช่น แร่ธาตุในกระดูก กล้ามเนื้อ เอ็น และเนื้อเยื่ออื่น ๆ อาจเกิดโดยไม่ได้ตั้งใจเพราะทุพโภชนาการ เพราะโรค เพราะพยายามแก้ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนไม่ว่าจะเป็นจริงหรือแค่คิดเอาเอง น้ำหนักที่ลดอย่าง "อธิบายไม่ได้" และไม่ได้เกิดจากการลดอาหารหรือเพิ่มออกกำลังกาย อาจเป็นอาการโรคที่ต้องตรวจดู

ตั้งใจลด[แก้]

การตั้งใจลดน้ำหนักอาจเพื่อปรับปรุงความฟิตร่างกายหรือสุขภาพ หรือเพื่อเปลี่ยนรูปร่าง สำหรับผู้ที่น้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน การลดน้ำหนักอาจลดความเสี่ยงทางสุขภาพ[1] เพิ่มความฟิตร่างกาย[2] และชะลอการเกิดโรคเบาหวาน[1] สำหรับผู้มีข้อเข่าเสื่อม อาจลดความเจ็บปวดและทำให้คล่องแคล่วขึ้น[2] การลดน้ำหนักอาจลดความดันโลหิตสูง แต่ก็ไม่ชัดเจนว่าลดอันตรายเหตุความดันสูงหรือไม่[1][ไม่อยู่ในแหล่งอ้างอิง]

Weight loss is achieved by adopting a lifestyle in which fewer calories are consumed than are expended. น้ำหนักสามารถลดเมื่อมีพฤติกรรม/วิถีชีวิตที่บริโภคพลังงานน้อยกว่าที่ใช้แต่ละน[3] คือ น้ำหนักจะลดก็ต่อเมื่อใช้พลังงานเพื่อทำงานหรือเพื่อเมแทบอลิซึมยิ่งกว่าที่ได้จากอาหารและสารอาหารอื่น ๆ ซึ่งทำให้เผาพลังงานที่เก็บสำรองไว้ไม่ว่าจะจากไขมันหรือกล้ามเนื้อ แล้วทำให้น้ำหนักค่อย ๆ ลด

สำหรับนักกีฬาที่ต้องการเล่นกีฬาให้ดีขึ้น หรือต้องผ่านพิกัดน้ำหนักในกีฬา การลดน้ำหนักอีกไม่แปลกแม้จะหนักในระดับดีสุดแล้ว ส่วนบุคคลอื่น ๆ อาจมีแรงจูงใจเพื่อลดน้ำหนักให้ได้รูปร่างที่ตนคิดว่าดูดีกว่า อย่างไรก็ดี การมีน้ำหนักน้อยเกินสัมพันธ์กับความเสี่ยงทางสุขภาพ เช่น อ่อนแอต่อการติดเชื้อ ภาวะกระดูกพรุน กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง ร่างกายมีปัญหาควบคุมอุณหภูมิ และแม้แต่เสี่ยงตายสูงขึ้น[4]

อาหารมีแคลอรีต่ำ (low-calorie diet) เป็นรูปแบบอาหารที่มีสารอาหารจำเป็นอย่างสมดุล เพราะมีผลเสียน้อยมาก นักโภชนาการจึงมักแนะนำอาหารพวกนี้ นอกจากจะจำกัดแคลอรีที่บริโภค ก็ยังควบคุมการบริโภคสารอาหารหลัก ๆ (macronutrient) อีกด้วย ในบรรดาแคลอรีที่ควรบริโภคต่อวัน 55% ควรมาจากคาร์โบไฮเดรต, 15% จากโปรตีน และ 30% จากไขมันโดยไม่ควรมีไขมันอิ่มตัวเกิน 10% ของไขมันทั้งหมด[ต้องการอ้างอิง] ยกตัวอย่างเช่น เมื่อบริโภคอาหารมีพลังงาน 1,200 แคลอรีต่อวัน ควรจะได้ 660 แคลอรีจากคาร์โบไฮเดรต 180 แคลอรีจากโปรตีน และ 360 แคลอรีจากไขมัน แต่ก็มีงานศึกษาบางงานที่แสดงว่า การเพิ่มบริโภคโปรตีนสามารถช่วยระงับความหิวที่มักเกิดเพราะลดแคลอรีในอาหารเพราะเพิ่มความรู้สึกอิ่ม[5]

การจำกัดแคลอรีเช่นนี้มีประโยชน์ระยะยาวหลายอย่าง เมื่อทำพร้อมกับออกกำลังกายเพิ่มขึ้น อาหารมีแคลอรีต่ำเชื่อว่ามีประสิทธิภาพที่สุดในระยะยาว ไม่เหมือนกับไดเอ็ตทำ ๆ หยุด ๆ ซึ่งอย่างดีก็ได้ผลระยะสั้น ๆ เท่านั้น การออกกำลังกายสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของรูปแบบการทานอาหาร ดังนั้น วิธีการลดน้ำหนักซึ่งถูกสุขภาพที่สุดก็คือ การทานอาหารอย่างสมดุลประกอบกับการออกกำลังกายปานกลาง[ต้องการอ้างอิง] การเพิ่มน้ำหนักสัมพันธ์กับการทานไขมันมากเกิน เพิ่มทานน้ำตาล ทานคาร์โบไฮเดรตขัดสี/แปรรูปโดยทั่วไป และการดื่มแอลกอฮอล์[ต้องการอ้างอิง]

ความซึมเศร้า ความเครียด และความเบื่ออาจมีส่วนทำให้น้ำหนักเพิ่ม[6] ในกรณีเหล่านี้ บุคคลอาจควรปรึกษาแพทย์ งานศึกษาปี 2010 พบว่า ผู้ไดเอ็ตที่หลับเต็มอิ่มช่วงกลางคืน ลดน้ำหนักได้เป็นสองเท่าของผู้ไดเอ็ตที่นอนไม่พอ[7][8]

แม้จะมีสมมติฐานว่า อาหารเสริมเป็นวิตามินดีอาจช่วยลดน้ำหนัก แต่ผลงานศึกษาก็ไม่สนับสนุนสมมติฐานนี้[9] คนไดเอ็ตโดยมากจะได้น้ำหนักคืนในระยะยาว[10]

ตามแนวทางแนะนำอาหารของคนอเมริกัน (Dietary Guidelines for Americans) คนที่ได้น้ำหนักถูกสุขภาพและรักษาไว้ได้ จะต้องระมัดระวังบริโภคแคลอรีตามที่ร่างกายจำเป็นเท่านั้น และเป็นคนไม่อยู่นิ่ง ๆ (physically active)[11] ตามองค์การบริการสุขภาพแห่งชาติแห่งสหราชอาณาจักร (NHS) บุคคลสามารถลดน้ำหนักได้ดีที่สุดโดยตรวจตราแคลอรีที่บริโภคแต่ละวันประกอบกับการออกกำลังกาย[3]

เทคนิค[แก้]

วิธีการลดน้ำหนักที่ก้าวก่ายน้อยที่สุด และจึงแนะนำบ่อยที่สุด ก็คือการเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารและเพิ่มออกกำลัง ปกติโดยการออกกำลังกาย องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ลดทานอาหารแปรรูปที่มีไขมันอิ่มตัว น้ำตาล และเกลือสูง[12] ลดแคลอรีที่ได้จากอาหาร และเพิ่มออกกำลัง[13]

ยังแนะนำให้ทานใยอาหารเพิ่มขึ้นด้วยเพื่อให้ถ่ายได้ดี วิธีลดน้ำหนักอื่น ๆ รวมทั้งการใช้ยาหรืออาหารเสริมที่ลดความอยากอาหาร ระงับการดูดซึมอาหาร หรือลดปริมาตรกระเพาะอาหาร การผ่าตัดลดความอ้วน (Bariatric surgery) อาจเป็นทางเลือกสำหรับโรคอ้วนรุนแรง การผ่าตัดที่สามัญก็คือ gastric bypass (การผ่าเลี่ยงกระเพาะอาหารเป็นบางส่วน) และ gastric banding (การผูกกระเพาะอาหาร)[14] ทั้งสองอาจมีประสิทธิผลลดการนำพลังงานเข้าร่างกายเพราะลดขนาดกระเพาะ แต่ก็มีความเสี่ยงอย่างจำเพาะ ๆ เหมือนกับกาผ่าตัดอื่น ๆ[15] ดังนั้น จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อน

อาหารเสริมถึงแม้จะใช้อย่างกว้างขวาง แต่ก็พิจารณาว่าไม่ถูกสุขภาพเมื่อลดน้ำหนัก[16] มีวางตลาดหลายอย่าง แต่น้อยอย่างมากมีประสิทธิผลระยะยาว[17]

มีวิธีการสะกดจิต (virtual gastric band) ที่ทำให้รู้สึกเหมือนว่า กระเพาะอาหารเล็กกว่าเป็นจริงและดังนั้น จึงช่วยลดปริมาณการทานอาหารแล้วให้ลดน้ำหนักได้ วิธีนี้อาจเสริมด้วยการรักษาความวิตกกังวลทางจิตวิทยาและด้วยการให้ฟังบันทึกเสียงเมื่อนอนหลับ (hypnopedia) มีงานวิจัยที่ตรวจสอบการสะกดจิตเพื่อแก้ปัญหาน้ำหนักเกินเป็นการรักษาทางเลือก[18][19][20][21] งานศึกษาปี 1996 พบว่า การลดน้ำหนักด้วยการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (CBT) จะมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นถ้าเสริมด้วยการสะกดจิต[19] การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญา (ACT) ซึ่งใช้สติเพื่อลดน้ำหนักก็พบในปี 2010 ว่ามีประโยชน์ด้วย[22]

การลดน้ำหนักอย่างถาวร[แก้]

เพื่อให้น้ำหนักลดอย่างถาวร การเปลี่ยนอาหารและพฤติกรรมก็ต้องถาวรด้วย การไดเอ็ตในระยะสั้น ๆ ไม่ปรากฏว่า ลดน้ำหนักได้หรือทำให้สุขภาพดีขึ้นในระยะยาว และอาจมีโทษด้วย[23]

อุตสาหกรรมการลดน้ำหนักในประเทศตะวันตก[แก้]

ในสหรัฐ มีผลิตภัณฑ์ที่วางตลาดเป็นจำนวนมากซึ่งอ้างว่าช่วยให้ลดน้ำหนักได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น มีค่าใช้จ่ายน้อย ไว้วางใจได้ และเป็นทุกข์น้อยกว่า รวมทั้งหนังสือ ดีวีดี ซีดี ครีม น้ำมัน ยา แหวน ตุ้มหู เครื่องพันกาย เข็มขัด วัสดุอื่น ๆ ศูนย์ฟิตเหนส คลินิก โค้ชส่วนตัว กลุ่มสนับสนุนลดน้ำหนัก ผลิตภัณฑ์อาหารและอาหารเสริม[24] ในปี 2008 มีการใช้จ่าย 33,000-55,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี (ประมาณ 1.1-1.8 ล้านล้านบาท) สำหรับผลิตภัณฑ์และบริการลดน้ำหนักโดยรวมวิธีการทางแพทย์และยาด้วย ศูนย์ลดน้ำหนักได้ส่วนแบ่งระหว่าง 6-12% ผู้บริโภคซื้ออาหารเสริมเพื่อช่วยลดน้ำหนักเกินกว่า 1,600 ล้านเหรียญต่อปี (ประมาณ 52,789 ล้านบาท) ความพยายามเพื่อไดเอ็ตของคนอเมริกัน 70% จะทำเอง[25][26]

ในยุโรปตะวันตก การขายผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักโดยไม่รวมยาที่แพทย์ต้องออกใบสั่ง เกินกว่า 1,250 ล้านยูโรต่อปี (ประมาณ 59,767 ล้านบาท) ในปี 2009[26]

ไม่ได้ตั้งใจ[แก้]

ลักษณะ[แก้]

การลดน้ำหนักอย่างไม่ได้ตั้งใจอาจเกิดจากการเสียไขมัน เสียน้ำ เสียกล้ามเนื้อในร่างกาย หรือเสียสิ่งเหล่านี้รวม ๆ กัน[27][28] ปกติจะพิจารณาว่าเป็นปัญหาทางการแพทย์ต่อเมื่อบุคคลเสียน้ำหนักอย่างน้อย 10% ภายใน 6 เดือน[27][29] หรือ 5% ภายในเดือนที่ผ่านมา[30] เกณฑ์วิธีอีกอย่างที่ใช้ประเมินน้ำหนักน้อยเกินก็คือ ดัชนีมวลกาย (BMI)[31] อย่างไรก็ดี แม้น้ำหนักลดที่น้อยกว่านี้ก็อาจเป็นเรื่องน่าเป็นห่วงสำหรับคนชราที่อ่อนแอ[32]

น้ำหนักลดแบบไม่ได้ตั้งใจอาจเกิดเพราะได้พลังงานจากอาหารไม่พอเทียบกับความต้องการของร่างกาย (ปกติเรียกว่า ทุพโภชนาการ) แต่วิถีดำเนินของโรค การเปลี่ยนแปลงทางเมแทบอลิซึม ทางฮอร์โมน การใช้ยา การรักษาโรคอื่น ๆ การเปลี่ยนแปลงอาหารเนื่องจากโรคหรือการรักษา หรือความอยากอาหารน้อยดังที่สัมพันธ์กับโรคหรือการรักษาก็อาจทำให้น้ำหนักลดอย่างไม่ได้ตั้งใจได้เช่นกัน[27][28][29][33][34][35] ปัญหาทางฮอร์โมนเช่น ไทรอยด์ถูกกระตุ้นมากเกินไป (hyperthyroidism) อาจทำให้น้ำหนักลดเช่นกัน[36] การนำสารอาหารไปใช้ไม่ได้ดีอาจทำให้น้ำหนักลด ซึ่งอาจมีเหตุจากทางเดินอาหารทะลุ (fistulae) ท้องร่วง ปฏิกิริยาระหว่างยากับอาหาร การหมดเอนไซม์ และกล้ามเนื้อลีบ[29]

น้ำหนักที่ลดลงเรื่อย ๆ อาจแย่ลงจนกลายเป็นภาวะผอมหนังหุ้มกระดูก (cachexia)[32] ซึ่งต่างกับความอดอยากโดยส่วนหนึ่งก็คือเพราะมีปฏิกิริยาเป็นการอักเสบทั้งร่างกาย (systemic inflammatory response)[32] และมีผลที่แย่กว่า[27][32][33]

ในโรคที่ลุกลามระยะหลัง ๆ เมแทบอลิซึมของคนไข้อาจเปลี่ยนไป จึงทำให้น้ำหนักลดได้แม้จะได้อาหารพอโดยที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวได้ ซึ่งอาจก่อภาวะ anorexia cachexia syndrome (ACS) ที่การได้อาหารหรืออาหารเสริมไม่น่าจะช่วย[29] อาการเนื่องกับ ACS รวมทั้งการเสียน้ำหนักอย่างรุนแรงจากกล้ามเนื้อ ไม่ใช่จากไขมันร่างกาย ไม่อยากอาหาร อิ่มแม้หลังจากทานอาหารเพียงเล็กน้อย คลื่นไส้ กะปลกกะเปลี้ย ล้า[29] การลดน้ำหนักมากอาจทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง ขัดขวางการรักษาหรือการหายจากโรค ทำให้โรคแย่ลง และเป็นปัจจัยเสี่ยงให้มีอัตราการตายสูง[27][32]

ทุพโภชนาการอาจมีผลต่อการทำงานของร่างกายทุก ๆ ส่วน เริ่มตั้งแต่ระดับเซลล์จนถึงกระบวนการทำงานที่ซับซ้อนที่สุดรวมทั้ง[31]

อนึ่ง ทุพโภชนาการอาจทำให้ขาดวิตามินหรือสารอาหารอื่น ๆ แล้วทำให้ไม่ค่อยขยับตัว ซึ่งก็อาจก่อปัญหาอื่น ๆ เช่น แผลกดทับ (pressure sore)[31] น้ำหนักลดอย่างไม่ได้ตั้งใจอาจเป็นอาการที่นำไปสู่การวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง[27] และโรคเบาหวานประเภทที่หนึ่ง[37]

ในสหราชอาณาจักร ประชากรทั่วไป 5% จะมีน้ำหนักน้อยเกิน แต่ผู้ที่มีโรคปอด โรคทางเดินอาหาร หรือเพิ่งรับการผ่าตัดจะเป็นถึง 10%[31] ตามข้อมูลจาก Malnutrition Universal Screening Tool ('MUST') ของสหราชอาณาจักร ซึ่งรวมเรื่องการเสียน้ำหนักโดยไม่ได้ตั้งใจ 10% ของประชากรอายุมากกว่า 65 ปีเสี่ยงต่อทุพโภชนาการ[31] คนไข้ในโรงพยาบาลถึง 10-60% ก็เสี่ยงด้วย คนไข้ในสถาบันดูแลผู้ป่วยระยะยาวก็เช่นกัน[31]

เหตุ[แก้]

เนื่องกับโรค[แก้]

ทุพโภชนาการเนื่องกับโรคอาจจัดรวมในหมวด 4 หมวด[31]

ปัญหา เหตุ
ทานอาหารได้ไม่เต็มที่ ความไม่อยากอาหารอาจเป็นอาการโดยตรงของโรค หรือโรคอาจทำให้รู้สึกเจ็บเมื่อรับประทานอาหารหรือทำให้คลื่นไส้ อาจทำให้รู้สึกกลัวการกิน อาจเกิดจากความรู้สึกตัวที่แย่ลงหรือสับสน ปัญหาที่มือและแขน ปัญหาการกลืนและการเคี้ยว แพทย์อาจจำกัดอาหารเพื่อรักษาหรือเพื่อตรวจสอบโรค การขาดอาหารอาจเกิดจากความยากจน ปัญหาการไปซื้อของหรือทำอาหาร และอาหารคุณภาพไม่ดี
การย่อยหรือการดูดซึมอาหารที่ไม่ดี อาจเกิดจากปัญหาของระบบย่อยอาหาร
ร่างกายมีความต้องการเปลี่ยนไป การเปลี่ยนแปลงทางเมแทบอลิซึมอาจเกิดจากโรค การผ่าตัด หรือปัญหาที่อวัยวะต่าง ๆ
การเสียสารอาหารเกิน การเสียสารอาหารจากทางเดินอาหารอาจเกิดจากอาการต่าง ๆ เช่นอาเจียน ท้องร่วง ทางเดินอาหารทะลุ (fistulae) และ stoma อาจเสียสารอาหารเพราะวิธีการระบายต่าง ๆ รวมทั้งสายระบายที่แพทย์สอดจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร (nasogastric tube) หรือเพราะกระบวนการอื่น ๆ เช่น ผิวหนังไหม้ที่มีน้ำเยิ้มออกจากผิว (skin exudate)

ปัญหาการเสียน้ำหนักเพราะโรคโดยเฉพาะ ๆ รวมทั้ง

  • เมื่อโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) แย่ลง คนไข้ประมาณ 35% จะน้ำหนักลดอย่างรุนแรงโดยเรียกว่า pulmonary cachexia (ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกเหตุปอด) รวมทั้งการเสียกล้ามเนื้อ[33] คนไข้ 25% จะน้ำหนักลดในระดับปานกลางจนถึงรุนแรง และที่เหลือโดยมากจะน้ำหนักลดบ้าง[33] การเสียน้ำหนักมากกว่าจะทำให้พยากรณ์โรคแย่กว่า[33] ปัจจัยที่เกี่ยวข้องทางทฤษฎีรวมทั้งการลดความอยากอาหารเพราะขยับตัวน้อยลง การใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเพื่อหายใจ และปัญหาการรับประทานเพราะหายใจลำบาก (dyspnea, labored breathing)[33]
  • สำหรับน้ำหนักลดที่อธิบายไม่ได้ มะเร็งเป็นเหตุที่สามัญและบ่อยครั้งทำให้เสียชีวิต คนไข้ที่น้ำหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจประมาณ 1/3 มีเหตุจากเนื้อร้าย รวมทั้งมะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเซลล์ตับ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งรังไข่ มะเร็งเลือด และมะเร็งปอด
  • คนไข้เอชไอวีบ่อยครั้งน้ำหนักจะลด และสัมพันธ์กับผลลัพธ์ที่แย่กว่า[38] อาการผอมแห้งเป็นลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของโรคเอดส์[38]
  • โรคทางเดินอาหาร (gastrointestinal disease) เป็นเหตุสามัญอีกอย่างหนึ่งเมื่อน้ำหนักลดอย่างไม่ทราบสาเหตุ และจริง ๆ ก็เป็นเหตุสามัญที่สุดนอกเหนือจากมะเร็ง[ต้องการอ้างอิง] โรคที่อาจเป็นเหตุรวมทั้ง coeliac disease, แผลเปื่อยเพปติก (peptic ulcer disease), inflammatory bowel disease (รวมทั้ง crohn's disease และ ulcerative colitis), ตับอ่อนอักเสบ (pancreatitis), กระเพาะอักเสบ (gastritis), ท้องร่วง และโรคทางเดินอาหารอื่น ๆ อีกหลายอย่าง
  • การติดเชื้อบางอย่างอาจทำให้น้ำหนักลด โรคเกี่ยวกับเชื้อรา, เยื่อบุหัวใจอักเสบ (endocarditis), โรคปรสิตหลายอย่าง, เอดส์ และการติดเชื้อแบบกึ่งเฉียบพลัน (subacute) และแบบซ่อนเร้น (occult) บางอย่างก็อาจทำให้น้ำหนักลดได้เช่นกัน
  • คนไข้โรคไตและภาวะยูเรียเกินในปัสสาสวะ (uremia) บ่อยครั้งจะไม่ค่อยหรือไม่อยากอาหาร อาเจียน และคลื่นไส้ ซึ่งอาจทำให้น้ำหนักลด
  • โรคระบบหัวใจหลอดเลือดโดยเฉพาะแบบอุดตัน (congestive) อาจทำให้น้ำหนักลด
  • โรคเกี่ยวกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
  • โรคทางระบบประสาทรวมทั้งภาวะสมองเสื่อม[39]
  • ปัญหาทางปาก การรับรู้รสชาติ ฟัน (รวมทั้งการติดเชื้อ) อาจทำให้ทานอาหารน้อยลงแล้วน้ำหนักลด[29]

เบาหวานประเภทที่ 1[แก้]

เบาหวานประเภท 1 หรือที่รู้จักกันว่า เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน (insulin dependent diabetes mellitus - IDDM) นำไปสู่ปริมาณกลูโคสส่วนเกินและปริมาณอินซูลินในกระแสเลือดไม่เพียงพอ ภาวะนี้นำไปสู่การหลั่งไตรกลีเซอไรด์จากกล้ามเนื้อไขมันและแคแทบอลิซึมของกรดอะมิโนในเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ ซึ่งนำไปสู่ทั้งการสูญเสียทั้งมวลไขมันและมวลเนื้อ ทำให้น้ำหนักตัวลดลงอย่างสำคัญ โรคเบาหวานประเภท 1 ที่ไม่ได้รับการรักษาสามารถทำให้น้ำหนักลดได้

เนื่องกับการรักษา[แก้]

การรักษาทางการแพทย์อาจเป็นเหตุโดยตรงหรือโดยอ้อมให้น้ำหนักลด ซึ่งขัดประสิทธิผลการรักษาและการฟื้นสภาพ แล้วทำให้น้ำหนักลดลงอีก วนเป็นวัฏจักรที่ไม่ดี[27] หลังจากการผ่าตัด คนไข้อาจเจ็บแล้วไม่อยากอาหาร[27] ร่างกายจะตอบสนองโดยส่วนหนึ่งต่อการผ่าตัดโดยทุ่มแรงไปเพื่อรักษาแผล ซึ่งเพิ่มความต้องการพลังงาน[27] แม้จะเปลี่ยนความต้องการสารอาหารโดยอ้อมโดยเฉพาะในช่วงฟื้นตัว แต่ความเปลี่ยนแปลงก็อาจกวนการฟื้นสภาพของแผลและของร่างกาย[27][31]

การผ่าตัดสามารถมีผลต่อความต้องการอาหารโดยตรงถ้าหัตถการเปลี่ยนระบบย่อยอาหารอย่างถาวร[27] การให้อาหารผ่านสายยางอาจจำเป็น[27] แต่การไม่ให้อาหารทางปากเลยสำหรับการผ่าตัดทางเดินอาหารทุกอย่างไม่ปรากฏว่ามีประโยชน์ โดยนักวิชาการบางพวกเสนอว่ามันทำให้หายช้าลง[40][ต้องการการอัปเดต]

การให้อาหารหลังการผ่าตัดทางเดินอาหารตั้งแต่ระยะต้น ๆ เป็นส่วนของเกณฑ์วิธีที่เรียกว่า Enhanced Recovery After Surgery protocol[41] ซึ่งรวมการให้อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต (carbohydrate loading) ภายใน 24 ชม. ก่อนผ่าตัด แต่การให้อาหารก่อนหน้านั้นดูเหมือนจะไม่มีผลอย่างสำคัญ[41]

ยาบางอย่างอาจเป็นเหตุให้น้ำหนักลด[42] แต่บางอย่างก็ทำให้น้ำหนักเพิ่ม[43][44]

สถานะทางสังคม[แก้]

สถานะทางสังคม เช่น ความยากจน การแยกอยู่คนเดียว หรือการไม่สามารถได้หรือทำอาหารที่ต้องการอาจทำให้น้ำหนักลดอย่างไม่ตั้งใจ ซึ่งอาจสามัญเป็นพิเศษในคนชรา[45] อาหารที่ได้อาจได้รับผลจากวัฒนธรรม ครอบครัว และความเชื่อ[29] ฟันปลอมที่ใส่ไม่ดี ปัญหาเกี่ยวกับฟันและปากอื่น ๆ ก็อาจทำให้ได้อาหารไม่พอด้วย[29] ความสิ้นหวัง ปัญหาสถานะทาสังคม การติดต่อกับคนอื่น ๆ ปัญหาทางจิตวิญญาณ และความเหนื่อยล้าอาจทำให้ซึมเศร้า ซึ่งอาจสัมพันธ์กับการได้อาหารน้อยลง[29]

ความเชื่อ[แก้]

ความเชื่อยอดนิยมเกี่ยวกับการลดน้ำหนักบางอย่างพบว่า มีผลไม่ตรงตามที่เชื่อ หรือแม้แต่ไม่ดีต่อสุขภาพ ตามนักวิชาการของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด แนวคิดว่าเมแทบอลิซึมเป็นหัวใจของการลด/เพิ่มน้ำหนักเป็นจริงแค่บางส่วน เพราะแม้เมแทบอลิซึมจะมีผลต่อน้ำหนักก็จริง แต่ปัจจัยภายนอกเช่นอาหารและการออกกำลังกายก็มีผลเท่า ๆ กัน[46] นักวิชาการยังชี้แจงว่า การเปลี่ยนอัตราเมแทบอลิซึมของตนเองได้ยังเป็นเรื่องที่ยังไม่มีข้อยุติอีกด้วย[46] แผนไดเอ็ตในนิตยสารฟิตเหนสบ่อยครั้งเชื่อว่ามีประสิทธิผล แต่จริง ๆ อาจมีโทษเพราะจำกัดการบริโภคสารอาหารที่สำคัญโดยขึ้นอยู่กับบุคคล และอาจทำให้เข็ดไม่พยายามลดน้ำหนักอีก[47]

ผลต่อสุขภาพ[แก้]

โรคอ้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อโรค รวมทั้งเบาหวาน มะเร็ง โรคระบบหัวใจหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง และโรคตับที่ไม่เกี่ยวกับแอลกอฮอล์ ดังนั้น การแก้ปัญหาสภาวะโรคอ้วนก็จะช่วยลดความเสี่ยงเหล่านั้น เช่น การลดน้ำหนัก 1 กก. พบว่าสัมพันธ์กับการลดความดันโลหิตประมาณ 1 มิลลิเมตรปรอท[48]

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 LeBlanc, E; O'Connor, E; Whitlock, EP (October 2011). "Screening for and management of obesity and overweight in adults". Evidence Syntheses, No. 89. U.S. Agency for Healthcare Research and Quality (AHRQ). สืบค้นเมื่อ 2013-06-27.
  2. 2.0 2.1 Institute for Quality and Efficiency in Health Care. "Health benefits of losing weight". Fact sheet, Informed Health Online. Institute for Quality and Efficiency in Health Care. สืบค้นเมื่อ 2013-06-27.
  3. 3.0 3.1 "Health Weight - Understanding Calories". National Health Service. 2016-08-19.
  4. "Being underweight poses health risks". Mayo Clinic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-04. สืบค้นเมื่อ 2007-01-13.
  5. "High-Protein Diet for Weight Loss". WebMD. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-22.
  6. "Moods for Overeating: Good, Bad, and Bored". Psychology Today (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-10-17.
  7. Nedeltcheva, AV; Kilkus, JM; Imperial, J; Schoeller, DA; Penev, PD (2010). "Insufficient sleep undermines dietary efforts to reduce adiposity". Annals of Internal Medicine. 153 (7): 435–41. doi:10.7326/0003-4819-153-7-201010050-00006. PMC 2951287. PMID 20921542.[ลิงก์เสีย]
  8. Harmon, Katherine (2010-10-04). "Sleep might help dieters shed more fat". Scientific American. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-23. สืบค้นเมื่อ 2010-10-20.
  9. Pathak, K.; Soares, M. J.; Calton, E. K.; Zhao, Y.; Hallett, J. (2014-06-01). "Vitamin D supplementation and body weight status: a systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials". Obesity Reviews. 15 (6): 528–537. doi:10.1111/obr.12162. ISSN 1467-789X. PMID 24528624.
  10. Sumithran, Priya; Proietto, Joseph (2013). "The defence of body weight: A physiological basis for weight regain after weight loss". Clinical Science. 124 (4): 231–41. doi:10.1042/CS20120223. PMID 23126426.
  11. "Executive Summary". Dietary Guidelines 2015-2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-19. สืบค้นเมื่อ 2016-05-02.
  12. "Eat less processed food, say experts". BBC News. 2003-03-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-04-02.
  13. "Choosing a safe and successful weight loss program". Weight-control Information Network. National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. April 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-23. สืบค้นเมื่อ 2011-01-26.
  14. Albgomi. "Bariatric Surgery Highlights and Facts". Bariatric Surgery Information Guide. bariatricguide.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-06. สืบค้นเมื่อ 2013-06-13.
  15. "Gastric bypass risks". Mayo Clinic. 2009-02-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-10.
  16. Neumark-Sztainer, Dianne; Sherwood, Nancy E.; French, Simone A.; Jeffery, Robert W. (March 1999). "Weight control behaviors among adult men and women: Cause for concern?". Obesity Research. 7 (2): 179–188. doi:10.1002/j.1550-8528.1999.tb00700.x. PMID 10102255.
  17. Thomas, Paul R. (January–February 2005). "Dietary Supplements For Weight Loss?". Nutrition Today. 40 (1): 6–12.{{cite journal}}: CS1 maint: date format (ลิงก์)
  18. Barabasz, Marianne; Spiegel, David (1989). "Hypnotizability and weight loss in obese subjects". International Journal of Eating Disorders. 8 (3): 335–341. doi:10.1002/1098-108X(198905)8:3<335::AID-EAT2260080309>3.0.CO;2-O.
  19. 19.0 19.1 Kirsch, I. (June 1996). "Hypnotic enhancement of cognitive-behavioral weight loss treatments-another meta-reanalysis". Journal of Consulting and Clinical Psychology. 64 (3): 517–9. doi:10.1037/0022-006X.64.3.517. PMID 8698945. INIST:3143031.
  20. Andersen, M. S. (1985). "Hypnotizability as a factor in the hypnotic treatment of obesity". International Journal of Clinical and Experimental Hypnosis. 33 (2): 150–159. doi:10.1080/00207148508406645. PMID 4018924.
  21. Allison, David B.; Faith, Myles S. (June 1996). "Hypnosis as an adjunct to cognitive-behavioral psychotherapy for obesity: A meta-analytic reappraisal". Journal of Consulting and Clinical Psychology. 64 (3): 513–516. doi:10.1037/0022-006X.64.3.513. PMID 8698944.
  22. Ruiz, F. J. (2010). "A review of Acceptance and Commitment Therapy (ACT) empirical evidence: Correlational, experimental psychopathology, component and outcome studies". International Journal of Psychology and Psychological Therapy. 10 (1): 125–62.
  23. Mann, T; Tomiyama, AJ; Westling, E; Lew, AM; Samuels, B; Chatman, J (April 2007). "Medicare's search for effective obesity treatments: diets are not the answer". The American Psychologist. 62 (3): 220–33. CiteSeerX 10.1.1.666.7484. doi:10.1037/0003-066x.62.3.220. PMID 17469900. In sum, there is little support for the notion that diets ["severely restricting one’s calorie intake"] lead to lasting weight loss or health benefits.
  24. "The facts about weight loss products and programs". DHHS Publication No (FDA) 92-1189. US Food and Drug Administration. 1992. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-26. สืบค้นเมื่อ 2013-05-14.
  25. "Profiting From America's Portly Population". PRNewswire (Press release). Reuters. 2008-04-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-11. สืบค้นเมื่อ 2009-01-17.
  26. 26.0 26.1 "No evidence that popular slimming supplements facilitate weight loss, new research finds". 2010-07-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-07. สืบค้นเมื่อ 2010-07-19.
  27. 27.00 27.01 27.02 27.03 27.04 27.05 27.06 27.07 27.08 27.09 27.10 27.11 National Cancer Institute (November 2011). "Nutrition in cancer care (PDQ)". Physician Data Query. National Cancer Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-16. สืบค้นเมื่อ 2013-07-03.
  28. 28.0 28.1 Huffman, GB (2002-02-15). "Evaluating and treating unintentional weight loss in the elderly". American Family Physician. 65 (4): 640–50. PMID 11871682.
  29. 29.0 29.1 29.2 29.3 29.4 29.5 29.6 29.7 29.8 Payne, C; Wiffen, PJ; Martin, S (2012-01-18). Payne, Cathy (บ.ก.). "Interventions for fatigue and weight loss in adults with advanced progressive illness". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 1: CD008427. doi:10.1002/14651858.CD008427.pub2. PMID 22258985.
  30. Institute of Medicine (U.S.). Committee on Nutrition Services for Medicare Beneficiaries (2000-06-09). The role of nutrition in maintaining health in the nation's elderly: evaluating coverage of nutrition services for the Medicare population. p. 67. ISBN 978-0-309-06846-8.
  31. 31.0 31.1 31.2 31.3 31.4 31.5 31.6 31.7 National Collaborating Centre for Acute Care (UK) (February 2006). "Nutrition Support for Adults: Oral Nutrition Support, Enteral Tube Feeding and Parenteral Nutrition". NICE Clinical Guidelines, No. 32. National Collaborating Centre for Acute Care (UK).
  32. 32.0 32.1 32.2 32.3 32.4 Yaxley, A; Miller, MD; Fraser, RJ; Cobiac, L (February 2012). "Pharmacological interventions for geriatric cachexia: a narrative review of the literature". The Journal of Nutrition, Health & Aging. 16 (2): 148–54. doi:10.1007/s12603-011-0083-8. PMID 22323350.
  33. 33.0 33.1 33.2 33.3 33.4 33.5 Itoh, M; Tsuji, T; Nemoto, K; Nakamura, H; Aoshiba, K (2013-04-18). "Undernutrition in patients with COPD and its treatment". Nutrients. 5 (4): 1316–35. doi:10.3390/nu5041316. PMC 3705350. PMID 23598440.
  34. Mangili, A; Murman, DH; Zampini, AM; Wanke, CA; Murman; Zampini; Wanke (2006). "Nutrition and HIV infection: review of weight loss and wasting in the era of highly active antiretroviral therapy from the nutrition for healthy living cohort". Clin. Infect. Dis. 42 (6): 836–42. doi:10.1086/500398. PMID 16477562.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  35. Nygaard, B (2010-07-19). "Hyperthyroidism (primary)". Clinical Evidence. 2010: 0611. PMC 3275323. PMID 21418670.
  36. "Thyroid and weight" (PDF). American Thyroid Association. 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-10. สืบค้นเมื่อ 2011-01-26.
  37. National Collaborating Centre for Chronic Conditions (UK) (2004). Type 1 diabetes in adults: National clinical guideline for diagnosis and management in primary and secondary care. NICE Clinical Guidelines, No. 15.1. Royal College of Physicians UK. ISBN 9781860162282. สืบค้นเมื่อ 2013-07-03.
  38. 38.0 38.1 Mangili, A; Murman, DH; Zampini, AM; Wanke, CA (2006-03-15). "Nutrition and HIV infection: review of weight loss and wasting in the era of highly active antiretroviral therapy from the nutrition for healthy living cohort". Clinical Infectious Diseases. 42 (6): 836–42. doi:10.1086/500398. PMID 16477562.
  39. Massompoor, SM (April 2004). "Unintentional weight loss". Shiraz E-Medical Journal. 5 (2). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-10-24.
  40. Andersen, HK; Lewis, SJ; Thomas, S (2006-10-18). Andersen, Henning Keinke (บ.ก.). "Early enteral nutrition within 24h of colorectal surgery versus later commencement of feeding for postoperative complications". The Cochrane Database of Systematic Reviews (4): CD004080. doi:10.1002/14651858.CD004080.pub2. PMID 17054196. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |laysummary= ถูกละเว้น (help)
  41. 41.0 41.1 Burden, S; Todd, C; Hill, J; Lal, S (2012). Burden, Sorrel (บ.ก.). "Pre‐operative Nutrition Support in Patients Undergoing Gastrointestinal Surgery" (PDF). The Cochrane Database of Systematic Reviews. 11 (11): CD008879. doi:10.1002/14651858.CD008879.pub2. PMID 23152265. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |laysummary= ถูกละเว้น (help)
  42. Mariotti, KC; Rossato, LG; Fröehlich, PE; Limberger, RP (Nov 2013). "Amphetamine-type medicines: a review of pharmacokinetics, pharmacodynamics, and toxicological aspects". Current Clinical Pharmacology. 8 (4): 350–7. doi:10.2174/15748847113089990052. PMID 23342978.
  43. Sarnes, E; Crofford, L; Watson, M; Dennis, G; Kan, H; Bass, D (Oct 2011). "Incidence and US costs of corticosteroid-associated adverse events: a systematic literature review". Clinical Therapeutics. 33 (10): 1413–32. doi:10.1016/j.clinthera.2011.09.009. PMID 21999885.
  44. Serretti, A; Mandelli, L (October 2010). "Antidepressants and body weight: a comprehensive review and meta-analysis". The Journal of Clinical Psychiatry. 71 (10): 1259–72. doi:10.4088/JCP.09r05346blu. PMID 21062615.
  45. Alibhai, SM; Greenwood, C; Payette, H (2005-03-15). "An approach to the management of unintentional weight loss in elderly people". Canadian Medical Association Journal. 172 (6): 773–80. doi:10.1503/cmaj.1031527. PMC 552892. PMID 15767612.
  46. 46.0 46.1 Publishing, Harvard Health. "Does Metabolism Matter in Weight Loss? - Harvard Health". Harvard Health (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-06-18.
  47. Long, Jacqueline (2015). The Gale Encyclopedia of Senior Health. Detroit, MI: Gale. ISBN 978-1573027526.
  48. Harsha, D. W.; Bray, G. A. (2008). "Weight Loss and Blood Pressure Control (Pro)". Hypertension. 51 (6): 1420–1425. doi:10.1161/HYPERTENSIONAHA.107.094011. ISSN 0194-911X. PMID 18474829.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การจำแนกโรค