ข้ามไปเนื้อหา

ไอบิวพรอเฟน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Ibuprofen)
ไอบิวพรอเฟน
ข้อมูลทางคลินิก
การอ่านออกเสียง/ˈbjuːprfɛn/, /bjuːˈprfən/, eye-bew-proh-fən
ชื่อทางการค้าBrufen, Advil, Motrin, Nurofen, others
AHFS/Drugs.comโมโนกราฟ
MedlinePlusa682159
ข้อมูลทะเบียนยา
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • AU: C
  • US: C (ยังไม่ชี้ขาด)
ช่องทางการรับยาOral, rectal, topical, and intravenous
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผล87–100% (oral), 87% (rectal)[1]
การจับกับโปรตีน98%[1]
การเปลี่ยนแปลงยาHepatic (CYP2C9)[1]
ระยะเริ่มออกฤทธิ์30 min[2]
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ1.3–3 h[1]
การขับออกUrine (95%)[1][3]
ตัวบ่งชี้
  • (RS)-2-(4-(2-Methylpropyl)phenyl)propanoic acid
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
IUPHAR/BPS
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
PDB ligand
ECHA InfoCard100.036.152
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC13H18O2
มวลต่อโมล206.29 g/mol g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
ไครัลลิตีRacemic mixture
ความหนาแน่น1.03 g/ml g/cm3
จุดหลอมเหลว75 ถึง 78 องศาเซลเซียส (167 ถึง 172 องศาฟาเรนไฮต์)
จุดเดือด157 องศาเซลเซียส (315 องศาฟาเรนไฮต์)
  • CC(C)Cc1ccc(cc1)C(C)C(=O)O
  • InChI=1S/C13H18O2/c1-9(2)8-11-4-6-12(7-5-11)10(3)13(14)15/h4-7,9-10H,8H2,1-3H3,(H,14,15) checkY
  • Key:HEFNNWSXXWATRW-UHFFFAOYSA-N checkY
  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

ไอบิวพรอเฟน หรือ ไอบิวพรอเฟิน (อังกฤษ: Ibuprofen) เป็นยาแก้อักเสบปราศจากสเตียรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drug) หรือเอ็นเซด (NSAID) ซึ่งใช้รักษาอาการปวด ไข้ และการอักเสบ[4] รวมถึงอาการปวดประจำเดือน และข้ออักเสบรูมาติก[4] โดยปรกติแล้ว ร้อยละ 60 ของผู้ได้รับเอ็นเซดจะมีอาการดีขึ้น แต่ถ้าเอ็นเซดประเภทหนึ่งไม่ได้ผล ก็อาจใช้อีกประเภทได้[5] อนึ่ง ไอบิวพรอเฟนยังอาจใช้ระงับอาการ "ดักตัส อาร์เทอริโอซัส ยังคงอยู่" ในทารกคลอดก่อนกำหนด และอาจบริโภคทางปากหรือหลอดเลือด ไอบิวพรอเฟนนั้นมักออกฤทธิ์ภายในหนึ่งชั่วโมง[4]

ไอบิวพรอเฟนมักก่อผลข้างเคียงเป็นอาการแสบร้อนกลางอกและผื่น[4] แต่เมื่อเทียบกับเอ็นเซดประเภทอื่น ๆ ไอบิวพรอเฟนอาจมีผลข้างเคียงอย่างอาการเลือดออกในทางเดินอาหารน้อยกว่า[5] ทว่า ถ้าใช้ในปริมาณมากและเป็นเวลานาน ไอบิวพรอเฟนจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดหัวใจล้มเหลว ไตล้มเหลว และตับล้มเหลว[4] ถ้าใช้น้อยและไม่นาน ก็ไม่ปรากฏว่าเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายขาดเลือด แต่ถ้าใช้มากและนานก็ไม่แน่ นอกจากนี้ ไอบิวพรอเฟนอาจทำให้โรคหืดแย่ลงได้[5] อนึ่ง แม้ยังไม่แน่ชัดว่า ไอบิวพรอเฟนเป็นอันตรายต่อครรภ์ในระยะแรกเริ่มหรือไม่ แต่ปรากฏว่า มีอันตรายต่อครรภ์ในระยะท้าย

ไอบิวพรอเฟนนั้น สตูเวิร์ด แอดัมส์ (Stewart Adams) ค้นพบใน ค.ศ. 1961 และนำออกขายในชื่อ "บรูเฟน" (Brufen)[6] ภายหลังมียี่ห้ออื่น ๆ อีก เช่น "แอดวิล" (Advil), "มอตริน" (Motrin), และ "นูโรเฟน" (Nurofen)[4][7] ไอบิวพรอเฟนเริ่มตีตลาดในสหราชอาณาจักรเมื่อ ค.ศ. 1969 และในสหรัฐอเมริกาเมื่อ ค.ศ. 1974[4][6] ไอบิวพรอเฟนยังได้รับการบรรจุในทะเบียนต้นแบบยาสำคัญขององค์การอนามัยโลก ซึ่งมีรายการยาที่สำคัญอย่างยิ่งยวดและจำเป็นต่อระบบสุขภาพขั้นพื้นฐาน[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Davies, NM (February 1998). "Clinical pharmacokinetics of ibuprofen. The first 30 years". Clinical Pharmacokinetics. 34 (2): 101–54. doi:10.2165/00003088-199834020-00002. PMID 9515184.
  2. "ibuprofen". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-13. สืบค้นเมื่อ 31 January 2015.
  3. "PRODUCT INFORMATION BRUFEN® TABLETS AND SYRUP" (PDF). TGA eBusiness Services. Abbott Australasia Pty Ltd. 31 July 2012. สืบค้นเมื่อ 8 May 2014.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 "Ibuprofen". The American Society of Health-System Pharmacists. สืบค้นเมื่อ Jan 2016. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. 5.0 5.1 5.2 Bnf : march 2014-september 2014 (2014 ed.). London: British Medical Assn. 2014. pp. 686–688. ISBN 0857110861.
  6. 6.0 6.1 Halford, GM; Lordkipanidzé, M; Watson, SP (2012). "50th anniversary of the discovery of ibuprofen: an interview with Dr Stewart Adams". Platelets. 23 (6): 415–22. doi:10.3109/09537104.2011.632032. PMID 22098129.
  7. "Chemistry in your cupboard | Nurofen".
  8. WHO Model List of Essential Medicines (PDF) (16th ed.). World Health Organization. March 2009. สืบค้นเมื่อ 28 March 2011.