บรมยุคเฮเดียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Hadean)
บรมยุคเฮเดียน
~4600 – 4000 ล้านปีก่อน
ภาพจินตนาการภูมิลักษณ์ของบรมยุคเฮเดียนของศิลปิน
วิทยาการลำดับเวลา
การเสนอการแบ่งย่อยดูที่ ข้อความ
นิรุกติศาสตร์
ชื่อพ้องยุคพริสโกอัน
ฮาร์แลนด์และคณะ, 2532
ข้อมูลการใช้
เทห์วัตถุโลก
การใช้ระดับภาคทั่วโลก (ICS)
การนิยาม
หน่วยวิทยาการลำดับเวลาบรมยุค
หน่วยลำดับชั้นหินหินบรมยุค
เสนอครั้งแรกโดยเพรสตัน คลาวด์, 2515
คำนิยามขอบล่างการก่อกำเนิดโลก
ขอบล่าง GSSPN/A
การอนุมัติ GSSPN/A
คำนิยามขอบบนกำหนดตามลำดับเวลา
ขอบบน GSSPN/A
การอนุมัติ GSSPN/A
ข้อมูลชั้นบรรยากาศและภูมิอากาศ
ปริมาณ O
2
เฉลี่ยในชั้นบรรยากาศ
ประมาณ 0 % โดยปริมาตร
(0 % ของปัจจุบัน)
ปริมาณ CO
2
เฉลี่ยในชั้นบรรยากาศ
ประมาณ 15000 ppm
(54 เท่าของยุคก่อนอุตสาหกรรม)
อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยประมาณ 75 °C
(สูงกว่าปัจจุบัน 61 °C)

บรมยุคเฮเดียน (อังกฤษ: Hadean eon) เป็นบรมยุคทางธรณีวิทยาของประวัติศาสตร์โลกที่อยู่ก่อนหน้าบรมยุคอาร์เคียน เริ่มต้นขึ้นพร้อมการกำเนิดโลกเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนและสิ้นสุดลงตามคำนิยามของคณะกรรมมาธิการการลำดับชั้นหินสากล (ICS) เมื่อ 4 พันล้านปีก่อน[1] เมื่อปี 2559 คณะกรรมมาธิการการลำดับชั้นหินสากลอธิบายสถานะของบรมยุคนี้ว่า "ไม่เป็นทางการ"[2] ชื่อนี้ถูกตั้งตามเฮดีสซึ่งเป็นเทพผู้ครองใต้พิภพของปรัมปรากรีก โดยเพรสตัน คลาวด์ นักธรณีวิทยาชาวอเมริกันเป็นผู้บัญญัติชื่อนี้ขึ้น ซึ่งเดิมใช้ในการระบุยุคก่อนหินที่รู้จักกันต้นสุดบนโลก[3][4] ภายหลัง ดับเบิลยู. ไบรอัน ฮาร์แลนด์ ก็ได้บัญญัติชื่อที่เกือบจะมีความหมายเหมือนกันว่า ยุคพริสโกอัน (Priscoan Period) ซึ่งมาจากคำว่า priscus ในภาษาละติน หมายถึง 'โบราณ'[5] โดยในตำราที่เก่ากว่าจะอ้างอิงถึงบรมยุคนี้ว่า พรีอาร์เคียน (Pre-Archean)[6][7]

นิรุกติศาสตร์[แก้]

ภาพไมโครกราฟอิเล็กตรอนแบบแบ็คสแคตเตอร์ของเพทายเดตริทัลจากบรมยุคเฮเดียน (4.404 ± 0.008 Ga) เมตาเซดิเมนต์ของแจ็กฮิลส์ นาร์เยอร์ไนส์เทอร์เรน รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย
ภาพตามจินตนาการของศิลปินของโลกและดวงจันทร์ในช่วงสิ้นสุดบรมยุคเฮเดียน เมื่อเมฆจากไอน้ำแรกและมหาสมุทรปรากฏขึ้นบนโลก

"เฮเดียน" (มาจาก เฮดีส เทพผู้ครองใต้พิภพของกรีกและผู้เป็นใต้พิภพ) อธิบายถึงภาพดั่งนรกทั่วไปบนโลก โดยเมื่อครั้งโลกเพิ่งก่อตัวขึ้นและยังคงร้อนมากจากการพอกพูนมวลขณะนั้น อุดมไปด้วยธาตุกัมมันตรังสีคาบสั้น และมีการชนกันบ่อยครั้งกับวัตถุในระบบสุริยะอื่น

การแบ่งย่อย[แก้]

เนื่องจากร่องรอยทางธรณีวิทยาของบรมยุคนี้ที่หลงเหลืออยู่เพียงเล็กน้อยบนโลก จึงไม่มีการแบ่งย่อยอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม ธรณีกาลของดวงจันทร์มีการแบ่งหลัก ๆ ที่เกี่ยวข้องและสามารถนำมาใช้กับบรมยุคเฮเดียนได้ ดังนั้นจึงได้มีการนำมาใช้ในลักษณะที่ไม่เป็นทางการเพื่ออ้างอิงถึงช่วงเวลาเดียวกันบนโลกในบางครั้ง

โดยการแบ่งทางธรณีวิทยาของดวงจันทร์ ได้แก่

ในปี 2553 มีการนำเสนอชื่อเรียกกาลทางเลือก โดยเพิ่ม มหายุคคาออสเทียน (Chaotian era) และบรมยุคเพรเนเฟลีน (Prenephelean eons) มาก่อนบรมยุคเฮเดียน และแบ่งบรมยุคเฮเดียนออกเป็นสามมหายุคกับอีกสองยุคของแต่ละมหายุค ได้แก่ มหายุคพาลีโอเฮเดียน (Paleohadean) ประกอบด้วย ยุคเฮฟาเอสเดียน (Hephaestean) 4.5–4.4 พันล้านปีก่อน และยุคจาโคเบียน (Jacobian) 4.4–4.3 พันล้านปีก่อน มหายุคมีโซเฮเดียน (Mesohadean) ประกอบด้วย ยุคแคเนเดียน (Canadian) 4.3–4.2 พันล้านปีก่อน และยุคโพรคัสเตียน (Procrustean) 4.2–4.1 พันล้านปีก่อน และมหายุคนีโอเฮเดียน (Neohadean) ประกอบด้วย ยุคอาคัสตัน (Acastan) 4.1–4.0 พันล้านปีก่อน และยุคโพรมีเทียน (Promethean) 4.0–3.9 พันล้านปีก่อน[8] โดย ณ เดือนพฤษภาคม 2564 การแบ่งนี้ไม่ถูกยอมรับโดยสหพันธ์ธรณีวิทยาสากล[9]

หินบรมยุคเฮเดียน[แก้]

ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 นักธรณีวิทยาสามารถระบุหินในบรมยุคเฮเดียนได้สองถึงสามก้อนจากภาคตะวันตกของกรีนแลนด์ ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศแคนาดา และรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ในปี 2558 มีการพบร่องรอยของแร่คาร์บอนซึ่งสามารถตีความได้ว่าเป็น "ร่องรอยของสิ่งมีชีวิต" ซึ่งพบในหินอายุ 4.1 พันล้านปีในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย[10][11]

ผลึกเพทายอายุเก่าแก่ที่สุด นั้นถูกพบอยู่ล้อมรอบด้วยหินกรวดมนทรายแปรสภาพในเทือกเขาแจ็กฮิลส์ของนาร์เยอร์ไนส์เทอร์เรนของรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย อายุประมาณ 4.404 ± 0.008 พันล้านปีก่อน[12] โดยเพทายนี้มีค่าผิดปกติเล็กน้อย โดยเพทายที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดที่สอดคล้องจะตกลงมาใกล้กับ 4.35 พันล้านปีก่อน[12] หรือประมาณ 200 ล้านปีหลังสมมติฐานกำเนิดโลก

ในหลายพื้นที่ ซีโรไลท์ (หรือซากพืชหรือสัตว์) เพทายบรมยุคเฮเดียนที่ถูกล้อมรอบด้วยหินที่เก่ากว่านั้น บ่งชี้ว่าหินที่มีอายุน้อยกว่านั้นได้ก่อตัวขึ้นบนภูมิประเทศนั้น และรวมเอาวัสดุบางอย่างที่เก่าแก่กว่าบางส่วนเอาไว้ ตัวอย่างหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในเกียนาชีลด์จากการก่อกำเนิดอีโวกรามาของภาคใต้ของประเทศกายอานา ซึ่งแกนเพทายนั้นมีอายุ 4.22 พันล้านปี[13]

ชั้นบรรยากาศและมหาสมุทร[แก้]

ปริมาณน้ำที่มากพอจะอยู่ในวัสดุที่จะก่อตัวเป็นโลก[14] โดยโมเลกุลของน้ำจะหลบหนีออกจากแรงโน้มถ่วงของโลกได้ง่ายขึ้นเนื่องจากมวลที่มีน้อยในระหว่างการก่อตัว โดยไฮโดรเจนและฮีเลียมคาดว่าจะมีการหลบหนีออกไปอย่างต่อเนื่อง (แม้กระทั่งปัจจุบัน) เนื่องจากการหลบหนีของชั้นบรรยากาศ

ส่วนหนี่งของเรื่องดาวเคราะห์โบราณมีทฤษฎีว่า ชั้นบรรยากาศนั้นถูกรบกวนโดยการชนที่สร้างดวงจันทร์ ซึ่งน่าจะทำให้เกิดการละลายของพื้นที่ขนาดใหญ่หนึ่งหรือสองแห่งบนโลก องค์ประกอบปัจจุบันของโลกนั้นแสดงให้เห็นได้ว่าโลกไม่ได้ถูกหลอมใหม่ทั้งหมด เนื่องจากการละลายจนหมดและผสมมวลหินขนาดใหญ่เข้าด้วยกันเป็นเรื่องยาก[15] อย่างไรก็ตาม วัสดุบางส่วนควรถูกทำให้ระเหยด้วยผลกระทบนี้ ทำให้เกิดชั้นบรรยากาศฟองเกิดจากไอน้ำมัน (rock vapor atmosphere) รอบดาวเคราะห์อายุน้อย ซึ่งฟองเกิดจากไอน้ำมันจะควบแน่นภายในระยะเวลาสองพันปี และทิ้งสารระเหยร้อนซึ่งอาจทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์หนักในชั้นบรรยากาศพร้อมด้วยไฮโดรเจนและไอน้ำ น้ำซึ่งเป็นของเหลวในมหาสมุทรจะยังคงปรากฏอยู่ แม้ว่าอุณหภูมิพื้นผิวจะสูงถึง 230 องศาเซลเซียสก็ตาม เนื่องจากความกดอากาศของชั้นยรรยากาศที่สูงกว่า 27 atm ซึ่งเกิดจากคาร์บอนไดออกไซด์หนักในชั้นบรรยากาศ น้ำจึงยังเป็นของเหลวอยู่ ในขณะที่การเย็นตัวลงของโลกจะยังคงเกิดขึ้นต่อไป การตกตะกอนและการละลายในน้ำในมหาสมุทรจะกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนใหญ่ออกจากชั้นบรรยากาศ แต่จะเกิดระดับความแปรปรวนอย่างรุนแรงขึ้นเมื่อพื้นผิวใหม่และวัฏจักรเนื้อโลกปรากฏขึ้น[16]

การศึกษาเพทายพบว่าน้ำที่เป็นของเหลวนั้นจะต้องมีอยู่มานานแล้วกว่า 4.4 พันล้านปีก่อน ไม่นานหลังจากการก่อตัวขึ้นของโลก[17] ซึ่งลักษณะนี้จำเป็นต้องมีชั้นบรรยากาศอย่างในปัจจุบัน โดยทฤษฎีการเย็นตัวของโลกช่วงต้นครอบคลุมช่วงตั้งแต่ 4.4 ถึงประมาณ 4.1 พันล้านปีก่อน

การศึกษาเพทายในเดือนกันยายน 2551 พบว่า หินในบรมยุคเฮเดียนจากประเทศออสเตรเลียนั้นมีแร่ซึ่งชี้ให้เห็นถึงการมีอยู่ของการแปรสัณฐานธรณีเมื่อ 4 พันล้านปีก่อน (ประมาณ 600 ล้านปีหลังจากการก่อตัวของโลก)[18][19] หากข้อมูลนี้เป็นจริง เมื่อโลกก่อตัวขึ้นเสร็จ การเปลี่ยนผ่านจากพื้นผิวหลอมเหลวร้อนและบรรยากาศที่เต็มไปด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ มาเป็นแบบอย่างในทุกวันนี้ อาจมีอายุประมาณ 4.0 พันล้านปีก่อน การกระทำของการแปรสัณฐานธรณีและมหาสมุทรนั้นจะดักคาร์บอนไดออกไซด์ไว้เป็นจำนวนมหาศาล ซึ่งช่วยลดปรากฏการณ์เรือนกระจกลงและทำให้อุณหภูมิพื้นผิวเย็นลงและมีการก่อตัวของหินแข็งขึ้น และอาจถึงขนาดทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตขึ้น[18][19]

อ้างอิง[แก้]

  1. "International Chronostratigraphic Chart". International Commission on Stratigraphy. สืบค้นเมื่อ 22 July 2020.
  2. Ogg, J. G.; Ogg, G.; Gradstein, F. M. (2016). A Concise Geologic Time Scale: 2016. Elsevier. p. 20. ISBN 978-0-444-63771-0.
  3. Cloud, Preston (1972). "A working model of the primitive Earth". American Journal of Science. 272 (6): 537–548. Bibcode:1972AmJS..272..537C. doi:10.2475/ajs.272.6.537.
  4. Bleeker, W. (2004). "10. Toward a "natural" Precambrian time scale". ใน Gradstein, Felix M.; Ogg, James G.; Smith, Alan G. (บ.ก.). A Geologic Time Scale 2004. Cambridge, England, UK: Cambridge University Press. p. 145. ISBN 9780521786737.
  5. "Oxford Dictionary, "Priscoan"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-29. สืบค้นเมื่อ 2021-11-01.
  6. Shaw, D.M. (1975). "Early History of the Earth". Proceedings of the NATO Advanced Study Institute. Leicester: John Wiley (London): 33–53.
  7. Jarvis, Gary T.; Campbell, Ian H. (December 1983). "Archean komatiites and geotherms: Solution to an apparent contradiction". Geophysical Research Letters. 10 (12): 1133–1136. Bibcode:1983GeoRL..10.1133J. doi:10.1029/GL010i012p01133.
  8. "The eons of Chaos and Hades" (PDF). Solid Earth. 26 January 2010.
  9. "Chart". International Commission on Stratigraphy. May 2021. สืบค้นเมื่อ 14 June 2021.
  10. Borenstein, Seth (19 October 2015). "Hints of life on what was thought to be desolate early Earth". Excite. Yonkers, NY: Mindspark Interactive Network. Associated Press. สืบค้นเมื่อ 2015-10-20.
  11. Bell, Elizabeth A.; Boehnike, Patrick; Harrison, T. Mark; และคณะ (19 October 2015). "Potentially biogenic carbon preserved in a 4.1 billion-year-old zircon" (PDF). Proc. Natl. Acad. Sci. U.S.A. Washington, D.C.: National Academy of Sciences. 112 (47): 14518–21. Bibcode:2015PNAS..11214518B. doi:10.1073/pnas.1517557112. ISSN 1091-6490. PMC 4664351. PMID 26483481. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-11-06. สืบค้นเมื่อ 2015-10-20.
  12. 12.0 12.1 Wilde, Simon A.; Valley, John W.; Peck, William H.; Graham, Colin M. (2001). "Evidence from detrital zircons for the existence of continental crust and oceans on the Earth 4.4 Gyr ago". Nature. 409 (6817): 175–178. Bibcode:2001Natur.409..175W. doi:10.1038/35051550. PMID 11196637. S2CID 4319774.
  13. Nadeau, Serge; Chen, Wei; Reece, Jimmy; Lachhman, Deokumar; Ault, Randy; Faraco, Maria; Fraga, Leda; Reis, Nelson; Betiollo, Leandro (2013-12-01). "Guyana: the Lost Hadean crust of South America?". Brazilian Journal of Geology. 43 (4): 601–606. doi:10.5327/Z2317-48892013000400002.
  14. Drake, Michael J. (2005), "Origin of water in the terrestrial planets", Meteoritics & Planetary Science, 40 (4): 515–656, Bibcode:2005M&PS...40..515J, doi:10.1111/j.1945-5100.2005.tb00958.x.
  15. Taylor, G. Jeffrey. "Origin of the Earth and Moon". Solar System Exploration. NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 8, 2015.
  16. Sleep, N. H.; Zahnle, K.; Neuhoff, P. S. (2001), "Initiation of clement surface conditions on the earliest Earth", PNAS, 98 (7): 3666–3672, Bibcode:2001PNAS...98.3666S, doi:10.1073/pnas.071045698, PMC 31109, PMID 11259665.
  17. "Hell's milder side". Research School of Earth Sciences. Australian National University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-21.
    "There was no such thing as hell on Earth". Media Release: Marketing & Communications. Australian National University. 18 November 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2006.
    Valley, John W.; Peck, William H.; King, Elizabeth M.; Wilde, Simon A. (April 2002). "A Cool Early Earth". Geology. 30 (4): 351–354. Bibcode:2002Geo....30..351V. doi:10.1130/0091-7613(2002)030<0351:ACEE>2.0.CO;2. PMID 16196254. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-16. สืบค้นเมื่อ 2021-11-01.
  18. 18.0 18.1 Chang, Kenneth (December 2, 2008). "A New Picture of the Early Earth". The New York Times.
  19. 19.0 19.1 Abramov, Oleg; Mojzsis, Stephen J. (December 2008). "Thermal State of the Lithosphere During Late Heavy Bombardment: Implications for Early Life". AGU Fall Meeting Abstracts. Fall Meeting 2008: American Geophysical Union. 1 (2008 Fall Meeting): V11E–08. Bibcode:2008AGUFM.V11E..08A.{{cite journal}}: CS1 maint: location (ลิงก์)