การระดมชนหนักครั้งหลัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพดวงจันทร์ตามจินตนาการของศิลปินในช่วงการระดมชนหนักครั้งหลัง (บน) และปัจจุบัน (ล่าง)

การระดมชนหนักครั้งหลัง (อังกฤษ: Late Heavy Bombardment, ย่อ: LHB) หรือวินาศภัยดวงจันทร์ (อังกฤษ: lunar cataclysm) เป็นเหตุการณ์ซึ่งคาดว่าเกิดเมื่อประมาณ 4.1 ถึง 3.8 พันล้านปีก่อน ตรงกับบรมยุคเฮเดียนและมหายุคอีโออาร์เคียนบนโลก มีทฤษฎีว่าในช่วงนี้ดาวเคราะห์น้อยจำนวนมากผิดปกติพุ่งชนดาวเคราะห์คล้ายโลกยุคต้นในระบบสุริยะชั้นใน ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลกและดาวอังคาร[1]

การระดมชนหนักครั้งหลักเกิดหลังโลกและดาวเคราะห์หินอื่นก่อรูปขึ้นและรวบรวม (accrete) มวลส่วนใหญ่ของดาวนั้น ๆ แล้ว แต่ยังถือเป็นช่วงต้นในประวัติศาสตร์ของโลก

หลักฐานของการระดมชนหนักครั้งหลังมาจากตัวอย่างดวงจันทร์ที่นักบินอวกาศโครงการอะพอลโลนำกลับมาด้วย การหาอายุด้วยไอโซโทปของหินดวงจันทร์บ่งว่า เศษหลอมละลายจากการพุ่งชน (impact melt) ส่วนใหญ่เกิดในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ มีหลายสมมติฐานพยายามอธิบายการเพิ่มขึ้นเฉียบพลันของสิ่งพุ่งชน (ทั้งดาวเคราะห์น้อยและดาวหาง) ในระบบสุริยะชั้นใน แต่ยังไม่มีมติ แบบจำลองไนซ์ ซึ่งได้รับความนิยมในหมู่นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่าดาวเคราะห์ยักษ์กำลังมีการย้ายวงโคจร และระหว่างนั้นเองก็ทำให้วัตถุในแถบดาวเคราะห์น้อย และ/หรือ แถบไคเปอร์กระจัดกระจายเป็นวงโคจรเยื้องศูนย์กลาง และเข้าสู่วิถีของดาวเคราะห์คล้ายโลก นักวิจัยบางส่วนแย้งว่าข้อมูลตัวอย่างดวงจันทร์ไม่จำเป็นว่าเหตุการณ์พุ่งชนจะต้องเกิดในช่วง 3.9 พันล้านปีก่อน และการกระจุกของเศษหลอมละลายจากการพุ่งชนที่มีอายุใกล้เคียงช่วงนี้เป็นผลจากการสุ่มตัวอย่างวัสดุที่เก็บมาจากแอ่งพุ่งชนขนาดใหญ่แห่งเดียว พวกเขายังสังเกตว่าอัตราการเกิดแอ่งพุ่งชนอาจแตกต่างกันได้มากระหว่างระบบสุริยะชั้นนอกและใน[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. Claeys, Philippe; Morbidelli, Alessandro (1 January 2011). "Late Heavy Bombardment". ใน Gargaud, Muriel; Amils, Prof Ricardo; Quintanilla, José Cernicharo; Cleaves II, Henderson James (Jim); Irvine, William M.; Pinti, Prof Daniele L.; Viso, Michel (บ.ก.). Encyclopedia of Astrobiology. Springer Berlin Heidelberg. pp. 909–912. doi:10.1007/978-3-642-11274-4_869. ISBN 978-3-642-11271-3 – โดยทาง link.springer.com.
  2. Zahnle, K.; และคณะ (2003). "Cratering rates in the outer Solar System". Icarus. 163 (2): 263–289. Bibcode:2003Icar..163..263Z. doi:10.1016/s0019-1035(03)00048-4.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]