ข้ามไปเนื้อหา

ไฟนอลแฟนตาซี XV

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Final Fantasy XV)
ไฟนอลแฟนตาซี XV
โลโก้ของ FFXV ออกแบบโดยโยชิตากะ อามาโนะ
ผู้พัฒนาสแควร์เอนิกซ์ หน่วยธุรกิจย่อยที่ 2
ลูมินัส โปรดักชัน
ผู้จัดจำหน่ายสแควร์เอนิกซ์
กำกับฮาจิเมะ ทาบาตะ[1][2]
อำนวยการผลิตชินจิ ฮะชิโมะโตะ[2]
ออกแบบทากิซาวะ มาซาชิ
เท็ตสึยะ โนมูระ
มาซาโนริ ซาโต
เค็นอิจิโร ยูจิ
ประเสริฐ ประเสริฐวิทยาการ
เขียนบทซะโอะริ อิตะมุโระ
คะซุชิเงะ โนะจิมะ
แต่งเพลงโยโกะ ชิโมมูระ
ชุดไฟนอลแฟนตาซี
แฟบูลา โนวา คริสตัลลิส
เอนจินลูมินัส สตูดิโอ
เครื่องเล่นเพลย์สเตชัน 4
เอกซ์บอกซ์ วัน
ไมโครซอฟท์ วินโดวส์
สตาเดีย
วางจำหน่าย
  • เพลย์สเตชัน 4 , เอกซ์บอกซ์ วัน
  • 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
  • ไมโครซอฟท์ วินโดวส์
  • 6 มีนาคม พ.ศ. 2561[3]
  • สตาเดีย
  • 19 พฤศจิกายน 2562
แนวเกมเล่นตามบทบาท
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว

ไฟนอลแฟนตาซี XV เป็นเกมสมมติบทบาทที่พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยบริษัทสแควร์เอนิกซ์ สำหรับเครื่องเล่นเกม เพลย์สเตชัน 4 , เอกซ์บอกซ์ วัน, ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และ สตาเดีย เปิดตัวเป็นครั้งแรกโดยใช้ชื่อ ไฟนอลแฟนตาซี เวอร์ซัส XIII ที่งาน E3 2006 พร้อมกับไฟนอลแฟนตาซี XIII และ ไฟนอลแฟนตาซี อากิโตะ XIII ในชุดเกม แฟบูลา โนวา คริสตัลลิส: ไฟนอล แฟนตาซี XIII ต่อมาในงานเดียวกันเมื่อปี ค.ศ. 2013 ได้มีการเปลี่ยนชื่อพร้อมเผยตัวอย่างใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีในยุคที่แปดของเครื่องเล่นเกมในการพัฒนา และด้วยระยะเวลาพัฒนาถึง 10 ปีทำให้เกมไฟนอลแฟนตาซีภาคนี้กลายเป็นวีดีโอเกมคอนโซลที่ใช้เวลาเตรียมการและพัฒนายาวนานเป็นอันดับ 3 ในประวัติศาสตร์ โดยมียอดขายถึง 5 ล้านชุด (เฉพาะแบบดิจิทัลนอกญี่ปุ่น) ในวันแรกที่วางจำหน่าย[4]

ไฟนอลแฟนตาซี XV มีเนื้อเรื่องกล่าวถึงราชอาณาจักรลูซิส ดินแดนครอบครองคริสตัลสุดท้ายที่เป็นขุมพลังอำนาจของโลก โดยตัวเอก "น็อคทิส ลูซิส เคลัม" รัชทายาทต้องร่วมกับพระบิดาในการปกป้องแผ่นดินจากการรุกรานของจักรวรรดินีฟล์ไฮม์ (เยอรมัน: Niflheim) ที่ต้องการคริสตัลดังกล่าว ในโลกของไฟนอลแฟนตาซีภาคนี้ เป็นโลกที่คล้ายคลึงกับโลกของจริงในยุคปัจจุบัน ทั้ง รถยนต์, ทางหลวง, สถาปัตยกรรมตึกรางบ้านช่อง ซึ่งทีมงานได้กล่าวว่า หลายๆสถานในเกมนั้นได้จำลองมาจากสถานที่ที่มีอยู่จริง อาทิ กรุงอินซอมเนียจำลองมาจากโตเกียว, นครอัลติสเซียจำลองมาจากเวนิส

ระบบการต่อสู้ของเกมมีชื่อว่า "แอคทีฟ ครอส แบทเทิล" มีลักษณะคล้ายคลึงกับเกมชุดคิงดอมฮาตส์ และไฟนอลแฟนตาซี ไทป์-0 การโหลดเข้าฉากต่อสู้จะเป็นไปอย่างต่อเนื่องไม่มีการตัดเช่นเดียวกับ ไฟนอลแฟนตาซี XII โดยในฉากจะมีตัวละครบังคับได้หนึ่งคน ส่วนอีกสามคนจะคอยสนับสนุน มีคำสั่งพื้นฐาน ได้แก่ โจมตี วาร์ป เวท ไอเทม ผู้เล่นสามารถเคลื่อนไหวไปมาในฉากได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ยังสามารถช่วงชิงยุทธภัณฑ์ของศัตรูเพื่อนำมาใช้ในการต่อสู้ได้อีกด้วย ส่วนเวทมนตร์นั้นเป็นแบบใช้แล้วหมดไปเหมือนไฟนอลแฟนตาซี VIII แต่ยังมีค่า MP ซึ่งใช้สำหรับท่าพิเศษต่างๆ นอกจากนี้ ยังสามารถให้ผู้เล่นปรับโหมดความยากในฉากต่อสู้ได้ ระหว่างโหมดธรรมดา กับโหมดง่าย ซึ่งผู้เล่นสามารถปรับค่าความยากเมื่อใดก็ได้

เนื้อเรื่อง

[แก้]

การดำเนินเรื่อง

[แก้]

ไฟนอลแฟนตาซี XV[5] มีเรื่องราวเกิดขึ้นในโลกที่ชื่อว่า อีออสซึ่งคล้ายคลึงกับโลกยุคปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยดินแดนต่างๆ อาทิ ลูซิส, เทเนไบร์, นีฟล์ไฮม์, อัคคอร์โด เป็นต้น ซึ่งดินแดนเหล่านี้ยกเว้นนีฟล์ไฮม์เคยครอบครองคริสตัลอันเป็นขุมพลังอันยิ่งใหญ่ แต่เมื่อมหาสงครามอุบัติ คริสตัลเหล่านี้ก็สาบสูญ เว้นก็แต่คริสตัลแห่งราชอาณาจักรลูซิสเท่านั้นที่ยังทรงอานุภาพแห่งเวทมนตร์ เมื่อเริ่มการดำเนินเรื่อง ประเทศทั้งมวลในอีออสยกเว้นลูซิสตกอยู่ในอำนาจของจักรวรรดินีฟล์ไฮม์อันมีกองทัพทหารกลนับล้าน มีเพียงธิดาเทพแห่งราชวงศ์เฟลอเรเท่านั้นที่จะสามารถต่อรับมือกับ "ภัยพิบัติแห่งดวงดาว" อันเป็นปรากฏการณ์ที่อาจชักนำโลกเข้าสู่ความมืดนิจนิรันดร์

ในห้วงเวลาที่ราชอาณาจักรลูซิส ประเทศศักดิ์สิทธิ์ที่มีพลังพิเศษจากคริสตัล กำลังจะลงนามในสนธิสัญญาการสงบศึกเพื่อยุติสงครามที่ยาวนานกับจักรวรรดินีฟล์ไฮม์นั้น เจ้าชายน็อคทิส รัชทายาทแห่งลูซิสจำต้องเข้าพิธีสมรสกับท่านหญิงลูน่าเฟรยา ธิดาเทพจากแคว้นเทเนไบร์ ดินแดนในอาณัติของจักรวรรดิตามข้อตกลงในสนธิสัญญาดังกล่าว ถึงกระนั้น กษัตริย์แห่งลูซิสก็ไม่ไว้วางใจที่จะจัดงานแต่งขึ้นที่กรุงอินซอมเนีย จึงได้ออกอุบายหมายให้เจ้าชายน็อคทิสและท่านหญิงลูน่าเฟร์ยา ไปทำพิธีสมรสในนครอัลทิสเซีย เมืองหลวงของประเทศอัคคอร์โดแทน และได้สั่งให้เจ้าชายน็อคทิสออกเดินทางไปก่อนวันลงนามในสนธิสัญญา

อย่างไรก็ตาม ในวันลงนามสนธิสัญญา ณ กรุงอินซอมเนีย นีฟล์ไฮม์กลับสามารถปลดบาเรียเวทย์ที่ปกป้องกรุงอินซอมเนียมาช้านานลงได้ จักรวรรดินีฟล์ไฮม์ได้ยกกองทัพเข้าโจมตีและยึดอินซอมเนียอย่างรวดเร็ว น็อคทิสและพวกที่กำลังรอขึ้นเรือไปยังอัลทิสเซีย ตามคำสั่งของพระบิดา รู้สึกตกใจเมื่อได้ยินข่าวว่าพระบิดาสวรรคตไปแล้ว เขาและพวกพ้องต้องหนีไปตั้งหลักก่อนเพื่อรอวันที่จะกอบกู้ประเทศของตน ในขณะที่จักรพรรดินีฟล์ไฮม์ก็มีบัญชาให้ตามล่าและสังหารน็อคทิสเสีย

น็อคทิสสามารถเดินทางไปยังอัลทิเชียได้สำเร็จ แต่ยังไม่ทันจะเริ่มพิธีสมรสกองทัพจักรวรรดิได้บุกโจมตีอัลทิเซียเพื่อหวังปลิดชีพเจ้าชายน็อคทิส แต่เพราะน็อคทิสทราบดีว่าจักวรรดิไม่ได้มาดี เขาจึงได้วางแผนกับนายกมนตรีของเมืองอัลทิเซียเพื่อวางแนวป้องกันไว้ แต่โชคร้าย ลีเวียธาน สัตว์ในตำนานของอัลทิเชียกลับอาละวาดขึ้นท่ามกลางสงคราม ท่านหญิงลูน่าเฟรยา จำไม่มีทางเลือกและต้องสละชีวิตตนเองเพื่อปกป้ององค์ชายน็อคทิส และแล้วในที่สุดลูน่าเฟรยาก็ทำคำสั่งเสียสุดท้ายของกษัตริย์แห่งลูซิสได้สำเร็จ นั่นคือส่งแหวนแห่งลูซิไอให้ถึงมือน็อคทิส น็อคทิสเสียใจมากที่เสียท่านหญิงลูน่าเฟรยาไป แถมอีคนิสยังต้องมาตาบอดจากเหตุบุกโจมตีอัลทิเซียอีกด้วย

กลุ่มน็อคทิสเดินทางด้วยรถไฟไปแบบไร้จุดหมาย แต่ระหว่างทางขบวนรถถูกกองทัพจักรวรรดิโจมตีและพรอมพ์โตตกขบวนรถหายสาบสูญไป เจ้าชายน็อคทิสจึงตัดสินใจเดินทางไปยังจักรวรรดินีฟล์ไฮม์ตามลำพังเพื่อชำระแค้นกับกษัตริย์อีโดลาส ผู้นำสูงสุดแห่งจักรวรรดิ แต่เมื่อมาถึงสภาพทั้งเมืองกลับมืดสนิท เจ้าชายน็อคทิสจึงเดินทางเข้าไปตามลำพังและได้พบเจอกับพรอมพ์โตอีกครั้ง ความทรงจำของพรอมพ์โตกลับคืนมาว่าตนเป็นหนึ่งในรุ่นทดลองของหุ่นรบมากิเทคที่มีจิตสำนึกคิดด้วยตนเอง ตนเลยตัดสินใจหลบหนีออกมาก่อนมาพบว่าตัวเองหมดสติอยู่แถวชานเมืองรอบ ๆ อินซอมเนีย กลุ่มน็อคทิสเดินทางต่อจนพบร่างของกษัตริย์อีโดลาสที่เปลี่ยนสภาพเป็นปีศาจเต็มตัว เขาไม่มีทางเลือกนอกจากต้องกำจัดทิ้ง ก่อนได้พบกับคริสตัลแห่งลูซิส น็อคทิสพยายามนำคริสตัลกลับไปอินซอมเนีย แต่โชคร้ายเมื่อสัมผัสคริสตัลกลับดูดกลืนร่างน็อคทิสเข้าไปต่อหน้าต่อตาทุกคน

ภายในนั้นน็อคทิสได้พบกับ เทพในตำนานบาฮามุท เขาได้เล่าสาเหตุที่แท้จริงของภัยพิบัติแห่งดวงดาวและได้บอกว่าน็อคทิสคือกษัตริย์ที่ถูกเลือก วิธีเดียวที่จะแก้ภัยพิบัติแห่งดวงดาวและคืนแสงสว่างให้อีออสได้คือน็อคทิสต้องสละชีวิตเพื่อจัดการกับต้นตอของปัญหาคือ อาร์ดีน อิซูเนีย ที่ถูกปีศาจกลืนกิน แต่เขาสามารถคงสติและควบคุมพลังปีศาจทั้งหมดไว้ได้ นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการชักจูงให้ดวงดาวเข้าสู่ความมืดมิด และเพื่อเป็นการเตรียมตัวบาฮามุทจึงบังคับให้น็อคทิสเข้าสู่สภาวะจำศีลเพื่อสะสมพลังเข้าสู่แหวนแห่งลูซิไอ

10 ปีต่อมา เจ้าชายน็อคทิสฟื้นสติคืนและพบว่าตนอยู่บนเกาะใกล้ ๆ กับอินซอมเนีย ในสภาวะที่ภัยพิบัติแห่งดวงดาวได้กลืนกินแสงสว่างจนหมดสิ้น โลกถูกชักจูงเข้าสู่ความมืดนิจนิรันดร์และเต็มไปด้วยปีศาจร้าย น็อคทิสเดินทางกลับไปรวมตัวกับกลุ่มน็อคทิสและตัดสินใจเดินหน้าเข้าสู่อินซอมเนียเพื่อขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งลูซิสองค์ต่อไป ที่นั่นเขาได้พบกับ อาร์ดีน อิซูเนีย ที่ตอนนี้เขาได้เผยตัวตนที่แท้จริงเป็น อาร์ดีน ลูซิส เคลัม องค์ชายคนแรกแห่งราชวงค์ลูซิส เคลัม และเป็นผู้รักษาให้อีออสรอดพ้นจากภัยพิบัติแห่งดวงดาวด้วยการดูดกลืนภัยพิบัตินั้นเข้าร่างตัวเอง แต่เพราะเช่นนั้นเขาจึงถูกคริสตัลปฏิเสธ และองค์ชาย ซอมนัส ลูซิส เคลัม ได้เนรเทศเขาออกจากดินแดนลูซิส ด้วยความแค้นทั้งหมดอาร์ดีนจึงเข้าร่วมจักรวรรดิและเริ่มนำเอาพลังปีศาจที่เขาได้รับจากการดูดกลืนภัยพิบัติมาพัฒนาเป็นหุ่นรบมากิเทคเพื่อล้างแค้น

บัดนี้ความแค้นของว่าที่กษัตริย์ทั้งสองจึงเริ่มขึ้น อาร์ดีน เข้าต่อสู้กับ น็อคทิส จนวาระสุดท้าย น็อคทิสได้สถาปนาตัวเองให้เป็นกษัตริย์ลูซิสลำดับที่ 14 และสละชีพตามเป้าประสงค์ที่บาฮามุทได้กล่าวไว้ เพื่อเข้าเผชิญหน้ากับวิญญาณของอาร์ดีนอีกครั้งในคริสตัล เขาทุ่มพลังสุดตัวเพื่อทำลายอาร์ดีนจนย่อยยับ เมื่อทุกอย่างจบลงวิญญาณน็อคทิสจึงสลายเป็นผุยผงตามไปพร้อมกับแหวนแห่งลูซิไอที่สลายเป็นผุยผงลงพร้อมกัน

และแล้วอีออสก็ได้แสงสว่างกลับคืน ทุกอย่างเข้าสู่สภาวะปกติ น็อคทิสสามารถชำระล้างภัยพิบัติแห่งดวงดาวได้สำเร็จ อีกด้านน็อคทิสได้กลับไปใช้ชีวิตร่วมกับลูน่าเฟรยาอย่างมีความสุขนิจนิรันดร์ เป็นเทพสององค์ที่คอยปกปักษ์รักษาอีออสไว้ชั่วกาลนาน

เนื้อหาดาวน์โหลดเพิ่มเติม

[แก้]

ในเนื้อหาเพิ่มเติมห้าชุด อันได้แก่ เอพิโซดกลาดิโอลัส เอพิโซดพรอมพ์โต เอพิโซดอีกนิส คอมราดส์ และเอพิโซดอาร์ดีน ได้เล่าถึงเนื้อหาและปมที่ขาดหายไปจากเนื้อเรื่องหลัก ดังนี้

เอพิโซดกลาดิโอลัส เล่าถึงเหตุการณ์ที่กลาดิโอลัสได้ปลีกตัวออกจากกลุ่มไประยะหนึ่ง เพื่อเข้าฝึกฝนกับกิลกาเมชและเรวัสอันเป็นที่มาของแผลเป็นบนหน้าอก เอพิโซดพรอมพ์โต เล่าถึงเหตุการณ์ต่อเนื่องหลังจากเหตุที่ขบวนรถไฟถูกกองทัพจักรวรรดิโจมตีจนพลัดตกรถไฟลงไป และตัวเขาถูกกองทัพจักรวรรดินำตัวกลับนีฟล์ไฮม์เพื่อพัฒนาเป็นหุ่นรบต่อไป แต่ท่ามกลางสติที่เลือนลางเขาได้นึกย้อนไปถึงเหตุการณ์ที่หลบหนีออกจากจักรวรรดิโดยความช่วยเหลือของอาราเนีย ก่อนเดินทางสู่กราเลียต่อไป เอพิโซดอิกนีส เล่าถึงอีกด้านหนึ่งของเหตุโจมตีอัลทิเชียและตัวเขาได้เข้าไปพบกับร่างของเจ้าชายน็อคทิสและท่านหญิงลูน่าเฟรยาที่หมดสติ แต่ยังไม่ทันจะช่วยเหลืออาร์ดีนบุกมาเพื่อจะปลิดชีพทั้งสอง อีกนิสจึงใช้แหวนแห่งลูซิไอเข้าต่อสู้กับอาร์ดีนเพื่อปกป้องทั้งคู่ โดยราคาคือเขาต้องสูญเสียการมองเห็นไปชั่วนิรันดร์ และไม่สามารถเห็นอนาคตได้อีกต่อไป แต่ในอีกตอนจบหนึ่ง อีกนิส เลือกที่จะไม่สวมใส่แหวนแห่งลูซิไอและยอมแพ้ต่ออาร์ดีน อาร์ดีนจึงเล่าวิธีที่จะแก้ภัยพิบัติแห่งดวงดาวโดยไม่ต้องสละชีวิตของน็อคทิสตามโชคชะตาที่เขาได้รับ

คอมราดส์ เป็นเนื้อหาแยกที่เปิดให้เล่นแบบออนไลน์ โดยเล่าถึงเหตุการณ์ระหว่าง 10 ปีที่น็อคทิสจำศีลอยู่ กลุ่มที่เหลือรอดจากจักรวรรดินีฟล์ไฮม์ได้ก่อตั้งกองกำลังคอมราดส์ขึ้น เพื่อปกป้องดินแดนแห่งลูซิสจากเงื้อมมือของปิศาจ ในเนื้อหานี้ผู้เล่นจะยังได้รับบทเป็นหน่วยเกลฟ กองอารักษาส่วนตัวของกษัตริย์รีจิสจากภาพยนตร์ ไฟนอล แฟนตาซี 15: สงครามแห่งราชันย์ ที่ต้องรวมพลังกับผู้เล่นอื่นต่อสู้เพื่อแย่งชิงดินแดนกลับคืนมาเหมือนกับช่วงต้นของภาพยนตร์ด้วย

เอพิโซดอาร์ดีน เป็นเนื้อหาส่วนสุดท้ายของเกมไฟนอลแฟนตาซี XV เล่าถึงเรื่องของอาร์ดีน อิซูเนีย สมัยยังเป็น อาร์ดีน ลูซิส เคลัม องค์ชายอีกองค์หนึ่งของราชวงค์ลูซิสที่ 1 ที่เดินหน้าต่อโชคชะตาด้วยการดูดกลืนภัยพิบัติแห่งดวงดาวเข้าสู่ร่างกายอันเป็นเหตุให้คริสตัลปฏิเสธตัวเขา ด้วยความแค้นทั้งหมดอาร์ดีนจึงเผลอปลดปล่อยพันธะบางส่วนของภัยพิบัติแห่งดวงดาวออกมาและเริ่มทำให้โลกกลับสู่ความมืดมิดอีกครั้ง แต่แล้วท่านหญิงเอรา ต้นตระกูลเฟลอเรอดีตคนรักของอาร์ดีน ได้ใช้พลังทั้งหมดผนึกอาร์ดีนไว้ เพื่อกันไม่ให้อาร์ดีนสามารถปลดพันธะแห่งภัยพิบัติได้ทั้งหมด เวลาล่วงเลยมานานแสนนานจนกระทั่ง 30 ปีก่อนเริ่มเนื้อหาของไฟนอลแฟนตาซี XV อาร์ดีนฟื้นสติคืนได้อีกครั้งด้วยการช่วยเหลือของเวอร์ซาทีล อาร์ดีนตอบตกลงเข้าร่วมจักรวรรดิเพื่อเริ่มล้างแค้นต่อองค์ชายซอมนัส ก่อนถูกขัดขวางโดยบาฮามุทและบอกเขาว่าชีวิตของเขาต้องเป็นนิจนิรันดร์ตราบจนกว่า กษัตริย์ที่แท้จริง จะตื่นขึ้นและทำลายทุกสิ่งเพื่อกู้สถานการณ์ อาร์ดีนจึงตั้งปณิธานแน่วแน่ว่าเขาต้อง "ฆ่า" กษัตริย์ที่แท้จริง ก่อนที่ตนจะถูก "ฆ่า" ด้วยน้ำมือของกษัตริย์ที่แท้จริง

ตัวละครหลัก

[แก้]
ชื่อ วันเกิด อายุ/ส่วนสูง ให้เสียงญี่ปุ่นโดย รายละเอียด
น็อคทิส ลูซิส เคลัม
(Noctis Lucis Caelum)
30 สิงหาคม 20 ปี
176 ซม.
ทัตสึฮิซะ ซูซูกิ รัชทายาทแห่งราชอาณาจักรลูซิส เขามักจะแสดงท่าทีเอื่อยเฉื่อยชา จึงทำให้คนรอบข้างหลายๆคนไม่มีความมั่นใจในตัวเขา แต่ภายในแล้วน็อคทิสมีความกล้าและอ่อนโยนใส่ใจคนรอบข้างเสมอ
กลาดิโอลัส อามิซิเทีย
(Gladiolus Amicitia)
2 เมษายน 23 ปี
198 ซม.
เค็นตะ มิยาเกะ บุตรชายคนโตของตระกูลอามิทีเซีย ซึ่งเป็นตระกูลราชองค์รักษ์แห่งราชวงศ์ลูซิสมาอย่างยาวนาน เป็นเสมือนพี่ชายของน็อคทิส
อีคนิส สตูเปโอ สคีเอ็นเทีย
(Ignis Stupeo Scientia)
7 กุมภาพันธ์ 22 ปี
183 ซม.
มาโมรุ มิยาโนะ เป็นเพื่อนที่ทำหน้าที่เสมือนพี่เลี้ยงของลูซิสตั้งแต่เด็ก ถูกวางตัวโดยกษัตริย์เรจิสให้เป็นมือขวาของน็อคทิสในอนาคต
พรอมพ์โต อาร์เจนทัม
(Prompto Argentum) "
25 ตุลาคม 20 ปี
173 ซม.
เท็ตสึยะ คากิฮาระ เคยอยู่โรงเรียนประถมที่เดียวกับน็อคทิส เนื่องจากเคยได้ช่วยเหลือสุนัขของลูน่าไว้ และตัวเจ้าชายน็อคทิสไม่มีเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน เจ้าหญิงลูน่าเฟร์ย่าจึงเขียนจดหมายฝากฝังเจ้าชายน็อคทิสไว้กับพรอมพ์โต ทั้งสองเริ่มเป็นเพื่อนกันตอนขึ้นมัธยม

ดินแดน

[แก้]
  • นีฟไฮม์ เป็นจักรวรรดิบนทวีปประจิม มีเมืองหลวงคือ กราลีอา เป็นนครที่ใหญ่เป็นอับดับสองในโลกอีออส อาณาเขตดั้งเดิมของนีฟไฮม์นั้นตั้งอยู่ในเขตหนาวเหน็บมีหิมะปกคลุมตลอดทั้งปี
    • เทเนไบร์ เป็นอดีตอาณาจักรบนทวีปประจิม เนื่องจากมีพรมแดนติดกับจักรวรรดินีฟไฮม์จึงเป็นดินแดนแรกที่นีฟล์ไฮม์รุกราน
  • ลูซิส เป็นราชอาณาจักรบนทวีปลูเซียน มีเมืองหลวงคือ อินซอมเนีย เป็นนครที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีออส ก่อนจะถูกนีฟล์ไฮม์รุกราน ลูซิสเคยปกครองทวีปลูเซียนทั้งหมด
  • อัคคอร์โด เป็นประเทศหมู่เกาะ ตั้งอยู่นอกชายฝั่งทางใต้ของทวีปลูเซียน และอยู่ทางตะวันออกของทวีปประจิม มีเมืองหลวงคือ อัลทิสเซีย เป็นนครที่ใหญ่เป็นอับดับสามในโลกอีออส อัคคอร์โดเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิ แต่จักรวรรดิให้อำนาจอัคคอร์โดในการปกครองตนเอง

การพัฒนา

[แก้]

การตอบรับและคำวิจารณ์

[แก้]

ในช่วงแรกหลังว่าจำหน่าย ไฟนอลแฟนตาซี XV ได้รับคำวิจารณ์ออกมาในทางบวก คะแนนส่วนใหญ่อยู่ที่ประมาณ 80-90% โดยนักวิจารณ์ส่วนใหญ่นั้นชื่นชมระบบการเล่น การออกแบบเกมในส่วนของโอเพนเวิลด์ และบุคลิกของตัวละครหลัก แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ยังมีบางส่วนตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับเนื้อเรื่องที่เดาทางได้ค่อนข้างง่าย, การเดินเรื่องจบค่อนข้างเร็วและตอบคำถามไม่ครบ และตัวละครบางส่วนที่ยังขาดมิติอยู่บ้าง[6] ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2016 ผู้กำกับทะบะตะ ได้ออกมาเปิดเผยว่าทางทีมงานได้กำหนดแผนงานอัปเดตตัวเกมไว้ระยะสั้น-กลาง-ยาว โดยทีมงานน้อมรับนำส่วนข้อตำหนิไปปรับปรุงตัวเกมให้มีเนื้อเรื่องให้ดีขึ้นและมีอิสระในการเล่นมากยิ่งขึ้น[7]

อย่างไรก็ตาม เมื่อวางจำหน่ายไปซักระยะกลับมีการอัปเดตเพิ่มเติมเนื้อหาเข้ามาจำนวนมาก เนื้อเรื่องบางส่วนถูกนำวางจำหน่ายเป็นส่วนเสริม ทำให้มีการวิจารณ์ในเชิงไม่พอใจอย่างกว้างขวางว่าบริษัทวางจำหน่ายเกมนี้ทั้งที่ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ 100% นอกจากนี้ มีการวางจำหน่าย FFXV: Royal Edition ซึ่งฉบับที่รวมเนื้อเรื่องและเนื้อหาส่วนเสริมทั้งหมดวางจำหน่ายในเดือนมกราคม 2018 ด้วยราคาต่ำกว่าตอนวางจำหน่ายครั้งแรกเสียอีก ผู้ซื้อเกมในช่วงแรกๆต้องจ่ายแพงกว่าแต่กลับไม่ได้รับเกมที่มีเนื้อหาที่สมบูรณ์ และต้องจ่ายเงินเพิ่มอีกยิบย่อยเพื่อให้ได้เนื้อหาสมบูรณ์

เพื่อเป็นการแก้คำสบประมาทของฉากจบในเกมหลัก ทีมงานจึงเพิ่มเนื้อเรื่องทางเลือกเข้าไปใน Episode Ignis ซึ่งเป็นการปูทางไปฉากจบที่มีความสุขกว่า เนื้อเรื่องทางเลือกนี้ถูกวิจารณ์ว่าเป็นการฉีกออกมาจากเกมหลักอย่างไม่สมเหตุสมผลจนเกินไป มีหลายประเด็นที่ขัดแย้งกับหลักการในเกมหลักและหาคำตอบไม่ได้ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาทั้งหมด ทีมงานได้ตัดสินใจประกาศแผนพัฒนา DLC เพิ่มอีก 4 ตัว คือ Episode 1: Ardyn - "The Conflict of the Sage", Episode Side Story: Aranea - "The Beginning of the End", Episode 2: Lunafreya - "The Choice of Freedom" และ Episode 3: Noctis - "The Final Strike" เพื่อพัฒนาเนื้อเรื่องจนจบสมบูรณ์ โดยมี Episode 3 ที่ถูกระบุว่า เป็นเนื้อเรื่องตอนจบใหม่ ของเกม แต่แล้วในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ฮาจิเมะ ทาบาตะ ได้ลาออกจาก Luminous Production ทีมงานจึงตัดสินใจยกเลิกทำ DLC ที่เหลือทั้งหมด ยกเว้น Episode 1[8] แล้วเอาเนื้อเรื่องที่วางแผนไว้ทั้งหมดไปทำเป็นฉบับนิยายในชื่อ Final Fantasy XV: The Dawn of the Future แทน[9]

การตอบรับ
คะแนนรวม
ผู้รวมคะแนน
เมทาคริติกPS4: 82/100[10]
XONE: 82/100[11]
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
เดสทรักทอยด์9/10[12]
อิเล็กทรอนิกเกมมิงมันท์ลี7.5/10[13]
แฟมิซือ38/40[14]
เกมอินฟอร์เมอร์8.5/10[15]
เกมเรโวลูชัน4/5 stars[16]
เกมสปอต8/10[17]
เกมเรดาร์+4.5/5 stars[18]
ไอจีเอ็น8.2/10[19]
โพลีกอน9/10[20]
Digital Spy3.5/5 stars[21]
Hardcore Gamer3.5/5[22]
PlayStation LifeStyle8.5/10[23]
Time4.5/5[24]
US Gamer4/5 stars[25]

สื่อที่เกี่ยวข้อง

[แก้]

บราเธอร์ฮูด: ไฟนอลแฟนตาซี XV

[แก้]

มีการสร้างอนิเมะเพื่อปูเนื้อเรื่องก่อนเข้าสู่เกม โดยเป็นอะนิะเมะตอนสั้น 5 ตอน ใช้ชื่อว่า Brotherhood: Final Fantasy XV กำกับโดยโซอิชิ มะซุอิ ผลิตโดยสตูดิโอ A-1 Pictures ออกอากาศตอนแรกเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2559 ทางยูทูบ ซึ่งเป็นวันเดียวกับการประกาศวันวางจำหน่ายเกมอย่างเป็นทางการ

ไฟนอล แฟนตาซี 15: สงครามแห่งราชันย์

[แก้]

ไฟนอล แฟนตาซี 15: สงครามแห่งราชันย์ (อังกฤษ: Kingsglaive: Final Fantasy XV) เป็นภาพยนตร์ที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์แอนิเมชัน กล่าวถึงเรื่องราวที่เป็นจุดเริ่มต้นของเกมโดยเล่าถึงองค์กษัตริย์รีจิส ลูซิส เคลัม บิดาของน็อคทิส พร้อมกับกองกำลังอารักขาส่วนพระองค์ที่มีชื่อว่า "คิงส์เกลฟ" โดยฌอน บีน พากย์เสียงเป็นกษัตริย์รีจิส

ภาพยนตร์ดังกล่าวเข้าฉายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 และเข้าฉายในสหรัฐอเมริกาแบบจำกัดโรงภาพยนตร์ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559 สำหรับประเทศไทย โซนี่ อินเตอร์แอคทีฟ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ฮ่องกง ได้จัดฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ในรูปแบบการฉายรอบพิเศษร่วมกับ เอ็ม พิคเจอร์ ที่โรงภาพยนตร์สยามภาวลัย พารากอน ซีนีเพล็กซ์ ในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เพียงรอบเดียวเท่านั้น

FINAL FANTASY XV -The Dawn Of The Future-

[แก้]

เป็นนิยายที่กล่าวถึงภูมิหลังของอาร์ดิน และเป็นเนื้อเรื่องทางเลือกสำหรับผู้ไม่ต้องการฉากจบสะเทือนใจ นิยายนี้วางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อ 25 เมษายน พ.ศ. 2562 ถือเป็นการปิดโครงการไฟนอลแฟนตาซี 15 โดยสมบูรณ์

อ้างอิง

[แก้]
  1. 今週のスクープ ファイナルファンタジーXV. Weekly Famitsu (ภาษาญี่ปุ่น). Enterbrain (1281): 11ff. June 20, 2013.
  2. 2.0 2.1 "体験版『FF15』エピソード・ダスカ2.00でカトブレパスと戦える? ストーリーについて重大発表も". Dengeki Online. June 4, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-06. สืบค้นเมื่อ June 6, 2015.
  3. Jokeboy (January 16, 2018). "Final Fantasy XV PC วางจำหน่าย 6 มีนาคม". Gamingdose.
  4. Final Fantasy XV สร้างยอดขาย 5 ล้านชุดในวันเดียว เร็วที่สุดในประวัติศาสตร์แฟรนไชส์เกม Final Fantasy December 2, 2016
  5. S, Wattana (2016-08-16). "FINAL FANTASY XV ประกาศวันวางจำหน่ายใหม่ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2559 พร้อมกันทั่วโลก". iPhone-Droid.
  6. https://www.blognone.com/node/87667 เรื่อง : Final Fantasy XV วางจำหน่ายอย่างเป็นทางการ คะแนนรีวิวส่วนใหญ่ไปในทางบวก
  7. เกม Final Fantasy XV เตรียมอัปเดตครั้งใหญ่ตามเสียงเรียกร้องของแฟนๆ Beartai. 8 พฤศจิกายน 2559
  8. ลาก่อน DLC ทั้ง 3 ของ Final Fantasy XV ถูกยกเลิกหลังทาบาตะลาออกจากทีม 8 พฤศจิกายน 2561
  9. Final Fantasy XV DLC จะกลับมาในรูปแบบของ “นิยาย” 24 กุมภาพันธ์ 2562
  10. "Final Fantasy XV for PlayStation 4". Metacritic. สืบค้นเมื่อ November 28, 2016.
  11. "Final Fantasy XV for Xbox One". Metacritic. สืบค้นเมื่อ November 28, 2016.
  12. Carter, Chris (November 28, 2016). "Review: Final Fantasy XV". Destructoid. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-11. สืบค้นเมื่อ November 28, 2016.
  13. L Patterson, Mollie (December 6, 2016). "Final Fantasy XV review". Electronic Gaming Monthly. สืบค้นเมื่อ December 6, 2016.
  14. Romano, Sal (December 13, 2016). "Famitsu Review Scores: Issue 1463". Gematsu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-14. สืบค้นเมื่อ December 14, 2016.
  15. Reiner, Andrew (November 28, 2016). "Final Fantasy XV - Cruising To Success". Game Informer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-28. สืบค้นเมื่อ November 28, 2016.
  16. Leack, Jonathan (December 2, 2016). "Final Fantasy XV Review". Game Revolution. สืบค้นเมื่อ December 2, 2016.
  17. Brown, Peter (November 28, 2016). "Final Fantasy XV Review". GameSpot. สืบค้นเมื่อ November 28, 2016.
  18. Roberts, David (November 28, 2016). "Final Fantasy XV Review". GamesRadar. สืบค้นเมื่อ November 28, 2016.
  19. Ingenito, Vince (November 28, 2016). "Final Fantasy XV Review". IGN. สืบค้นเมื่อ November 28, 2016.
  20. Kollar, Philip (November 28, 2016). "Final Fantasy XV Review". Polygon. สืบค้นเมื่อ November 28, 2016.
  21. McKeand, Kirk (December 5, 2016). "Final Fantasy XV review - did it Noct our socks off?". Digital Spy. สืบค้นเมื่อ December 5, 2016.
  22. Beck, Adam (December 1, 2016). "Review: Final Fantasy XV". Hardcore Gamer. สืบค้นเมื่อ December 1, 2016.
  23. Honea, Keri (December 1, 2016). "Final Fantasy XV Review – East Meets West (PS4)". PlayStation LifeStyle. สืบค้นเมื่อ December 1, 2016.
  24. Peckham, Matt (November 28, 2016). "Review: 'Final Fantasy XV' Is a Glorious Return to Relevance". Time. สืบค้นเมื่อ November 28, 2016.
  25. Bailey, Kat (November 28, 2016). "Final Fantasy XV PlayStation 4 Review: End of the Road". US Gamer. สืบค้นเมื่อ November 28, 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]