เหตุผลวิบัติโดยมีเหตุเดียว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Fallacy of the single cause)

เหตุผลวิบัติโดยมีเหตุเดียว (อังกฤษ: fallacy of the single cause, complex cause, causal oversimplification[1], causal reductionism, reduction fallacy[2]) เป็นเหตุผลวิบัติอรูปนัยโดยการให้เหตุผลที่น่าสงสัยเพราะสมมุติว่ามีเหตุเดียวที่ก่อผล แต่จริงๆ อาจจะมีเหตุหลายอย่างร่วมกัน

เหตุผลวิบัติโดยมีเหตุเดียวมีรูปแบบทางตรรกะคือ "ก เป็นเหตุของ ข ดังนั้น ก จึงเป็นเหตุเดียวของ ข" (แม้จริงๆ ค, ง, จ เป็นต้น ก็ยังอาจเป็นเหตุของ ข ด้วย)[2] การระบุเหตุง่ายๆ เกินไปเป็นทวิบถเท็จรูปแบบหนึ่งที่ไม่ใส่ใจในโอกาสการมีเหตุต่างๆ ร่วมกันได้ กล่าวอีกอย่างก็คือ เป็นการสมมุติว่าเหตุจะต้องอยู่ในรูปแบบ "ก xor ข xor ค" แม้ "ก และ ข และ ค" และ "ก และ ข แต่ไม่ใช่ ค" ก็ยังเป็นรูปแบบของเหตุได้ ไม่ใช่ ก หรือ ข หรือ ค เพียงเท่านั้น

อ้างอิง[แก้]

  1. "R. Paul Wilson On: The Oversimplification Fallacy". Casino.org. สืบค้นเมื่อ 2022-03-25.
  2. 2.0 2.1 "Causal Reductionism". สืบค้นเมื่อ 2012-10-06.