สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Austro-Prussian War)
สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย
ส่วนหนึ่งของ การรวมชาติเยอรมัน
An oil painting of a battlefield, with several mounted cavalry in black; an indistinct city burning on the horizon.
ยุทธการเคอนิจแกรทซ์ ปี 1866
วันที่14 มิถุนายน – 23 สิงหาคม ค.ศ. 1866
(2 เดือน และ 9 วัน)
สถานที่
ผล ชัยชนะของฝ่ายปรัสเซียและอิตาลี
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง

ปรัสเซียเข้าครอบครองบางส่วนของบาวาเรีย, ฮันโนเฟอร์, เฮ็สเซิน-คัสเซิล, บางส่วนของเฮ็สเซิน-ดาร์มชตัดด์, ฮ็อลชไตน์, ชเลสวิช, นัสเซา, และฟรังฟวร์ท

คู่สงคราม

รัฐของสมาพันธรัฐเยอรมันที่นำโดยปรัสเซีย

ราชอาณาจักรอิตาลี อิตาลี

รัฐของสมาพันธรัฐเยอรมันที่นำโดยออสเตรีย

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

ราชอาณาจักรปรัสเซีย วิลเฮล์มที่ 1
ราชอาณาจักรปรัสเซีย ออทโท ฟอน บิสมาร์ค
ราชอาณาจักรปรัสเซีย เฮลมุท ฟอน มอลท์เคอ
ราชอาณาจักรอิตาลี วิตโตรีโอเอมานูเอเลที่ 2
ราชอาณาจักรอิตาลี อัลฟองโซ เฟอเรอโร ลา มาร์โมรา

ราชอาณาจักรอิตาลี เบตติโน ริคาโซลี
กำลัง

637,262 นาย[1]

  • ราชอาณาจักรปรัสเซีย 437,262
  • ราชอาณาจักรอิตาลี 200,000

517,123 นาย[2]

  • จักรวรรดิออสเตรีย 407,223
  • 38,000
  • 26,500
  • 20,000
  • 18,400
  • 7,000
  • 5,000
ความสูญเสีย
39,990 นาย[3] 132,414 นาย[2]

สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย (อังกฤษ: Austro-Prussian War) หรือ สงครามเจ็ดสัปดาห์ (อังกฤษ: Seven Weeks' War) หรือ สงครามรวมชาติ (อังกฤษ: Unification War) หรือ สงครามพี่น้อง (อังกฤษ: Brothers War) เป็นสงครามในปีค.ศ. 1866 ที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งภายในสมาพันธรัฐเยอรมัน บรรดารัฐเล็กน้อยต่างๆได้แตกออกเป็นสองขั้วคือ รัฐเยอรมันที่อยู่ฝ่ายปรัสเซีย และรัฐเยอรมันที่อยู่ฝ่ายออสเตรีย

ฝ่ายปรัสเซียอยู่ในช่วงเศรษฐกิจขยายตัวและมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยกว่ามาก ในขณะที่ฝ่ายออสเตรียที่กำลังอยู่ในช่วงเศรษฐกิจถดถอยจากการที่เผชิญกับการปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1848 และสงครามปลดแอกอิตาลีครั้งที่สอง สงครามจึงจบลงที่ชัยชนะอย่างง่ายดายของฝ่ายปรัสเซีย ทำให้ปรัสเซียกลายเป็นรัฐที่มีอำนาจครอบงำรัฐเยอรมันเล็กน้อยต่างๆ ปรัสเซียได้ยุบสมาพันธรัฐเยอรมันทิ้ง และสถาปนาสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือขึ้นมาแทนที่ โดยปรัสเซียกีดออสเตรียออกไปจากสมาพันธรัฐที่สถาปนาขึ้นใหม่นี้

ในสงครามครั้งนี้ ปรัสเซียได้อิตาลีมาเป็นพันธมิตรจากการที่อิตาลีต้องการทวงคืนดินแดนอิตาลีที่อยู่ภายใต้ราชวงศ์ฮับส์บูร์กของออสเตรีย ซึ่งหลังสงครามอิตาลีก็ได้แคว้นเวเนโตและบางส่วนของแคว้นฟรียูลีไปจากออสเตรีย

ชนวนเหตุ[แก้]

เป็นเวลากว่าหลายศตวรรษ ที่ภูมิภาคยุโรปกลางถูกแบ่งออกเป็นรัฐเล็กรัฐน้อยของหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ แต่ละรัฐก็มีอิสรภาพเป็นของตนเองด้วยความช่วยเหลือจากรัฐมหาอำนาจอื่นๆ ออสเตรียเป็นดินแดนที่ปกครองโดยราชวงศ์ที่เก่าแก่และทรงอิทธิพลอย่างราชวงศ์ฮับส์บูร์ก และรัฐเยอรมันเล็กน้อยเหล่านี้ก็ต่างยอมรับราชวงศ์ฮับส์บูร์กเป็นผู้นำของชนชาติที่พูดภาษาเยอรมัน จนกระทั่งปลายศตวรรษที่ 18 ราชอาณาจักรปรัสเซียก็เริ่มมีอิทธิพลขึ้นมาและกลายเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของยุโรป ทำให้ภาวะผู้นำของราชวงศ์ฮับส์บูร์กเริ่มสั่นคลอน

ต้นศตวรรษที่ 19 เกิดสงครามนโปเลียนขึ้นในยุโรปภาคพื้นทวีป นโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศสได้นำกองทัพใหญ่เข้ายึดครองรัฐเยอรมันต่างๆจากราชวงศ์ฮับส์บูร์ก จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งราชวงศ์ฮับส์บูร์กจำยอมต้องลงนามในสนธิสัญญาเชินบรุนน์ในปี 1806 เพื่อยุบจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และสถาปนาจักรวรรดิออสเตรียขึ้นมาแทน แม้ฮับส์บูร์กจะเหลือรัฐเยอรมันในปกครองอยู่อีกหลายรัฐแต่ก็ฮับส์บูร์กก็เสื่อมอิทธิพลลงมาก จนกระทั่งเมื่อนโปเลียนสิ้นอำนาจในปี 1815 บรรดารัฐเยอรมันก็กลับมารวมกลุ่มกันอีกครั้งอย่างหลวมๆในชื่อสมาพันธรัฐเยอรมันโดยมีจักรพรรดิออสเตรียเป็นองค์ประธาน[4]

ในปี 1864 ออสเตรียกับปรัสเซียได้เป็นพันธมิตรกันเพื่อทำสงครามกับเดนมาร์กและได้รับชัยชนะ ทำให้เดนมาร์กต้องสูญเสียรัฐชเลสวิช, ฮ็อลชไตน์ และเลาเอินบวร์ค ซึ่งทำให้เกิดข้อพิพาทระหว่างออสเตรียกับปรัสเซียว่าใครจะปกครองชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ ออสเตรียตัดสินใจนำข้อพิพาทเข้าสู้ที่ประชุมสภาเยอรมันและเรียกประชุมรัฐสภาฮ็อลชไตน์ ฝ่ายปรัสเซียตอบโต้โดยการประกาศว่าข้อตกลงต่างๆเกี่ยวกับกรณีพิพาทที่เคยทำไว้กับออสเตรียในคราวการประชุมกัสชไตน์ถือเป็นโมฆะและส่งกองทัพปรัสเซียเข้ารุกรานฮ็อลชไตน์ เมื่อสภาเยอรมันมีมติให้เรียกระดมกำลังพลเพื่อต่อต้านปรัสเซีย นายกรัฐมนตรีปรัสเซีย ออทโท ฟอน บิสมาร์ค ออกมากล่าวว่าสมาพันธรัฐเยอรมันได้จบลงแล้ว

  จักรวรรดิออสเตรีย
  พันธมิตรของออสเตรีย
  ราชอาณาจักรปรัสเซีย
  พันธมิตรของปรัสเซีย
  ดินแดนในพิพาท
  รัฐที่วางตัวเป็นกลาง

อ้างอิง[แก้]

  1. Clodfelter 2017, p. 182.
  2. 2.0 2.1 Clodfelter 2017, p. 183.
  3. Clodfelter 2017, pp. 183–184.
  4. Wawro 2003, p. 16.