ข้ามไปเนื้อหา

พาราเซตามอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Acetaminophen)
พาราเซตามอล
ข้อมูลทางคลินิก
การอ่านออกเสียงParacetamol: /ˌpærəˈstəmɒl/
Acetaminophen: /əˌstəˈmɪnəfɪn/ ( ฟังเสียง)
ชื่อทางการค้าไทลินอล, พานาดอล, อื่น ๆ[2]
ชื่ออื่นN-acetyl-para-aminophenol (APAP), acetaminophen (USAN US)
AHFS/Drugs.comโมโนกราฟ
MedlinePlusa681004
ข้อมูลทะเบียนยา
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
ช่องทางการรับยาทางปาก, ทวาร, ารฉีดเข้าหลอดเลือดดำ (IV)
ประเภทยาAnalgesics and antipyretics
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผล63–89%[5]: 73 
การจับกับโปรตีนน้อยถึงเกินขนาด 10–25%[6]
การเปลี่ยนแปลงยาส่วนใหญ่ในตับ[4]
สารซึ่งได้หลังการเปลี่ยนแปลงยาAPAP gluc, APAP sulfate, APAP GSH, APAP cys, AM404, NAPQI[7]
ระยะเริ่มออกฤทธิ์เริ่มมีอาการบรรเทาปวดตามเส้นทาง:
ปาก – 37 นาที[8]
หลอดเลือดดำ – 8 นาที[8]
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ1.9–2.5 hours[6]
การขับออกปัสสาวะ[6]
ตัวบ่งชี้
  • N-(4-hydroxyphenyl)acetamide
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
PubChem SID
IUPHAR/BPS
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
PDB ligand
ECHA InfoCard100.002.870
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC8H9NO2
มวลต่อโมล151.165 g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
ความหนาแน่น1.263 g/cm3
จุดหลอมเหลว169 องศาเซลเซียส (336 องศาฟาเรนไฮต์) [10][11]
การละลายในน้ำ
  • 7.21 g/kg (0 °C)[9]
  • 8.21 g/kg (5 °C)[9]
  • 9.44 g/kg (10 °C)[9]
  • 10.97 g/kg (15 °C)[9]
  • 12.78 g/kg (20 °C)[9]
  • ~14 mg/ml (20 °C)
  • CC(=O)Nc1ccc(O)cc1
  • InChI=1S/C8H9NO2/c1-6(10)9-7-2-4-8(11)5-3-7/h2-5,11H,1H3,(H,9,10) checkY
  • Key:RZVAJINKPMORJF-UHFFFAOYSA-N checkY
  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

พาราเซตามอล (อังกฤษ: Paracetamol (INN) /ˌpærəˈsiːtəmɒl, ˌpærəˈsɛtəmɒl/) หรือ อะเซตามีโนเฟน (อังกฤษ: acetaminophen (USAN) /əˌsiːtəˈmɪnɵfɨn/) ทั้งหมดย่อมาจาก para-acetylaminophenol เป็นยาที่สามารถจำหน่ายได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ (OTC) มีฤทธิ์แก้ปวดและลดไข้ ซึ่งเป็นยาพื้นฐานที่มักใช้เพื่อบรรเทาไข้ อาการปวดศีรษะ และอาการปวดเมื่อย และรักษาให้หายจากโรคหวัดและไข้หวัด พาราเซตามอลประกอบด้วยยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตรอยด์ (NSAIDs) และโอปิออยด์ พาราเซตามอลมักใช้รักษาอาการปวดพื้นฐานถึงการปวดอย่างซับซ้อน [12]

โดยทั่วไปพาราเซตามอลจะปลอดภัยต่อมนุษย์หากได้รับในปริมาณที่เหมาะสม แต่หากได้รับปริมาณมากเกินไป (เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อโดส หรือ 4,000 มิลลิกรัมต่อวันในผู้ใหญ่ หรือเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับผู้ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์[13]) จะทำให้เกิดความเสียหายต่อการทำงานของตับได้ แต่ผู้ป่วยบางรายที่รับประทานในปริมาณปกติก็สามารถส่งผลต่อตับได้เช่นเดียวกับผู้ที่รับในปริมาณมากเกินไปเช่นกัน แต่หากกรณีดังกล่าวพบได้น้อยมาก อันตรายจากการใช้ยานี้จะมากขึ้นในผู้ดื่มแอลกอฮอล์ ในประเทศตะวันตกจะพบว่าการเป็นพิษจากพาราเซตามอลเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของภาวะตับวายเฉียบพลัน และพบว่าเป็นการได้ยาเกินขนาดที่พบบ่อยที่สุดในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์[14][15][16][17]

ประวัติ

[แก้]

ในสมัยโบราณจะใช้เปลือกต้นหลิว (willow) เป็นยาแก้ไข้ (antipyretic) ในขณะนั้นรู้กันว่าสารเคมีในเปลือกหลิว คือ ซาลิซิน (salicins) ซึ่งสามารถจะเปลี่ยนเป็นแอสไพรินได้ และทราบด้วยว่าสารเคมีที่อยู่ในเปลือก ซิงโคน่า (cinchona) ใช้เป็นยารักษามาลาเรียได้ คือ ควินนิน (quinine) และมีฤทธิ์เป็นยาแก้ไข้ได้ด้วย

ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1880เกิดการขาดแคลนต้น ซิงโคน่า จึงได้มีการหาทางเลือกสำหรับยาลดไข้และได้ค้นพบยาลดไข้ตัวใหม่ ดังนี้

ในขณะที่ ฮาร์มอน นอร์ทรอป มอร์ส (Harmon Northrop Morse) สามารถสังเคราะห์ พาราเซตามอลได้ในปี ค.ศ. 1873 โดยปฏิกิริยารีดักชั่น พารา-ไนโตรฟีนอล (p-nitrophenol) กับ ดีบุกในกรดน้ำส้ม (acetic acid) พาราเซตามอลไม่ได้ถูกใช้เป็นยาเกือบยี่สิบปี จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1893ได้มีการตรวจพบพาราเซตามอล ในปัสสาวะของผู้ที่ใช้ยาฟีนาซิตินและในปีค.ศ. 1899 พบว่าพาราเซตามอลเป็นเมตาโบไลต์ ของ อะซิตานิไลด์

ในปี ค.ศ. 1948 เบอร์นาร์ด บรอดี้ และ จูเลียส อะเซลรอด ได้ทดลองใช้ อะซิตานิไลด์ ในโรค เมตทีโมโกบินีเมีย (methemoglobinemia) เขาพบว่าฤทธิ์บรรเทาอาการปวดของอะซิตานิไลด์ เกิดจากพาราเซตามอลซึ่งเป็นเมตาโบไลต์ ของ อะซิตานิไลด์ และพาราเซตามอลมีผลข้างเคียงน้อยกว่าอะซิตานิไลด์ มาก ตั้งแต่นั้นมาพาราเซตามอลก็ถูกใช้เป็นยาแก้ไขแก้ปวดกันอย่างแพร่หลาย

คลังภาพ

[แก้]

ผลข้างเคียง

[แก้]

การใช้เกินขนาด

[แก้]

ผู้ป่วยที่ใช้พาราเซตามอลเกินขนาดแล้วไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมจะเจ็บป่วยจากพิษเกินขนาดด้วยความเจ็บปวดและยาวนาน ในช่วงแรกอาจไม่มีอาการใดๆ หรือมีอาการที่ไม่จำเพาะ อาการเริ่มแรกมักเกิดขึ้นที่หลายชั่วโมงหลังได้รับยาเกินขนาด โดยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออกมาก เจ็บปวด และเริ่มมีตับวายเฉียบพลัน การใช้พาราเซตามอลเกินขนาดไม่มีฤทธิ์ทำให้หมดสติ แม้ผู้ป่วยหลายคนจะเชื่อผิดๆ ว่าการกินพาราเซตามอลเกินขนาดจะทำให้หมดสติก็ตาม ช่วงเวลาตั้งแต่กินยาจนถึงเสียชีวิตอยู่ที่ระหว่าง 3-5 วัน

โครงสร้างและส่วนการทำงาน

[แก้]
บริเวณพื้นผิวมีขั้วของโมเลกุลพาราเซตามอล

พาราเซตามอลประกอบไปด้วยวงเบนซีน ถูกแทนที่ด้วยหมู่ไฮดรอกซิลและไนโตรเจนจากหมู่เอไมด์ในรูปแบบ para (1,4)[18] หมู่เอไมด์คืออะเซตาไมด์ (เอทามาไมด์ในระบบคอนจูเกตด์) อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวของหมู่ไฮดรอกซิล ณ ตำแหน่งของออกซิเจน, หมอกอิเล็กตรอนของวงเบนซีน, อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวของไนโตรเจน, p ออร์บิตัลหมู่หมู่คาร์บินิลของคาร์บอน และอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวของออกซิเจนในหมู่คาร์บอนิลจะสร้างพันธะแก่กัน (conjugate) ทำให้มีหมู่กระตุ้น (activating group) 2 หมู่ทำให้วงเบนซีนจะทำปฏิกิริยากับสารจำพวกอิเล็กโตรฟิลิก อะโรมาติก (สารที่ทำปฏิกิริยากับสารที่มีอิเล็กตรอน) การแทนที่ของอะตอมเกิดขึ้นในตำแหน่งออร์โธและพาราโดยตรง ทุกตำแหน่งในวงจะมีความสามารถถูกกระตุ้นเพิ่มขึ้นหรือลดลง การทำปฏิกิรยาของสารจะทำให้เบสจากออกซิเจนและไนโตรเจนลดลง ขณะที่ทำให้ความเป็นกรดจากหมู่ไฮดรอกซิลเพิ่มขึ้นจากการย้ายตำแหน่งประจุของประจุฟีนอกไซด์

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Acetaminophen Use During Pregnancy". Drugs.com. 14 June 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2020. สืบค้นเมื่อ 25 February 2020.
  2. International Drug Names
  3. "Regulatory Decision Summary - Acetaminophen Injection". Health Canada. 23 October 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2022. สืบค้นเมื่อ 7 June 2022.
  4. "Codapane Forte Paracetamol and codeine phosphate product information" (PDF). TGA eBusiness Services. Alphapharm Pty Limited. 29 April 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 February 2016. สืบค้นเมื่อ 10 May 2014.
  5. Working Group of the Australian and New Zealand College of Anaesthetists and Faculty of Pain Medicine (2015). Schug SA, Palmer GM, Scott DA, Halliwell R, Trinca J (บ.ก.). Acute Pain Management: Scientific Evidence (4th ed.). Melbourne: Australian and New Zealand College of Anaesthetists (ANZCA), Faculty of Pain Medicine (FPM). ISBN 978-0-9873236-7-5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 31 July 2019. สืบค้นเมื่อ 28 October 2019.
  6. 6.0 6.1 6.2 Forrest JA, Clements JA, Prescott LF (1982). "Clinical pharmacokinetics of paracetamol". Clin Pharmacokinet. 7 (2): 93–107. doi:10.2165/00003088-198207020-00001. PMID 7039926. S2CID 20946160.
  7. "Acetaminophen Pathway (therapeutic doses), Pharmacokinetics". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 13 January 2016.
  8. 8.0 8.1 Pickering G, Macian N, Libert F, Cardot JM, Coissard S, Perovitch P, Maury M, Dubray C (September 2014). "Buccal acetaminophen provides fast analgesia: two randomized clinical trials in healthy volunteers". Drug Design, Development and Therapy. 8: 1621–1627. doi:10.2147/DDDT.S63476. PMC 4189711. PMID 25302017. In postoperative conditions for acute pain of mild to moderate intensity, the quickest reported time to onset of analgesia with APAP is 8 minutes9 for the iv route and 37 minutes6 for the oral route.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 Granberg RA, Rasmuson AC (1999). "Solubility of paracetamol in pure solvents". Journal of Chemical & Engineering Data. 44 (6): 1391–95. doi:10.1021/je990124v.
  10. Karthikeyan M, Glen RC, Bender A (2005). "General Melting Point Prediction Based on a Diverse Compound Data Set and Artificial Neural Networks". Journal of Chemical Information and Modeling. 45 (3): 581–590. doi:10.1021/ci0500132. PMID 15921448.
  11. "melting point data for paracetamol". Lxsrv7.oru.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 June 2012. สืบค้นเมื่อ 19 March 2011.
  12. Control of Pain in Patients with Cancer Sign Guidelines 40 Section 6 เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  13. http://www.drugs.com/acetaminophen.html
  14. Daly FF, Fountain JS, Murray L, Graudins A, Buckley NA (March 2008). "Guidelines for the management of paracetamol poisoning in Australia and New Zealand—explanation and elaboration. A consensus statement from clinical toxicologists consulting to the Australasian poisons information centres". The Medical Journal of Australia. 188 (5): 296–301. doi:10.5694/j.1326-5377.2008.tb01625.x. PMID 18312195. S2CID 9505802.
  15. Khashab M, Tector AJ, Kwo PY (2007). "Epidemiology of acute liver failure". Curr Gastroenterol Rep. 9 (1): 66–73. doi:10.1007/s11894-008-0023-x. PMID 17335680. S2CID 30068892.
  16. Hawkins LC, Edwards JN, Dargan PI (2007). "Impact of restricting paracetamol pack sizes on paracetamol poisoning in the United Kingdom: a review of the literature". Drug Saf. 30 (6): 465–79. doi:10.2165/00002018-200730060-00002. PMID 17536874. S2CID 36435353.
  17. Larson AM, Polson J, Fontana RJ, Davern TJ, Lalani E, Hynan LS, และคณะ (2005). "Acetaminophen-induced acute liver failure: results of a United States multicenter, prospective study". Hepatology. 42 (6): 1364–72. doi:10.1002/hep.20948. PMID 16317692. S2CID 24758491.
  18. Bales, JR; Nicholson JK; Sadler PJ (May 1985). "Two-dimensional proton nuclear magnetic resonance "maps" of acetaminophen metabolites in human urine". Clinical Chemistry. 31 (5): 757–762. PMID 3987005.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]