5 สิงหาคม
หน้าตา
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
วันที่ 5 สิงหาคม เป็นวันที่ 217 ของปี (วันที่ 218 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 148 วันในปีนั้น
เหตุการณ์
[แก้]ศตวรรษที่ 1
[แก้]- พ.ศ. 568 (ค.ศ. 25) – หลิวซิ่ว อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ในฐานะจักรพรรดิจีน ฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่นหลังจากการล่มสลายของราชวงศ์ซินที่มีอายุสั้น
ศตวรรษที่ 19
[แก้]- พ.ศ. 2401 (ค.ศ. 1858) - ไซรัส เวสต์ ฟิลด์ และคณะ ก่อสร้างสายโทรเลขข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกสำเร็จเป็นสายแรก
- พ.ศ. 2403 (ค.ศ. 1860) – พระเจ้าคาร์ลที่ 15 แห่งสวีเดน-นอร์เวย์ ทรงสวมมงกุฎเป็นกษัตริย์แห่งนอร์เวย์ในเมืองทร็อนไฮม์
- พ.ศ. 2425 (ค.ศ. 1882) – บริษัทสแตนดาร์ดออยล์แห่งรัฐนิวเจอร์ซีย์ ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในนามเอ็กซอนโมบิล ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ ต่อมา บริษัทนี้ขยายตัวจนกลายเป็นเจ้าของกิจการสแตนดาร์ดออยล์ทั้งหมด และเป็นศูนย์กลางของเหตุการณ์ที่นำไปสู่การแบ่งบริษัทสแตนดาร์ดออยล์[1][2]
- พ.ศ. 2430 (ค.ศ. 1887) - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนนายร้อยขึ้นที่บริเวณหลังพระราชวังสราญรมย์ (ปัจจุบันคือ กรมแผนที่ทหาร) และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เมื่อ พ.ศ. 2490
ศตวรรษที่ 20
[แก้]- พ.ศ. 2457 (ค.ศ. 1914) - สหรัฐอเมริกาติดตั้งไฟสัญญาณจราจรระบบอิเล็กทรอนิกส์ครั้งแรก ในเมืองคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ
- พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) - ฮอโลคอสต์: กบฏชาวโปแลนด์เข้าปลดปล่อยนักโทษชาวยิว 348 คน ในค่ายคนงาน ณ กรุงวอร์ซอ
- พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) - เกิดแผ่นดินไหวในเอกวาดอร์ ทำลายเมือง 50 เมือง และทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 6,000 คน
- พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) – มาริลิน มอนโร ดาราสาวชื่อดังชาวอเมริกัน ถูกพบว่าเสียชีวิตที่บ้านหลังจากใช้ยาเกินขนาด
- พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) - สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสหภาพโซเวียต ลงนามสนธิสัญญาต่อต้านการทดลองอาวุธนิวเคลียร์
- พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - โครงการมาริเนอร์: ยานมาริเนอร์ 7 ผ่านใกล้ดาวอังคารด้วยระยะห่าง 3,524 กิโลเมตร
- พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - เปิดใช้งานท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงรายอย่างเป็นทางการ
- พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - โอลิมปิก 1996: สมรักษ์ คำสิงห์ชนะเซราฟิม โทโดรอฟ นักมวยชาวบัลแกเรีย 8-5 หมัด ในการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นรุ่นเฟเธอร์เวท เป็นนักกีฬาไทยคนแรกที่ได้เหรียญทองโอลิมปิก
- พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - ทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)
ศตวรรษที่ 21
[แก้]- พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) - กลุ่มเจไอลอบวางระเบิดโรงแรม เจ ดับเบิลยู แมริออตในกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย
- พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) - เกิดการโจมตีโรงเรียนคริสต์ในปากีสถาน มีผู้เสียชีวิต 6 คน
- พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) - พิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ณ นครรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล
- พ.ศ. 2567 (ค.ศ. 2024) – จากการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลบังกลาเทศ เศข หาสินา นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศลาออกและหนีออกนอกประเทศ ยุติการปกครองของเธอที่ยาวนาน 15 ปีติดต่อกัน รวมระยะเวลาเกือบสองทศวรรษ[3][4][5]
วันเกิด
[แก้]- พ.ศ. 2345 (ค.ศ. 1802) - นีลส์ เฮนริก อาเบล นักคณิตศาสตร์ชาวนอร์เวย์ (ถึงแก่กรรม 6 เมษายน พ.ศ. 2372)
- พ.ศ. 2399 (ค.ศ. 1856) - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ (สิ้นพระชนม์ 4 มกราคม พ.ศ. 2467)
- พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) - เจ้าหญิงแอนน์แห่งออร์เลอ็อง พระธิดาใน เจ้าชายจีนส์ ดยุกแห่งกุสซี (ถึงแก่กรรม 19 มีนาคม พ.ศ. 2529)
- พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) - นีล อาร์มสตรอง นักบินอวกาศชายชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2555)
- พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) - ศรวณี โพธิเทศ นักร้องลูกกรุงหญิงชาวไทย
- พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) - เทพพิทักษ์ จันทร์สุเทพ อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย , นายกสมาคมนักฟุตบอลอาวุโส
- พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - พีต เบินส์ นักร้องชาวอังกฤษ (ถึงแก่กรรม 23 ตุลาคม พ.ศ. 2559)
- พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) - เจเน็ต แมคเทียร์ นักแสดงหญิงชาวอังกฤษ
- พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) - พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ ภริยานายกรัฐมนตรีไทย
- พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) - มารีน เลอ แปน นักการเมืองชาวฝรั่งเศส
- พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) - สเตฟานี โซสตัก นักแสดงหญิงชาวฝรั่งเศส
- พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) - คว็อน ซัง-อู นักแสดงชายชาวเกาหลีใต้
- พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) -
- เจษฎา จิตสวัสดิ์ นักฟุตบอลทีมชาติไทย
- ยูริ โฟร์มัน นักมวยสากลแชมป์โลกชาวอิสราเอล
- เวย์น บริดจ์ อดีตนักฟุตบอลชาวอังกฤษ
- พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - เจสซี วิลเลียมส์ นักแสดงชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) -
- ชยนพ บุญประกอบ ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย
- แซนดร้า แมฟโร นักร้องหญิงชาวไทย
- พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - ซาลอมง กาลู นักฟุตบอลชาวไอวอรีโคสต์
- พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) -
- ทะสึฮิโระ โยะเนะมิสึ นักมวยปล้ำชาวญี่ปุ่น
- รัศมีแข ฟ้าเกื้อล้น นักแสดงชาวไทย
- พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - เนบีฮี บายรัม นักฟุตบอลอาชีพชาวเยอรมนีเชื้อสายคอซอวอ
- พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - ไรอัน เบอร์ทรันด์ นักฟุตบอลชาวอังกฤษ
- พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) -
- อันเดรอัส ไวมันน์ นักฟุตบอลชาวออสเตรีย
- อึย ฮา-จุน นักแสดงและนายแบบชาวเกาหลีใต้
- พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - ชิชา อมาตยกุล นักร้อง, นักแสดง และนางแบบชาวไทย
- พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - ปีแยร์-เอมีล เฮยบีแยร์ นักฟุตบอลชาวเดนมาร์ก
- พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - โช ซึง-ย็อน แห่งวง ยูนิก UNIQ เป็นนักร้อง-นักแต่งเพลง แร็ปเปอร์ โปรดิวเซอร์เพลงชาวเกาหลีใต้
- พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) -
- หวัง อี้ป๋อ แห่งวง ยูนิก UNIQ นักร้อง, นักแสดง,นักแข่งรถ และนายแบบชาวจีน (Cool guy 85)
- โอลิเวีย โฮลต์ นักแสดงและนักร้องชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) - คะนง ซุซุกิ นักร้องหญิงชาวญี่ปุ่น
- มีมี่ คีน นักแสดงชาวอังกฤษ
- พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) -
- ชุติมา โสดาภักดิ์ นักร้องลูกทุ่งชาวไทย
- จิรภิรมย์ ไชยา นักแสดงชาวไทย
- สุชาดา โตงาม นักแสดงหญิงชาวไทย
- พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - โจซี โตตาฮ์ นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) -
- คาร์ลี่ รีช ยูทูปเบอร์ชาวอเมริกัน
- กาบิ นักฟุตบอลชาวสเปน
- พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) - ธนทัต ตันจรารักษ์ - นักแสดงชายชาวไทย
วันถึงแก่กรรม
[แก้]- พ.ศ. 1425 (ค.ศ. 882) - พระเจ้าหลุยส์ที่ 3 แห่งฝรั่งเศส
- พ.ศ. 2438 (ค.ศ. 1895) - ฟรีดริช เองเงิลส์ นักคิดนักเขียนชาวเยอรมัน (เกิด พ.ศ. 2363)
- พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) - เจ้าหญิงวิกตอเรีย พระราชกุมารี
- พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) - มาริลีน มอนโร นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด พ.ศ. 2469)
- พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) - ริชาร์ด เบอร์ตัน นักแสดงชาวอังกฤษ (เกิด พ.ศ. 2468)
วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล
[แก้]- โรมันคาทอลิก - วันฉลองแม่พระแห่งหิมะและการถวายมหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร
- บูร์กินาฟาโซ - วันประกาศเอกราช
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "EXXON MOBIL CORPORATION :: New Jersey (US) :: OpenCorporates". opencorporates.com. สืบค้นเมื่อ 2022-05-11.
- ↑ "Historical Overview · Overview · Standard Oil vs. Everyone". projects.leadr.msu.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-29. สืบค้นเมื่อ 2022-05-11.
- ↑ "Sheikh Hasina: How Bangladesh's protesters ended a 15-year reign". www.bbc.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2024-08-05.
- ↑ "Bangladesh's prime minister flees country and resigns after deadly protest". Sky News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-08-05.
- ↑ "Bangladesh PM Sheikh Hasina resigns and flees as protesters storm palace". Al Jazeera (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-08-05.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- BBC: On This Day
- Today in History: August 5 เก็บถาวร 2005-07-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน