อุรังอุตัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ลิงอุรังอุตัง)
อุรังอุตัง
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ต้นสมัยไพลสโตซีน–ปัจจุบัน
ข้อผิดพลาดนิพจน์: มีตัวดำเนินการ < ซึ่งไม่ควรมี

ข้อผิดพลาดนิพจน์: มีตัวดำเนินการ < ซึ่งไม่ควรมี

อุรังอุตังบอร์เนียว (P. pygmaeus)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: สัตว์ (Animalia)
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง (Chordata)
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammalia)
อันดับ: ไพรเมต (Primates)
วงศ์: วงศ์ลิงใหญ่ (Hominidae)
วงศ์ย่อย: Ponginae
Elliot, 1912
สกุล: Pongo
Lacépède, 1799
ชนิดต้นแบบ
Pongo borneo
Lacépède, 1799 (Simia satyrus Linnaeus, 1760)
ชนิด
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ทั้ง 3 ชนิด
ชื่อพ้อง
  • Faunus Oken, 1816
  • Lophotus Fischer, 1813
  • Macrobates Billberg, 1828
  • Satyrus Lesson, 1840

อุรังอุตัง (อังกฤษ: Orangutan) เป็นไพรเมตจำพวกลิงไม่มีหาง ที่อยู่ในสกุล Pongo (/พอง-โก/) เป็นสัตว์พื้นเมืองของเกาะบอร์เนียวและเกาะสุมาตรา ในประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น มีขนาดใหญ่คล้ายมนุษย์ ไม่มีหาง หูเล็ก แขนและขายาว ตัวผู้มีน้ำหนัก 75–200 กิโลกรัม ส่วนตัวเมียหนัก 50–80 กิโลกรัม มีขนหยาบสีแดงรุงรัง เมื่อโตขึ้นกระพุ้งแก้มจะห้อยเป็นถุงขนาดใหญ่ มันชอบอยู่บนต้นไม้โดดเดี่ยว เว้นแต่ช่วงผสมพันธุ์จะอยู่เป็นคู่ ชอบห้อยโหนจากกิ่งหนึ่งไปอีกกิ่งหนึ่ง มีการสร้างรังนอน แบบเดียวกับชิมแปนซี เชื่อง ไม่ดุ หัดง่ายแต่เมื่อเติบโตแล้วจะดุมาก เมื่ออุรังอุตังอายุ 10 ปี จะสามารถผสมพันธุ์ได้ ออกลูกทีละ 1 ตัว และอายุยืนถึง 40 ปีเลย ปัจจุบัน เป็นสัตว์หายาก อาหารหลักคือผลไม้ชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะทุเรียน นอกจากนี้ยังกินแมลง ไข่นก สัตว์เล็ก ๆ อื่น ๆ อีกด้วย

อุรังอุตังบอร์เนียวตัวผู้ขนาดใหญ่

แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ (สูญพันธุ์ไป 1)

โดยคำว่า อุรังอุตัง นั้น มาจากคำว่า โอรังฮูตัน (อักษรโรมัน: Orang Hutan) ในภาษามลายู-อินโดนีเซีย หมายถึง "คนป่า"[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. หน้า 7 วิทยาการ–เกษตร, ลิงอุรังอุตังชนิดใหม่ในเกาะสุมาตรา. "ชื่นชีวิต". ไทยรัฐปีที่ 68 ฉบับที่ 21846: วันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 แรม 10 ค่ำ เดือน 12 ปีระกา
  2. "อุรังอุตัง". องค์การสวนสัตว์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-08. สืบค้นเมื่อ 2012-07-27.

แหล่งข้อมูลอื่น DJ Sr.com[แก้]