อุรังอุตังบอร์เนียว
อุรังอุตังบอร์เนียว | |
---|---|
เพศผู้ | |
เพศเมียกับลูก ทั้งคู่อยู่ในอุทยานแห่งชาติตันจุงปูติง เกาะบอร์เนียว | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Mammalia |
อันดับ: | อันดับวานร Primates |
อันดับย่อย: | Haplorhini Haplorhini |
อันดับฐาน: | Simiiformes Simiiformes |
วงศ์: | ลิงใหญ่ Hominidae |
สกุล: | Pongo Pongo (Linnaeus, 1760) |
สปีชีส์: | Pongo pygmaeus |
ชื่อทวินาม | |
Pongo pygmaeus (Linnaeus, 1760) | |
ชนิดย่อย | |
| |
การกระจายพันธุ์ในเกาะบอร์เนียว | |
ชื่อพ้อง | |
P. agris (Schreber, 1799) |
อุรังอุตังบอร์เนียว หรือ อุรังอุตังบอร์เนียน[2] (อังกฤษ: Bornean orangutan; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pongo pygmaeus) เป็นชนิดหนึ่งของอุรังอุตัง มีถิ่นกำเนิดในเกาะบอร์เนียว มีลักษณะคล้ายคลึงกับอุรังอุตังสุมาตรา (P. abelii) แต่มีขนาดใหญ่กว่า[2]
อุรังอุตังบอร์เนียวมีอายุยืนถึง 35 ปี ในป่า ในกรงเลี้ยงสามารถมีอายุยืนยาวได้ถึง 60 ปี[3] จากการสำรวจอุรังอุตังบอร์เนียวในป่า พบว่า เพศผู้มีน้ำหนักโดยเฉลี่ย 75 กก. โดยอยู่ในช่วง 50 - 100 กก. ยาว 1.2 - 1.4 ม. เพศเมียมีน้ำหนักโดยเฉลี่ย 38.5 กก. โดยอยู่ในช่วง 30 - 50 กก. ยาว 1 - 1.2 ม.[4][5]
อุรังอุตังบอร์เนียวในธรรมชาติ ปัจจุบันมีแหล่งอาศัยอยู่ที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่อุทยานแห่งชาติทันจุงปูติง บนเกาะบอร์เนียว ที่อุทยานแห่งนี้ เจ้าหน้าที่จะทำการสร้างซุ้มสำหรับให้อาหารแก่อุรังอุตังบอร์เนียวด้วยผลไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น กล้วย เมื่อยามที่ผลไม้ในป่าขาดแคลน ซึ่งการทำเช่นนี้มีการศึกษาแล้วพบว่า จะทำให้พฤติกรรมตามธรรมชาติเสียไป จึงต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง ไม่ให้กระทบกระเทือนกับวิถีชีวิตตามธรรมชาติ ซึ่งเมื่ออุรังอุตังบอร์เนียวลงมากินอาหารนั้น จะเป็นเวลาที่เจ้าหน้าที่หรือนักวิทยาศาสตร์ทำการศึกษาและแยกแยะประชากรอุรังอุตังบอร์เนียวแต่ละตัวด้วย
อุรังอุตังบอร์เนียว มีพฤติกรรมสร้างรังด้วยการหักเอากิ่งไม้ต่าง ๆ มาขัดสร้างบนต้นไม้เพื่อทำการหลับนอน และจะย้ายที่นอนไปเรื่อย ๆ ในวัน ๆ หนึ่งอาจมีรังได้มากถึง 4-5 รัง ซึ่งอุรังอุตังบอร์เนียวแต่ละตัวจะไม่ต่อสู้หรือขัดแย้งกัน เพราะมีอาณาเขตชัดเจนและเป็นสัตว์ที่ไม่มีอุปนิสัยดุร้าย ก้าวร้าว[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Ancrenaz, M.; Gumal, M.; Marshall, A.; Meijaard, E.; Wich, S.A. & Hussons, S. (2018) [errata version of 2016 assessment]. "Pongo pygmaeus". IUCN Red List of Threatened Species. 2016: e.T17975A123809220. สืบค้นเมื่อ 17 January 2022.
- ↑ 2.0 2.1 "สุดหล้าฟ้าเขียว: Indonesia". ช่อง 3. 4 October 2014. สืบค้นเมื่อ 4 October 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Primates: Orangutans". Smithsonian National Zoological Park. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-14. สืบค้นเมื่อ 2011-01-27.
- ↑ Wood, G. (1977). The Guinness Book of Animal Facts and Feats. New York: Sterling Pub. Co. ISBN 978-0-85112-235-9.
- ↑ Ciszek, D.; Schommer, M.K. (2009-06-28). "ADW: Pongo pygmaeus: Information". Animal Diversity Web. สืบค้นเมื่อ 2009-07-03.
- ↑ "สุดหล้าฟ้าเขียว: Indonesia". ช่อง 3. 18 October 2014. สืบค้นเมื่อ 18 October 2014.[ลิงก์เสีย]
อ่านเพิ่ม
[แก้]Russon, Anne E.; Compost, Alain; Kuncoro, Purwo; Ferisa, Agnes (December 2014). "Orangutan fish eating, primate aquatic fauna eating, and their implications for the origins of ancestral hominin fish eating". Journal of Human Evolution. 77: 50–63. Bibcode:2014JHumE..77...50R. doi:10.1016/j.jhevol.2014.06.007. PMID 25038033.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]Pongo pygmaeus
(Bornean Orangutan)