โรงพยาบาลนครธน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลนครธน
แผนที่
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งเลขที่ 1 ซอยพระรามที่ 2 ซอย 56 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 10150, ไทย
หน่วยงาน
ประเภทโรงพยาบาลเอกชน
บริการสุขภาพ
จำนวนเตียง150 เตียง
ประวัติ
เปิดให้บริการ10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
ลิงก์
เว็บไซต์www.nakornthon.com

โรงพยาบาลนครธน เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางขนาด 150 เตียง มีศูนย์บริการต่าง ๆ อาทิ ศูนย์สมองและระบบประสาทศูนย์ศัลยกรรม ศูนย์ทางเดินอาหารและตับศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร ฯลฯ ตั้งอยู่ในแขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร

ประวัติ[แก้]

สุดจิตต์และถนอม ทองสิมา เป็นเจ้าของที่ดินบริเวณถนนพระราม 2 กว่า 500 ไร่ ต่อมาบุตร ญาณเดช ทองสิมา เข้ามาทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต่อ แนวคิดการสร้างโรงพยาบาลมาจากถนอม ผู้เป็นมารดา ที่คิดว่าการสร้างโรงพยาบาลก็เปรียบเสมือนทำบุญ จึงได้ลงทุนสร้างโรงพยาบาล ใช้เงินลงทุน 200–300 ล้านบาท โรงพยาบาลนครธนเปิดให้บริการครั้งแรกปลายปี พ.ศ. 2539 แต่ปีถัดมา ประเทศไทยเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ทำให้โรงพยาบาลมีหนี้จำนวนมาก จึงทำแผนชำระหนี้ 6 ปี จนหมดหนี้ ระหว่าง พ.ศ. 2542–2552 ได้เปิดรับคนไข้ประกันสังคม[1]

ภายหลังได้เปลี่ยนแปลงจากโรงพยาบาลรักษาโรคทั่วไปเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทาง มีศูนย์ต่าง ๆ ตั้งแต่ศูนย์สุขภาพเด็ก ศูนย์สูตินรีเวช ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร ศูนย์รักษ์เต้านมดูแลโรคมะเร็งเต้านมโดยเฉพาะ เป็นต้น[2] พ.ศ. 2561 เปิดศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ศูนย์ศัลยกรรม หรือแม้แต่กระดูกและข้อ รวมถึงศูนย์สมองและระบบประสาท[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. สินีพร มฤคพิทักษ์. "รศ. ญาณเดช ทองสิมา แผนสร้างเมืองนครธนบนพื้นที่กว่า 500 ไร่". ฟอบส์ประเทศไทย.
  2. "เพ็ญศิริ ทองสิมา ปั้นภาพลักษณ์ใหม่ "นครธน" สู้เชนยักษ์". ผู้จัดการ.
  3. "รพ.นครธน ประกาศตัวขอเป็นเบอร์1 ย่านพระราม 2". ไทยโพสต์.