ข้ามไปเนื้อหา

โซฟีแห่งเดนมาร์ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โซเฟียแห่งเดนมาร์ก
สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน
เจ้าหญิงแห่งเดนมาร์ก
ภาพแกะสลักพระราชินีโซเฟียบนตราพระราชลัญจกร
สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน
ครองราชย์ค.ศ. 1261–1275
ก่อนหน้าคาทารีนา ซูเนอสด็อทเทอร์
ถัดไปเฮดวิกแห่งฮ็อลชไตน์
ประสูติค.ศ. 1241
สวรรคตค.ศ. 1286
(พระชนมายุราว 44-45 พรรษา)
คู่อภิเษกพระเจ้าวัลเดมาร์แห่งสวีเดน
พระราชบุตร
พระนามเต็ม
โซฟี อีริคสแด็ทเทอร์ แอสตริดเซน
ราชวงศ์แอสตริดเซน (โดยประสูติ)
ยาลโบ (โดยเสกสมรส)
พระราชบิดาพระเจ้าอีริคที่ 4 แห่งเดนมาร์ก
พระราชมารดาจัตตาแห่งแซกโซนี
ศาสนาโรมันคาทอลิก

โซเฟียแห่งเดนมาร์ก (เดนมาร์ก: Sofie Eriksdatter และสวีเดน: Sofia Eriksdotter; ค.ศ. 1241 – ค.ศ. 1286) ทรงเป็นเจ้าหญิงเดนมาร์ก และเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน จากการอภิเษกสมรสกับพระเจ้าวัลเดมาร์แห่งสวีเดน

ภูมิหลัง

[แก้]

เจ้าหญิงโซเฟียเป็นพระราชธิดาองค์ใหญ่ในพระเจ้าอีริคที่ 4 แห่งเดนมาร์กกับจัตตาแห่งแซกโซนี เจ้าหญิงไม่มีพระเชษฐาหรืออนุชา แต่ทรงมีพระขนิษฐา 3 พระองค์ ได้แก่ เจ้าหญิงอิงเงอบอร์ก, เจ้าหญิงจัตตาและเจ้าหญิงอักเนส พระราชบิดาของพระนางทรงถูกลอบปลงพระชนม์ใน ค.ศ. 1250 เมื่อพระนางและพระขนิษฐายังทรงพระเยาว์ ด้วยกษัตริย์อีริคที่ 4 ทรงไร้พระราชโอรส ราชบัลลังก์จึงถูกส่งผ่านไปยังพระเจ้าอเบลแห่งเดนมาร์ก พระอนุชา และจากนั้นใน ค.ศ. 1252 พระอนุชาอีกองค์หนึ่งได้ครองราชย์ต่อคือ พระเจ้าคริสตอฟเฟอร์ที่ 1 แห่งเดนมาร์ก

อภิเษกสมรส

[แก้]

การอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าหญิงโซเฟียแห่งเดนมาร์กกับพระเจ้าวัลเดมาร์แห่งสวีเดน เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายสันติภาพระหว่างเดนมาร์กกับสวีเดน ที่ดำเนินการโดยบีร์เยอ ยาร์ล พระราชบิดาของกษัตริย์วัลเดมาร์และเป็นผู้สำเร็จราชการแห่งสวีเดนโดยพฤตินัย[1] ในค.ศ. 1254 บีร์เยอ ยาร์ลทำหน้าที่เป็นคนกลางเจรจาไกล่เกลี่ยระหว่างกษัตริย์คริสตอฟเฟอร์ที่ 1 และพระเจ้าโฮกุนที่ 4 แห่งนอร์เวย์ และเมื่อกษัตริย์คริสตอฟเฟอร์ที่ 1 ทรงต้องการแรงสนับสนุนในการต่อต้านอาร์กบิชอปจาค็อบ เออลันด์เซนแห่งลุนด์ สนธิสัญญาการเป็นพันธมิตรเกิดขึ้นระหว่างกษัตริย์คริสตอฟเฟอร์ที่ 1 กษัตริย์โฮกุนที่ 4 และบีร์เยอ ยาร์ล ในค.ศ. 1258 เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์นี้ กษัตริย์คริสตอฟเฟอร์ทรงจัดแจงให้เจ้าหญิงโซเฟีย พระนัดดา หมั้นหมายกับกษัตริย์วัลเดมาร์แห่งสวีเดน พระโอรสในบีร์เยอ ยาร์ล และเจ้าหญิงอิงเงอบอร์ก พระนัดดาอีกพระองค์หมั้นหมายกับเจ้าชายมักนุส พระราชโอรสในกษัตริย์โฮกุนที่ 4[2] เพื่อให้สมเด็จพระสันตะปาปาทรงประทานอนุญาตให้มีการเสกสมรสแม้ว่าเป็นเครือญาติใกล้ชิดนี้ ซึ่งได้รับการอนุญาตจากสมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 4 ในวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1259 โดยต้องแลกกับชาวสวีเดนและเดนมาร์กต้องร่วมกันต่อสู้กับชาวลัทธิเพแกนข้างเคียง[3] ในพงศาวดารอีริค บรรยายว่าเมื่อเจ้าหญิงทรงได้รับแจ้งเกี่ยวกับการอภิเษกสมรส พระนางเสด็จออกจากห้องและไปยังห้องบรรทมของพระนาง และทรงตรัสทูลถามพระแม่มารีย์ผู้นิรมล ว่า "โปรดให้ข้าพเจ้ามีความสุขกับเขาและให้เขาอยู่กับข้าพเจ้าด้วย"[4]

สมเด็จพระราชินี

[แก้]

ตามพงศาวดารอีริค ระบุว่าพระราชพิธีอภิเษกสมรสระหว่างกษัตริย์วัลเดมาร์และเจ้าหญิงโซเฟียจัดขึ้นใน ค.ศ. 1260 ที่อิมนิงเงอ (ที่เออนิงเงในเออเดสเฮิก) ได้รับการบรรยาว่าเป็นพระราชพิธีใหญ่มีลานประลองฝีมือ การเต้นรำ การละเล่นและบทกวี พระนางโซเฟียทรงได้รับรายได้จากมัลเมอและเทรเลบอรย์ รวมถึงทองและเงินในฐานะเป็นสินสอดของพระนาง[5] อย่างไรก็ตามสถานะของพระนางนั้นดีขึ้นกว่าช่วงที่ทรงหมั้นเล็กน้อย บีร์เยอ ยาร์ล พระสัสสุระของพระนางได้สมรสกับอดีตสมเด็จอาสะใภ้ของพระนาง คือ สมเด็จพระพันปีหลวงแห่งเดนมาร์ก เม็ชทิลท์แห่งฮ็อลชไตน์ พระราชินีม่ายของพระเจ้าอเบลแห่งเดนมาร์ก และพระนางต้องทรงรับอดีตสมเด็จอาสะใภ้พระองค์นี้ในฐานะพระสัสสุ ซึ่งกษัตริย์อเบลเคยถูกชี้ชัดว่าวางแผนปลงพระชนม์พระราชบิดาของพระนาง[6] ในช่วงเวลานั้น สมเด็จอาอีกพระองค์หนึ่งของโซเฟียคือ พระเจ้าคริสตอฟเฟอร์ที่ 1 แห่งเดนมาร์กสวรรคต และพระเจ้าอีริคที่ 5 แห่งเดนมาร์ก พระโอรสได้ขึ้นสืบบัลลังก์ ภายใต้การสำเร็จราชการของสมเด็จพระพันปีหลวงมาร์เกเรเธ ซัมบีเรีย สมเด็จอาสะใภ้อีกพระองค์หนึ่ง พระนางมาร์เกเรเธทรงปฏิเสธที่จะยอมรับสิทธิในมรดกของเจ้าหญิงโซเฟียจนกระทั่ง ค.ศ. 1263[7]

สมเด็จพระราชินีโซเฟียทรงได้รับการบรรยายจากพงศาวดารว่าทรงมีความสนพระทัยการเมือง มีพระสิริโฉมที่น่าภาคภูมิใจ ทรงมีวาจาปราศรัยที่คมคาย และทรงสนพระทัยหมากรุก[8] ไม่ค่อยมีใครทราบรายละเอียดของพระนางมากนัก แต่มีการรักษาตราพระราชลัญจกรของพระนางในฐานะสมเด็จพระราชินีไว้ เช่นเดียวกับมีการระบุชื่อนางสนองพระโอษฐ์ของพระนางสองคน ได้แก่ มาร์กาเรทา รังน์ฮิลสด็อทเทอร์ และอิงกริด[9]

ในค.ศ. 1266 พระสวามีของพระนางได้เป็นพระมหากษัตริย์ โดยพฤตินัย หลังจากการถึงแก่กรรมของบีร์เยอ ยาร์ล พระราชชนกของพระองค์ และพระชนนีเลี้ยงคือ พระนางเม็ชทิลท์ได้เสด็จออกจากสวีเดน ได้เกิดความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์วัลเดมาร์กับเหล่าพระราชอนุชาของพระองค์ สมเด็จพระราชินีโซเฟียทรงยืนข้างฝ่ายพระราชสวามี และมีรายงานว่าพระนางทรงทำให้ความขัดแย้งระหว่างพระราชสวามีและพระราชอนุชาของกษัตริย์เลวร้ายลงด้วยการที่ทรงดูถูกพวกพระราชอนุชา พระนางทรงเรียก ดยุกมักนุส บีร์เยอส์สัน ว่า "เค็ท-ลาเบอเทอร์" (มักนุสคนไร้ฝีมือ) และดยุกอีริค บีร์เยอส์สัน ว่า "อีริค อัลส์ อินเท็ด" (อีริคผู้ไม่มีอะไรเลยสักอย่าง)[10]

ในขณะที่พระนางโซเฟีย และพระนางอิงเงอบอร์ก พระขนิษฐาได้เสกสมรสกับกษัตริย์ ส่วนพระขนิษฐาอีกสองพระองค์คือ เจ้าหญิงจัตตา และเจ้าหญิงอักเนส ถูกบังคับให้ถือครองตนเป็นนางชีในเดนมาร์กโดยผู้สำเร็จราชการมาร์เกเรเธ ซัมบีเรีย เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เหล่าเจ้าหญิงกลุ่มนี้เสด็จออกจากเดนมาร์ก ในค.ศ. 1271 เจ้าหญิงจัตตาและเจ้าหญิงอักเนสได้หลบหนีออกมาจากคอนแวนต์ในรอสคิลด์และเสด็จหนีไปพึ่งพระเชษฐภคินีซึ่งเป็นสมเด็จพระราชินีสวีเดน[11] เจ้าหญิงทั้งสองได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นในราชสำนักสวีเดน แต่กษัตริย์วัลเดมาร์กลับทรงลับลอบมีความสัมพันธ์ชู้สาวกับเจ้าหญิงจัตตา[12] ซึ่งอาจถึงกับมีพระบุตรในค.ศ. 1273[13] เรื่องอื้อฉาวนี้ไม่เพียงแต่เป็นการผิดประเวณีเท่านั้น แต่ยังเป็นการร่วมประเวณีในเครือญาติด้วย เนื่องจากถือว่า น้องสาวของคู่สมรสก็เปรียบเหมือนกับน้องสาวแท้ๆ ด้วย ส่งผลให้กษัตริย์วัลเดมาร์ต้องเสด็จจาริกแสวงบุญไปยังกรุงโรมเพื่อขอการอภัยโทษจากสมเด็จพระสันตะปาปา[14] ไม่ว่าพระองค์จะเดินทางไปแสวงบุญจริงหรือไม่[15] ตามพงศาวดารได้ระบุพระราชดำรัสของพระราชินีโซเฟียที่ว่า "ข้าฯ จะไม่มีวันหมดสิ้นซึ่งความเศร้าโศก ขอสาปแช่งในวันนั้น วันที่น้องสาวของข้าฯ ได้เดินทางเหยียบแผ่นดินสวีเดน"[16]

ใน ค.ศ. 1274 เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในสวีเดน เมื่อเหล่าพระราชอนุชาของกษัตริย์ คือ ดยุกมักนุสและดยุกอีริค ได้ท้าทายราชบัลลังก์ของกษัตริย์วัลเดมาร์[17] หลังจากยุทธการที่โฮวาในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1275 ดยุกมักนุสได้ประกาศตนเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสวีเดน มีบันทึกอย่างโด่งดังว่าข่าวการประกาศตนมาถึงสมเด็จพระราชินีโซเฟียขณะที่ทรงเล่นหมากรุกอยู่[18] กษัตริย์วัลเดมาร์ทรงใช้พระราชินีโซเฟียในฐานะที่เป็นตัวเชื่อมโยงพันธมิตรที่สำคัญคือกษัตริย์เดนมาร์กและกษัตริย์นอร์เวย์ในการต่อต้านมักนุส แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ พระองค์จึงพยายามสร้างพันธมิตรกับบรันเดินบวร์ค และเหล่าเจ้าผู้ครองนครทางตอนเหนือของเยอรมนี ด้วยการให้เจ้าหญิงอิงเงอบอร์กแห่งสวีเดน พระราชธิดาองค์ใหญ่เสกสมรสกับเกอร์ฮาร์ดที่ 2 เคานท์แห่งฮ็อลชไตน์-พลุนและทรงจำนำเกิตลันด์ไว้ที่บรันเดินบวร์ค[19] สมเด็จพระราชินีโซเฟียทรงสนับสนุนพระราชสวามีในช่วงเวลานี้ ในวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1277 พระนางและกษัตริย์วัลเดมาร์ทรงลงพระปรมาภิไธยในเอกสารวางจำนำเกาะเกิตลันด์ให้แก่บรันเดินบวร์คที่เมืองโคเปนเฮเกน[20]

บั้นปลายพระชนม์ชีพ

[แก้]

ใน ค.ศ. 1278 สุดท้ายกษัตริย์วัลเดมาร์ทรงสละราชบัลลังก์อย่างถาวรแก่พระอนุชาที่ครองราชย์เป็น กษัตริย์มักนุสที่ 3 และทรงรับตำแหน่ง quondam rex (อดีตพระมหากษัตริย์) และทรงได้รับที่ดินศักดินาเวสเตร์เยิตลันด์และเอิสเตร์เยิตลันด์ อดีตกษัตริย์วัลเดมาร์ทรงย้ายมาประทับในเดนมาร์กในค.ศ. 1280 ในขณะที่อดีตพระราชินีโซเฟียยังประทับอยู่ในสวีเดน[21] จากจุดนี้ทั้งสองพระองค์ทรงแยกกันประทับ[22]

พระนางโซเฟียทรงได้รับตำแหน่ง regina quondam (อดีตสมเด็จพระราชินี) และ senior regina (สมเด็จพระราชินีอาวุโส)[23] พระนางได้รับการกล่าวถึงในเอกสารการทำธุรกิจหลายฉบับ เช่น พระนางทรงบริจาคเงินจากรายได้ที่ได้จากการค้าปลาแซลมอนในนอร์เชอปิง บริจาคแก่อารามสแคนนิงเง ค.ศ. 1283 ในปีถัดมา เมื่อศาลราชสำนักเดนมาร์กที่นูบอร์กได้ตัดสินเรื่องมรดกของพระนางและเหล่าพระขนิษฐา และสิทธิแก่พวกพระนางในการเข้าถึงดินแดนทั้งหมดของพระราชบิดาของพระนางในเดนมาร์ก ในเวลาเดียวกันกษัตริย์มักนุสได้ประกาศว่าอดีตกษัตริย์วัลเดมาร์ พระเชษฐาของพระองค์ไร้ความสามารถในการจัดการธุรกิจและทรัพย์สินของพระองค์เองได้ (ในที่สุดกษัตริย์ก็สั่งคุมขังพระเชษฐาใน ค.ศ. 1288) ไม่มีการระบุชัดเจนว่าเรื่องนี้ส่งผลกระทบต่ออดีตพระราชินีโซเฟียอย่างไร แต่กษัตริย์มักนุสได้เข้ารับตำแหน่งผู้จัดการทรัพย์สินของอดีตกษัตริย์วัลเดมาร์และทรงเป็นผู้ปกครองของเหล่าพระธิดาของอดีตพระราชินีโซเฟีย ที่ทรงจัดการการเสกสมรสของเหล่าเจ้าหญิง[24]

อดีตสมเด็จพระราชินีโซเฟียสิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 1286 บางแหล่งข้อมูลระบุว่าพระศพถูกฝังที่อารามวเรตา บางแหล่งระบุว่าฝังที่อารามริงสเต็ดในเดนมาร์ก พระสวามีของพระนางถูกคุมขังใน ค.ศ. 1288 และทรงประทับร่วมกับพระสนมอย่างเปิดเผยในที่คุมขังที่สะดวกสบายจนกระทั่งสวรรคตใน ค.ศ. 1302

พระราชโอรสธิดา

[แก้]

สมเด็จพระราชินีโซเฟียทรงมีพระราชโอรสธิดา 6 พระองค์

พงศาวลี

[แก้]
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. คนุต ลาวาร์ด
 
 
 
 
 
 
 
8. พระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 1 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. อิงเงอบอร์กแห่งเคียฟ
 
 
 
 
 
 
 
4. พระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 2 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. โวโลดาร์ เกล็บโบวิช เจ้าชายแห่งมินสก์
 
 
 
 
 
 
 
9. โซเฟียแห่งมินสก์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. ริเชซาแห่งโปแลนด์
 
 
 
 
 
 
 
2. พระเจ้าอีริคที่ 4 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. พระเจ้าอาฟงซูที่ 1 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
10. พระเจ้าซังชูที่ 1 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. มาทิลดาแห่งซาวอย
 
 
 
 
 
 
 
5. บึเร็งการียาแห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. ราโมน บารังเกที่ 4 เคานต์แห่งบาร์เซโลนา
 
 
 
 
 
 
 
11. ด็อลซาแห่งอารากอน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. เปโตรนิยาแห่งอารากอน
 
 
 
 
 
 
 
1. โซเฟียแห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. อัลเบร็ชท์ เดอะ แบร์
 
 
 
 
 
 
 
12. แบร์นฮาร์ทที่ 3 ดยุกแห่งแซกโซนี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. โซฟีแห่งวินเซนบวร์ค
 
 
 
 
 
 
 
6. อัลเบร็ชท์ที่ 1 ดยุกแห่งแซกโซนี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. ดยุกมิเอสโกที่ 3 แห่งโปแลนด์
 
 
 
 
 
 
 
13. ยูดิธตาแห่งโปแลนด์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. แอร์เฌแบ็ตแห่งฮังการี
 
 
 
 
 
 
 
3. จัตตาแห่งแซกโซนี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. เลโอพ็อลท์ที่ 5 ดยุกแห่งออสเตรีย
 
 
 
 
 
 
 
14. เลโอพ็อลท์ที่ 6 ดยุกแห่งออสเตรีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. อิโลนาแห่งฮังการี
 
 
 
 
 
 
 
7. อักเนสแห่งออสเตรีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. ไอแซค โคมเนนอส วาตัทเซส
 
 
 
 
 
 
 
15. เธโอโดรา แองเจลินา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. แอนนา โคมเนเน แองเจลินา
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.
  2. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.
  3. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.
  4. Christer Öhman (Swedish): Helgon, bönder och krigare. Berättelser ur den svenska historien (Saints, farmers and warriors. Stories from the history of Sweden)
  5. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.
  6. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.
  7. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.
  8. Christer Öhman (Swedish): Helgon, bönder och krigare. Berättelser ur den svenska historien (Saints, farmers and warriors. Stories from the history of Sweden)
  9. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.
  10. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.
  11. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.
  12. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.
  13. Christer Öhman (Swedish): Helgon, bönder och krigare. Berättelser ur den svenska historien (Saints, farmers and warriors. Stories from the history of Sweden)
  14. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.
  15. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.
  16. Christer Öhman (Swedish): Helgon, bönder och krigare. Berättelser ur den svenska historien (Saints, farmers and warriors. Stories from the history of Sweden)
  17. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.
  18. Christer Öhman (Swedish): Helgon, bönder och krigare. Berättelser ur den svenska historien (Saints, farmers and warriors. Stories from the history of Sweden)
  19. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.
  20. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.
  21. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.
  22. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.
  23. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.
  24. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.

อ้างอิง

[แก้]
  • Christer Öhman (Swedish): Helgon, bönder och krigare. Berättelser ur den svenska historien [Saints, farmers and warriors. Stories from the history of Sweden]


ก่อนหน้า โซฟีแห่งเดนมาร์ก ถัดไป
คาทารีนา ซูเนอสด็อทเทอร์
สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน
(ค.ศ. 1261–1275)
เฮดวิกแห่งฮ็อลชไตน์