แอนดริว เกร้กสัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอนดริว เกร้กสัน
Andrew Greg.jpg
สารนิเทศภูมิหลัง
ชื่อเกิดแอนดริว ชาลี เกร้กสัน
เกิด1 กันยายน พ.ศ. 2521 (44 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ส่วนสูง1.80 เมตร (5 ฟุต 11 นิ้ว)
อาชีพ
  • นักแสดง
  • นายแบบ
  • ผู้จัดละคร
  • พิธีกร
  • นักธุรกิจ
ปีที่แสดงพ.ศ. 2534–ปัจจุบัน
ผลงานเด่นอาทิจ - ธรณีนี่นี้ใครครอง (2541)
ชานนท์ - ลูกไม้ไกลต้น (2543)
ไตรภพ - ทางผ่านกามเทพ (2544)
ต๋อง - รักเกิดในตลาดสด (2544)
หมวดเจ๋ง - 12 ราศี (2546)
อาร์ม - เรือนไม้สีเบจ (2547)
คณิน/คิ้ม - แรด (เลือดมังกร) (2558)
พญา - วิมานเมขลา (2559)
ดิน - สายลับรักป่วน (2559)
ชัชรัณ - เหมือนคนละฟากฟ้า (2560)
หมวดอารัญ - Voice สัมผัสเสียงมรณะ (2562)
ภากร/ตรีศิลป์ - วุ่นรักนักข่าว (2563)
โทรทัศน์ทองคำนักแสดงนำชายดีเด่น
พ.ศ. 2544 - รักเกิดในตลาดสด
เมขลานักแสดงนำชายดีเด่น ประเภทละครแนวชีวิต
พ.ศ. 2547 - เรือนไม้สีเบจ
คมชัดลึกนักแสดงนำขายดีเด่น สาขาละครโทรทัศน์
พ.ศ. 2547 - เรือนไม้สีเบจ

แอนดริว เกร้กสัน (ชื่อเดิม: แอนดริว ชาลี เกร้กสัน;[1]เกิด 1 กันยายน พ.ศ. 2521) ชื่อเล่น แอนดริว เป็นนักแสดงลูกครึ่งไทย-อังกฤษ เข้าสู่วงการบันเทิงตั้งแต่อายุ 13 ปี โดยคำชักชวนของ พจน์ อานนท์ ซึ่งพบแอนดริวในขณะที่กำลังเล่นเกมส์อยู่แถวบ้านย่านสุขุมวิท มีผลงานครั้งแรกคือการถ่ายแบบ, ถ่ายโฆษณาฮานามิกับไมโล

ประวัติ[แก้]

จากนั้นในปี 2536 ได้แสดงภาพยนตร์เรื่องแรกคือ กองร้อย 501 ริมแดง แสดงคู่กับ คลาวเดีย จักรพันธุ์ บิลลี่ โอแกน สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์ อรุณ ภาวิไล และ หม่ำ จ๊กมก และได้เล่นละครเรื่องแรกคือ สิบหนึ่งเพื่อนกัน เขามีผลงานสร้างชื่อจากละคร ธรณีนี่นี้ใครครอง จากนั้นก็มีชื่อเสียงอย่างมากในละครเรื่อง ลูกไม้ไกลต้น และ ทางผ่านกามเทพ ต่อมาเขาได้ก้าวเข้ามาสู่ฐานะผู้จัดละครในนามบริษัทของตนเองที่ใช้ชื่อว่า มานา โปรดักชั่น ซึ่งได้ผลิตละครเรื่องแรกคือ สะดุดรัก

ทางด้านการศึกษา จบการศึกษาระดับอนุบาลจากโรงเรียนสวนดอกไม้ ระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนกันตะบุตร (พร้อมพงษ์)ระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนปทุมคงคา และระดับอุดมศึกษาจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ทางด้านชีวิตส่วนตัว มีพี่ชาย 1 คนชื่อ เฮนรี โรบิน เกร้กสัน

ผลงาน[แก้]

ละครโทรทัศน์[แก้]

ปี เรื่อง รับบท หมายเหตุ ออกอากาศ
2537 สิบหนึ่งเพื่อนกัน รับเชิญเล่นฉากเดียว ช่อง 3
2538 เมื่อหมอกสลาย ทชา (แทนจอห์น ดีแลน) สโรชา วาทิตตพันธ์ ช่อง 7
2539 สนสะท้าน คุณหมอชุษณะ ราโมน่า ซาโนลารี่ ช่อง 5
ร้อยรสบทละคร
ตอน ช่อง ว่างระหว่างฟากฟ้า
ปีเตอร์ ช่อง 3
2540 หุบเขากินคน อัชฌา ราโมน่า ซาโนลารี่ ช่อง 7
รอยอดีต เดชาชาญ ราโมน่า ซาโนลารี่
2541 ธรณีนี่นี้ใครครอง อาทิจ จิตสะอาด ปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ ช่อง 3
กรงเกียรติยศ สุดเขต คลาวเดีย จักรพันธุ์
2542 ไม้เมือง ชรัณ พรชิตา ณ สงขลา
2543 มัสยา ร้อยโท ลักษณ์ รัตนมหาศาล (ลักษณ์) บัวชมพู ฟอร์ด ช่อง 7
ลูกไม้ไกลต้น ชานนท์ เกียรติชัย สุวนันท์ ปุณณกันต์
2544 ทางผ่านกามเทพ ไตรภพ เจนี่ อัลภาชน์ ณ ป้อมเพชร ช่อง 3
รักเกิดในตลาดสด ปารเมศ (ต๋อง) พิยดา จุฑารัตนกุล ช่อง 7
2546 12 ราศี หมวดเจ๋ง ภัครมัย โปตระนันท์ ช่อง 3
2547 เรือนไม้สีเบจ อาร์ม เข็มอัปสร สิริสุขะ
เขยมะริกัน จอร์แดน / จอร์จ พรชิตา ณ สงขลา
2549 สะดุดรัก กฤษณ์ บัวชมพู ฟอร์ด
2552 เกมลุ้นรัก ภัทร ภาสกร ศิรพันธ์ วัฒนจินดา
มงกุฎแสงจันทร์ ฑีฑายุ ศรีริต้า เจนเซ่น ณรงค์เดช
2554 เคหาสน์สีแดง นายแพทย์รุจ รุจิโรจน์ ณัฐวรา วงศ์วาสนา
2558 เสือ (เลือดมังกร) คณิน ลีลาวิโรจน์วงศ์ (คิ้ม) ณฐพร เตมีรักษ์
สิงห์ (เลือดมังกร)
กระทิง (เลือดมังกร)
แรด (เลือดมังกร)
หงส์ (เลือดมังกร)
พลับพลึงสีชมพู วิศรุต มรุพงษ์ อมีนา กูล
2559 วิมานเมขลา พญา อัครรักษ์ราช (พญา) ราณี แคมเปน
ฝั่งน้ำจรดฝั่งฟ้า พันโทธงรบ ธัญพิสิษฐ์ (แจ็ค) (รับเชิญ) เขมนิจ จามิกรณ์ ทรูโฟร์ยู
สายลับรักป่วน ขาวผ่อง (ดิน) เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์ ช่อง 3
2560 เหมือนคนละฟากฟ้า ชัชรัณ ภีรนีย์ คงไทย
2562 ปมรักสลับหัวใจ เตชิต วรกิจชาญชัย (ชิต) / เตชินท์ วรกิจชาญชัย (ชิน)(รับบทฝาแฝด) ฑิฆัมพร ฤทธิ์ธาอภินันท์ ช่อง 8
Voice สัมผัสเสียงมรณะ อารัญ เขมนิจ จามิกรณ์ ทรูโฟร์ยู
2563 วุ่นรักนักข่าว ภากร/ตรีศิลป์ วรนุช ภิรมย์ภักดี พีพีทีวี

ภาพยนตร์[แก้]

มิวสิกวิดีโอ[แก้]

พิธีกร[แก้]

  • รายการฮิวโก้เกม (ช่อง 7) (2539)
  • รายการ เด็กหลง ผู้ใหญ่ลืม (2556)

ผู้จัดละคร[แก้]

โฆษณา[แก้]

  • ฮานามิ ร่วมกับ ธัญญาเรศ รามณรงค์ (2534)
  • ไมโล (2536)
  • แป้งเย็นทเวลพลัส (2538)
  • เทสโตแผ่นเรียบ กลิ่น ซอลธ์ แอนด์ ซาวร์ (2546)
  • เทสโตแผ่นหยัก กลิ่นบาร์บีคิว (2547)
  • เทสโต รสปูผัดผงกะหรี่ (2547)
  • เฟรนช์ คาเฟ่ (2559)

รางวัล[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "'แอนดริว' ยางรถระเบิด หมุนลงข้างทาง แต่ไม่บาดเจ็บ" (Press release). ไทยรัฐออนไลน์. 5 ธันวาคม 2553. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. "สรุปผลรางวัลเอ็มไทยท็อปทอล์กอะเบาต์ 2016". Tlcthai. 3 มีนาคม พ.ศ. 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-08. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. เซเลบริตี้​และคนบันเทิงชื่อดังตบเท้ารับรางวัลในงาน ‘HOWE AWARDS 2019’​ kazz-magazine

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]