เอริช ฟ็อน มันชไตน์
เอริช ฟ็อน มันชไตน์ | |
---|---|
![]() จอมพล เอริช ฟ็อน มันสไตน์ | |
ชื่อเกิด | ฟริทซ์ เอริช เกออร์ค เอดูอาร์ท ฟ็อน เลวินสกี |
เกิด | 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1887 เบอร์ลิน ราชอาณาจักรปรัสเซีย, จักรวรรดิเยอรมัน |
เสียชีวิต | 9 มิถุนายน ค.ศ. 1973 เอียร์เชินเฮาเซิน รัฐบาวาเรีย, เยอรมนีตะวันตก | (85 ปี)
รับใช้ |
|
ประจำการ | ค.ศ. 1906–1944 |
ชั้นยศ | ![]() |
การยุทธ์ | |
บำเหน็จ | กางเขนอัศวินแห่งกางเขนเหล็กประดับใบโอ๊กและดาบ |
งานอื่น | ที่ปรึกษาทางทหารของเยอรมนีตะวันตก |
ฟริทซ์ เอริช เกออร์ค เอดูอาร์ท ฟ็อน เลวินสกี (เยอรมัน: Fritz Erich Georg Eduard von Lewinski) หรือเป็นที่รู้จักกันคือ เอริช ฟ็อน มันชไตน์ (เยอรมัน: Erich von Manstein) เป็นนายทหารบกและจอมพลเยอรมัน เป็นผู้บัญชาการทหารแวร์มัคท์ของนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
เกิดในตระกูลขุนนางปรัสเซียที่มีประวัติศาสตร์อันยาวในการรับราชการทหาร มันชไตน์ได้เข้าร่วมกองทัพในช่วงวัยเยาว์และได้เห็นว่าทำหน้าที่ทั้งแนวรบด้านตะวันตกและตะวันออกในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 1914-1918) เขาได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งยศร้อยเอกโดยสงครามได้ยุติลงและมีบทบาทมากขึ้นในช่วงสมัยระหว่างสงครามซึ่งได้ช่วยให้เยอรมนีได้ทำการฟื้นฟูกองทัพขึ้นมาใหม่ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 ในช่วงการบุกครองโปแลนด์ที่เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้ทำหน้าที่เป็นเสนาธิการทหารบกแก่กลุ่มทัพใต้ของแกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้เลือกแผนทางยุทธศาสตร์ของมันชไตน์สำหรับการบุกครองฝรั่งเศสในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1940 แผนนี้ต่อมาได้ถูกคัดกรองโดยฟรันทซ์ ฮัลเดอร์และสมาชิกคนอื่นๆของกองบัญชาการใหญ่กองทัพบกเยอรมัน (OKH) ด้วยความคาดหมายว่า กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรจะต้องออกมาตอบโต้อย่างรุนแรงขึ้นในการเข้ารุกรานที่เกิดขึ้นในเนเธอร์แลนด์ มันชไตน์ได้คิดแผนปฏิบัติการขึ้นใหม่—ซึ่งต่อมาเรียกว่า "เคียวตัด" (Sichelschnitt)—ที่ได้เรียกให้เข้าโจมตีผ่านป่าของอาร์แดนและพุ่งอย่างรวดเร็วไปยังช่องแคบอังกฤษ เป็นการปิดล้อมกองทัพฝรั่งเศสและฝ่ายสัมพันธมิตรที่อยู่ในเบลเยียมและแฟลนเดอส์ เขาได้รับตำแหน่งยศนายพลในช่วงสิ้นสุดการทัพ เขาได้เข้าร่วมในการรุกรานสหภาพโซเวียตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 และการล้อมเซวัสโตปอล (ค.ศ. 1941–1942) และได้รับตำแหน่งยศจอมพล เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1942 เขายังได้มีส่วนร่วมในการล้อมเลนินกราด
โชคชะตาของเยอรมนีในช่วงสงครามได้พลิกให้กลายเป็นความเสียเปรียบใน ค.ศ. 1942 โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยความพินาศย่อยยับจากยุทธการที่สตาลินกราด ที่มันชไตน์ได้ล้มเหลวในการบังคัญชาเพื่อการบรรเทาวงล้อม (ปฏิบัติการพายุฤดูหนาว) ในเดือนธันวาคม ต่อมาได้เป็นที่รู้จักกันคือ "การตีหลังมือ" (backhand blow) มันชไตน์ได้ทำโจมตีตอบโต้กลับในยุทธการที่คาร์คอฟครั้งที่ 3 (กุมภาพันธ์–มีนาคม ค.ศ. 1943) ได้เข้ายึดชิงดินแดนที่สำคัญกลับคืนและส่งผลทำให้เกิดการล้างผลาญของกองทัพโซเวียตไปสามกองทัพและการล่าถอยไปอีกสามกองทัพ เขาได้เป็นหนึ่งในผู้บัญชาการหลักที่ยุทธการที่คูสค์ (กรกฎาคม–สิงหาคม ค.ศ. 1943) หนึ่งในการรบของรถถังที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ด้วยความไม่ลงรอยกันอย่างต่อเนืองของเขากับฮิตเลอร์ในการดำเนินสงครามต่อไปจนทำให้เขาต้องถูกปลดออกในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1944 เขาไม่ได้รับคำสั่งอีกเลยและถูกจับกุมเป็นเชลยโดยอังกฤษในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 หลายเดือนหลังความพ่ายแพ้ของเยอรมนี
มันชไตน์ได้ให้ปากคำที่การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คหลักที่เกี่ยวกับข้อหาอาชญากรสงครามในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1946 และได้เตรียมเอกสาร, ที่พร้อมกับความทรงจำของเขาในภายหลัง, ได้ช่วยทำให้เกิดการปลูกฝังตำนานของ "แวร์มัคท์บริสุทธิ์"—เป็นตำนานที่เชื่อว่ากองทัพเยอรมันไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความโหดร้ายของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของนาซี ใน ค.ศ. 1949 เขาได้ถูกพิจารณาคดีในฮัมบวร์คสำหรับข้อหาอาชญากรรมสงครามและได้ตัดสินว่ามีความผิดจากเก้าในสิบเจ็ดข้อหา รวมทั้งการรักษาชีวิตเชลยศึกที่ไม่ดีและความล้มเหลวในการปกป้องชีวิตพลเรือนในขอบเขตปฏิบัติการของเขา ได้รับโทษด้วยการจำคุกเป็นเวลา 18 ปี ต่อมาได้ลดลงเหลือ 12 ปี และเขาได้ใช้ชีวิตในคุกเพียงสี่ปีก่อนจะได้รับการปล่อยตัวใน ค.ศ. 1953 ได้เป็นที่ปรึกษาด้านการทหารให้แก่รัฐบาลเยอรมนีตะวันตกในช่วงปลาย ค.ศ. 1950 เขาได้ช่วยสร้างกองทัพขึ้นมาใหม่อีกครั้ง บันทึกของเขา Verlorene Siege (ค.ศ. 1955) ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า Lost Victories ("ชัยชนะที่หายไป"), เป็นการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากของความเป็นผู้นำของฮิตเลอร์ และการบริหารกับเพียงด้านการทหารในช่วงยามสงคราม โดยไม่คำนึงถึงด้านการเมืองและศีลธรรม มันชไตน์ได้ถึงแก่อสัญกรรมใกล้กับมิวนิกใน ค.ศ. 1973
ก่อนหน้า | เอริช ฟ็อน มันชไตน์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ไม่มี | ![]() |
ผู้บัญชาการกลุ่มทัพดอน (21 พฤศจิกายน 1942 – 12 กุมภาพันธ์ 1943) |
![]() |
ไม่มี |
จอมพล มัคซีมีลีอาน ฟ็อน ไวชส์ | ![]() |
ผู้บัญชาการกลุ่มทัพใต้ (12 กุมภาพันธ์ 1943 – 30 มีนาคม 1944) |
![]() |
พลเอกอาวุโส โยฮันเนิส ไฟรส์เนอร์ |
- ↑ Knopp 2003, p. 139.