พลเอกทหารราบ
พลเอกทหารราบ General der Infanterie แกเนอราล แดร์ อินฟันเทอรี | |
---|---|
![]() อินทรธนู (แวร์มัคท์) | |
ประเทศ | ![]() ![]() |
สังกัต | ![]() ![]() |
ระดับยศ | นายพลสามดาว |
ยศที่สูงกว่า | พลเอกอาวุโส |
ยศที่ต่ำกว่า | พลโท |
พลเอกทหารราบ[1][2] (เยอรมัน: General der Infanterie) เป็นยศทหารในอดีตของประเทศเยอรมนีสำหรับกองทัพบก เป็นยศที่มีความอาวุโสสูงกว่าพลโท (Generalleutnant) แต่อยู่ต่ำกว่าพลเอกอาวุโส (Generaloberst) และจอมพล (Generalfeldmarschall)
ยศทหารในกองทัพบกที่มีศักดิ์เท่าเทียมกันได้แก่ พลเอกทหารม้า (General der Kavallerie), พลเอกทหารปืนใหญ่ (General der Artillerie) , พลเอกทหารช่าง (General der Pioniere), พลเอกทหารภูเขา (General der Gebirgstruppe), พลเอกทหารยานเกราะ (General der Panzertruppe) และพลเอกทหารสื่อสาร (General der Nachrichtentruppe)
ยศทหารในกองทัพอากาศที่มีศักดิ์เท่าเทียมกันได้แก่ พลเอกทหารอากาศ (General der Luftwaffe), พลเอกทหารพลร่ม (General der Fallschirmtruppe), พลเอกทหารปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยาน (General der Flakartillerie), พลเอกทหารสื่อสารอากาศ (General der Luftnachrichtentruppe) และพลเอกทหารนักบิน (General der Flieger)
รายนามพลเอกทหารราบที่มีชื่อเสียง[แก้]
ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[แก้]
ในสงครามโลกครั้งที่สอง[แก้]
- ฟรีดริช อ็อลบริชท์
- วิลเฮ็ล์ม บวร์คดอร์ฟ (ยิงตัวตาย)
- ฮันส์ เครพส์ (ยิงตัวตาย)
- คาร์ล-ไฮน์ริช ฟ็อน ชตึลพ์นาเกิล (ยิงตัวตาย)
- ดรีทริช ฟ็อน ค็อลทิทซ์
อ้างอิง[แก้]
- ↑ กาลรบใหญ่ในยุโรป ฉบับพิเศษ เรียบเรียงตามรายงานแลข่าวเยอรมัน เล่มสาม กรุงเทพฯ วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๗
- ↑ Hindenburg Denkmal für das deutsche Volk, von Paul Lindenberg, ... Vaterländischer Verlag / Berlin 1922, S. 49, – "General d. Inf." – Kurzbezeichnung.