ข้ามไปเนื้อหา

ไซตามะ (เมือง)

พิกัด: 35°51′41″N 139°38′44″E / 35.86139°N 139.64556°E / 35.86139; 139.64556
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เมืองไซตะมะ)
ไซตามะ

さいたま
さいたま市 • นครไซตามะ
จากบนตามเข็มนาฬิกา: สนามกีฬาไซตามะ 2002, เกียวกูโซอิง, ศูนย์กลางเมืองใหม่ไซตามะ, มูซาชิอูราวะ, ไซตามะซูเปอร์อารีนา, ศาลเจ้าฮิกาวะ, อูราวะปาร์โก
จากบนตามเข็มนาฬิกา: สนามกีฬาไซตามะ 2002, เกียวกูโซอิง, ศูนย์กลางเมืองใหม่ไซตามะ, มูซาชิอูราวะ, ไซตามะซูเปอร์อารีนา, ศาลเจ้าฮิกาวะ, อูราวะปาร์โก
ธงของไซตามะ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของไซตามะ
ตรา
แผนที่
ที่ตั้งของนครไซตามะ (เน้นสีม่วง) ในจังหวัดไซตามะ
ที่ตั้งของนครไซตามะ (เน้นสีม่วง) ในจังหวัดไซตามะ
ไซตามะตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
ไซตามะ
ไซตามะ
พิกัด: 35°51′41″N 139°38′44″E / 35.86139°N 139.64556°E / 35.86139; 139.64556
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคคันโต
จังหวัดจังหวัดไซตามะ ไซตามะ
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีฮายาโตะ ชิมิซุ
พื้นที่
 • เขตนคร217.43 ตร.กม. (83.95 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 มีนาคม 2021)
 • เขตนคร1,324,854 คน
 • ความหนาแน่น6,100 คน/ตร.กม. (16,000 คน/ตร.ไมล์)
สัญลักษณ์ประจำนคร
 • ต้นไม้เซลโควาญี่ปุ่น (Zelkova serrata)
 • ดอกไม้พริมโรสญี่ปุ่น (Primula sieboldii)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
โทรศัพท์048-829-1111
ที่อยู่6-4-4 Tokiwa, Urawa-ku, Saitama-shi, Saitama-ken 330-9588
ภูมิอากาศCfa
เว็บไซต์www.city.saitama.jp

ไซตามะ (ญี่ปุ่น: さいたま市โรมาจิSaitama-shi) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด เป็นนครที่มีประชากรมากที่สุดในจังหวัด ประกอบด้วยอดีตนครหลายแห่งควบรวมกัน ได้แก่ อูราวะ โอมิยะ โยโนะ และอิวัตสึกิ ปัจจุบันมีฐานะเป็นนครใหญ่ที่รัฐกำหนด ไซตามะตั้งอยู่ในเขตปริมณฑลของมหานครโตเกียว และอยู่ห่างจากใจกลางกรุงโตเกียวไปทางทิศเหนือ 15 ถึง 30 กิโลเมตร มีผู้อยู่อาศัยจำนวนมากที่เดินทางไปกลับเป็นประจำระหว่างนครไซตามะกับกรุงโตเกียว

ข้อมูลเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021 (2021 -02-01) นครไซตามะมีจำนวนประชากรประมาณ 1,324,854 คน ความหนาแน่นของประชากร 6,093 คนต่อตารางกิโลเมตร และมีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 217.43 ตารางกิโลเมตร (83.95 ตารางไมล์)[1]

นครไซตามะเป็นที่ตั้งของสนามกีฬาชื่อดังอย่าง สนามกีฬาไซตามะ 2002 ซึ่งใช้แข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายในปี 2002 รวมถึงไซตามะซูเปอร์อารีนา ซึ่งเป็นศูนย์กีฬาในร่มอเนกประสงค์

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

ชื่อ "ไซตามะ" มาจากชื่อหมู่บ้านซากิตามะ (埼玉郡) ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครเกียวดะ ทางตอนเหนือของจังหวัดไซตามะ คำว่า "ซากิทามะ" มีประวัติศาสตร์อันเก่าแก่และถูกกล่าวถึงในมังโยชู (ญี่ปุ่น: 万葉集โรมาจิMan'yōshū) ซึ่งเป็นกวีนิพนธ์ที่มีชื่อเสียงในคริสต์ศตวรรษที่ 8 เมื่อเวลาผ่านไปหลายปีการออกเสียงได้เพี้ยนจาก "ซากิตามะ" ไปเป็น "ไซตามะ"

จากการควบรวมเทศบาลนครอูราวะ โอมิยะ และโยโนะ เป็นเทศบาลเดียว ได้มีการตัดสินใจว่าจะตั้งชื่อขึ้นใหม่ที่เหมาะสมในฐานะเมืองหลวงของจังหวัด จึงได้นำชื่อจังหวัด "ไซตามะ" (埼玉県) มาใช้โดยเปลี่ยนการเขียนจากคันจิเป็นฮิรางานะ ได้เป็นนครไซตามะ (さいたま市) นับเป็นเมืองหลวงของจังหวัดแห่งเดียวในประเทศญี่ปุ่นที่มีชื่อเขียนด้วยอักษรฮิรางานะ

อย่างไรก็ตาม ในผลการลงคะแนนสาธารณะ ไซตามะที่เขียนด้วยฮิรางานะ (さいたま市) ที่จริงแล้วได้รับเลือกเป็นอันดับสอง ส่วนอันดับหนึ่งคือไซตามะที่เขียนด้วยคันจิ (埼玉市) แต่ท้ายที่สุดแล้วทางการก็ได้ตัดสินใจใช้ชื่อที่เขียนด้วยฮิรางานะ ส่วนอันดับสามคือ โอมิยะ (大宮市) อันดับสี่คือ ไซตามะ (彩玉市) ที่เปลี่ยนคันจิตัวแรกเป็น ซึ่งหมายถึง "สีสัน"

ภูมิศาสตร์

[แก้]

นครไซตามะตั้งอยู่ทางเหนือของใจกลางกรุงโตเกียวประมาณ 20 ถึง 30 กิโลเมตร ประมาณศูนย์กลางของที่ราบคันโต นครไซตามะตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดไซตามะ มีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มและที่ราบสูง ส่วนใหญ่อยู่เหนือระดับน้ำทะเลน้อยกว่า 20 เมตร และไม่มีเทือกเขาหรือเนินเขาภายในเขตเมือง ส่วนตะวันตกของเมืองตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มที่เกิดจากแม่น้ำอารากาวะ และยังมีแม่น้ำสายเล็ก ๆ เช่น แม่น้ำโมโตะ-อารากาวะ แม่น้ำชิบะ และแม่น้ำอายาเซะ พื้นที่ส่วนที่เหลือส่วนใหญ่อยู่บนที่ราบสูงโอมิยะซึ่งวางตัวในแนวเหนือ-ใต้

อาณาเขตติดต่อ

[แก้]

นครไซตามะมีอาณาเขตติดต่อกับเทศบาลต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาเริ่มจากทิศเหนือ ดังนี้ (ทั้งหมดอยู่ในจังหวัดไซตามะ)

ภูมิอากาศ

[แก้]

ไซตามะมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (เคิพเพิน Cfa) มีลักษณะเป็นฤดูร้อนที่อบอุ่น และฤดูหนาวที่เย็นสบาย มีหิมะตกน้อยไปจนถึงไปจนถึงไม่มีหิมะตก อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในไซตามะอยู่ที่ 15.2 °C (59.4 °F) ปริมาณน้ำฝนรายปีเฉลี่ยอยู่ที่ 1,371.3 mm (53.99 in) โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิจะสูงที่สุดโดยเฉลี่ยในเดือนสิงหาคมที่ประมาณ 27.0 °C (80.6 °F) และต่ำสุดในเดือนมกราคมที่ประมาณ 3.9 °C (39.0 °F)[2]

ข้อมูลภูมิอากาศของไซตามะ (1991−2020 สภาวะปกติ, สภาวะสุดโต่ง 1976−ปัจจุบัน)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 18.7
(65.7)
25.5
(77.9)
26.9
(80.4)
31.2
(88.2)
34.2
(93.6)
38.0
(100.4)
39.3
(102.7)
38.7
(101.7)
37.4
(99.3)
33.1
(91.6)
25.6
(78.1)
25.1
(77.2)
39.3
(102.7)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 9.4
(48.9)
10.3
(50.5)
13.7
(56.7)
19.2
(66.6)
23.8
(74.8)
26.5
(79.7)
30.5
(86.9)
31.8
(89.2)
27.7
(81.9)
21.9
(71.4)
16.5
(61.7)
11.7
(53.1)
20.3
(68.5)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 3.9
(39)
4.9
(40.8)
8.4
(47.1)
13.7
(56.7)
18.6
(65.5)
22.0
(71.6)
25.9
(78.6)
27.0
(80.6)
23.2
(73.8)
17.5
(63.5)
11.4
(52.5)
6.2
(43.2)
15.2
(59.4)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) -1.1
(30)
-0.2
(31.6)
3.3
(37.9)
8.4
(47.1)
13.9
(57)
18.3
(64.9)
22.2
(72)
23.2
(73.8)
19.5
(67.1)
13.5
(56.3)
6.8
(44.2)
1.2
(34.2)
10.8
(51.4)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -9.8
(14.4)
-8.8
(16.2)
-5.0
(23)
-2.0
(28.4)
4.8
(40.6)
11.5
(52.7)
14.7
(58.5)
16.3
(61.3)
9.5
(49.1)
3.6
(38.5)
-2.4
(27.7)
-6.7
(19.9)
−9.8
(14.4)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 42.4
(1.669)
39.6
(1.559)
88.0
(3.465)
101.9
(4.012)
121.4
(4.78)
144.8
(5.701)
148.0
(5.827)
164.0
(6.457)
202.8
(7.984)
196.8
(7.748)
70.9
(2.791)
45.2
(1.78)
1,371.3
(53.988)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 3.8 4.6 8.7 9.0 10.0 11.6 11.8 8.8 10.8 10.0 6.7 4.4 100.8
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 201.4 186.4 186.6 187.1 185.3 128.4 152.5 181.9 135.6 135.1 156.6 181.1 2,018.0
แหล่งที่มา 1: กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น[2]
แหล่งที่มา 2: Time and Date (dewpoints, 1985-2015)[3]

เขตการปกครอง

[แก้]

นครไซตามะแบ่งการปกครองออกเป็น 10 เขต (ญี่ปุ่น: โรมาจิkuทับศัพท์: คุ) มีสีประจำเขตอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2005

เขตของนครไซตามะ
# ชื่อ สี พื้นที่ (ตร.กม.) แผนที่
ทับศัพท์ไทย ภาษาญี่ปุ่น
1 เขตชูโอ 中央区   แดงกุหลาบ 8.39
แผนที่เขตของนครไซตามะ
2 เขตอิวัตสึกิ 岩槻区   เหลืองน้ำตาล 49.17
3 เขตคิตะ 北区   เขียวเข้ม 16.86
4 เขตมิโดริ 緑区   เขียว 26.44
5 เขตมินามิ 南区   เหลือง 13.82
6 เขตมินูมะ 見沼区   ฟ้าอ่อน 30.69
7 เขตนิชิ 西区   ฟ้าเข้ม 29.12
8 เขตโอมิยะ 大宮区   ส้ม 12.80
9 เขตซากูระ 桜区   ชมพูซากูระ 18.64
10 เขตอูราวะ 浦和区   แดง
ศูนย์กลางราชการ
11.51

ประวัติ

[แก้]
ชมพู: นครอูราวะเดิม
น้ำเงิน: นครโอมิยะเดิม
เขียว: นครโยโนะเดิม
เหลือง: นครอิวัตสึกิเดิม

นครไซตามะจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2001 โดยการควบรวมนครอูราวะ (ญี่ปุ่น: 浦和市โรมาจิUrawa-shi), โอมิยะ (ญี่ปุ่น: 大宮市โรมาจิŌmiya-shi) และโยโนะ (ญี่ปุ่น: 与野市โรมาจิYono-shi) เข้าด้วยกัน และได้รับการยกฐานะเป็นนครใหญ่ที่รัฐกำหนดเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2003 ต่อมาวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2005 นครไซตามะได้ผนวกนครอิวัตสึกิ (ญี่ปุ่น: 岩槻市โรมาจิIwatsuki-shi) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งกลายเป็นเขตอิวัตสึกิ

การเมืองการปกครอง

[แก้]
ศาลาว่าการนครไซตามะ

นครไซตามะมีการปกครองในรูปแบบนายกเทศมนตรี–สภา โดยมีนายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และสภานครซึ่งเป็นระบบสภาเดี่ยวมีสมาชิก 64 คน นครไซตามะเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดไซตามะจำนวน 14 คน ในแง่ของการเมืองระดับชาติ นครไซตามะถูกแบ่งออกเป็น เขตเลือกตั้งไซตามะที่ 1, 5 และ 15 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแห่งรัฐสภาญี่ปุ่น

นายกเทศมนตรี

[แก้]
  • อิซามุ อิฮาระ (井原 勇) 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2001 – 26 พฤษภาคม ค.ศ. 2001
  • โซอิจิ ไอกาวะ (相川 宗一) 27 พฤษภาคม ค.ศ. 2001 – 26 พฤษภาคม ค.ศ. 2009
  • ฮายาโตะ ชิมิซุ (清水 勇人) 26 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 – ปัจจุบัน

นายกเทศมนตรีคนแรกที่ได้รับการเลือกตั้งโดยตรง คือ โซอิจิ ไอกาวะ ซึ่งเป็นนักการเมืองอิสระที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคเสรีประชาธิปไตยและพรรคโคเม วันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 ไอกาวะแพ้การเลือกตั้งให้กับฮายาโตะ ชิมิซุ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากพรรคฝ่ายค้าน พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น[4]

เศรษฐกิจ

[แก้]

เศรษฐกิจของนครไซตามะประกอบด้วยธุรกิจการค้าเป็นหลัก ถือเป็นศูนย์กลางการค้าแห่งหนึ่งในเขตมหานครโตเกียวและปริมณฑล ครอบคลุมทั้งจังหวัดไซตามะ ไปจนถึงภูมิภาคคันโตเหนือ และฮนชูตะวันออกเฉียงเหนือ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Saitama city official statistics" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan.
  2. 2.0 2.1 気象庁 / 平年値(年・月ごとの値). Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ May 19, 2021.
  3. "Climate & Weather Averages in Saitama Suijō Kōen". Time and Date. สืบค้นเมื่อ 24 July 2022.
  4. "DPJ Triumphs in Saitama Election", The Japan Times, 25 May 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]