มัตสึโมโตะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มัตสึโมโตะ

松本市
ตามเข็มนาฬิกาเริ่มจากภาพบน:
ใจกลางนครมัตสึโมโตะมองจากหอคอยปราสาทมัตสึโมโตะ, โรงเรียนไคจิ, แม่น้ำอาซูซางาวะและภูเขายาเกะคามิโกจิ), ถนนคนเดินนาวาเตะ, ปราสาทมัตสึโมโตะ
ธงของมัตสึโมโตะ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของมัตสึโมโตะ
ตรา
แผนที่
ที่ตั้งของมัตสึโมโตะในจังหวัดนางาโนะ
ที่ตั้งของมัตสึโมโตะในจังหวัดนางาโนะ
มัตสึโมโตะตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
มัตสึโมโตะ
มัตสึโมโตะ
ที่ตั้งของมัตสึโมโตะในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 36°14′16.8″N 137°58′19.1″E / 36.238000°N 137.971972°E / 36.238000; 137.971972พิกัดภูมิศาสตร์: 36°14′16.8″N 137°58′19.1″E / 36.238000°N 137.971972°E / 36.238000; 137.971972
ประเทศญี่ปุ่น
ภูมิภาคชูบุ (โคชิงเอ็ตสึ)
จังหวัดนางาโนะ
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีโยชินาโอะ กาอุง (臥雲義尚)
พื้นที่
 • ทั้งหมด978.47 ตร.กม. (377.79 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 มีนาคม 2019)
 • ทั้งหมด239,466 คน
 • ความหนาแน่น240 คน/ตร.กม. (630 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
สัญลักษณ์ 
- ต้นไม้สนแดงญี่ปุ่น
- ดอกไม้อาซาเลียญี่ปุ่น
หมายเลขโทรศัพท์0263-34-3000
ที่อยู่ศาลาว่าการ3-7 Marunouchi, Matsumoto-shi, Nagano-ken 390-8620
เว็บไซต์www.city.matsumoto.nagano.jp

มัตสึโมโตะ (ญี่ปุ่น: 松本市โรมาจิMatsumoto-shi) เป็นนครแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนางาโนะ ประเทศญี่ปุ่น[1] มัตสึโมโตะได้รับการกำหนดให้เป็นนครพิเศษ และกำลังจะเป็นนครศูนย์กลางในปี 2020[2] จากข้อมูลเมื่อ 1 มีนาคม 2019 มัตสึโมโตะมีประชากร 239,466 คน 105,207 ครัวเรือน[3] ความหนาแน่นของประชากร 240 คนต่อตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 978.47 ตารางกิโลเมตร (377.79 ตารางไมล์)

มัตสึโมโตะเป็นเมืองที่ตั้งของปราสาทมัตสึโมโตะหรือปราสาทอีกา หนึ่งในปราสาทที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น

ภูมิศาสตร์[แก้]

มัตสึโมโตะตั้งอยู่ในลุ่มน้ำมัตสึโมโตะทางตอนกลางของจังหวัดนางาโนะ รายล้อมด้วยภูเขาและขึ้นชื่อในเรื่องทิวทัศน์ที่สวยงาม อยู่ห่างจากนครนางาโนะ เมืองหลวงของจังหวัดนางาโนะ ไปทางใต้ประมาณ 75 กิโลเมตร และห่างจากใจกลางกรุงโตเกียว 167 กิโลเมตร มีเทือกเขาฮิดะตั้งอยู่ทางตะวันตกของเมือง โดยยอดเขาโฮตากาดาเกะซึ่งสูง 3,190 เมตร ตั้งอยู่บนอาณาเขตระหว่างมัตสึโมโตะกับทากายามะ จังหวัดกิฟุ ถือเป็นจุดที่สูงที่สุดในเขตนครมัตสึโมโตะ

เทศบาลข้างเคียง[แก้]

จังหวัดนางาโนะ
จังหวัดกิฟุ

ภูมิอากาศ[แก้]

มัตสึโมโตะมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป (Dfa ตามการแบ่งแบบเคิพเพิน) ซึ่งติดกับเขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Cfa ตามการแบ่งแบบเคิพเพิน) โดยมีฤดูร้อนที่ร้อนและฤดูหนาวที่หนาวเย็น ปริมาณฝนจะค่อนข้างสูงในฤดูร้อน แต่ในฤดูหนาวอากาศจะค่อนข้างแห้งกว่า อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีในมัตสึโมโตะคือ 11.9 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนรายปีเฉลี่ย 1,982 มิลลิเมตร โดยมีเดือนกันยายนเป็นเดือนที่ฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิจะสูงสุดโดยเฉลี่ยในเดือนสิงหาคมที่ประมาณ 25.2 องศาเซลเซียส และต่ำสุดในเดือนมกราคมที่ประมาณ -0.5 องศาเซลเซียส[4]

ข้อมูลภูมิอากาศของมัตสึโมโตะ จังหวัดนางาโนะ (1981~2010)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 18.8
(65.8)
21.1
(70)
25.9
(78.6)
30.9
(87.6)
32.3
(90.1)
35.9
(96.6)
37.9
(100.2)
38.5
(101.3)
35.3
(95.5)
31.8
(89.2)
25.6
(78.1)
21.5
(70.7)
38.5
(101.3)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 5.0
(41)
6.0
(42.8)
10.5
(50.9)
17.8
(64)
22.9
(73.2)
26.0
(78.8)
29.4
(84.9)
31.1
(88)
25.7
(78.3)
19.3
(66.7)
13.6
(56.5)
8.0
(46.4)
17.9
(64.2)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) -0.4
(31.3)
0.2
(32.4)
3.9
(39)
10.6
(51.1)
16.0
(60.8)
19.9
(67.8)
23.6
(74.5)
24.7
(76.5)
20.0
(68)
13.2
(55.8)
7.4
(45.3)
2.3
(36.1)
11.8
(53.2)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) −5.2
(22.6)
−4.8
(23.4)
−1.5
(29.3)
4.1
(39.4)
9.9
(49.8)
14.9
(58.8)
19.2
(66.6)
20.2
(68.4)
15.9
(60.6)
8.4
(47.1)
2.1
(35.8)
−2.7
(27.1)
6.7
(44.1)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) −24.8
(-12.6)
−20.4
(-4.7)
−17.9
(-0.2)
−10.1
(13.8)
−2.7
(27.1)
2.3
(36.1)
10.2
(50.4)
8.0
(46.4)
3.0
(37.4)
−3.6
(25.5)
−8.4
(16.9)
−19.2
(-2.6)
−24.8
(−12.6)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 35.9
(1.413)
43.5
(1.713)
79.6
(3.134)
75.3
(2.965)
100.0
(3.937)
125.7
(4.949)
138.4
(5.449)
92.1
(3.626)
155.6
(6.126)
101.9
(4.012)
54.9
(2.161)
28.1
(1.106)
1,031
(40.591)
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) 28
(11)
24
(9.4)
17
(6.7)
1
(0.4)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
9
(3.5)
79
(31.1)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.5 mm) 6.0 6.6 9.6 9.1 9.7 11.1 13.1 9.7 11.2 9.0 6.3 5.4 106.8
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย 11.2 9.8 4.9 0.4 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 3.7 30
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 170.7 163.5 185.0 202.1 209.0 163.6 171.3 205.4 141.8 159.9 159.2 166.0 2,097.5
แหล่งที่มา 1: Japan Meteorological Agency[5]
แหล่งที่มา 2: Japan Meteorological Agency (records)[6]

สถิติประชากร[แก้]

จากข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[7] จำนวนประชากรของมัตสึโมโตะเพิ่มขึ้นในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
1940 154,182—    
1950 183,775+19.2%
1960 190,076+3.4%
1970 203,571+7.1%
1980 223,496+9.8%
1990 233,756+4.6%
2000 243,465+4.2%
2010 243,070−0.2%

การเมืองการปกครอง[แก้]

ศาลาว่าการนครมัตสึโมโตะ

มัตสึโมโตะมีรูปแบบการปกครองแบบสภา–นายกเทศมนตรี โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภาเดี่ยวที่มีสมาชิกสภาเทศบาลนครจำนวน 31 คน สมาชิกสภาจังหวัดนางาโนะจากนครมัตสึโมโตะมีจำนวน 6 คน ในแง่ของการเมืองระดับชาติ นครมัตสึโมโตะอยู่ในเขตเลือกตั้งที่ 2 ของจังหวัดนางาโนะในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรญี่ปุ่น ซึ่งเขตเลือกตั้งนี้มีนครและอำเภออื่น ๆ อีก ได้แก่ นครโอมาจิ นครอาซูมิโนะ อำเภอฮิงาชิจิกูมะ อำเภอคิตาอาซูมิ อำเภอคามิมิโนจิ และบางส่วนของนครนางาโนะ

รายชื่อนายกเทศมนตรีนครมัตสึโมโตะ (ตั้งแต่ 1937)[แก้]

  • โยรินางะ โอริ (小里頼永) กรกฎาคม 1937 – สิงหาคม 1937
  • โอกิมาซะ โมโมเซะ (百瀬興政) สิงหาคม 1937 – เมษายน 1939
  • วาตารุ โมโมเซะ (百瀬 渡) เมษายน 1940 – เมษายน 1944
  • โมริโตะ ฮิราบายาชิ (平林盛人) พฤษภาคม 1944 – มีนาคม 1945
  • ยาซูชิ ฮิรายามะ (平山 泰) กรกฎาคม 1945 – มีนาคม 1946
  • อิกูอิจิ อากาฮาเนะ (赤羽幾一) มิถุนายน 1946 – ธันวาคม 1946
  • นาโอฮิซะ สึตสึอิ (筒井直久) เมษายน 1947 – เมษายน 1951
  • บุนชิจิโระ มัตสึโอกะ (松岡文七郎) เมษายน 1951 – มกราคม 1957
  • โทกูยะ ฟูรูฮาตะ (降旗徳弥) มีนาคม 1957 – มีนาคม 1969
  • มัตสึมิ ฟูกาซาวะ (深沢松美) มีนาคม 1969 – มีนาคม 1976
  • โชจิ วาโงะ (和合正治) มีนาคม 1976 – มีนาคม 1992
  • ทาดาชิ อารูงะ (有賀 正) มีนาคม 1992 – มีนาคม 2004
  • อากิระ ซูเงโนยะ (菅谷 昭) มีนาคม 2004 – มีนาคม 2020
  • โยชินาโอะ กาอุง (臥雲義尚) มีนาคม 2020 – ปัจจุบัน

เศรษฐกิจ[แก้]

มัตสึโมโตะเป็นศูนย์กลางการค้าในภูมิภาค มีชื่อเสียงด้านงานไม้และการปั่นไหมแบบดั้งเดิม อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมนม นอกจากนี้ การท่องเที่ยวตามฤดูกาลในบริเวณภูเขาที่ล้อมรอบตัวเมือง และรีสอร์ตบ่อน้ำพุร้อนออนเซ็น ก็ยังเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของท้องถิ่นอีกด้วย[8]

การขนส่ง[แก้]

อาคารบริเวณรอบสถานีรถไฟมัตสึโมโตะ

ท่าอากาศยาน[แก้]

ทางรถไฟ[แก้]

ทางหลวง[แก้]

เมืองพี่น้อง[แก้]

ภายในประเทศ[แก้]

ระหว่างประเทศ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Nussbaum, Louis-Frédéric. (2005). "Maatsumoto" in Japan Encyclopedia, p. 618; "Chūbu" at p. 126.
  2. Jacobs, A.J. "Japan's Evolving Nested Municipal Hierarchy: The Race for Local Power in the 2000s," Urban Studies Research, (2011); Table 3; retrieved 20132-2-11.
  3. Matsumoto city official statistics (ญี่ปุ่น)
  4. Matsumoto climate data
  5. 平年値(年・月ごとの値). Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ 2010-03-06.
  6. 観測史上1~10位の値(年間を通じての値). Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ 2011-11-18.
  7. Matsumoto population statistics
  8. Campbell, Allen; Nobel, David S (1993). Japan: An Illustrated Encyclopedia. Kodansha. p. 1147. ISBN 406205938X.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]