คิตาโมโตะ
คิตาโมโตะ 北本市 | |
---|---|
| |
![]() ที่ตั้งของคิตาโมโตะในจังหวัดไซตามะ (เน้นสีชมพู) | |
พิกัด: 36°1′36.8″N 139°31′48.7″E / 36.026889°N 139.530194°E | |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
ภูมิภาค | คันโต |
จังหวัด | ไซตามะ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 19.82 ตร.กม. (7.65 ตร.ไมล์) |
ประชากร (มกราคม 2021) | |
• ทั้งหมด | 66,022 คน |
• ความหนาแน่น | 3,300 คน/ตร.กม. (8,600 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) |
สัญลักษณ์ | |
– ต้นไม้ | ซากูระ |
– ดอกไม้ | เบญจมาศ |
โทรศัพท์ | 048-591-1111 |
ที่อยู่ | 1–111 Honmachi, Kitamoto-shi, Saitama-ken 364-8633 |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ทางการ |
คิตาโมโตะ (ญี่ปุ่น: 北本市; โรมาจิ: Kitamoto-shi) เป็นนครที่ตั้งอยู่ในจังหวัดไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น ณ วันที่ 1 มกราคม 2020 นครแห่งนี้มีประชากรประมาณ 66,022 คน ความหนาแน่นประชากร 3300 คนต่อตารางกิโลเมตร[1] พื้นที่ทั้งหมด 19.82 ตารางกิโลเมตร (7.65 ตารางไมล์)
ภูมิศาสตร์
[แก้]คิตาโมโตะตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันออกของจังหวัดไซตามะ อยู่ทางตอนกลางของแม่น้ำอารากาวะ และอยู่ไม่ไกลจากใจกลางโตเกียว
เทศบาลข้างเคียง
[แก้]ภูมิอากาศ
[แก้]คิตาโมโตะมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Köppen Cfa) โดยมีฤดูร้อนที่อบอุ่นและฤดูหนาวที่อากาศเย็นสบายและมีหิมะตกเล็กน้อย อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีในคิตาโมโตะคือ 14.6 °C ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 1353 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่ฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิจะสูงสุดโดยเฉลี่ยในเดือนสิงหาคมที่ประมาณ 26.6 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคมที่ประมาณ 3.6 °C[2]
สถิติประชากร
[แก้]จากข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[3] จำนวนประชากรของคิตาโมโตะได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาตั้งแต่ทศวรรษ 1960 และ 1970
ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
1920 | 7,633 | — |
1930 | 8,054 | +5.5% |
1940 | 8,366 | +3.9% |
1950 | 13,457 | +60.9% |
1960 | 15,483 | +15.1% |
1970 | 31,699 | +104.7% |
1980 | 50,888 | +60.5% |
1990 | 63,929 | +25.6% |
2000 | 69,524 | +8.8% |
2010 | 68,884 | −0.9% |
ประวัติศาสตร์
[แก้]โคโนซุโชกุเป็นหนึ่งในสถานีไปรษณีย์บนถนนสายนากาเซ็นโด จนถึงปี 1602 ก็ย้ายสถานที่ไปตั้งทางทิศเหนือ โดยที่เดิมเปลี่ยนชื่อเป็นโมโตจูกุ และต่อมาเปลี่ยนเป็น คิตาโมโตจูกุ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเมืองในปัจจุบัน เมื่อมีการจัดตั้งระบบเทศบาลสมัยใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 1889 คิตาโมโตจูกุได้รวมเข้ากับหมู่บ้านใกล้เคียงหลายแห่งเพื่อก่อตั้งหมู่บ้านอิชิโตะ ในอำเภอคิตาอาดาจิ จังหวัดไซตามะ ต่อมาวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 1943 หมู่บ้านอิชิโตะได้รวมเข้ากับหมู่บ้านนากามารุที่อยู่ข้างเคียง เพื่อก่อตั้งหมู่บ้านคิตาโมโตจูกุ วันที่ 3 พฤศจิกายน 1959 หมู่บ้านนี้ได้รับการยกฐานะเป็นเมือง กลายเป็นเมืองคิตาโมโตะ และได้รับการยกฐานะเป็นนครเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 1971
การปกครอง
[แก้]
คิตาโมโตะมีการปกครองรูปแบบนายกเทศมนตรี–สภา โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภาประเภทสภาเดี่ยวที่มีสมาชิกจำนวน 20 คน นครคิตาโมโตะเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดไซตามะจำนวน 1 คน ในแง่ของการเมืองระดับชาติ นครนี้เป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งที่ 6 ของจังหวัดไซตามะในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรแห่งรัฐสภาญี่ปุ่น
เศรษฐกิจ
[แก้]เนื่องด้วยตำแหน่งที่ตั้ง คิตาโมโตะจึงเป็นเมืองที่อยู่อาศัยของผู้เดินทางไปกลับเป็นประจำ โดยประชากรส่วนใหญ่เดินทางไปทำงานในนครไซตามะหรือมหานครโตเกียว
การศึกษา
[แก้]คิตาโมโตะมีโรงเรียนที่สังกัดเทศบาลนคร ได้แก่ โรงเรียนประถม 8 แห่ง โรงเรียนมัธยมต้น 4 แห่ง และโรงเรียนมัธยมปลายของรัฐ 1 แห่งที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดไซตามะ
การขนส่ง
[แก้]รถไฟ
[แก้]ทางหลวง
[แก้]บุคคลที่มีชื่อเสียง
[แก้]- อัตสึชิ โอชิมะ (ญี่ปุ่น: 大島 敦; โรมาจิ: Ōshima Atsushi) - นักการเมือง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Kitamoto city official statistics" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Kitamoto climate data
- ↑ Kitamoto population statistics
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ คิตาโมโตะ
- เว็บไซต์ทางการ เก็บถาวร 2007-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ในภาษาญี่ปุ่น)