เกรียงอาจ สุวรรณภักดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกรียงอาจ สุวรรณภักดี
ตัวละครใน 'ใครว่าข้าไม่เก่ง'
ประวัติ
ญาตินักมวยชาวคลองเตย (เพื่อน)
มิยาซาว่า คิอิจิ (คู่ปรับ, เพื่อน)
ข้อมูล
ปรากฏตัวครั้งแรกตอนที่ 155
สัญชาติ ไทย
น้ำหนัก160 ปอนด์
รุ่นเฟเธอร์เวท
เครื่องรางพระร่วง

เกรียงอาจ สุวรรณภักดี (ญี่ปุ่น: ギャルアッド・スワンパクティ; อังกฤษ: Kreangarg Suwanpakdee) เป็นตัวละครจากการ์ตูนเรื่อง ใครว่าข้าไม่เก่ง (KOKO TEKKENDEN TOUGH) ปรากฏตัวครั้งแรกในตอนที่ 155 ซึ่งเขียนโดย เท็ตสึยะ ซารุวาตาริ

ประวัติตามท้องเรื่อง[แก้]

เกรียงอาจ สุวรรณภักดี เป็นนักมวยไทยตั้งแต่อายุ 10 ขวบจากภาคอีสานของไทย เขาเคยแข่งมวยกับเพื่อนนักมวยไทยคนหนึ่งจากคลองเตย ผลการแข่งในครั้งนั้น เกรียงอาจเป็นฝ่ายชนะ เพื่อนนักมวยจากคลองเตยจึงได้มอบพระเครื่อง ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "พระร่วง" แก่เกรียงอาจ ก่อนที่เพื่อนจากคลองเตยคนนี้ตัดสินใจใช้มีดตัดขาของตนทิ้งเพื่อละเส้นทางนักมวยเพื่อไปเป็นขอทาน เนื่องจากในสมัยนั้นหากหมดโอกาสแข่งขันแล้วก็ไม่สามารถหารายได้ด้วยวิธีอื่นได้อีกเลย เหตุการณ์ในครั้งนั้นสร้างความสะเทือนใจแก่เกรียงอาจเป็นอย่างมาก

เมื่อเกรียงอาจเติบโตขึ้น เขาได้เดินทางมายังประเทศญี่ปุ่น แล้วปราบนักสู้ชาวญี่ปุ่นไปหลายราย ไม่ว่าจะเป็น โอมุมะ รวมทั้งศิษย์สำนักคาราเต้ เทซึชิน, โทงุ อากิระ นักมวยคิกบอกซิ่ง และอาริคาวะ โคเก็น เจ้าสำนักเทซึชิน ทำให้ คีโบ (มิยาซาว่า คิอิจิ) ประจักษ์ในฝีมือ และมีความปรารถนาที่จะดวลฝีมือกับเกรียงอาจบ้าง คีโบจึงเริ่มฝึกวิชามวยไทยอย่างจริงจังเพื่อรอวันประลองฝีมือกับเกรียงอาจ เมื่อได้เผชิญฝีมือกันแล้วทำให้คีโบประจักษ์ว่ามวยไทย เป็นศิลปะการต่อสู้ที่มีทักษะท่ายืนที่ดีที่สุด ทั้งคู่เคยปะทะกันอย่างดุเดือดหลายครั้ง และการปะทะกันในครั้งหลังส่งผลให้คีโบถึงกับหมดสติ ก่อนที่พ่อของคีโบจะเข้ามาห้ามเอาไว้ได้ทัน พ่อของคีโบนำพระเครื่องมามอบให้แก่เกรียงอาจ เมื่อเกรียงอาจเห็นเช่นนั้นแล้วจึงมีอาการสงบลง ในภายหลังเกรียงอาจกับคีโบได้เป็นเพื่อนกัน ก่อนที่จะให้คำมั่นสัญญาว่าจะพบกันอีกในโอกาสต่อไป

ส่วนเกี่ยวข้อง[แก้]

  • สถิติการชก : ชนะ 16 แพ้ 1
  • ท่าไม้ตาย : จงอางฉก, ศอกกลับ

การปรากฏตัวในสื่ออื่น[แก้]

ครั้งหนึ่ง ได้มีการนำเกรียงอาจ ไปเป็นตัวละครประกอบในเกมสล็อต แมชชีน ที่ประเทศญี่ปุ่น[1]

การตอบรับ[แก้]

เกรียงอาจเป็นนักมวยไทยที่สามารถเอาชนะ มิยาซาว่า คิอิจิ (คีโบ) ตัวเอกของเรื่องได้ และได้รับการกล่าวว่าเป็นนักมวยไทยอันดับหนึ่งของเรื่อง[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. การปรากฏตัวของเกรียงอาจในเกมสลอทแมชชีน (ญี่ปุ่น)
  2. The Global-Thai Backbone. กองบรรณาธิการ. THE COMPANY. ปีที่ 14 ฉบับที่ 166. กันยายน 2554. เลิฟแอนด์ลิฟเพรส. หน้า 101

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]