เกตุ สันติเวชชกุล
หัวข้อของชีวประวัตินี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไปหรือบทความบุคคล |
เกตุ สันติเวชชกุล | |
---|---|
รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2523 – 20 เมษายน พ.ศ. 2524 | |
ผู้บัญชาการ | พลเอก เสริม ณ นคร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 มกราคม พ.ศ. 2467 ตำบลสะพานขาว อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 13 มกราคม พ.ศ. 2533 (65 ปี) โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | พัธยา พัฒฑนะ (สมรส 2490) |
บุตร | 3 คน |
บุพการี |
|
ศิษย์เก่า | |
อาชีพ | ทหารเรือ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ![]() |
สังกัด | |
ประจำการ | พ.ศ. 2486 – พ.ศ. 2527 |
ยศ | ![]() |
ผ่านศึก | |
พลเรือเอก เกตุ สันติเวชชกุล (21 มกราคม พ.ศ. 2467 – 13 มกราคม พ.ศ. 2533) เป็นนายทหารเรือชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่น รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดและรองปลัดกระทรวงกลาโหม
ประวัติ
[แก้]ชีวิตส่วนตัว
[แก้]พลเรือเอก เกตุ สันติเวชชกุล[1] เกิดเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2466 (นับแบบปัจจุบันคือปี พ.ศ. 2467) ที่ตำบลสะพานขาว อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร เป็นบุตรคนโตของอุปถัมภ์ กับทองอยู่ สันติเวชชกุล มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน
พลเรือเอก เกตุ สันติเวชชกุล สมรสกับพัธยา สันติเวชชกุล (สกุลเดิม พัฒฑนะ) ธิดาของหลวงเวชชสารบริรักษ์ (ถนอม พัฒฑนะ) กับจิ๋ม เวชชสารบริรักษ์ เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2490 มีบุตรธิดารวม 3 คน คือ
- รัศนี สันติเวชชกุล
- รองศาสตราจารย์ ดร.กมเลศน์ สันติเวชชกุล
- พลตรี เมตไตรย สันติเวชชกุล
การศึกษา
[แก้]พลเรือเอก เกตุ ได้รับการศึกษา ดังนี้[1]
- พ.ศ. 2481 : โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- พ.ศ. 2486 : โรงเรียนนายเรือ
- พ.ศ. 2500 : โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ ชุดที่ 3
- พ.ศ. 2501 : โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ รุ่นที่ 19
- พ.ศ. 2502 : โรงเรียนเสนาธิการผสม
- พ.ศ. 2509 : วิทยาลัยการทัพเรือ
- พ.ศ. 2510 : วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 10
นอกจากนี้พลเรือเอก เกตุ เคยได้ไปศึกษาวิชาเพิ่มเติม หลักสูตรต่าง ๆ ผ่านการอบรมวิชาการ ศึกษาที่ต่างประเทศและการฟังการบรรยายอีกหลายครั้ง
การทำงาน
[แก้]พลเรือเอก เกตุ สันติเวชชกุล รับราชการที่กองทัพเรือ ครั้งแรกในตำแหน่งสำรองราชการกรมเสนาธิการทหารเรือ ในปี พ.ศ. 2486 จนกระทั่งเกษียณอายุราชการในตำแหน่งประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด ในปี พ.ศ. 2527 และได้ดำรงงตำแหน่งสำคัญ ๆ ดังนี้[1]
การรับราชการสำคัญ
[แก้]- พ.ศ. 2508 : ผู้บังคับการกองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ[2]
- พ.ศ. 2512 : เจ้ากรมยุทธการทหารเรือ[3]
- พ.ศ. 2516 : เสนาธิการกองเรือยุทธการ[4]
- พ.ศ. 2516 : ผู้ช่วยเสนาธิการทหารเรือฝ่ายยุทธการ[5]
- พ.ศ. 2520 : รองเสนาธิการทหารเรือ[6]
- พ.ศ. 2521 : รองปลัดกระทรวงกลาโหม[7]
- พ.ศ. 2523 : รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด[8]
- พ.ศ. 2524 : ประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด[9]
ราชการพิเศษ
[แก้]- พ.ศ. 2508 : ราชองครักษ์เวร[10]
- พ.ศ. 2517 : ราชองครักษ์พิเศษ[11]
- พ.ศ. 2519 : สมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน[12]
- พ.ศ. 2520 : สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[13]
- พ.ศ. 2521 : ประธานกรรมการองค์การทอผ้า[14]
- พ.ศ. 2523 : นายทหารพิเศษประจำกองนักเรียนายเรือ รักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ และประจำกองบังคับการ กรมทหารราบที่ 3 รักษาพระองค์ กรมนาวิกโยธิน[15]
- พ.ศ. 2524 : ตุลาการศาลทหารสูงสุด[16]
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]พลเรือเอก เกตุ สันติเวชชกุล ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2533 เวลา 08.00 น. ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน สิริอายุได้ 65 ปี 358 วัน มีการสวดพระอภิธรรมศพที่ศาลาสิทธิสยามการ วัดธาตุทอง และพิธีพระราชทานเพลิงศพมีขึ้นที่เมรุวัดธาตุทอง[1]
เกียรติยศ
[แก้]ยศทหาร
[แก้]- พ.ศ. 2482 : นักเรียนนายเรือ
- พ.ศ. 2486 : ว่าที่เรือตรี
- พ.ศ. 2487 : เรือตรี[17]
- พ.ศ. 2489 : เรือโท[18]
- พ.ศ. 2493 : เรือเอก[19]
- พ.ศ. 2495 : นาวาตรี[20]
- พ.ศ. 2499 : ว่าที่นาวาโท
- พ.ศ. 2500 : นาวาโท[21]
- พ.ศ. 2502 : นาวาเอก[22]
- พ.ศ. 2508 : พลเรือตรี[23]
- พ.ศ. 2516 : พลเรือโท[24]
- พ.ศ. 2521 : พลเรือเอก[25]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]พลเรือเอก เกตุ สันติเวชชกุล ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทย สหประชาชาติ และต่างประเทศ ดังนี้[1]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2521 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[26]
- พ.ศ. 2517 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[27]
- พ.ศ. 2522 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[28]
- พ.ศ. 2505 –
เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[29]
- พ.ศ. 2498 –
เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[30]
- พ.ศ. 2514 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[31]
- พ.ศ. 2518 –
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[32]
- พ.ศ. 2499 –
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[33]
- พ.ศ. 2497 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 4 (ภ.ป.ร.4)[34]
- พ.ศ. 2493 –
เหรียญพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2500 –
เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
เหรียญสหประชาชาติ
[แก้]สหประชาชาติ :
- พ.ศ. 2497 –
เหรียญสหประชาชาติเกาหลี[35]
- พ.ศ. 2497 –
ต่างประเทศ
[แก้]สหรัฐ :
- พ.ศ. 2497 –
เหรียญบรอนซ์สตาร์[36]
- พ.ศ. 2497 –
เวียดนามใต้ :
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 เกตุ สันติเวชชกุล, พล.ร.อ., 2466-2533 (2534). บทความเรื่อง จากคลองสุเอชถึงคลองกระหรือไม่. ม.ป.พ.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๘๘ ง หน้า ๒๔๙๙, ๑๒ ตุลาคม ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๘๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๑ ตุลาคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๔๓ ง หน้า ๑๒๒๔, ๒๔ เมษายน ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๓๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๑๑ ตุลาคม ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๘๙ ง หน้า ๓๘๙๖, ๒๗ กันยายน ๒๕๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๑๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๑ ตุลาคม ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๖๘ ง หน้า ๑๒๕๓, ๕ พฤษภาคม ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๕๗ ง หน้า ๑๙๑๑, ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๓๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๑ สิงหาคม ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๙ ก ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๑๑๔ ก ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการองค์การทอผ้า, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๓๑ ง หน้า ๗๕๔, ๒๑ มีนาคม ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งตุลาการศาลทหารสูงสุด, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๖ มกราคม ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๗๕ ง หน้า ๒๓๖๕, ๑๒ ธันวาคม ๒๔๘๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร, เล่ม ๖๓ ตอนที่ ๕๑ ง หน้า ๑๐๐๓, ๒๓ กรกฎาคม ๒๔๘๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๑๕ ง หน้า ๑๑๘๘, ๑๔ มีนาคม ๒๔๙๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๓๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๑๑ มิถุนายน ๒๔๙๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๓๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๐, ๔ เมษายน ๒๕๐๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔๘, ๓ เมษายน ๒๕๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๖๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๔ มิถุนายน ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๑๗ มกราคม ๒๕๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๙๓ ง หน้า ๒๒๔๕, ๑๒ มิถุนายน ๒๕๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๐๕, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๓๘ ง หน้า ๑๑๘๕, ๒๔ พฤษภาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๙๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๖ สิงหาคม ๒๕๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๑๒๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๘, ๗ กรกฎาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑๕, ๒๓ มกราคม ๒๕๐๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๑ ง หน้า ๒๗๓๖, ๗ ธันวาคม ๒๔๙๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญปฏิบัติงานสหประชาชาติ, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๑๓ ง หน้า ๖๑๐, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๕๖ ง หน้า ๑๙๗๐, ๗ กันยายน ๒๔๙๗
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2467
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2533
- ทหารเรือชาวไทย
- บุคคลจากเขตพระนคร
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนนายเรือ
- บุคคลจากโรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ
- บุคคลจากวิทยาลัยการทัพเรือ
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ราชองครักษ์เวร
- ราชองครักษ์พิเศษ
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ. (ฝ่ายหน้า)