อาร์เอ็มเอส โอลิมปิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บทความนี้เกี่ยวกับเรือเดินสมุทร สำหรับความหมายอื่น ดูที่ โอลิมปิก (แก้ความกำกวม)
Olympic in New York cropped.jpg
อาร์เอ็มเอส โอลิมปิก มาถึงนิวยอร์ช ในการเดินทางรอบปฐมฤกษ์ 4 นิถุนายน 1911
ประวัติ
 สหราชอาณาจักร
ชื่ออาร์เอ็มเอส โอลิมปิก (RMS Olympic)
เจ้าของ ไวท์ สตาร์ ไลน์ (ค.ศ. 1911 – 1934) คูนาร์ด–ไวท์ สตาร์ ไลน์ (ค.ศ. 1934 – 1935)
ผู้ให้บริการWhite Star flag NEW.svg ไวท์ สตาร์ ไลน์ (ค.ศ. 1911 – 1934) Cunard White Star Line Logo.JPGคูนาร์ด–ไวท์ สตาร์ ไลน์ (ค.ศ. 1934 – 1935)
ท่าเรือจดทะเบียนGovernment Ensign of the United Kingdom.svg[1] ลิเวอร์พูล, อังกฤษ, สหราชอาณาจักร
เส้นทางเดินเรือเซาแทมป์ตันเชอร์บูร์กควีนส์ทาวน์นิวยอร์ก
Yard number400[2]
ปล่อยเรือ16 ธันวาคม ค.ศ. 1908
เดินเรือแรก20 ตุลาคม ค.ศ. 1910
Maiden voyage4 มิถุนายน ค.ศ. 1911
บริการค.ศ. 1911 - ค.ศ. 1934
หยุดให้บริการ1935
รหัสระบุหมายเลขทางราชการ (อังกฤษ): 131346 ตัวอักษรรหัส HSRP (until 1933)
ความเป็นไปปลดระวางในปี 1935-37
ลักษณะเฉพาะ
ชั้น: ตระกูลโอลิมปิก
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 45,324 ตัน (เพิ่มเป็น 46,358 ตัน ในปี 1913, และ 46,439 ตัน ในปี 1920)[2][3]
ความยาว: 882 ฟุต 6 นิ้ว (269.1 เมตร)
ความกว้าง: 92 ฟุต 6 นิ้ว (28.3 เมตร)
ความสูง: 175 ฟุต (53.4 เมตร)
กินน้ำลึก: 34 ฟุต 7 นิ้ว (10.5 เมตร)
ดาดฟ้า: 9 ชั้น (8 ชั้น สำหรับผู้โดยสาร และ 1 ชั้น สำหรับลูกเรือ)
เครื่องยนต์: 2 ชุดเครื่องยนต์ 4 กระบอกสูบไอน้ำ Triple Expansion ขับเคลื่อนโดยตรงกับใบจักรข้างซ้าย-ขวา ให้กำลัง 30,000 แรงม้า 75 รอบ/นาที และไอน้ำความดันต่ำที่ผ่านการใช้เครื่องยนต์กระสอบสูบทั้งสองชุดเข้าสู่ เครื่องยนต์เทอร์ไบน์ขับเคลื่อนผ่านชุดเกียร์สู่ใบจักรกลาง ให้กำลัง 16,000 แรงม้า 165 รอบ/นาที[4][3]
ใบจักร: 3 ใบ ทำจากสัมฤทธิ์ โดยใบจักรกลางขนาด 16 ฟุต ดุมใบจักรเป็นกรวยครอบ พวงใบจักรมี 4 ใบ และใบจักรข้างทั้งสอง ขนาด 23 ฟุต 6 นิ้ว ไม่มีกรวยครอบที่ดุม พวงใบจักรมี 4 ใบ[3]
ความเร็ว:
  • ความเร็วสูงสุด 21 นอต (เพิ่มเป็น 23 นอต ในปี 1933)
[3]
ความจุ: ผู้โดยสาร 2,435 คน[3]
ลูกเรือ: 950 คน

อาร์เอ็มเอส โอลิมปิก (อังกฤษ: RMS Olympic) เป็นชื่อเรือเดินสมุทรของบริษัทไวท์ สตาร์ ไลน์ (White Star Line) ซึ่งครั้งหนึ่งเรือลำนี้เคยเป็นเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1908 สร้างเสร็จเมื่อ 20 ตุลาคม ค.ศ. 1910 ที่เบลฟาสท์, ไอร์แลนด์ (Belfast, Ireland) เรือโอลิมปิก เป็น เรือลำแรกจากสามลำในโครงการ (อีก 2 ลำคือเรือ ไททานิค และ บริแทนนิค ตามลำดับ) เรือตระกูลโอลิมปิก (Olympic class ships)

สาเหตุการสร้างเรือโอลิมปิก[แก้]

เรือโอลิมปิก และ อาร์เอ็มเอส ลูซิทาเนีย (RMS Lusitania)

สายการเดินเรือคูนาร์ด (Cunard Line) ซึ่งเป็นคู่แข่งรายสำคัญของไวต์สตาร์ไลน์ ได้ต่อเรือ อาร์เอ็มเอส ลูซิทาเนีย (RMS Lusitania) ต่อขึ้นในอู่ต่อเรือ John Brown ใน ค.ศ. 1907 เป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกแทนเรือ SS Kaiserin Auguste Victoria

และในปีเดียวกัน คูนาร์ดก็สร้าง อาร์เอ็มเอส มอริทาเนีย หรือ อาร์เอ็มเอส มอร์ทาเนีย (RMS Mauretania) ที่ต่อขึ้นในอู่ต่อเรือ Tyneside ได้ออกบริการในปีเดียวกัน เป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกแทน RMS Lusitania ทั้งคู่มีขนาดใหญ่กว่า 30000 ตัน แล่นด้วยความบริการ 24 นอต(44.448 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)[5] เป็นเรือแฝดรุ่นใหม่ของคูนาร์ด ล้ำหน้ากว่าเรือ 4 ลำของไวต์สตาร์ ทั้งด้านความเร็ว และขนาด

ลักษณะเฉพาะของเรือ[แก้]

ขับเคลื่อนด้วย 3 ใบจักร 2 เครื่องยนต์กระบอกสูบ 1 เครื่องยนต์เทอร์ไบน์ เรือทั้งสามมีเสากระโดงเรือ 2 หรือ 3 แห่ง ปล่องไฟ 4 ปล่อง เรือโอลิมปิก มีขนาดใหญ่ถึง 45,324 ตัน ยาว 269 เมตร ชั้นห้องเครื่องมี 16 ห้อง หม้อน้ำรวม 29 ชุด เร่งความเร็วเรือได้สูงสุด 24 น็อต (44.448กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ความเร็วมาตรฐาน 21 น็อต (38.892 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) สามารถจุผู้โดยสารได้ 2,435 คน[6]

ลักษณะทั่วไปอื่น ๆ[แก้]

  • ปล่องไฟ: 4 ปล่อง ติดหวูดไอน้ำทุกปล่อง ใช้เส้นเคเบิลตรึงปล่องละ 12 เส้น โดยแต่ละปล่องทำมุม 3.27 องศาจากแนวตั้งฉาก ใช้งานจริง 3 ปล่องแรก ปล่องสุดท้ายให้ระบายอากาศและทำให้ดูสมดุล
  • การทาสี: ปลายปล่องไฟทาสีดำ ตัวปล่องทาสีเหลืองอ่อนเนื้อลูกวัว ซุเปอร์สตรัคเจอร์ทาสีขาวงาช้าง ตัวเรือทำสีดำ โดยมีแถบสีทองคาดกลางระหว่างตัวเรือและซุเปอร์สตัคเจอร์ตลอดความยาวเรือ ท้องเรือใต้แนวน้ำทางสีแดง ใบจักรสีทองบรอนซ์
  • หัวเรือ: ออกแบบให้มีที่ตัดน้ำแข็งทางหัวเรือ โดยมี สมอเรือ 2 ตัว ปั่นจั่น 1 ตัว เสากระโดงเรือ 1 ต้องและช่องขนสินค้า
  • ท้ายเรือ: หางเสือ 1 ตัว, สะพานเทียบเรือ, ปั้นจั่นยกสินค้า 2 ตัว
  • ประเภทวัสดุสร้างเรือ: เฟรม ทำจาก เหล็ก, โครงสร้างภายใน ทำจาก ไม้, เปลือกเรือภายในและภายนอก ทำจาก เหล็กกล้า พื้นดาดฟ้าเรือ ปูด้วย ไม้สัก ปล่องไฟ ทำจาก เหล็กกล้า, เสากระโดงเรือ ทำจาก ไม้สนสพรูซ (spruce) ท้องเรือ 2 ชั้น มีปีก stabilizer และมีเข็มทิศขนาดใหญ่บนดาดฟ้าชั้น Sun Deck ระหว่างปล่องไฟหมายเลข 2 และ 3
  • ดาดฟ้า: 10 ชั้น; 7 ชั้นสำหรับผู้โดยสาร, 3 ชั้นสำหรับลูกเรือ โดยมี Sun deck, Boat (ชั้น เอ), Promenade (ชั้น บี), decks ซี-จี, ชั้นท้องเรืออีก 2 ชั้น (เป็นพื้นที่สำหรับหม้อน้ำ, เชื้อเพลิง, เครื่องยนต์, ห้องผนึกน้ำ, ประตูกั้นน้ำ หรือพื้นทีสำหรับเพลาใบจักร เป็นต้น)
  • ตำแหน่งห้องวิทยุสื่อสาร: ชั้นเรือบด กราบซ้าย ถัดจากห้องสะพานเดินเรือ
  • ตะเกียงส่งสัญญาณ: 2 ดวง ติดตั้งทั้งกราบซ้ายและขวา บริเวณปีกสะพานเดินเรือชั้นเรือบด
  • สมอเรือ: 2 ตัว ตำแหน่งกราบซ้ายและขวาหัวเรือ หนัก 27 ตัน/ตัว
  • ปั้นจั่นไฟฟ้า: 9 ตัว โดยมี 1 ตัว ที่หัวเรือสำหรับสมอเรือ; 2 ตัว บนชั้น ซี ด้านหน้าของซุเปอร์สตรัคเจอร์ ใกล้กับช่องสินค้า (Well deck); 2 ตัว บนชั้น บี ค่อนไปทางท้ายเรือ; 2 ตัว บนชั้น ซี ด้านหลังของซุเปอร์สตรัคเจอร์ ใกล้กับช่องสินค้า (Well deck)
  • โกดังสินค้า: 9 แห่ง (ห้องมาตรฐาน 6 ห้อง ห้องแช่แข็ง 2 ห้อง และห้องไปรษณีย์ ห้อง)
  • ลิฟต์สินค้า: 2 ตัว (ตัวแรกจากชั้น เอ ไป ชั้น ดี ตัวที่สอง จากชั้น ดี ไปชั้น จี และลงท้องเรือโดยบันได)
  • ฝากั้นน้ำ: 15 แนวแบ่งเป็น 16 ห้อง พร้อมประตูประตูผนึกน้ำทำงานด้วยไฟฟ้า
  • ความจุผู้โดยสาร: แบบพักเดี่ยว 1,324 คน (ชั้นหนึ่ง 329 คน ชั้นสอง 285 คน และชั้นสาม จำนวน 710 คน) และสามารถปรับเปลี่ยนเป็นพักแบบคู่ในบางห้องได้เป็น 2,435 คน ( ชั้นหนึ่ง 735 คน, ชั้นสอง 674 คน และชั้นสาม 1,026 คน )
  • ความจูสูงสุด: 3,547 คน
  • เสื้อชูชีพ: 3,560 ชุด
  • ห่วงชูชีพ: 49 ห่วง
  • ลูกเรือ: 899 คน

ระบบขับเคลื่อน[แก้]

  • หม้อน้ำ: 29 ตัว ผลิตโดย เดนนี่ แอนด์ ซันส์ ในลิเวอร์พูล 24 ตัวเป็นแบบเติมถ่านได้ 2 ฝั่ง (6 ช่องเตาต่อหม้อน้ำ 1 ตัว) อีก 5 ตัวเติมถ่านได้ฝั่งเดียว (3 ช่องเตาต่อหม้อน้ำ 1 ตัว) รวมพื้นที่นำความร้อน (Active Heat Surface) 144,142 ตารางฟุต
  • เชื้อเพลิง: ถ่านหิน 825 ตัน/วัน
  • น้ำจืด: 14,000 แกลลอน/วัน
  • หางเสือ: 1 ตัว ตำแหน่งท้ายเรือตรงกลาง หนัก 100 ตัน, ยึดด้วยบานพับ 6 จุด
  • ความเร็วเรือออกแบบ: 20-23 นอต
  • ความเร็วสูงสุด: 24 นอต ต่อชั่วโมง

ประวัติ[แก้]

เรือไททานิกและเรือโอลิมปิก
เอชเอ็มที โอลิมปิก (HMT Olympic)

หลัง RMS Mauretania เป็นเรือโดยสารใหญ่ที่สุดในโลกมาราว 4 ปี เรือลำแรกในโครงการต่อเรือ 3 ลำของไวต์สตาร์ไลน์ (เป็นการต่อเรือขนาดใหญ่ 3 ใบเถา เน้นรูปแบบการบริการของสายการเดินเรือที่หรูหราเป็นหลักความเร็วเป็นรอง) ชื่อ อาร์เอ็มเอส โอลิมปิก (RMS Olympic) สร้างเสร็จใน ค.ศ. 1911 มีขนาดใหญ่กว่าเรือ RMS Mauretania มากกว่า 40% ทำให้กลายเป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก

อาร์เอ็มเอส โอลิมปิก เป็นเรือคู่แฝดกับ อาร์เอ็มเอส ไททานิก เรือโอลิมปิกเบากว่าไททานิก ถึง 1000 ตัน หลังจากออกบริการผู้โดยสารได้ไม่าน เรือโอลิมปิก ต้องถูกส่งซ่อมเป็นเวลา 6 เดือน เพราะเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนกับเรืออีกลำที่ชื่อ HMS Hawke ด้วยสาเหตุที่สรุปออกมาว่ามาจาก ขนาดและความเร็วของเรือ Olympic มีผลทำให้เกิดกระแสน้ำดึงเอาเรือ Hawke เข้าไปทำให้เกิดอุบัติเหตุดังกล่าว จนเรือชำรุดเสียหายทั้งคู่[7] และเรือโอลิมปิกต้องถูกส่งกลับไปซ่อมแซมที่เบลฟาสต์[8] กัปตันเรือโอลิมปิกในครั้งนั้นก็ไม่ใช่ใครที่ไหน คือกัปตันเอ็ดเวิร์ด เจ. สมิท ผู้ซึ่งต่อมาเป็นกัปตันเรือไททานิกนั่นเอง[9]

เรือโอลิมปิก ที่ถูกปรับเปลี่ยนไปเป็นเรือรบ

ต่อมา ใน วันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912 เรือไททานิกจมลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ หลังจากกชนเข้ากับภูเขาน้ำแข็ง ในการเดินทางครั้งแรก มีผู้รอดชีวิตทั้งสิ้นกว่า 700 คนและมีผู้เสียชีวิตกว่า 1,500 คน นับเป็นภัยพิบัติครั้งร้ายแรงครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเดินเรือ

ภายหลังการอัปปางของเรือไททานิก เรือโอลิมปิกได้รับการปรับปรุงอีกครั้งเพื่อเพิ่มความปลอดภัย ทำให้เรือโอลิมปิก กลายเป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก[10]

หลังจากการจมของเรือไททานิก ทำให้เรือโอลิมปิก ต้องมีการปรับปรุงขนานใหญ่เพื่อความปลอดภัยเป็นเวลา 6 เดือน เช่นการเพิ่มความแข็งแรงของส่วนล่างของเรือ และที่แน่นอน คือการรวมถึงการเพิ่มเรือชูชีพเข้าไปอีกด้วย[11]

ต่อมา สายการเดินเรือฮาเป็ก (Hapag หรือ Hamburg Amerika Line) จากเยอรมนี ได้สร้างเรือ เอสเอส อิมเพอเรเตอร์ (SS Imperator) (ต่อมาเป็น RMS Berengaria ของสายการเดินเรือคูนาร์ด) สร้างเสร็จใน ค.ศ. 1912 เป็นเรือลำแรกในโครงการต่อเรือ 3 ลำ SS Imperator ใหญ่กว่าเรือโอลิมปิก

ในปี 1914 (2 ปีกว่าหลังเรือไททานิกจม) เรือโอลิมปิกได้ถูกปรับเปลี่ยนไปเป็นเรือรบเพื่อเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 และเปลี่ยนชื่อเป็น เอชเอ็มที โอลิมปิก (HMT Olympic) และอยู่รอดจนจบสงคราม[12] และถูกนำกับมาใช้เป็นเรือโดยสารเหมือนเดิมในปี 1920 ในกระทั่งในปี 1935 เรือได้เดินทางขนส่งผู้โดนสารเป็นเที่ยวสุดท้ายแล้วกลับเข้าอู่เรือในเมืองเซาท์แธมตัน ประเทศอังกฤษ(Southampton, England) และถูกขายต่อให้บริษัทอุตสาหกรรมโลหะ และถูกแยกชิ้นในปี 1937 นับว่าเป็นเรือลำเดียวจากเรือคู่แฝด 3 ลำที่หมดอายุการใช้งานบนบก

อ้างอิง[แก้]

  1. Wilson, Timothy (1986). "Flags of British Ships other than the Royal Navy". Flags at Sea. London: Her Majesty's Stationery Office. p. 34. ISBN 0-11-290389-4.
  2. 2.0 2.1 Olympic Home at Atlantic Liners
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "The Great Ocean Liners: Olympic". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-13. สืบค้นเมื่อ 2010-02-17.
  4. Mark Chirnside's Reception Room: Olympic, Titanic & Britannic: Olympic Interview, January 2005
  5. "RMS Mauretania". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-11. สืบค้นเมื่อ 2009-05-03.
  6. Mark Chirnside's Reception Room: Olympic, Titanic & Britannic: Olympic Interview, January 2005
  7. Bonner, Kit (2003). Great Ship Disasters. MBI Publishing Company. pp. 33–34. ISBN 0760313369. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  8. Classic Liners and Cruise Ships - RMS Titanic
  9. Beveridge, p. 76
  10. Miller, William H. (2001). Picture History of British Ocean Liners, 1900 to the Present. Dover Publications. ISBN 0486415325. {{cite book}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help)
  11. "FIREMEN STRIKE; OLYMPIC HELD; Part of Crew Leave Vessel as She Is About to Sail from Southampton with 1,400 Passengers.", New York Times, 25 April 1912
  12. "RMS Olympic". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1998-12-02. สืบค้นเมื่อ 2008-12-05.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]