อาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
RMS Carpathia.jpg
เรือคาร์เพเทีย
ประวัติ
ชื่ออาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย
เจ้าของสายการเดินเรือคูนาร์ด (Cunard Line)
ท่าเรือจดทะเบียนลิเวอร์พูล, อังกฤษ, สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร
เส้นทางเดินเรือลิเวอร์พูล - นิวยอร์ก
อู่เรืออู่ต่อเรือ Swan Hunter
ปล่อยเรือ10 กันยายน ค.ศ. 1901
เดินเรือแรก6 สิงหาคม ค.ศ. 1902
Maiden voyage5 พฤษภาคม ค.ศ. 1903
บริการค.ศ. 1903 - ค.ศ. 1918
หยุดให้บริการN/A
ความเป็นไปอัปปางในวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1918 สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง - เรือดำน้ำเยอรมันยิงตอร์ปิโดเข้าใส่ เรือคาร์เพเทียจนอับปางลง [1]
ลักษณะเฉพาะ
ชั้น: เป็นเรือดัดแปลงของเรือในชั้นโอเวอร์เนีย เรือเดินสมุทร
ขนาด (ตัน): 13,550 ตัน
ความยาว: 558 ฟุต (170 เมตร)
ความกว้าง: 64 ฟุต (19.5 เมตร)
ความสูง: 139 ฟุต (42.5 เมตร)
กินน้ำลึก: 34 ฟุต (10.2 เมตร)
ดาดฟ้า: 7 ชั้น
ใบจักร: ขับเคลื่อนด้วย 2 ใบจักร
ความเร็ว: เร่งความเร็วเรือได้สูงสุด 17.5 น็อต (32.4 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ความเร็วมาตรฐาน 14 น็อต (26 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ความจุ: สามารถจุผู้โดยสารได้ 1,704 คน (หลังจากนั้น จุได้ 1,905 , 2,550 คน ตามลำดับ) โดยแบ่งเป็น ชั้นสาม 2,250 คน , ชั้นสอง 200 คน และชั้นหนึ่ง 100 คน

อาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย (อังกฤษ: RMS Carpathia) คือชื่อเรือเดินสมุทรของสายการเดินเรือคูนาร์ด (Cunard Line) เริ่มก่อสร้างเมื่อ ค.ศ. 1901 สร้างเสร็จเมื่อ ค.ศ. 1903 เป็นเรือที่รู้จักกันดีในฐานะเรือที่ไปช่วยเหลือผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์เรืออาร์เอ็มเอส ไททานิก อัปปาง เมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912 และเรือลำนี้ก็อัปปางลงในวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1918 ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยเรือดำน้ำเยอรมันยิงตอร์ปิโดเข้าใส่เรือคาร์เพเทียจนอับปางลงในทะเลเคลติก โชคดีที่ไม่มีผู้เสียชีวิต

ความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ไททานิกอัปปาง[แก้]

นางมอลลี บราวน์ (Molly Brown) และกัปตันของเรือคาร์เพเทีย
เรือคาร์เพเทีย อัปปาง

วันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912 เรืออาร์เอ็มเอส ไททานิก ชนกับภูเขาน้ำแข็งและอัปปางระหว่างการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกครั้งแรก เจ้าหน้าที่วิทยุให้ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือออกไป และเรืออาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย (RMS Carpathia) รับสัญญาณขอความช่วยเหลือของไททานิกได้ และตอบกลับ และคาร์เพเทียจะไปถึงเรือไททานิกภายในเวลา 4 ชั่วโมง[2] เวลา 4 นาฬิกา 10 นาที อาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย ได้เข้าไปช่วยเหลือผู้รอดชีวิตบนเรือสำรองทั้งหมดและพาสู่นิวยอร์ก[3] และเรือคาร์เพเทียก็ได้มาถึงเมืองนิวยอร์กในวันที่ 18 เมษายน เวลาประมาณ 9.00 น.

อ้างอิง[แก้]

  1. "Carpathia sunk; 5 of crew killed;", New York Times, p. 4, July 20, 1918>
  2. "Pleas For Help - Distress Calls Heard". United States Senate Inquiry Report. สืบค้นเมื่อ 2008-11-24.
  3. ""RMS Carpathia"". สืบค้นเมื่อ 2008-11-08. {{cite web}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]