อาร์เอ็มเอส ควีนเอลิซาเบธ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาร์เอ็มเอส ควีนเอลิซาเบธ
ประวัติ
สหราชอาณาจักร
ชื่อ
  • 2472–2511: ควีนเอลิซาเบธ
  • 2511–2513: เอลิซาเบธ
  • 2513–2515: มหาวิทยาลัยซีไวส์
ตั้งชื่อตามสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี
เจ้าของ
ท่าเรือจดทะเบียน
เส้นทางเดินเรือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก
Ordered6 ตุลาคม พ.ศ. 2479
อู่เรือจอห์น บราวน์ แอนด์ คอมพานี ไคลด์แบงก์, สกอตแลนด์
Yard numberHull 552
Way number4
ปล่อยเรือ4 ธันวาคม พ.ศ. 2479[1]
เดินเรือแรก27 กันยายน พ.ศ. 2481
Christened27 กันยายน พ.ศ. 2481
สร้างเสร็จ2 มีนาคม พ.ศ. 2483
Maiden voyage16 ตุลาคม พ.ศ. 2489[2][3]
บริการพ.ศ. 2489–2515
รหัสระบุหมายเลข IMO: 5287902 สัญญาณเรียกขาน: GBSS
ความเป็นไปถูกไฟไหม้และพลิกคว่ำ ซากเรือถูกรื้อถอนบางส่วนระหว่างปี พ.ศ. 2517-2518 ส่วนที่เหลือถูกฝังดิน
หมายเหตุปลดระวาง
ลักษณะเฉพาะ
ประเภท: เรือเดินสมุทร
ขนาด (ตัน): 83,673 ตัน
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 84331+ ตัน
ความยาว: 314.2 เมตร (1,031 ฟุต)
ความกว้าง: 36 เมตร (118 ฟุต)
ความสูง: 71 เมตร (233 ฟุต)
กินน้ำลึก: 11.8 เมตร (38 ฟุต 9 นิ้ว)
ดาดฟ้า: 13 ชั้น
ระบบพลังงาน: หม้อไอน้ำ Yarrow 12 ชุด
ระบบขับเคลื่อน:
  • กังหันไอน้ำ Parsons แบบเกียร์ทดรอบเดียว 4 ชุด
  • จักรปีก 4 ใบจักร จำนวน 4 จักร กำลัง 200,000 แรงม้า[4]
ความเร็ว:
  • 32 น็อต (59 กม./ชม.; 37 ไมล์/ชม.) (ความเร็วบริการ)
  • ความจุ: ผู้โดยสาร 2,283 คน
    ลูกเรือ: 1,000 คนขึ้นไป

    อาร์เอ็มเอส ควีนเอลิซาเบธ (อังกฤษ: RMS Queen Elizabeth) ชื่อเต็ม เรือไปรษณีย์หลวงสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ เป็นเรือเดินสมุทรของสายการเดินเรือคูนาร์ด ไลน์ ร่วมกับอาร์เอ็มเอส ควีนแมรี ให้บริการเรือเดินสมุทรหรูหรารายสัปดาห์ระหว่างเซาแธมป์ตัน ในสหราชอาณาจักร แชร์บูร์ก ในฝรั่งเศส และนครนิวยอร์ก ในสหรัฐอเมริกา

    ในระหว่างกำลังก่อสร้างในช่วงกลางทศวรรษที่ 1930 โดยอู่ต่อเรือจอห์น บราวน์ แอนด์ คอมพานี ที่เมืองไคลด์แบงก์ ประเทศสกอตแลนด์ รหัสของโครงการดังกล่าวรู้จักกันในชื่อ "Hull 552" เปิดตัวเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2481 ได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี ด้วยการออกแบบที่ปรับปรุงตามเรืออาร์เอ็มเอส ควีนแมรี เรือควีนเอลิซาเบธจึงมีขนาดที่ใหญ่กว่าเล็กน้อย จึงเป็นเรือบรรทุกผู้โดยสารที่ใหญ่ที่สุดที่เคยสร้างในเวลานั้น นอกจากนี้ ยังมีเป็นเรือตรึงหมุดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาเมื่อพิจารณาจากน้ำหนักบรรทุกรวม

    เรือควีนเอลิซาเบธเข้าประจำการครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2483 ในฐานะเรือลำเลียงพล ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2489 ก็ได้เข้าประจำการในฐานะเรือเดินสมุทร

    ด้วยความนิยมที่ลดลงการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกด้วยเรือ เรือทั้งสองลำจึงถูกแทนที่ด้วย เรืออาร์เอ็มเอส ควีนเอลิซาเบธ 2 (RMS Queen Elizabeth II) ที่มีขนาดที่เล็กกว่าและประหยัดกว่า ซึ่งเดินทางเที่ยวปฐมฤกษ์ในปี พ.ศ. 2512

    เรือควีนอลิซาเบธ ถูกปลดประจำการและเดินทางไปยังนครนิวยอร์กเป็นเที่ยวปัจฉิมฤกษ์เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2511 แล้วถูกย้ายไปที่พอร์ตเอเวอร์เกลดส์ รัฐฟลอริดา และเปลี่ยนเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งเปิดในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 แต่ธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จและได้ปิดตัวลงในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2513 ในที่สุด เรือควีนอลิซาเบธก็ถูกขายให้กับ ตง จ้าวหรง นักธุรกิจชาวฮ่องกง ผู้ซึ่งตั้งใจจะเปลี่ยนให้เป็นเรือสำราญของมหาวิทยาลัยลอยน้ำชื่อ มหาวิทยาลัยซีไวส์ (Seawise University) ในปี พ.ศ. 2515 ขณะที่กำลังซ่อมแซมเรือที่ท่าเรือฮ่องกง ได้เกิดไฟไหม้ขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ และเรือก็อัปปางลงด้วยน้ำที่ใช้ดับไฟ ในปีต่อมาซากเรือถูกมองว่าเป็นอุปสรรคต่อการขนส่งในพื้นที่ และในปี 2517 และ 2518 ซากเรือบางส่วนก็ถูกทิ้งไว้ในพื้นที่

    การออกแบบและการสร้าง[แก้]

    สงครามโลกครั้งที่ 2[แก้]

    หลังสงครามโลกครั้งที่ 2[แก้]

    ปีสุดท้าย[แก้]

    ในนิยาย[แก้]

    ในปี พ.ศ. 2502 เรือควีนอลิซาเบธได้ปรากฏตัวในภาพยนตร์ตลกเสียดสีของอังกฤษเรื่อง The Mouse That Roared นำแสดงโดย ปีเตอร์ เซลเลอร์ส และ ฌอง ซีเบิร์ก ขณะที่คณะผู้รุกรานจาก "แกรนด์ เฟนวิค" ซึ่งเป็นชาติย่อยของยุโรปในจินตนาการ ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเพื่อทำสงครามกับสหรัฐฯ พวกเขาพบและได้ผ่านเรือควีนเอลิซาเบธที่ใหญ่กว่ามาก และได้รู้ว่าท่าเรือนิวยอร์กถูกปิดเนื่องจากการฝึกซ้อมการโจมตีทางอากาศ[5]

    ซากเรือควีนอลิซาเบธปรากฏในภาพยนตร์เจมส์ บอนด์เรื่อง 007 เพชฌฆาตปืนทอง ในปี พ.ศ. 2517 โดยเป็นสำนักงานใหญ่ลับของ MI6[6][7]

    ซากเรือนี้ยังปรากฏในฉากย้อนอดีตในตอนของ มังกรอเมริกัน: เจค ลอง

    อ้างอิง[แก้]

    1. Pride of the North Atlantic, A Maritime Trilogy, David F. Hutchings. Waterfront 2003
    2. John Shephard, The Cunard – White Star liner Queen Elizabeth
    3. RMS Queen Elizabeth – Maiden Voyage after War – Cunard – Original footage, British Movietone News via youtube
    4. "RMS Queen Elizabeth". www.relevantsearchscotland.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-21. สืบค้นเมื่อ 2023-05-08.
    5. "The Mouse That Roared (1959) Trivia". IMDB. IMDB.com. สืบค้นเมื่อ 28 June 2019.
    6. "RMS Queen Elizabeth". สืบค้นเมื่อ 5 March 2015.
    7. Hann, Michael (3 October 2012). "My favourite Bond film: The Man with the Golden Gun". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 5 March 2015.

    อ่านเพิ่มเติม[แก้]