อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี
![]() อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี ในนครนิวยอร์ก | |
ประวัติ | |
---|---|
![]() ![]() | |
ชื่อ | อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี (RMS Queen Mary) |
ตั้งชื่อตาม | สมเด็จพระราชินีแมรี ในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 |
เจ้าของ |
|
ท่าเรือจดทะเบียน | ลิเวอร์พูล |
เส้นทางเดินเรือ | เซาแธมป์ตัน - แชร์บูร์ก - นิวยอร์ก |
Ordered | 3 เมษายน พ.ศ. 2472 |
อู่เรือ | จอห์น บราวน์ แอนด์ คอมพานี ไคลด์แบงก์, สกอตแลนด์ |
Yard number | 534 |
ปล่อยเรือ | 1 ธันวาคม พ.ศ. 2473 |
เดินเรือแรก | 26 กันยายน พ.ศ. 2477 |
Christened | 26 กันยายน พ.ศ. 2477 |
Maiden voyage | 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 |
บริการ | พ.ศ. 2479–2510 |
หยุดให้บริการ | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2510 (ปลดระวาง) |
รหัสระบุ | หมายเลข IMO: 5287938 สัญญาณเรียกขาน: GBTT |
ความเป็นไป | โรงแรมและพิพิธภัณฑ์ |
สถานะ | จอดเทียบท่า ที่ลองบีช, แคลิฟอร์เนีย |
ลักษณะเฉพาะ | |
ประเภท: | เรือเดินสมุทร |
ขนาด (ตัน): |
|
ขนาด (ระวางขับน้ำ): | 78,642 ตัน |
ความยาว: | 310.7 เมตร (1,019 ฟุต 4 นิ้ว) |
ความกว้าง: | 36 เมตร (118 ฟุต) |
ความสูง: | 55.2 เมตร (181 ฟุต) |
กินน้ำลึก: | 11.8 เมตร (38 ฟุต 9 นิ้ว) |
ดาดฟ้า: | 12 ชั้น |
ระบบพลังงาน: | หม้อไอน้ำ Yarrow 24 ชุด |
ระบบขับเคลื่อน: |
|
ความเร็ว: |
|
ความจุ: | ผู้โดยสาร 2,140 คน: ชั้นหนึ่ง (ห้องโดยสาร) 776 คน, ชั้นโดยสาร (นักท่องเที่ยว) 785 คน, ชั้นนักท่องเที่ยว (ชั้นสาม) 579 คน |
ลูกเรือ: | 1,100 คน |
RMS Queen Mary | |
พิกัด | 33°45′11″N 118°11′23″W / 33.75306°N 118.18972°Wพิกัดภูมิศาสตร์: 33°45′11″N 118°11′23″W / 33.75306°N 118.18972°W |
เลขอ้างอิง NRHP | 92001714[1] |
ขึ้นทะเบียน NRHP | 15 เมษายน พ.ศ. 2536 |
อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี (อังกฤษ: RMS Queen Mary) เป็นเรือเดินสมุทรสัญชาติอังกฤษที่ปลดประจำการแล้ว ซึ่งแล่นในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือเป็นหลักตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 ถึง พ.ศ. 2510 สำหรับสายการเดินเรือคูนาร์ด-ไวต์ สตาร์ ไลน์ (Cunard-White Star Line) สร้างโดยอู่ต่อเรือ จอห์น บราวน์ แอนด์ คอมพานี ในเมืองไคลด์แบงก์ ประเทศสกอตแลนด์
เรืออาร์เอ็มเอส ควีนแมรี และเรืออาร์เอ็มเอส ควีนเอลิซาเบธ ถูกสร้างขึ้นโดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนบริการเรือด่วนสองลำของสายการเดินเรือคูนาร์ด ไลน์ระหว่างเซาแทมป์ตัน แชร์บูร์ก และนิวยอร์ก เรือทั้งสองลำเป็นการตอบโต้ของอังกฤษต่อเรือด่วนพิเศษที่สร้างโดยบริษัทเยอรมัน อิตาลี และฝรั่งเศสในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1920 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1930
อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี ออกเดินทางเที่ยวปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 และได้รับรางวัลบลูริบบันด์ ในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน แต่ต่อมาได้เสียตำแหน่งนี้ให้กับเรือเอสเอส นอร์มังดี (SS Normandie) ในปี พ.ศ. 2480 และยึดคืนมาได้อีกครั้งในปี พ.ศ. 2481 และยึดตำแหน่งไว้ได้จนถึงปี พ.ศ. 2495
ด้วยการปะทุของสงครามโลกครั้งที่ 2 เรือควีนแมรีจึงถูกดัดแปลงเป็นเรือทหาร และบรรทุกทหารฝ่ายสัมพันธมิตรในระหว่างสงคราม
หลังสงคราม เรือควีนแมรีได้รับการปรับปรุงเพื่อให้สามารถกลับมาบริการผู้โดยสาร เรือควีนแมรีและเรือควีนอลิซาเบธ ครองตลาดการขนส่งผู้โดยสารข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกจนถึงยุคของเครื่องบินเจ็ตในปลายคริสต์ทศวรรษ 1950
ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษที่ 1960 เรือควีนแมรีประสบกับภาวะขาดทุน หลังจากประสบภาวะขาดทุนมาเป็นเวลาหลายปี คูนาร์ด ไลน์ ก็ได้ปลดระวางเรือควีนแมรี่ในปี พ.ศ. 2510 เรือควีนแมรีเดินทางออกจากท่าเรือเซาแธมป์ตัน เป็นเที่ยวปัจฉิมฤกษ์ในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2510 แล่นไปยังท่าเรือลองบีช แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เพื่อจอดเทียบท่าอยู่ที่นั่นอย่างถาวร เพื่อใช้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีภัตตาคาร พิพิธภัณฑ์ และโรงแรม
การสร้างและการตั้งชื่อ[แก้]

เมื่อสายการเดินเรือนอร์ดดอยช์เชอร์ ลอยด์ ของเยอรมัน ได้เปิดตัว เอสเอส เบรเมน (SS Bremen) และเอสเอส ยูโรป้า (SS Europa) เข้าประจำการ อังกฤษไม่ต้องการตามหลังในการแข่งขันต่อเรือกับเยอรมัน ไวต์สตาร์ไลน์จึงเริ่มสร้างเรือ อาร์เอ็มเอ็มวี โอเชียนิก (RMMV Oceanic) ขนาด 80,000 ตันในปี พ.ศ. 2471 ในขณะที่คูนาร์ด ไลน์ วางแผนสร้างเรือที่ไม่มีชื่อขนาด 75,000 ตันของพวกเขาเอง

รหัสของโครงการก่อสร้างในขณะนั้นรู้จักกันในชื่อ "Hull Number 534"[2] เริ่มสร้างในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2473 โดยอู่ต่อเรือ จอห์น บราวน์ แอนด์ คอมพานี เมืองไคลด์แบงก์ ประเทศสกอตแลนด์ การต่อเรือต้องหยุดชะงักในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2474 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ คูนาร์ด ไลน์ ได้ยื่นขอเงินกู้กับรัฐบาลอังกฤษเพื่อให้การสร้างเรือเสร็จสิ้น เงินกู้ดังกล่าวได้รับการอนุมัติโดยมีเงินเพียงพอที่จะสร้างเรือให้เสร็จ และเรืออีกลำตามความตั้งใจ เพื่อให้บริการเรือสองลำรายสัปดาห์ไปยังนิวยอร์ก[3]
เงื่อนไขหนึ่งของรัฐบาลคือให้ คูนาร์ด ไลน์ ควบรวมกิจการกับ ไวต์สตาร์ไลน์[4] บริษัทเดินเรือที่กำลังประสบปัญหาอีกแห่ง ซึ่งเป็นคู่แข่งรายสำคัญของ คูนาร์ด ไลน์ ทั้งสองบริษัทตกลงและได้ควบรวมกิจการในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 การสร้างเรือควีนแมรีเริ่มดำเนินการต่อทันที และได้ปล่อยลงน้ำในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2477 ใช้เวลาในการสร้าง 3 ปีครึ่ง และมีค่าใช้จ่าย 3.5 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง[3]
ก่อนการปล่อยเรือ แม่น้ำไคลด์ถูกขุดให้ลึกเป็นพิเศษเพื่อรับมือขนาดของเรือ ซึ่งดำเนินการโดยวิศวกรดี. อลัน สตีเวนสัน (D. Alan Stevenson)[5]
เรือลำนี้ได้รับการตั้งชื่อตามสมเด็จพระราชินีแมรี อัครมเหสีในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร ชื่อนี้ได้ถูกเก็บเป็นความลับจนกระทั่งเรือปล่อยลงน้ำ
มีคำบอกเล่าว่า เดิมทีคูนาร์ด ไลน์ ตั้งใจจะตั้งชื่อเรือว่า "วิกตอเรีย" เพื่อให้สอดคล้องกับธรรมเนียมดั้งเดิมของบริษัทในการตั้งชื่อเรือที่ลงท้ายด้วย "ia" เมื่อตัวแทนของบริษัทไปขอพระบรมราชาอนุญาตจากพระเจ้าจอร์จที่ 5 ในการตั้งชื่อเรือเดินสมุทรตาม "ราชินีผู้ยิ่งใหญ่" ของอังกฤษ พระองค์กล่าวว่ามเหสีของพระองค์ สมเด็จพระราชินีแมรี มีความยินดี[6] ดังนั้น ตามคำบอกเล่า ตัวแทนของบริษัทจึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากรายงานว่า"โครงการหมายเลข 534" จะถูกเรียกว่า"ควีนแมรี"[6]
เรื่องนี้ถูก (และยังคงถูก) ปฏิเสธโดยเจ้าหน้าที่ของบริษัท เพราะตามธรรมเนียมแล้ว ชื่อของพระมหากษัตริย์จะใช้สำหรับเรือใหญ่ๆ ของกองทัพเรือเท่านั้น[7]
อย่างไรก็ตาม คูนาร์ด ไลน์ ยังคงปฏิเสธเรื่องการเปลี่ยนชื่อ นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ว่าชื่อ ควีนแมรี ถูกตั้งเพื่อให้เป็นการประนีประนอมกันระหว่าง คูนาร์ด ไลน์ และ ไวต์สตาร์ไลน์ เนื่องจากทั้งสองสายมีธรรเนียมการใช้คำลงท้ายที่แตกต่างกัน[6]
อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี ติดตั้งหม้อไอน้ำ Yarrow 24 เครื่องในห้องหม้อไอน้ำสี่ห้อง และกังหันไอน้ำ Parsons สี่เครื่องในห้องเครื่องยนต์สองห้อง หม้อไอน้ำส่งไอน้ำ 400 ปอนด์/ตารางนิ้ว (28 บาร์) ที่ 700 องศาฟาเรนไฮต์ (371 องศาเซลเซียส) ซึ่งให้กำลังสูงสุด 212,000 แรงม้า (158,000 กิโลวัตต์) ไปยังใบจักร 4 จักร ที่แต่ละใบหมุนที่ 200 รอบ/นาที[8]
เรือควีนแมรีทำความเร็วสูงสุดได้ 32.84 น็อต ในการทดสอบทางทะเล เมื่อต้นปี พ.ศ. 2479
ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง[แก้]
ในปี พ.ศ. 2477 สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 และสมเด็จพระราชินีแมรีได้เสด็จมาปล่อยเรือลงน้ำด้วยพระองค์เองในชื่อ อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี (RMS Queen Mary)

ออกเดินทางเที่ยวปฐมฤกษ์จากเซาแทมป์ตันเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 เซอร์เอ็ดการ์ บริทเต็น ผู้ซึ่งเป็นนายเรือของคิวนาร์ด ไวท์สตาร์ไลน์ ในขณะที่เรืออยู่ระหว่างการก่อสร้างที่อู่ต่อเรือจอห์น บราวน์ วัดน้ำหนักเรือได้ 80,774 ตันทะเบียนรวม (GRT)[9] เอสเอส นอร์มังดี (SS Normandie) เรือคู่แข่งซึ่งเดิมวัดได้ 79,280 ตันทะเบียนรวม ได้รับการปรับปรุงเพื่อเพิ่มขนาดเป็น 83,243 ตันทะเบียนรวม[10] เรือควีนแมรีแล่นด้วยความเร็วสูงตลอดการเดินทางเที่ยวปฐมฤกษ์ไปยังนครนิวยอร์ก ซึ่งมาถึงท่าเรือนิวยอร์กในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2479

การออกแบบของเรือควีนแมรีถูกวิจารณ์ว่าโบราณเกินไป การออกแบบภายในส่วนใหญ่เป็นแบบสไตล์อาร์ตเดโค ซึ่งแลดูมีความอนุรักษ์นิยมเมื่อเทียบกับสายการเรือของฝรั่งเศสสมัยใหม่ อย่างไรก็ตาม เรือควีนแมรีได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นเรือที่ได้รับความนิยมมากกว่าคู่แข่งในแง่ของการบรรทุกผู้โดยสาร.[6][11]
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2479 เรือควีนแมรีได้รับรางวัลบลูริบบันด์ ซึ่งเป็นของเรือนอร์มังดีมาก่อน ด้วยความเร็วเฉลี่ย 30.14 น็อต (55.82 กม./ชม.; 34.68 ไมล์/ชม.) ต่อจากนั้นเรือนอร์มังดีได้รับการติดตั้งใบจักรชุดใหม่ในปี 2480 และได้รับรางวัลคืน แต่ในปี 2481 เรือควีนแมรีก็ยึดรางวัลกลับมาอีกครั้ง ด้วยความเร็วเฉลี่ย 30.99 นอต (57.39 กม./ชม.; ไมล์/ชม.) ครองสถิติจนกระทั่งเสียตำแหน่งให้กับเอสเอส ยูไนเต็ด สเตต (SS United States) ในปี พ.ศ. 2495
ภายใน[แก้]
สิ่งอำนวยความสะดวกที่มีให้บริการบนเรือควีนแมรี เช่น สระว่ายน้ำในร่มจำนวน 2 สระ ร้านเสริมสวย ห้องสมุด และสถานรับเลี้ยงเด็กสำหรับผู้โดยสารทั้งสามชั้น ห้องดนตรีและห้องบรรยาย การเชื่อมต่อโทรศัพท์ไปยังทุกที่ในโลก สนามเทนนิสกลางแจ้ง และคอกสุนัข
ห้องที่ใหญ่ที่สุดบนเรือคือห้องรับประทานอาหารหลักในชั้นห้องโดยสารชั้นหนึ่ง (แกรนด์ซาลอน) ซึ่งมีความสูงสามชั้นและยึดด้วยเสากว้าง บนเรือมีห้องสาธารณะปรับอากาศหลายห้อง และยังเป็นเรือเดินสมุทรลำแรกที่มีห้องสวดมนต์ของชาวยิว เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าอังกฤษหลีกเลี่ยงลัทธิต่อต้านชาวยิวของนาซีเยอรมนี.[12]
ห้องรับประทานอาหารหลักในชั้นแรกมีแผนที่ขนาดใหญ่แสดงเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก โดยมีเส้นทางฤดูหนาว/ฤดูใบไม้ผลิ และเส้นทางฤดูร้อน/ฤดูใบไม้ร่วง ในระหว่างการข้ามมหาสมุทรแต่ละครั้ง โมเดลจำลองของของเรือควีนแมรีจะแสดงความคืบหน้าของเรือในเส้นทาง
นอกเหนือจากห้องรับประทานอาหารหลัก ยังได้จัดเตรียม Verandah Grill บนลานอาบแดดที่ท้ายเรือด้านบน Verandah Grill เป็นร้านอาหารตามสั่งสุดพิเศษที่จุผู้โดยสารได้ประมาณ 80 คน และถูกดัดแปลงเป็น Starlight Club ในตอนกลางคืน บนเรือยังมี Observation Bar ซึ่งเป็นห้องนั่งเล่นสไตล์อาร์ตเดคโคพร้อมวิวทะเล
สงครามโลกครั้งที่สอง[แก้]

ปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2482 เรือควีนแมรีเดินทางกลับจากนิวยอร์กไปยังเซาแทมป์ตัน ด้วยสถานการณ์ระหว่างประเทศทำให้เรือควีนแมรีถูกคุ้มกันโดยเรือลาดตระเวนประจัญบาน เอชเอ็มเอส ฮูด (HMS Hood) และมาถึงอย่างปลอดภัย
แล้วออกเดินทางไปนิวยอร์กอีกครั้งในวันที่ 1 กันยายน เมื่อเรือควีนแมรีมาถึงนิวยอร์ก ก็ได้มีการประกาศสงครามและได้รับคำสั่งให้เทียบท่าอยู่ในท่าเรือกับเอสเอส นอร์มังดี จนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม[ต้องการอ้างอิง]

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2483 เรือควีนแมรีและนอร์มังดีได้จอดเทียบท่าในท่าเรือนิวยอร์กร่วมกับเรือควีนเอลิซาเบธ เพื่อนร่วมวิ่งลำใหม่ของเรือควีนแมรี ที่เพิ่งกลับจากการเดินทางลับจากไคลด์แบงก์ เรือเดินสมุทรที่ใหญ่ที่สุดในโลกทั้งสามลำจอดนิ่งอยู่พักหนึ่ง จนกระทั่งผู้บัญชาการฝ่ายสัมพันธมิตรตัดสินใจว่าสามารถใช้เรือทั้งสามลำเป็นเรือลำเลียงพลได้
เรือนอร์มังดีอัปปางด้วยเพลิงไหม้ระหว่างการดัดแปลงเป็นเรือลำเลียงพล ส่วนเรือควีนแมรีออกเดินทางจากนิวยอร์กไปยังซิดนีย์ ออสเตรเลีย พร้อมกับเรือเดินสมุทรอื่นๆ ที่ถูกดัดแปลงเป็นเรือลำเลียงพลเพื่อบรรทุกทหารออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ไปยังสหราชอาณาจักร[13]

ในช่วงการเป็นเรือลำเลียงพลในสงครามโลกครั้งที่สอง ตัวเรือทั้งลำได้ถูกทาสีเทากรมท่า ด้วยสีใหม่ของเรือ ประกอบกับความเร็วอันยอดเยี่ยมของเรือ เรือควีนแมรีจึงได้ฉายาว่า "ผีสีเทา" (Grey Ghost)
มีการติดตั้งขดลวดล้างสนามแม่เหล็กไว้รอบนอกตัวเรือ เพื่อป้องกันทุ่นระเบิดแม่เหล็ก ส่วนเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งด้านในถูกนำออกและแทนที่ด้วยเตียงไม้สามชั้น ซึ่งต่อมาถูกได้แทนที่ด้วยเตียงพับ "สแตนดี้"[14]
พรมทั้งหมด 6 ไมล์ (10 กิโลเมตร) หีบเครื่องจีน 220 หีบ คริสตัล เครื่องเงิน สิ่งทอ และภาพวาดถูกนำออกและนำไปเก็บไว้ในโกดังในช่วงระยะเวลาของสงคราม เครื่องไม้ในห้องรับแขก ห้องรับประทานอาหารชั้นแรก และพื้นที่สาธารณะอื่นๆ ถูกหุ้มด้วยหนัง
เรือควีนแมรีและเรือควีนเอลิซาเบธเป็นเรือลำเลียงพลที่ใหญ่และเร็วที่สุดในช่วงสงคราม ซึ่งบรรทุกทหารได้มากถึง 15,000 คนในการเดินทางครั้งเดียว และมักจะเดินทางนอกขบวนโดยไม่มีเรือคุ้มกัน เพราะด้วยความเร็วที่สูงและเส้นทางคดเคี้ยวไปมาทำให้เรืออูไม่สามารถตรวจจับได้[ต้องการอ้างอิง]
ในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2485 เรือควีนแมรีได้จมเรือคุ้มกันลำหนึ่งโดยบังเอิญ ซึ่งได้เฉี่ยวเรือลาดตระเวนเบา เอชเอ็มเอส คูราคา (HMS Curacaa) ที่นอกชายฝั่งไอร์แลนด์โดยคร่าชีวิตผู้คนไป 239 คน ส่วนเรือควีนแมรีกำลังบรรทุกทหารอเมริกันหลายพันคนจากกองทหารราบที่ 29[15] เพื่อเข้าร่วมกับกองกำลังสัมพันธมิตรในยุโรป[16] และเนื่องจากความเสี่ยงของการโจมตีจากเรืออู เรือควีนแมรีจึงได้รับคำสั่งไม่ให้หยุดเรือไม่ว่าในกรณีใด ๆ[17]
ในวันที่ 8–14 ธันวาคม พ.ศ. 2485 เรือควีนแมรีได้บรรทุกทหาร 10,389 นายและลูกเรือ 950 นาย (รวมทั้งหมด 11,339 นาย)[18] ในระหว่างการเดินทางครั้งนี้ ได้เกิดพายุลมแรงอยู่ห่างจากสกอตแลนด์ 700 ไมล์ (1,100 กิโลเมตร) จู่ๆ เรือควีนแมรีก็ถูกคลื่นยักษ์ซัดที่ด้านข้างลำเรือ ซึ่งคลื่นอาจสูงถึง 28 เมตร (92 ฟุต) แต่โชคดีที่เรือไม่ได้อัปปาง[19][20]
ในวันที่ 25–30 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 เรือควีนแมรีได้บรรทุกทหาร 15,740 นายและลูกเรือ 943 นาย (รวมทั้งหมด 16,683 นาย)[21] ซึ่งเป็นสถิติที่บรรทุกผู้โดยสารมากที่สุดเท่าที่เคยมีการขนส่งในเรือลำเดียว[22]
ในช่วงสงคราม เรือควีนแมรีได้พานายกรัฐมนตรี วินสตัน เชอร์ชิล ของอังกฤษ ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเพื่อไปพบปะกับเจ้าหน้าที่กองกำลังสัมพันธมิตรหลายต่อหลายครั้ง เขามีชื่ออยู่ในรายการผู้โดยสารว่า "พันเอกวอร์เดน" (Colonel Warden)[23] เชอร์ชิลล์ได้กล่าวในภายหลังว่า"เรือควีนแมรีได้ทำให้สงครามสั้นลงหนึ่งปี"


หลังสงครามโลกครั้งที่สอง[แก้]



หลังจากส่งเจ้าสาวในสงครามไปยังแคนาดาแล้ว เรือควีนแมรีก็เดินทางกลับได้เร็วที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยกลับมายังเซาแทมป์ตันในเวลาเพียงสามวัน 22 ชั่วโมง 42 นาที ด้วยความเร็วเฉลี่ยต่ำกว่า 32 นอต (59 กม./ชม.)[24]
ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2489 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2490 เรือควีนแมรีได้รับการปรับปรุงใหม่สำหรับบริการผู้โดยสาร โดยการติดตั้งเครื่องปรับอากาศและเปลี่ยนรูปแบบของชั้นผู้โดยสารเป็นชั้นเฟิร์สคลาส 711 ห้อง (เดิมเรียกว่าชั้นโดยสาร) ชั้นโดยสาร 707 ห้อง (เดิมคือชั้นนักท่องเที่ยว) และชั้นนักท่องเที่ยว 577 ห้อง (เดิมคือชั้นสาม)[25] หลังจากได้รับการปรับปรุงแล้ว เรือควีนแมรีและเรือควีนเอลิซาเบธได้ครองตลาดการขนส่งผู้โดยสารข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกในฐานะบริการเรือด่วนสองลำประจำสัปดาห์ของสายการเดินเรือคิวนาร์ด-ไวต์สตาร์ไลน์
ตลอดช่วงครึ่งหลังของคริสต์ทศวรรษ 1940 จนถึงคริสต์ทศวรรษ 1950 เรือทั้งสองลำนี้ได้ทำกำไรอย่างมหาศาลสำหรับสายการเดินเรือคิวนาร์ด ไลน์ (เมื่อบริษัทถูกเปลี่ยนชื่อในปี พ.ศ. 2490)
ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2492 เรือควีนแมรีได้เกยตื้นที่เมืองแชร์บูร์ก ประเทศฝรั่งเศส และได้รับการช่วยเหลือในวันรุ่งขึ้น[26] และได้กลับมาให้บริการอีกครั้ง
ในปี พ.ศ. 2495 เรือควีนแมรีได้สูญเสียรางวัลบลูริบบันด์ (Blue Riband) ที่ได้ครองเป็นระยะเวลา 14 ปีให้กับเรือ เอสเอส ยูไนเต็ด สเตตส์ (SS United States) ในการเดินทางเที่ยวปฐมฤกษ์
ในปี พ.ศ. 2501 เที่ยวบินพาณิชย์ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกครั้งแรกโดยเครื่องบินเจ็ทได้เริ่มขึ้น ด้วยเวลาเดินทางจากลอนดอน ถึงนิวยอร์กเพียง 7-8 ชั่วโมง ความต้องการในการเดินทางด้วยเรือเดินสมุทรจึงลดลงอย่างเห็นได้ชัด ในการเดินทางบางครั้งโดยเฉพาะในฤดูหนาว จะมีจำนวนลูกเรือมากกว่าผู้โดยสาร แม้ว่าทั้งเรือควีนแมรีและเรือควีนเอลิซาเบธจะมีผู้โดยสารเฉลี่ยมากกว่า 1,000 คน ต่อการเดินทางหนึ่งครั้งจนถึงช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1960[27] ในปี พ.ศ. 2508 กองเรือของคิวนาร์ด ไลน์ทั้งหมดให้บริการโดยประสบภาวะขาดทุน
ด้วยความหวังที่จะจัดหาเงินทุนให้กับเรืออาร์เอ็มเอส ควีนเอลิซาเบธ 2 (RMS Queen Elizabeth 2) ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างที่อู่ต่อเรือจอห์น บราวน์ คิวนาร์ดจึงได้จำนองเรือส่วนใหญ่ เนื่องจากอายุของเรือที่มากขึ้น กับการขาดความสนใจจากสาธารณชน ความไร้ประสิทธิภาพในตลาดยุคใหม่ และผลกระทบจากการนัดหยุดงานของลูกเรือ คิวนาร์ดจึงประกาศว่าทั้งเรือควีนแมรีและควีนเอลิซาเบธจะถูกปลดประจำการและถูกขาย มีการส่งข้อเสนอมาจำนวนมาก และการเสนอราคา 3.45 ล้านเหรียญสหรัฐ (1.2 ล้านปอนด์) จากลองบีช แคลิฟอร์เนีย แซงหน้าพ่อค้าเศษเหล็กของญี่ปุ่น[28]
เรือควีนแมรีถูกปลดประจำการในปี พ.ศ. 2510[29] ในวันที่ 27 กันยายน เรือควีนแมรีได้เดินทางเที่ยวที่ 1,001 สำเร็จ[30]
ในตลอดการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ เรือควีนแมรีได้บรรทุกผู้โดยสารไปทั้งหมด 2,112,000 คน เป็นระยะทางกว่า 6,102,998 กม. (3,792,227 ไมล์)
วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2510 เรือควีนแมรีออกเดินทางจากเซาแทมป์ตันเป็นเที่ยวปัจฉิมฤกษ์ พร้อมผู้โดยสาร 1,093 คนและลูกเรือ 806 คน หลังจากการเดินทางรอบแหลมฮอร์น เรือควีนแมรีก็ได้เดินทางมาถึงลองบีชในวันที่ 9 ธันวาคม[28] และต่อมาเรือควีนเอลิซาเบธก็ถูกปลดประจำการในปี 2511
ลองบีช[แก้]

เรือควีนแมรีจอดอยู่อย่างถาวรในฐานะสถานที่ท่องเที่ยว โรงแรม พิพิธภัณฑ์ และสถานที่จัดงานในลองบีช[31]
การดัดแปลง[แก้]

เรือควีนแมรีซึ่งถูกลองบีชซื้อในปี 2510 ถูกดัดแปลงจากเรือเดินสมุทรเป็นโรงแรมลอยน้ำ[32] แผนดังกล่าวในการเคลียร์พื้นที่เกือบทุกส่วนของเรือใต้ชั้น "C" (เรียกว่าชั้น "R" หลังจากปี 2493 เพื่อลดความสับสนของผู้โดยสาร เนื่องจากร้านอาหารตั้งอยู่บนชั้น "R")
และจำเป็นต้องถอดห้องหม้อไอน้ำออกทั้งหมด ห้องเครื่องด้านหน้า ห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทั้งสองห้อง เครื่องกันโคลงของเรือ และโรงงานปรับสภาพน้ำให้อ่อนตัว ถังเชื้อเพลิงเปล่าของเรือถูกเติมด้วยโคลนเพื่อรักษาจุดศูนย์ถ่วงของเรือให้อยู่ในระดับที่ถูกต้อง มีเพียงห้องเครื่องท้ายที่เรือเท่านั้นที่จะได้รับการเก็บรักษา พื้นที่ที่เหลือจะถูกใช้สำหรับเก็บของหรือพื้นที่สำนักงาน
ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการดัดแปลงคือ"ข้อพิพาทระหว่างสหภาพที่ดินและสหภาพแรงงานทางทะเลเกี่ยวกับงานดัดแปลง" หน่วยยามฝั่งสหรัฐมีคำสั่งสุดท้าย ให้เรือควีนแมรีถูกมองว่าเป็นอาคาร เนื่องจากใบจักรและเครื่องยนต์ของเรือถูกถอดออก ท้องเรือได้รับการทาสีใหม่ด้วยสีแดงในระดับที่สูงขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย ในระหว่างการดัดแปลง ปลองควันถูกนำออกเนื่องจากบริเวณนี้จำเป็นสำหรับการยกวัสดุออกจากห้องเครื่องยนต์และห้องหม้อไอน้ำ

แผนการที่สอง คือการดัดแปลงห้องโดยสารชั้นแรกและชั้นสองส่วนใหญ่ของเรือบนชั้น A และ B ให้เป็นห้องพักโรงแรม และเปลี่ยนห้องรับรองหลักและห้องรับประทานอาหารให้เป็นพื้นที่จัดเลี้ยง
บนชั้นเดินเล่นฝั่งกราบขวามีร้านอาหารและคาเฟ่หรูชื่อ Lord Nelson's และ Lady Hamilton's มีธีมตามยุคของเรือใบต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19
Observation Bar อันเลื่องชื่อและสง่างามได้รับการตกแต่งใหม่ให้เป็นบาร์สไตล์ตะวันตก

ห้องสาธารณะชั้นแรกถูกดัดแปลงให้มีขนาดเล็กลง เช่น ห้องรับแขก ห้องสมุด ห้องบรรยาย และสตูดิโอดนตรี จะถูกถอดอุปกรณ์ส่วนใหญ่ออกและเปลี่ยนเป็นการใช้งานเชิงพาณิชย์ ห้างสรรพสินค้าอีกสองแห่งถูกสร้างขึ้นบนดาดฟ้าเรือ ในพื้นที่แยกต่างหากซึ่งก่อนหน้านี้ใช้สำหรับห้องโดยสารชั้นหนึ่งและห้องพักของวิศวกร
คุณลักษณะเด่นในยุคหลังสงครามของเรือ ซึ่งคือโรงภาพยนตร์ของผู้โดยสารชั้นแรก ถูกนำออกและดัดแปลงเป็นพื้นที่ครัวสำหรับสถานที่รับประทานอาหารบนดาดฟ้าแห่งใหม่ เลานจ์ชั้นหนึ่งและห้องสูบบุหรี่ได้รับการกำหนดค่าใหม่และดัดแปลงเป็นพื้นที่จัดเลี้ยง
ห้องสูบบุหรี่ชั้นสองถูกแบ่งออกเป็นโบสถ์แต่งงานและพื้นที่สำนักงาน
บนลานอาบแดด Verandah Grill อันหรูหราจะถูกนำออกและเปลี่ยนเป็นร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด ในขณะที่มีการสร้างสถานที่รับประทานอาหารหรูแห่งใหม่เหนือบริเวณชั้นกีฬา ซึ่งเคยใช้เป็นที่พักของลูกเรือ

เลานจ์ของผู้โดยสารชั้นสองถูกขยายออกไปด้านข้างของเรือและใช้สำหรับงานเลี้ยง บนชั้น R ห้องอาหารชั้นแรกได้รับการปรับแต่งใหม่และแบ่งย่อยเป็นสถานที่จัดเลี้ยงสองแห่ง ได้แก่ Royal Salon และ Windsor Room ห้องรับประทานอาหารสารชั้นสองถูกแบ่งย่อยออกเป็นห้องเก็บของในครัวและห้องโถงสำหรับลูกเรือ ในขณะที่ห้องรับประทานอาหารชั้นสามเดิมถูกใช้เป็นห้องเก็บของและพื้นที่สำหรับลูกเรือ
นอกจากนี้บนชั้น R โรงอาบน้ำตุรกีผู้โดยสารชั้นแรกซึ่งเทียบเท่ากับสปาในคริสต์ทศวรรษ 1930 ก็ถูกนำออก สระว่ายน้ำชั้นสองถูกรื้อออกและใช้สำหรับพื้นที่สำนักงาน ในขณะที่สระว่ายน้ำชั้นแรกเปิดให้แขกของโรงแรมและผู้มาเยี่ยมชมได้เข้าชม เนื่องจากมาตรฐานความปลอดภัยสมัยใหม่และโครงสร้างที่ไม่แข็งแรงของพื้นที่ด้านล่าง สระว่ายน้ำจึงไม่สามารถใช้ว่ายน้ำได้หลังการดัดแปลง แม้ว่าจะมีน้ำเต็มจนถึงช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 ในทุกวันนี้จะสามารถเยี่ยมชมสระว่ายน้ำได้เฉพาะกับไกด์นำเที่ยวเท่านั้น
เปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

ในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 เรือควีนแมรีได้เปิดรับนักท่องเที่ยว ในขณะนั้น มีเพียงบางส่วนของเรือเท่านั้นที่เปิดให้สาธารณชนเข้าชม เนื่องจากร้านอาหารเฉพาะทางยังไม่ได้เปิดสถานที่รับประทานอาหาร และยังดัดแปลงแปลงห้องรับรองชั้นแรกเดิมของเรือให้เป็นโรงแรมไม่เสร็จ เป็นผลให้เรือเปิดเฉพาะในวันหยุดสุดสัปดาห์
เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2514 พิพิธภัณฑ์ทางทะเลของ ฌาคส์ คูสโต (Jacques Cousteau) ได้เปิดทำการ โดยเป็นหนึ่งในสี่ของนิทรรศการที่วางแผนไว้ ต่อมาพิพิธภัณฑ์ของคูสโต ได้ปิดตัวลงเนื่องจากการอัตราการขายตั๋วต่ำแ ละการตายของปลาจำนวนมากที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์
เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 โรงแรม PSA Hotel Queen Mary ได้เปิดให้บริการห้องพักจำนวน 150 ห้อง ในอีก 2 ปีต่อมาเมื่อสร้างห้องพักเสร็จทั้งหมด 400 ห้อง PSA ได้นำโรงแรมไฮแอทเข้ามาบริหาร ซึ่งดำเนินกิจการการตั้งแต่ปี 2517 ถึง 2523 ในชื่อ"โรงแรมควีนแมรีไฮแอท"[33]
ในปี 1980 ระบบที่มีอยู่บนเรือเริ่มไม่สามารถใช้การได้[34] เรือลำนี้สูญเสียเงินหลายล้านดอลลาร์ในแต่ละปีให้กับเมืองนี้ เนื่องจากโรงแรม ร้านอาหาร และพิพิธภัณฑ์ดำเนินการโดยผู้รับสัมปทาน 3 ราย ขณะที่เมืองนี้เป็นเจ้าของเรือและดำเนินการนำเที่ยว มีการตัดสินใจแล้วว่าต้องการผู้ดำเนินการรายเดียวที่มีประสบการณ์มากกว่า[35]
แจ็ค ไรท์เตอร์ (Jack Wrather) เศรษฐีในท้องถิ่นได้ตกหลุมรักเรือลำนี้เพราะเขาและภรรยามีความทรงจำดีๆ ในการล่องเรือลำนี้หลายครั้ง ไรท์เตอร์ลงนามในสัญญาเช่า 66 ปี กับเมืองลองบีชเพื่อดำเนินกิจการทั้งหมด[35]
Wrather Port Properties ดำเนินกิจการสถานที่ท่องเที่ยวทั้งหมดหลังจากที่เขาเสียชีวิตในปี 2527 จนถึงปี 2531 เมื่อบริษัท Walt Disney ซื้อกิจการของไรท์เตอร์ และได้สร้าง Disneyland Hotel ในปี 2538

การปิดและเปิดใหม่ในปี 2535[แก้]
เมื่อดิสนีย์ได้ย้ายกิจการไปแล้ว โรงแรมควีนแมรีก็ปิดตัวลงในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2535 เรือควีนแมรี่ยังคงเปิดทำการจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2535
ในช่วงเวลานี้ เรือลำนี้ได้รับการเสนอชื่อและจดทะเบียนในบันทึกประวัติศาสตร์แห่งชาติในปี 2536[36][37]
ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 RMS Foundation, Inc ได้ลงนามในสัญญาเช่า 5 ปีกับเมืองลองบีชเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินกิจการต่อ
ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 เรือได้เปิดให้บริการอีกครั้งโดยสมบูรณ์ ในขณะที่โรงแรมบางส่วนเปิดให้บริการอีกครั้งในวันที่ 5 มีนาคม โดยมีห้องพัก 125 ห้องและห้องจัดเลี้ยง โดยห้องที่เหลือจะเปิดให้บริการในวันที่ 30 เมษายน
ในปี พ.ศ. 2538 สัญญาเช่าของ RMS Foundation ได้ขยายเป็น 20 ปี ในขณะที่ขอบเขตของการเช่าลดลงเหลือแค่การดำเนินงานของเรือเท่านั้น บริษัทใหม่ Queen's Seaport Development, Inc. (QSDI) ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 2538 เพื่อควบคุมอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ติดกับเรือ[38]
ในปี 2541 เมืองลองบีชได้ขยายสัญญาเช่าของ QSDI เป็น 66 ปี[39]
ในปี พ.ศ. 2547 Stargazer Productions ได้เพิ่ม Tibbies Great American Cabaret เข้าไปในพื้นที่ซึ่งเคยเป็นธนาคารของเรือและห้องวิทยุไร้สาย Stargazer Productions และเปลี่ยนพื้นที่ให้กลายเป็นโรงละครสำหรับรับประทานอาหารค่ำที่ พร้อมเวที แสง สี เสียง และสเกลเลอรี[40]

ในปี 2548 QSDI ได้ขอการคุ้มครองบทที่ 11 เนื่องจากข้อพิพาทด้านเครดิตค่าเช่ากับเมือง
ในปี 2549 ศาลล้มละลายได้ร้องขอให้มีการประมูลจากฝ่ายต่างๆ ราคาเปิดประมูลขั้นต่ำที่ต้องการคือ 41 ล้านดอลลาร์ การดำเนินงานของเรือโดย RMS Foundation ยังคงเป็นอิสระจากการล้มละลาย
ในฤดูร้อนปี 2550 สัญญาเช่าของควีนแมรีถูกขายให้กับกลุ่มชื่อ "Save the Queen" ซึ่งบริหารงานโดย Hostmark Hospitality Group
พวกเขาวางแผนที่จะพัฒนาที่ดินที่อยู่ติดกับเรือ ปรับปรุงและฟื้นฟูเรือ ในระหว่างการดำเนินงาน ห้องรับรองได้รับการปรับปรุงด้วยแท่นวางไอพอดและทีวีจอแบน ปล่องควันทั้งสามของเรือและท้องเรือได้รับการทาสีใหม่ด้วยสีแดงคูนาร์ดดั้งเดิม แผ่นกระดานของชั้นเดินเล่นฝั่งกราบซ้ายได้รับการบูรณะและตกแต่งใหม่ เรือชูชีพหลายลำได้รับการซ่อมแซม และห้องครัวของเรือได้รับการปรับปรุงใหม่
ปลายเดือนกันยายน 2552 บริษัท Delaware North ได้เข้าควบคุมกิจการต่อ ซึ่งวางแผนที่จะดำเนินการบูรณะและปรับปรุงเรือต่อไป พวกเขามุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูและปรับปรุงเรือให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว[41]
แต่ในเดือนเมษายน 2554 เมืองลองบีชได้รับแจ้งว่า Delaware North ไม่ได้บริหารควีนแมรีอีกต่อไป Garrison Investment Group กล่าวว่าการตัดสินใจครั้งนี้เป็นเพียงเรื่องธุรกิจเท่านั้น[42]
การพบกันของเรือควีนแมรีทั้งสองลำ[แก้]
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เรืออาร์เอ็มเอส ควีนแมรี 2 ได้มาเยี่ยมบรรพบุรุษของเธอในขณะที่จะเข้าเทียบท่าในท่าเรือลอสแองเจลิสในการเดินทางไปยังเม็กซิโก
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 เรือควีนแมรีได้รับการทักทายจากเอ็มเอส ควีนวิกตอเรีย (MS Queen Victoria) ด้วยการจุดดอกไม้ไฟ
และในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556 เอ็มเอส ควีนเอลิซาเบธ (MS Queen Elizabeth) ก็ได้ทักทายด้วยการจุดดอกไม้ไฟ[43]
หลังจากการทักทาย เรือควีนแมรีได้ตอบกลับด้วยแตรลมที่ใช้งานได้หนึ่งอันเพื่อตอบกลับ
ห้องวิทยุ W6RO[แก้]

ห้องวิทยุไร้สายเดิมได้ถูกนำออกเมื่อเรือจอดอยู่ที่ลองบีช ต่อมาห้องวิทยุสมัครเล่นได้ถูกสร้างขึ้นบนหนึ่งชั้นเหนือห้องวิทยุเดิม โดยมีอุปกรณ์วิทยุของห้องเดิมที่ถูกทิ้งบางส่วน ซึ่งใช้เพื่อจุดประสงค์ในการจัดแสดง ห้องวิทยุไร้สายใหม่เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522[44] สถานีวิทยุสมัครเล่นบนเรือลำนี้มีสัญญาณเรียกขานว่า W6RO ("Whiskey Six Romeo Oscar") โดยอาศัยอาสาสมัครจากชมรมวิทยุสมัครเล่นในท้องถิ่น พวกเขาจัดเจ้าหน้าที่ประจำห้องวิทยุในช่วงเวลาสาธารณะส่วนใหญ่ วิทยุนี้ยังสามารถใช้งานโดยนักวิทยุสมัครเล่นที่มีใบอนุญาตรายอื่นได้อีกด้วย[45][46][47][48]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "NPS Focus". National Register of Historic Places. National Park Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2008. สืบค้นเมื่อ 7 September 2011.
- ↑ "Four-Leaf Clover Propeller to Drive Giant Liner 534". Popular Mechanics. Hearst Magazines. October 1934. p. 528. ISSN 0032-4558. สืบค้นเมื่อ 10 September 2012.
- ↑ 3.0 3.1 O'Connor, Sheila (2006). "Royal Lady – The Queen Mary Reigns in Long Beach". Go World Travel Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 September 2008. สืบค้นเมื่อ 11 June 2013.
- ↑ Chris Frame (2019). "Queen Mary - The Ship That Saved Cunard (and the UK) during the Great Depression". Chris Frame (Maritime Historian). สืบค้นเมื่อ 19 June 2020.
- ↑ "D. Alan Stevenson from the Gazetteer for Scotland".
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 Maxtone-Graham, John (1972). The Only Way to Cross. New York: Collier Books. pp. 288–289.
- ↑ Othfors, Daniel. "Queen Mary – TGOL". Thegreatoceanliners.com. สืบค้นเมื่อ 10 June 2022.
- ↑ Watton, pp.12-13.
- ↑ Layton, J. Kent. "R.M.S. Queen Mary". Atlantic Liners. สืบค้นเมื่อ 10 September 2012.
- ↑ "SS Normandie". Ocean-liners.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 September 2012. สืบค้นเมื่อ 10 September 2012.
- ↑ Fritz Weaver, Fritz Weaver (narrator) (1996). Floating Palaces (TV Documentary). A&E.
- ↑ Evans, Nicholas J. (2010). "A Strike for Racial Justice? Transatlantic Shipping and the Jewish Diaspora, 1882–1939". ใน Jorden, James; Kushern, Tony; Pearce, Sarah (บ.ก.). Jewish Journeys: From Philo to Hip Hop. London: Vallentine Mitchell. pp. 25–47. ISBN 978-0-85303-962-4.
- ↑ Weiser, Kathy (June 2018). "Ghosts of the Queen Mary in Long Beach, California". Legends of America. LegendsofAmerica.com. สืบค้นเมื่อ 5 February 2019.
- ↑ "BBC - WW2 People's War - VJ Day - All at Sea".
- ↑ Balkoski, Joseph (1989). Beyond the Beachhead. Stackpole Books. pp. 37–38. ISBN 978-0-8117-0221-8.
- ↑ Brighton CSV Media Clubhouse (11 June 2004). "HMS Curaçao Tragedy". WW2 People's War. BBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 July 2012. สืบค้นเมื่อ 10 August 2009.
- ↑ Wilson, Edgar Edward. "Wilson, Edgar Edward (IWM Interview)". Imperial War Museums. Imperial War Museum. สืบค้นเมื่อ 27 March 2016.
- ↑ "Queen Mary - Specific Crossing Information - 1942". ww2troopships.com. สืบค้นเมื่อ 2021-04-03.
- ↑ Levi, Ran (3 March 2008). "The Wave That Changed Science". The Future of Things. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 August 2013. สืบค้นเมื่อ 11 June 2013.
- ↑ No Greater Sacrifice, No Greater Love, William Ford Carter, Smithsonian Books, Washington, 2004, page 55
- ↑ "How Two Ships Helped End WW2". chrisframe.com.au. สืบค้นเมื่อ 16 August 2020.
- ↑ "'Queen Mary: Timeline". QueenMary.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-12. สืบค้นเมื่อ 15 November 2017.
- ↑ Lavery, Brian (2007). Churchill Goes to War: Winston's Wartime Journeys. Naval Institute Press. p. 213.
- ↑ Maddocks, p.155.
- ↑ "RMS Queen Mary". Ocean-liners.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 September 2012. สืบค้นเมื่อ 10 September 2012.
- ↑ "The Queen Mary Back In Port". The Times. No. 51269. 3 January 1949. p. 4.
- ↑ Harvey, Clive (2008). R.M.S. Queen Elizabeth – The Ultimate Ship. Carmania Press. ISBN 978-0-9543666-8-1.
- ↑ 28.0 28.1 Tramp to Queen: The Autobiography of Captain John Treasure Jones. The History Press. 2008. ISBN 978-0752446257.
- ↑ "Out to Sea and into History". Life. Vol. 63 no. 14. Time Inc. 6 October 1967. pp. 26–31. สืบค้นเมื่อ 3 July 2017.
- ↑ Book RMS Queen Mary Transatlantic masterpiece, author Janette McCutcheon, published 2000, publisher Temple Publishing Limited, ISBN 0 7524 1716 9, page 91
- ↑ "The Queen Mary™ - One-Of-A-Kind Long Beach Hotel Experience". queenmary.com. สืบค้นเมื่อ 2022-01-27.
- ↑ "A history of the Queen Mary in Southern California". Press Telegram (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-03-13. สืบค้นเมื่อ 2021-05-22.
- ↑ Malcolm, Andrew H (12 January 1975). "Queen Mary now Hyatt House". Sarasota Herald-Tribune. New York Times News Service. สืบค้นเมื่อ 29 December 2012.
- ↑ Jensen, Holger (11 April 1976). "Queen Mary Ocean Liner Becomes an Albatross". Sarasota Herald-Tribune. สืบค้นเมื่อ 29 December 2012.
- ↑ 35.0 35.1 "Queen Mary'S Timeline". Queenmary.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2012. สืบค้นเมื่อ 12 December 2012.
- ↑ "Queen Mary Pushed for Historical Recognition". Los Angeles Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 1992-09-25. สืบค้นเมื่อ 2022-05-01.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อNRHP
- ↑ Pinsky, Mark (10 March 1995). "Long Beach Dome Gets New Life in Film". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 13 April 2015.
- ↑ Ferrell, David (2001-10-11). "Giant Dome's Saga Takes Another Turn". Los Angeles Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-07-02.
- ↑ "History". Tibbies Cabaret. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 September 2009.
- ↑ "Delaware North on Board at Queen Mary" (Press release). media.delawarenorth.com. 28 September 2009. สืบค้นเมื่อ 10 September 2012.
- ↑ Ling, P. (23 February 2009). "Queen Mary Long Beach Lease Rights Auctioned for $25,000". travel-industry.uptake.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2012. สืบค้นเมื่อ 10 September 2012.
- ↑ "Queen Mary 2 to meet original Queen Mary in Long Beach harbor". USA Today. Associated Press. 1 March 2006. สืบค้นเมื่อ 10 September 2012.
- ↑ "W6RO aboard the Queen Mary". queenmary.com. The Queen Mary. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-18. สืบค้นเมื่อ 1 June 2021.
- ↑ "W6RO – Associated Radio Amateurs of Long Beach". Aralb.org. 5 March 2012. สืบค้นเมื่อ 10 September 2012.
- ↑ "Human Touch Draws Ham Radio Buffs". Gazette Newspapers. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2005.
- ↑ "The wireless installation". sterling.rmplc.co.uk. สืบค้นเมื่อ 10 September 2012.
- ↑ O'Sullivan, Mike. "Radio Hams Keep 'Queen Mary' Wireless on the Air". voanews.com. Voice of America. สืบค้นเมื่อ 19 March 2018.