คูนาร์ด–ไวต์สตาร์ไลน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริษัท คูนาร์ด–ไวต์สตาร์ไลน์ จำกัด
Cunard–White Star Line Limited
อุตสาหกรรมขนส่ง
ก่อนหน้าไวต์สตาร์ไลน์
คูนาร์ดไลน์
ก่อตั้ง10 พฤษภาคม 1934; 89 ปีก่อน (1934-05-10)
เลิกกิจการ31 ธันวาคม 1949; 74 ปีก่อน (1949-12-31)
ถัดไปคูนาร์ดไลน์
สำนักงานใหญ่ลิเวอร์พูล สหราชอาณาจักร
พื้นที่ให้บริการ
มหาสมุทรแอตแลนติก
บุคลากรหลัก
เพอร์ซี่ เบตส์ (ประธาน)
เจ้าของคูนาร์ดไลน์ (62%) และไวต์สตาร์ไลน์ (38%)

บริษัท คูนาร์ด–ไวต์สตาร์ไลน์ จำกัด หรือ คูนาร์ด-ไวต์สตาร์ไลน์ (อังกฤษ: Cunard–White Star Line, Ltd) เป็นบริษัทเดินเรือสัญชาติสหราชอาณาจักรซึ่งดำเนินกิจการระหว่างปี ค.ศ. 1934–1949[1]

ประวัติ[แก้]

บริษัทนี้ก่อตั้งขึ้นเพื่อควบคุมสินทรัพย์การขนส่งร่วมกันของสายการเดินเรือคูนาร์ดและไวต์สตาร์ หลังจากที่ทั้งสองบริษัทประสบปัญหาทางการเงินในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ สายการเดินเรือคูนาร์ด–ไวต์สตาร์มีกองเรือเดินสมุทรทั้งหมด 25 ลำ (ของคิวนาร์ด 15 ลำ และไวต์สตาร์ 10 ลำ)

ทั้งคูนาร์ดและไวต์สตาร์กำลังจะต่อเรือเดินสมุทรขนาดมหึมาให้เสร็จ แต่ประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนักก่อน ซึ่งไวต์สตาร์มี Hull 844 – โอเชียนิก – และคูนาร์ดมี Hull 534 ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นอาร์เอ็มเอส ควีนแมรี

ในปี ค.ศ. 1933 รัฐบาลอังกฤษตกลงที่จะให้ความช่วยเหลือแก่บริษัทคู่แข่งทั้งสองโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องควบรวมกิจการเข้าด้วยกัน[2] ข้อตกลงเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1933 การควบรวมกิจการเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1934 โดยก่อตั้งเป็นบริษัท คูนาร์ด–ไวต์สตาร์ไลน์ จำกัด ไวต์สตาร์มอบเรือ 10 ลำให้กับบริษัทใหม่ ขณะที่คูนาร์ดมอบให้ 15 ลำ เนื่องจากข้อตกลงนี้ และเนื่องจาก Hull 534 เป็นเรือของคูนาร์ด คูนาร์ดจึงเป็นเจ้าของบริษัทใหม่ 62% ส่วนไวต์สตาร์เป็นเจ้าของส่วนที่เหลืออีก 38% เรือของไวต์สตาร์จะติดธงของตนเหนือธงคูนาร์ด ส่วนเรือของคูนาร์ดจะติดธงของตนเหนือธงไวต์สตาร์

ป้ายติดกระเป๋าของคูนาร์ด–ไวต์สตาร์ไลน์ "ควีนแมรี"

ด้วยสถานะทางการเงินที่ดีกว่า คูนาร์ด–ไวต์สตาร์เริ่มดูดซับสินทรัพย์ของไวต์สตาร์ และเป็นผลให้เรือของไวต์สตาร์ส่วนใหญ่ถูกกำจัดหรือส่งไปขายเป็นเศษเหล็กอย่างรวดเร็ว เรือที่บริการในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ของไวต์สตาร์ ถูกขายให้กับสายการเดินเรือชอว์, ซาวิล แอนด์ อัลเบียน (Shaw, Savill & Albion Line) ในปี 1934 และอาร์เอ็มเอส โอลิมปิก ถูกนำออกจากการให้บริการและถูกขายเป็นเศษเหล็กในปีถัดมาพร้อมกับเรืออาร์เอ็มเอส มอริทาเนีย ของคูนาร์ด ส่วนอาร์เอ็มเอส มาเจสติก เรือธงของไวต์สตาร์ ซึ่งเป็นเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกจนถึงปี 1935 ถูกขายในปี 1936

ในปี 1947 คูนาร์ดไลน์ได้ซื้อหุ้นในบริษัท 38% ของไวต์สตาร์ และในวันที่ 31 ธันวาคม 1949 บริษัทก็นำชื่อไวต์สตาร์ออกและเปลี่ยนชื่อเป็นคูนาร์ดไลน์[3] แต่ธงเดินเรือของทั้งคูนาร์ดและไวต์สตาร์ถูกติดไว้บนเรือเดินสมุทรของบริษัทในช่วงเวลาของการควบรวมกิจการและหลังจากนั้น อย่างไรก็ตาม ธงของคูนาร์ดก็ถูกติดเหนือธงไวต์สตาร์บนเรือของไวต์สตาร์สองลำสุดท้ายเอ็มวี จอร์จิก และเอ็มวี บริแทนนิก จอร์จิก ถูกปลดระวางในปี 1956 ขณะที่บริแทนิก ถูกปลดระวางในปี 1960

เรือของคูนาร์ดทุกลำติดธงเดินเรือของตนและไวต์สตาร์บนเสากระโดงจนถึงปลายปี 1968 สาเหตุที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ เอสเอส นอแมดิก [en] ยังคงประจำการอยู่กับคูนาร์ดจนถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 1968 ก่อนจะถูกส่งไปที่อู่แยกชิ้นส่วนเรือ โดยต่อมาถูกซื้อเพื่อใช้เป็นภัตตาคารลอยน้ำ หลังจากนั้น ธงไวท์สตาร์ก็ไม่ถูกนำสู่ยอดเสาอีกต่อไป ชื่อไวท์สตาร์ถูกลบออกจากบนิการของคูนาร์ด และเรือที่เหลือของทั้งไวต์สตาร์ไลน์และคูนาร์ด–ไวต์สตาร์ไลน์ก็ถูกปลดระวาง[4][5] คูนาร์ดดำเนินการเป็นธุรกิจอิสระจนถึงปี 1999 เมื่อคาร์นิวัลคอร์ปอเรชันเข้าซื้อกิจการทั้งหมด

กองเรือ[แก้]

ชื่อเรือ สร้าง ประจำการสำหรับคิวนาร์ด-ไวต์สตาร์ น้ำหนัก
(ตันกรอส)
ภาพ
มอริทาเนีย
(Mauretania)
1907 1934–35 31,950 GRT
เอเดรียติก
(Adriatic)
1907 1934–35 24,541 GRT
โอลิมปิก
(Olympic)
1911 1934–35 46,439 GRT
เซรามิก
(Ceramic)
1913 1934–42 18,400 GRT
เบเรนกาเรีย
(Berengaria)
1913 1934–38 51,950 GRT
โฮเมอริก
(Homeric)
1913 1934–35 35,000 GRT
แอควิทาเนีย
(Aquitania)
1914 1934–49 45,650 GRT
มาเจสติก [en]
(Majestic)
1914 1934–36 56,551 GRT
ไซเธีย
(Scythia)
1921 1934–49 19,700 GRT
สะมาเรีย
(Samaria)
1922 1934–49 19,700 GRT
ลาโคเนีย
(Laconia)
1922 1934–42 19,700 GRT
อันโตเนีย
(Antonia)
1922 1934–42 13,900 GRT
ออโซเนีย
(Ausonia)
1922 1934–42 13,900 GRT
แลงคาสเตรีย
(Lancastria)
1922 1934–40 16,250 GRT
ฟรานโกเนีย
(Franconia)
1922 1934–49 20,200 GRT
ดอริก
(Doric)
1923 1934–35 16,484 GRT
ออราเนีย
(Aurania)
1924 1934–42 14,000 GRT
คารินเทีย
(Carinthia)
1925 1934–40 20,200 GRT
แอสคาเนีย
(Ascania)
1925 1934–49 14,000 GRT
อเลาเนีย
(Alaunia)
1925 1934–42 14,000 GRT
คัลการิก
(Calgaric)
1927 ไม่ได้เข้าประจำการ (เป็นเจ้าของ 1934) 16,063 GRT
ลอเรนติก
(Laurentic)
1927 1934–36 18,724 GRT
บริแทนนิก
(Britannic)
1929 1934–49 26,943 GRT
จอร์จิก
(Georgic)
1932 1934–49 27,759 GRT
ควีนแมรี
(Queen Mary)
1936 1936–49 80,750 GRT
มอริทาเนีย II
(Mauretania II)
1938 1938–49 35,738 GRT
ควีนเอลิซาเบธ
(Queen Elizabeth)
1940 1940–49 83,650 GRT
มีเดีย
(Media)
1947 1947–49 13,350 GRT
ปาร์เทีย
(Parthia)
1947 1947–49 13,350 GRT
คาโรเนีย
(Caronia)
1949 1949 34,200 GRT

อ้างอิง[แก้]

  1. McKenna, Robert (2001). The Dictionary of Nautical Literacy. Camden, Me.: International Marine/McGraw-Hill. ISBN 0-07-136211-8. OCLC 46449032. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2012.
  2. Chirnside 2004, p. 123
  3. Hyde, Francis Edwin (1975). Cunard and the North Atlantic, 1840-1973 : a history of shipping and financial management. London: Macmillan. ISBN 978-1-349-02390-5. OCLC 643663453.
  4. Anderson 1964, p. 183
  5. de Kerbrech 2009, p. 229

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]