คลื่นยักษ์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
คลื่นยักษ์ (ในภาษาอังกฤษมีชื่อเรียกหลายชื่ออาทิ ฟรีกเวฟ (อังกฤษ: freak wave) โรกเวฟ (อังกฤษ: rogue wave) หรือ มอนสเตอร์เวฟ (อังกฤษ: monster wave)) เป็นคลื่นผิวน้ำขนาดใหญ่และฉับพลัน สามารถล่มเรือขนาดกลางถึงใหญ่ได้ ในอดีตเชื่อกันว่าเป็นเพียงเรื่องเล่าแต่ในปัจจุบันได้มีการยืนยันว่าเป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ธรรมชาติทางทะเลที่ไม่พบบ่อยนัก
ข้อถกเถียงเกี่ยวกับการมีอยู่จริงของคลื่นประเภทนี้ได้จบลงใน ค.ศ. 2004 หลังจากโครงการแมกซ์เวฟ (Project MaxWave) และศูนย์วิจัย GKSS (GKSS Research Centre) ได้ใช้ดาวเทียมเก็บข้อมูลและถ่ายภาพถึง 30,000 ภาพโดยแต่ละภาพครอบคลุมพื้นที่ขนาด 10 x 5 กิโลเมตร รวมทั้งหมดครอบคลุมพื้นที่ 1.5 ล้านตารางกิโลเมตร และสามารถตรวจจับการเกิดคลื่นยักษ์ใน 10 รูป หรือเท่ากับคลื่นยักษ์ 1 ลูกใน 150,000 ตารางกิโลเมตร จึงมีข้อสังเกตว่าคลื่นยักษ์จะเกิดขึ้นบริเวณมหาสมุทรกว้างและด้วยความถี่ที่กล่าวมานี้จึงนับว่าเป็นเหตุการณ์ที่พบเห็นได้ยาก [1] มีความเป็นไปได้สูงที่ คลื่นประเภทนี้เป็นเหตุที่ทำให้เรือเดินสมุทรหายสาบสูญโดยไม่ทราบสาเหตุ
สาเหตุที่เป็นไปได้ของการเกิดคลื่นยักษ์
[แก้]เนื่องจากปรากฏการณ์การเกิดคลื่นยักษ์นี้ยังอยู่ในช่วงของการศึกษาวิจัย ดังนั้นจึงยังไม่ได้มีข้อสรุปว่าสาเหตุหลักของการเกิดคลื่นยักษ์นี้คืออะไรและอาจมีสาเหตุการเกิดที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสถานที่หรือไม่ บริเวณที่มีโอกาสเกิดมักอยู่ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา แต่คุณลักษณะดังกล่าวก็ไม่ได้อธิบายถึง สาเหตุของคลื่นยักษ์ที่เกิดขึ้นในบริเวณอื่น ซึ่งอาจเกิดจาก รูปร่างของชายฝั่ง หรือ พื้นดินก้นทะเล
- การรวมตัวที่จุดร่วมจากกระแสน้ำ* ผลจากความไม่เชิงเส้น (ในลักษณะเดียวกัน
ประเภท
[แก้]- "กำแพงน้ำ" (walls of water) เป็นคลื่นที่เคลื่อนตัวในทะเลไกลถึง 10 กิโลเมตร
- "สามอนงค์" (three sisters) มีลักษณะเป็นกลุ่มคลื่น 3 ลูก
- คลื่นมรสุมเดี่ยวขนาดยักษ์ ก่อตัวสูงถึง 4 เท่าของคลื่นมรสุมปกติ
รายงานการพบคลื่นยักษ์
[แก้]- Bremen (แอตแลนติกใต้, ค.ศ. 1989)
- en:RMS Queen Elizabeth 2 (แอตแลนติกเหนือ, ค.ศ. 1995)
- en:Caledonian Star (แอตแลนติกใต้, ค.ศ. 2001)
- en:Norwegian Dawn, (นอกชายฝั่งของ รัฐจอร์เจีย, 16 เมษายน, ค.ศ. 2005)
- รายงานข่าว
- รายงานข่าว
- Caledonian Star report 2 มีนาคม ค.ศ. 2001, 53°03′S 63°35′W / 53.050°S 63.583°W) สลายตัวภายในไม่กี่วินาที
- en:MS Breme report 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001, 45°54′S 38°58′W / 45.900°S 38.967°W)
อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- โครงการแมกซ์เวฟ (Project MaxWave) เก็บถาวร 2007-01-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน