ข้ามไปเนื้อหา

อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี 2 ในฮัมบูร์ก
ประวัติ
สหราชอาณาจักร
ชื่อควีนแมรี 2 (Queen Mary 2)
ตั้งชื่อตามอาร์เอ็มเอส ควีนแมรี
เจ้าของ คาร์นิวัลคอร์ปอเรชันแอนด์พีแอลซี[3]
ผู้ให้บริการ คูนาร์ดไลน์
ท่าเรือจดทะเบียน
Ordered6 พฤศจิกายน 2000
อู่เรือเอสทีเอกซ์ ยุโรป ชองติเยเดอลัตล็องติก, แซ็ง-นาแซร์, ประเทศฝรั่งเศส
Yard numberG32[4]
ปล่อยเรือ4 กรกฎาคม 2002[2]
เดินเรือแรก21 มีนาคม 2003[2]
Christened8 มกราคม 2004[2] โดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
สร้างเสร็จ22 ธันวาคม 2003[1]
Maiden voyage12 มกราคม 2004[2]
บริการ2004–ปัจจุบัน (21 ปี)
รหัสระบุ
สถานะในประจำการ
ลักษณะเฉพาะ
ประเภท: เรือเดินสมุทร
ขนาด (ตัน): 149,215 ตันกรอส[3]
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 79,287 ตัน[5]
ความยาว: 1,132 ฟุต 0 นิ้ว (345.03 เมตร)[3]
ความกว้าง:
  • 134 ฟุต 6 นิ้ว (41 เมตร) (ระดับน้ำ)[3]
  • สูงสุด 147.5 ฟุต (45.0 เมตร) (ปีกสะพานเดินเรือ)[2]
ความสูง: 236.2 ฟุต (72.0 เมตร) (จากกระดูกงูถึงปลายปล่องไฟ)
กินน้ำลึก: 33 ฟุต 10 นิ้ว (10.3 เมตร)[3]
ดาดฟ้า: 18 ชั้น (14 ชั้นสำหรับผู้โดยสาร)[6][7]
ระบบพลังงาน:
ระบบขับเคลื่อน: ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าแบบบูรณาการ; ใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลและกังหันก๊าซในการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้าสำหรับชุดใบจักร Rolls-Royce/Alstom Mermaid จำนวน 4 ตัว (4 × 21.5 เมกะวัตต์)
ความเร็ว: สูงสุด 30 นอต (56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 35 ไมล์ต่อชั่วโมง)[8] ปกติ 26 นอต
ความจุ:
  • ผู้โดยสาร 2,695 คน (หลังปรับปรุงปี 2016)
  • ผู้โดยสาร 2,620 คน (แบบดั้งเดิม)
ลูกเรือ: เจ้าหน้าที่และลูกเรือ 1,253 นาย

อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี 2 (อังกฤษ: RMS Queen Mary 2; ย่อ: QM2) เป็นเรือเดินสมุทรสัญชาติบริติช ทำหน้าที่เป็นเรือธงของบริษัทคูนาร์ดไลน์มาตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 2004 และถือเป็นเรือเดินสมุทรเพียงลำเดียวในโลกที่ยังคงให้บริการอยู่[9][10] ควีนแมรี 2 เดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเป็นประจำระหว่างเซาแทมป์ตันและนครนิวยอร์ก นอกจากนี้ยังมีการล่องเรือระยะสั้น และการล่องเรือรอบโลกเป็นประจำทุกปี[11][12]

เรือลำนี้ถูกออกแบบโดยคณะนาวาสถาปนิกของอังกฤษภายใต้การนำของสตีเฟน เพย์น และถูกสร้างขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศสโดยบริษัทชองติเยเดอลัตล็องติก (Chantiers de l'Atlantique) ในช่วงเวลาที่กำลังสร้าง ควีนแมรี 2 นั้นเป็นเรือโดยสารที่ยาวที่สุดด้วยความยาว 1,131.99 ฟุต (345.03 เมตร) และขนาดใหญ่ที่สุด ด้วยน้ำหนักรวม 148,528 ตันกรอส ที่เคยถูกสร้างขึ้น แต่ไม่อาจครองสถิติเหล่านี้ได้อีกต่อไปหลังจากการสร้างเรือสำราญฟรีดอมออฟเดอะซีส์ ของบริษัทรอยัลแคริบเบียนอินเตอร์เนชันแนล ซึ่งมีขนาด 154,407 ตันกรอส ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2006 แต่ยังคงเป็นเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยถูกสร้างขึ้น

ควีนแมรี 2 ถูกออกแบบมาเพื่อการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเป็นประจำ โดยมีต้นทุนการก่อสร้างขั้นสุดท้ายอยู่ที่ประมาณ 300,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อเตียง ต้นทุนเพิ่มขึ้นเนื่องจากวัสดุที่มีคุณภาพสูง โดยการออกแบบให้เป็นเรือเดินสมุทรทำให้ต้องใช้อะลูมิเนียมมากกว่าเรือสำราญทั่วไปถึงร้อยละ 40%[13] ควีนแมรี 2 มีความเร็วสูงสุด 30 นอต (56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 35 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความเร็วในการล่องเรือปกติ 26 นอต (48 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 30 ไมล์ต่อชั่วโมง) ซึ่งถือว่าเร็วกว่าเรือสำราญในปัจจุบัน แทนที่จะใช้ระบบขับเคลื่อนแบบดีเซล-ไฟฟ้าทั่วไป ควีนแมรี 2 กลับเลือกใช้ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าแบบบูรณาการเพื่อให้ได้ความเร็วสูงสุด เครื่องยนต์ดีเซลที่เสริมประสิทธิภาพด้วยกังหันก๊าซถูกใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้าสำหรับการขับเคลื่อนและการใช้งานบนเรือ

ควีนแมรี 2 มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน อาทิ ห้องอาหารและบาร์ 15 แห่ง สระว่ายน้ำ 5 สระ คาสิโน ห้องบอลรูม โรงละคร และที่สำคัญคือเป็นเรือลำแรกของโลกที่มีท้องฟ้าจำลอง

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Queen Mary 2 (9241061)". Miramar Ship Index. สืบค้นเมื่อ 23 December 2018.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "QUEEN MARY 2 TECHNICAL INFORMATION" (PDF). Cunard.com. Cunard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 19 October 2018. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "Queen Mary 2 (9241061)". LR Class Direct. Lloyd's Register. สืบค้นเมื่อ 16 October 2019.
  4. Cunard Production Services (2009). "Queen Mary 2: G32 nightclub". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 May 2010. สืบค้นเมื่อ 23 November 2009.
  5. United States Coast Guard Maritime Information Exchange, Search for "Queen Mary 2", Retrieved 18 July 2016
  6. "Queen Mary 2 – Ship Facts". Cunard Line. 23 February 2011. สืบค้นเมื่อ 2 September 2011.
  7. "Queen Mary 2: A ship of superlatives". Cunard Line.
  8. "Queen Mary 2". Maritime Matters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2003.
  9. Jivanda, Tomas (7 March 2014). "Queen Mary 2, the largest and most expensive ocean liner ever built celebrates tenth birthday". The Independent. สืบค้นเมื่อ 24 January 2019.
  10. McDaniel, Colleen. "New Cruise Ships in 2014". www.cruisecritic.com. Cruise Critic. สืบค้นเมื่อ 5 November 2015.
  11. Queen Mary 2 Cruises Cunard Retrieved 21 January 2012
  12. Sloan, Gene (6 March 2017). "Peek inside the last of the great ocean liners". USA TODAY. สืบค้นเมื่อ 17 August 2018.
  13. "The History, Construction and Design of Queen Mary 2". Sealetter Travel Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 May 2011. สืบค้นเมื่อ 26 March 2006.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]