บีลีฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บีลีฟ
สตูดิโออัลบั้มโดย
วางตลาด22 เมษายน พ.ศ. 2548
แนวเพลงอัลเทอร์เนทีฟร็อก โพสต์ฮาร์ดคอร์
ค่ายเพลงจีนี่เรคอร์ดส, จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
โปรดิวเซอร์พูนศักดิ์ จตุระบุล, ขจรเดช พรมรักษา
ลำดับอัลบั้มของบอดี้สแลม
ไดรฟ์
(2546)ไดรฟ์2546
บีลีฟ
(2548)
เซฟมายไลฟ์
(2550)เซฟมายไลฟ์2550
ซิงเกิลจากบีลีฟ
  1. "ขอบฟ้า"
    จำหน่าย: 22 เมษายน พ.ศ. 2548
  2. "ความรักทำให้คนตาบอด"
    จำหน่าย: 22 เมษายน พ.ศ. 2548
  3. "ความเชื่อ"
    จำหน่าย: 22 เมษายน พ.ศ. 2548
  4. "พูดในใจ"
    จำหน่าย: 22 เมษายน พ.ศ. 2548

บีลีฟ (อังกฤษ: Believe) เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 3 ของวงร็อค บอดี้สแลม และยังเป็นสตูดิโออัลบั้มชุดแรกที่ออกกับค่ายจีนี่เรคอร์ดส ใต้สังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ อัลบั้มนี้มี พูนศักดิ์ จตุระบุล (อ๊อฟ บิ๊กแอส) และขจรเดช พรมรักษา (กบ บิ๊กแอส) เป็นโปรดิวเซอร์

ในอัลบั้มนี้ ลักษณะการร้องของตูน จะมีเสียงร้องที่แปลกไปตรงลูกเอื้อนที่เรียกว่า "โหย" มากขึ้น[1] และเป็นอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จอย่างมากอัลบั้มหนึ่งของบอดี้แสลม

อัลบั้มชุดนี้มีเพลงที่ได้รับความนิยมเกือบทุกเพลงในอัลบั้ม ได้แก่ "ขอบฟ้า" "ความรักทำให้คนตาบอด" "พูดในใจ" "คนที่ถูกรัก" "ชีวิตเป็นของเรา" "ห้ามใจ" "รักก็เป็นอย่างนี้" แต่เพลงที่ทำให้บอดี้แลมโด่งดังอย่างมากในอัลบั้มชุดนี้เป็นเพลง "ความเชื่อ" ต่อมาเพลงนี้ได้กลายเป็นเพลงสัญลักษณ์ประจำของวงบอดี้แสลม

เนื้อหาของเพลงในอัลบั้ม[แก้]

เนื้อหาเพลงจะเป็นเพลงที่ฟังแล้วเกิดพลัง โดยเฉพาะเพลง ความเชื่อ ที่ได้ แอ๊ด คาราบาว มาร่วมร้อง และยังกลายเป็นที่มาของชื่ออัลบั้มอีกด้วย นอกจากนั้น ยังมีเพลงชีวิตเป็นของเรา ที่แสดงความเป็นตัวตนที่ชัดเจนของวง ส่วนเพลงรักจะมีมุมมองนำเสนอเป็นเอกลักษณ์ของบอดี้สแลม เช่น เพลงขอบฟ้า, คนที่ถูกรัก เป็นต้น

รายชื่อเพลง[แก้]

Believe
ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ยาว
1."ชีวิตเป็นของเรา"ขจรเดช พรมรักษา, โป โปษยะนุกูล3:50
2."ขอบฟ้า"ขจรเดช พรมรักษา, หลังฝน4:16[2]
3."คนที่ถูกรัก"โป โปษยะนุกูล4:43[3]
4."ความรักทำให้คนตาบอด"ขจรเดช พรมรักษา3:42
5."ความเชื่อ (ร่วมกับ แอ๊ด คาราบาว)"นาถนที, ขจรเดช พรมรักษา4:23
6."พูดในใจ"ขจรเดช พรมรักษา3:47
7."รักก็เป็นอย่างนี้" 3:29
8."ห้ามใจ" 4:27
9."ไม่รู้เมื่อไหร่" 4:09
10."เจ็บจนวันนี้" 3:20

บุคคลที่เกี่ยวข้อง[แก้]

บอดี้แสลม

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]