ควังแฮกุน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก องค์ชายควางแฮกุน)
ควังแฮกุน
พระมหากษัตริย์แห่งโชซ็อน
ครองราชย์ค.ศ. 1608 - ค.ศ. 1623
ก่อนหน้าพระเจ้าซ็อนโจ
ถัดไปพระเจ้าอินโจ
ผู้สำเร็จราชการเจ้าชายรัชทายาทอีจี
(พฤศจิกายน ค.ศ. 1619 ~ มกราคม ค.ศ. 1620)
ปาร์ค ซึง-จง
(มกราคม ค.ศ. 1620 ~ กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1620)
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งโชซ็อน
ระหว่างค.ศ. 1592 – ค.ศ. 1608
พระมหากษัตริย์พระเจ้าซ็อนโจ
พระราชสมภพ4 มิถุนายน ค.ศ. 1575(1575-06-04)
ฮันซ็อง, อาณาจักรโชซ็อน
อี ฮอน (이혼,李琿)
สวรรคต7 สิงหาคม ค.ศ. 1641(1641-08-07) (66 ปี)
Jeju Island, อาณาจักรโชซ็อน
พระนามเต็ม
ควังแฮกุน
ราชสกุลอี
ราชวงศ์โชซ็อน
พระราชบิดาพระเจ้าซ็อนโจแห่งโชซ็อน
พระราชมารดาพระสนมกงบิน ตระกูลคิม
ควังแฮกุน
ฮันกึล
광해군
ฮันจา
光海君
อาร์อาร์Gwanghaegun
เอ็มอาร์Kwanghaegun
ชื่อเกิด
ฮันกึล
이혼
ฮันจา
李琿
อาร์อาร์I Hon
เอ็มอาร์I Hon
พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์โชซ็อน
พระเจ้าแทโจ
พระเจ้าจองจง
พระเจ้าแทจง
พระเจ้าเซจงมหาราช
พระเจ้ามุนจง
พระเจ้าทันจง
พระเจ้าเซโจ
พระเจ้าเยจง
พระเจ้าซองจง
องค์ชายยอนซัน
พระเจ้าจุงจง
พระเจ้าอินจง
พระเจ้ามยองจง
พระเจ้าซอนโจ
องค์ชายควังแฮ
พระเจ้าอินโจ
พระเจ้าฮโยจง
พระเจ้าฮยอนจง
พระเจ้าซุกจงแห่งโชซ็อน
พระเจ้าคยองจง
พระเจ้ายองโจ
พระเจ้าจองโจ
พระเจ้าซุนโจ
พระเจ้าฮอนจง
พระเจ้าชอลจง
จักรพรรดิโคจง
จักรพรรดิซุนจง

ควังแฮกุน (เกาหลี: 광해군 光海君; ค.ศ. 1574ค.ศ. 1641) พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 15 แห่งราชอาณาจักรโชซ็อนโดยครองราชย์ในช่วงปี ค.ศ. 1608ค.ศ. 1623 แต่ไม่ได้รับการขนานพระนามเป็นพระมหากษัตริย์เนื่องจากถูกยึดอำนาจจากฝ่ายตะวันตกใน ค.ศ. 1623 ในฐานะองค์ชายรัชทายาทองค์ชายควังแฮยืนหยัดนำทัพเกาหลีต่อต้าน การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135–2141) ในขณะที่ พระเจ้าซ็อนโจ พระบิดาหลบหนีไปยังประเทศจีน หลังการรุกรานของญี่ปุ่นองค์ชายควังแฮได้รับการสนับสนุนจากขุนนางฝ่ายเหนือใหญ่หรือแทบุก (เกาหลี: 대북 大北) ให้ขึ้นครองราชสมบัติแต่ถูกต่อต้านโดยขุนนางฝ่ายเหนือเล็กหรือโซบุก (เกาหลี: 소북 小北) ที่สนับสนุนองค์ชายยองชัง พระอนุชาต่างมารดาที่ประสูติจากพระมเหสี ในรัชสมัยของพระองค์ขุนนางฝ่ายเหนือใหญ่ได้ทำการปราบปรามขุนนางฝ่ายเหนือเล็กอย่างรุนแรงรวมทั้งผลักดันให้มีการสำเร็จโทษประหารชีวิตองค์ชายยองชังและกักขังพระพันปีอินมก จนเป็นข้ออ้างให้ขุนนางฝ่ายตะวันตกก่อการรัฐประหารในปีค.ศ. 1623 ล้มองค์ชายควังแฮลงจากราชบัลลังก์และเนรเทศไปยังเกาะคังฮวาในที่สุด

หนทางสู่ราชบัลลังก์[แก้]

องค์ชายควังแฮประสูติเมื่อปี ค.ศ. 1574 เป็นพระโอรสองค์ที่สองของพระเจ้าซ็อนโจกับพระสนมคงบิน ตระกูลคิม (เกาหลี: 공빈김씨 恭嬪金氏) ซึ่งเป็นธิดาของนายพลคิมฮีชอล (เกาหลี: 김희철 金希哲) ผู้ซึ่งเสียชีวิตในการต่อสู้กับญี่ปุ่น องค์ชายควังแฮมีพระเชษฐาคือ องค์ชายอิมแฮ (เกาหลี: 임해군 臨海君) ใน ค.ศ. 1592 เกิดการรุกรานของญี่ปุ่นโดยทัพของโทโยโตมิ ฮิเดโยชิ องค์ชายอิมแฮพระเชษฐาถูกทัพญี่ปุ่นของ คาโต คิโยมาซะ จับเป็นองค์เชลย ในขณะที่ทัพญี่ปุ่นรุกคืบเข้าสู่เมือง เปียงยางนั้น พระเจ้าซอนโจพระบิดาแต่งตั้งองค์ชายควังแฮเป็นองค์ชายรัชทายาทหรือเซจาด้วยความรีบร้อนและเสด็จหนีไปยังประเทศจีน องค์ชายควังแฮเป็นผู้นำกองทัพชาวบ้านหรืออีบยอง (เกาหลี: 의병 義兵) ในมณฑลฮัมกยองและมณฑลจอลลา ในการต้านทานการรุกรานของญี่ปุ่น

องค์ชายรัชทายาทมีบทบาทอย่างมากในการต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่น แม้กระนั้นความสัมพันธ์ระหว่างองค์ชายควังแฮกับพระเจ้าซอนโจพระบิดานั้นไม่สู้จะดีนัก พระเจ้าซอนโจมีพระสนมองค์โปรดองค์ใหม่คือ พระสนมอินบิน ตระกูลคิม (เกาหลี: 인빈김씨 仁嬪金氏) และประสงค์จะให้พระโอรสของพระสนมอินบินขึ้นครองราชย์ ใน ค.ศ. 1600 พระนางอึยอิน พระมเหสีองค์แรกของพระเจ้าซอนโจสิ้นพระชนม์พระเจ้าซอนโจอภิเษกพระมเหสีพระองค์ใหม่ใน ค.ศ. 1602 คือ พระมเหสีอินมก ตระกูลคิม (เกาหลี: 인목왕후김씨 仁穆王后金氏) ซึ่งได้ประสูติองค์ชายยองชัง (เกาหลี: 영창대군 永昌大君) ใน ค.ศ. 1606 เท่ากับว่าความชอบธรรมในราชบัลลังก์ขององค์ชายควังแฮถูกท้าทาย เนื่องจากพระโอรสที่ประสูติแต่พระมเหสีมีสิทธิมากกว่าพระโอรสที่เกิดแต่พระสนม ทำให้ขุนนางฝ่ายเหนือซึ่งมีอำนาจอยู่ในขณะนั้นแบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายเหนือใหญ่ หรือ แทบุก ให้การสนับสนุนองค์ชายควังแฮ มีผู้นำได้แก่อีอีชอม (เกาหลี: 이이첨 李爾瞻) และจองอินฮง (เกาหลี: 정인홍 鄭仁弘) และฝ่ายเหนือเล็กหรือ โซบุก ซึ่งต่อต้านองค์ชายควังแฮโดยสนับสนุนองค์ชายยองชังหรือองค์ชายอิมแฮแทน

พระเจ้าซอนโจสวรรคตเมื่อ ค.ศ. 1608 องค์ชายรัชทายาทควังแฮจึงขึ้นครองราชย์ต่อมา แต่ทว่าอัครเสนาบดีรยูยองกยอง (เกาหลี: 류영경 柳永慶) ได้กล่าวอ้างว่าแท้จริงแล้วพระเจ้าซอนโจประสงค์จะให้องค์ชายอิมแฮขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ โดยแสดงราชโองการเป็นหลักฐาน ทั้งสองฝ่ายต่างกล่าวหากันฝ่าราชโองการของอีกฝ่ายเป็นของปลอม อัครเสนาบดียูยองกยองจึงถูกประหารชีวิตและองค์ชายอิมแฮถูกเนรเทศไปเกาะคังฮวา ซึ่งจองอินฮงได้ส่งคนไปทำการบังคับให้องค์ชายอิมแฮปลิดพระชนม์ชีพพระองค์เองใน ค.ศ. 1609

องค์ชายยองชังแม้ว่าจะยังอายุน้อยแต่ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายเหนือเล็ก เปรียบเสมือนเป็นหอกข้างแคร่ทำให้ขุนนางฝ่ายเหนือใหญ่ตัดสินใจผลักดันให้มีปลดองค์ชายยองชัง รวมทั้งพระพันปีอินมกพระมารดาลงเป็นสามัญชนใน ค.ศ. 1613 โดยเนรเทศองค์ชายยองชังไปยังเกาะคังฮวาและกักขังพระพันปีอินมกพร้อมทั้งองค์หญิงจองมยอง (เกาหลี: 정명공주 貞明公主) พระธิดาเอาไว้ใน พระราชวังคยองฮี หรือพระราชวังตะวันตก หรือซอกุง (เกาหลี: 서궁 西宮) ห้ามใครเข้าเฝ้า และยังทำการกวาดล้างขุนนางฝ่ายเหนือเล็กที่ให้การสนับสนุนองค์ชายยองชังไปจนหมดสิ้น เรียกว่า เหตุการณ์ปีคเยชุก (เกาหลี: 계축옥사 癸丑獄事) ในปีต่อมาค.ศ. 1614 อีอีชอมและจองอินฮงส่งคนไปทำการปลงพระชนม์องค์ชายยองชังที่เกาะคังฮวา องค์ชายยองชังจึงสิ้นพระชนม์ด้วยอายุเพียงเจ็ดพรรษา

ฟื้นฟูประเทศ[แก้]

ราชกิจขององค์ชายควางแฮคือการฟื้นฟูประเทศหลังจากสงครามเจ็ดปี โดยบูรณะ พระราชวังชางด๊อกกุง ให้เป็นพระราชวังใหม่แทนที่ พระราชวังเคียงบก ที่ถูกญี่ปุ่นเผาจนวอดวาย และยังเห็นความสำคัญของกำลังทหารในการป้องกันประเทศ จึงนำระบบโฮแปกลับมาใช้ใหม่เพื่อที่จะบันทึก สำมะโนประชากร เพื่อสะดวกใน การเกณฑ์ และย้ำว่าทุกชนชั้นไม่ว่าจะเป็นยังบันหรือสามัญชนต้องเกณฑ์ทหาร แต่ยังบันก็ยังสามารถหอีกเอี่ยงการเกณฑ์ทหารได้อยู่ดี จนกลับไปสู่ระบบเดิมในที่สุดและยังฟื้นฟูความสัมพันะระหว่างประเทศกับญี่ปุ่นโดยอนุญาตให้มีการค้าขายกับญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2152 และส่งทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีที่ เอโดะ ใน พ.ศ. 2160

ในพ.ศ. 2160 นู่เอ๋อร์ฮาชื่อ ได้รวบรวมเผ่าแมนจูและประกาศสงครามกับราชวงศ์หมิง ปีต่อมาพ.ศ. 2161 จีนจึงส่งกำลังไปต่อสู้ องค์ชายควางแฮจึงส่งคังฮงนิปนำทัพโชซ็อนไปช่วยรบ ในการรบที่ซาร์ฮู แต่ฝ่ายจีนและโชซ็อนพ่ายแพ้ยับเยิน ทำให้ตระหนักว่าขณะนี้เผ่าแมนจูมีกำลังสามารถต่อกรกับราชวงศ์หมิงได้ จึงดำเนินนโยบายเป็นกลางเพื่อมิให้โชซ็อนต้องเดือดร้อน

อินโจบันจอง[แก้]

การขึ้นครองราชย์ขององค์ชายควางแฮทำให้ฝ่ายเหนือใหญ่มีอำนาจแม้องค์ชายควางแฮเองพยายามที่จะสนับสนุนขุนนางฝ่ายอื่นเพื่อคานอำนาจแต่ก็ถูกจองอินฮองและอีอีชอมขัดขวางส่วนฝ่ายเหนือเล็กก็หันหาองค์ชายยองชังจน พ.ศ. 2156 ฝ่ายเหนือใหญ่เนรเทศองค์ชายยองชังซึ่งต่อมาถูกปลงพระชนม์ และใน พ.ศ. 2161 ปลด พระพันปีอินมก พระมารดาของ เจ้าชายยองชาง ไปอยู่นอกวังและยังกำจัดขุนนางฝ่ายเหนือเล็กไปทีละคนละคนจนฝ่ายเหนือเล็กล่มสลายลงในที่สุด

ฝ่ายเหนือใหญ่ก็ยังคงเรืองอำนาจอยู่ก่อนที่จะจบลงกะทันหันด้วยการยึดอำนาจของฝ่ายตะวันตกในพ.ศ. 2166 ซึ่งซุ่มซ่อนอยู่นานด้วยการอ้างความผิดขององค์ชายควางแฮสองประการคือ เข่นฆ่าพี่น้อง (จริงแล้วเป็นฝีมือของฝ่ายเหนือใหญ่) และละทิ้งมารดา (ฝ่ายเหนือใหญ่อีกเช่นกัน และพระพันปีอินมกก็มิใช่พระมารดาขององค์ชายควางแฮ) รวมทั้งฝ่ายตะวันตกมีนโยบายเอียงหาราชวงศ์หมิง เพราะเห็นว่าโชซ็อนควรจะมีความจงรักภักดีต่อเจ้านาย และต้องรวมมือในการทลายพวกแมนจูให้สิ้นซาก และให้ องค์ชายนึงยาง พระโอรสของ เจ้าชายจองวอน ที่ไม่มีใครรู้จักขึ้นครองราชย์เป็น พระเจ้าอินโจ

องค์ชายควางแฮถูกเนรเทศไป เกาะคังฮวา ซึ่งใช้ชีวิตบั้นปลายของพระองค์อยู่นานถึง 20 กว่าปีและสิ้นพระชนม์ในพ.ศ. 2188 ไม่ได้รับพระนามกษัตริย์และไม่ได้ฝังรวมกับราชตระกูล ซึ่งไม่สมกับคุณประโยชน์มากมายที่ทำให้กับอาณาจักรโชซ็อนเลย พระศพของพระองค์ได้รับการฝังไว้ข้างพระศพอดีตพระมเหสี ณ พระสุสานควังแฮกุนมโย เมืองนัมยางจู จังหวัดคย็องกี

บุคคลสำคัญ[แก้]

หมอโฮจุน เป็นแพทย์หลวงในราชสำนัก เขียนหนังสือเรื่อง ทงอึยโพกัม (ความวิเศษของการแพทย์ตะวันออก) เริ่มเขียนในพ.ศ. 2139 แต่หยุดไปด้วยสงครามเจ็ดปี และเสร็จสิ้นในพ.ศ. 2152 สมัยองค์ชายควางแฮ องค์ชายควางแฮทรงโปรดปรานซังกุงคนหนึ่งมา ชื่อว่า คิมคเยชิ หรือ คิมซังกุง พอพระองค์ทรงครองราชย์ทรงแต่งตั้งเป็น พระสนมซุกวอน ตระกูลคิม

พระนามเต็ม[แก้]

สมเด็จพระราชา ควังแฮ ฮุนกุน จุนด็อก ฮงคง ซินซอง ยองซุก ฮุมมุน อินมู ซอรยุน อิปกิ มยองซอง ควางรยอล ยองบก ฮย็อนโบ มูจอง จุงฮุย เยชอล จางอึย จางฮอน ซุนจอง คอนอึย ซูจอง ชางโด ซุนกอป แห่งเกาหลี

พระราชวงศ์[แก้]

พระมเหสี

  • เจ้าหญิงพระชายามุนซอง ตระกูลยู (문성군부인 유씨, 1576-1623)

พระสนม

  • พระสนมโซอึย ตระกูลฮง (소의 홍씨)
  • พระสนมโซอึย ตระกูลยุน (소의 윤씨)
  • พระสนมซุกอึย ตระกูลฮอ (숙의 허씨)
  • พระสนมซุกอึย ตระกูลวอน (숙의 원씨)
  • พระสนมซุกอึย ตระกูลควอน (숙의 권씨)
  • พระสนมโซยอง ตระกูลอิม (소용 임씨)
  • พระสนมโซยอง ตระกูลจอง (소용 정씨)
  • พระสนมซุกวอน ตระกูลซิน (소원 신씨)
  • พระสนมซุกวอน ตระกูลชิม (소원 심씨)
  • ซังกุง ตระกูลโจ (궁인 조씨)
  • ซังกุง ตระกูลอี (상궁 이씨)
  • ซังกุง ตระกูลคิม (상궁 김씨, 김개시) นามเดิม คิม แคซี
  • ซังกุง ตระกูลชเว (상궁 최씨)

พระโอรส

  • เจ้าชายอีจี (폐세자 이지 ,廢世子 李祬 ,4 - December - 1598 - 25 - June - 1623) อดีตมกุฎราชกุมารแห่งโชซ็อน พระราชโอรสขององค์หญิงพระชายามุนซอง ตระกูลยู

พระธิดา

  • เจ้าหญิงไม่ทราบพระนาม พระราชธิดาของพระสนมโซอึย ตระกูลยุน

พงศาวลี[แก้]

ก่อนหน้า ควังแฮกุน ถัดไป
พระเจ้าซ็อนโจ กษัตริย์แห่งโชซ็อน
(พ.ศ. 2151 - พ.ศ. 2166)
พระเจ้าอินโจ|}