หม่อมราชวงศ์ลาภ หัสดินทร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พลโท หม่อมราชวงศ์ลาภ หัสดินทร (15 กันยายน พ.ศ. 2451 – 5 ธันวาคม พ.ศ. 2519) เป็นนายทหารชาวไทย อดีตรองเลขาธิการทำเนียบนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง และอดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นพี่ชายของศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์แหลมฉาน หัสดินทร อดีตคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและอดีตอุปนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์[1]

ประวัติ[แก้]

พลโท หม่อมราชวงศ์ลาภ หัสดินทร เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2451 ที่ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นบุตรของพลตรี หม่อมเจ้า ศรีใสเฉลิมศักดิ์ หัสดินทร และหม่อมลืม (สกุลเดิม จุลกะ) มีพี่น้องร่วมมารดาเเดียวกัน 7 คน

  1. หม่อมราชวงศ์แลวิไลลักษณ์ หัสดินทร (ฤทธาคนี)
  2. พลโท หม่อมราชวงศ์ลาภ หัสดินทร
  3. พันเอก หม่อมราชวงศ์ล้ำเลิศ หัสดินทร
  4. หม่อมราชวงศ์ล้วนฉวี หัสดินทร (สุนทรประทม)
  5. ศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์แหลมฉาน หัสดินทร
  6. หม่อมราชวงศ์ลมเพย หัสดินทร
  7. หม่อมราชวงศ์รัชกมล หัสดินทร

เมื่อหม่อมเจ้าศรีไสยเฉลิมศักดิ์สิ้นชีพิตักษัยและท่านอายุได้ 13 ปี หม่อมแม่ได้นำไปถวายตัวให้อยู่ในอุปการะของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีวังสระปทุม[1]

การศึกษา[แก้]

หม่อมราชวงศ์ลาภได้เข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อยทหารบก (โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ในปัจจุบัน) จนจบการศึกษาและออกรับราชการในปี 2472 หลังเข้ารับราชการแล้วได้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนทหารม้าในประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2479, โรงเรียนทหารม้า พ.ศ. 2481, โรงเรียนเสนาธิการทหารบก รุ่นที่ 26 พ.ศ. 2498 และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 5 ในปี พ.ศ. 2505[1]

การทำงาน[แก้]

การรับราชการ[แก้]

หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก พลโท หม่อมราชวงศ์ลาภได้เข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2472 และได้ไปประจำกองพันที่ 2 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 3 เมื่อปี พ.ศ. 2473 แล้วจึงไปประจำกองร้อยรถรบ กองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ แล้วไปประจำกองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2476 แล้วย้ายไปสังกัดแผนกที่ 2 กรมจเรทหารบกชั่วคราว เพื่อเข้าศึกษาในโรงเรียนทหารม้า แล้วประจำกรมยุทธศึกษาทหารบก เพื่อเดินทางไปศึกษาวิชาเพิ่มเติม ณ ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2478 แล้วประจำแผนกที่ 2 กรมจเรทหารบกในเดือนกันยายน และเป็นผู้บังคับการกองร้อยที่ 2 กรมรถรบ ในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 ดำรงตำแหน่งรองผู้บังคับการกองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ ก่อนจะเป็นผู้บังคับการกองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2484 แล้วออกจากราชการเป็นนายทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดในเดือนมกราคม แล้วกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเจ้ากรมเสมียนตราในเดือนตุลาคม ปีเดียวกัน และออกจากราชการอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2491

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2502 เป็นเลขานุการรัฐมาตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์[2] และเป็นนายทหารคนสนิทของรองผู้บัญชาการทหารสูงสุดอีกตำแหน่งหนึ่ง จนพ้นจากตำแหน่งในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2506 แล้วดำรงตำแหน่งเป็นรองเลขาธิการทำเนียบนายกนายกรัฐมนตรี[3] ในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน จนลาออกจากตำแหน่งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2511

ในปี พ.ศ. 2504 ได้ไปประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด จนออกจากราชการเป็นนายทหารนอกราชการ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ในปี พ.ศ. 2508 จนกระทั่งเกษียณอายุราชการ เมื่อปี พ.ศ. 2511

อนึ่งในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 เป็นผู้อำนวยการโรงงานยาสูบ

ราชการพิเศษและตำแหน่งทางการเมือง[แก้]

  • 13 สิงหาคม พ.ศ. 2484 – ราชองครักษ์เวร[4]
  • 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 – สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2[5]
  • 13 สิงหาคม พ.ศ. 2487 – ราชองครักษ์เวรสืบต่อไป[6]
  • 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 – สมาชิกพฤฒสภา[7]
  • 14 ตุลาคม พ.ศ. 2489 – กรรมการจัดการสลากกินแบ่งรัฐบาล
  • 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 – กรรมการพิจารณาระเบียบข้าราชการทหาร
  • 9 มีนาคม พ.ศ. 2506 – ราชองครักษ์เวร[8]
  • 27 กันยายน พ.ศ. 2506 – นายทหารพิเศษประจำกองพันทหารม้าที่ 1 กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์[9]
  • 15 มิถุนายน พ.ศ. 2507 – สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ[10]
  • 2 ตุลาคม พ.ศ. 2507 – กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาลูกเสือแห่งชาติ[11]
  • 9 มีนาคม พ.ศ. 2509 – ราชองครักษ์พิเศษ[12]
  • 29 มกราคม พ.ศ. 2514 – กรรมการสภาทหารผ่านศึกนอกราชการ
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2514 – กรรมการสภากาชาดไทย[13]
  • 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 – สมาชิกวุฒิสภา[14]

นอกจากนี้เคยดำรงตำแหน่ง เลขานุการกิตติมศักดิ์ราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในปี พ.ศ. 2497 และ พ.ศ. 2498 ผู้จัดการบริษัทไทยบริติชพาณิชย์ จำกัด พ.ศ. 2491 – พ.ศ. 2502 และก่อนถึงแก่อนิจกรรมดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท อิสเอเชียติก จำกัด คณะกรรมการธนาคารเอเชียทรัสต์ จำกัด กรรมการบริษัทเอเชียทรัสต์ ประกันภัย จำกัด กรรมการบริษัทไฟแนนซิ่ง แอนด์ ทรัสต์ จำกัด รองประธานบริษัทไทยทีวีสีช่อง 3[1]

ยศ[แก้]

ยศทหาร[แก้]

  • 2 ธันวาคม พ.ศ. 2473 – นายร้อยตรี[15]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2477 – นายร้อยโท[16]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2481 – นายร้อยเอก[17]
  • 19 มิถุนายน พ.ศ. 2484 – นายพันตรี[18]
  • 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 – นายพันโท[19]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2488 – พันเอก[20]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2505 – พลตรี[21]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2508 – พลโท[22]

ชีวิตครอบครัว[แก้]

พลโท หม่อมราชวงศ์ลาภ หัสดินทร ได้สมรสกับนุกูล ปราการะนันท์ บุตรีร้อยเอก หลวงหิรัญสุจริต (แก้ว ปราการะนันท์) กับลูกจันทร์ หิรัญสุจริต เมื่อปี พ.ศ. 2474 มีบุตรธิดาร่วมกัน 8 คน[1]

  1. หม่อมหลวงสิงหรา หัสดินทร
  2. หม่อมหลวงลาวัณย์ หัสดินทร (ศรีชัย)
  3. หม่อมหลวงไชยณรงค์ หัสดินทร
  4. หม่อมหลวงนลินี หัสดินทร (วัฒนสุข)
  5. หม่อมหลวงจีรานันท์ หัสดินทร
  6. หม่อมหลวงทนงศักดิ์ หัสดินทร
  7. หม่อมหลวงลักษณเลิศ หัสดินทร
  8. หม่อมหลวงนารีรัตน์ หัสดินทร (ศิริวงศ์)

ถึงแก่อนิจกรรม[แก้]

พลโท หม่อมราชวงศ์ลาภ เป็นผู้ที่มีพลานามัยสมบูรณ์จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2510 แพทย์พบน้ำตาลและไขมันในเลือดรวมทั้งความดันโลหิตสูง จึงได้ทำการรักษาและอยู่ในควบคุมของแพทย์เป็นประจำ แต่ไม่เคยเจ็บป่วยจึงเข้ารับรักษาตัวในโรงพยาบาล จนกระทั่งในคืนวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2519 ระหว่างเตรียมตัวเข้านอนตามปกติมีอาการปวดเมื่อยบริเวณต้นคอและไหล่ซ้ายพร้อมทั้งหายใจไม่สะดวก ได้นำส่งสถานีอนามัย อำเภอหัวหิน แพทย์ไม่อาจช่วยเหลือได้ทันจึงถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบ เมื่อเวลา 22.10 น. ด้วยโรคเส้นเลือดหัวใจตัน สิริอายุได้ 68 ปี 2 เดือน 20 วัน[1]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พลโท หม่อมราชวงศ์ลาภ หัสดินทร ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้[1]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลโท ม.ร.ว.ลาภ หัสดินทร ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 19 มีนาคม 2520. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสมัย. 1977. p. 133-136.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง ตั้งเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๓๔ ง หน้า ๘๖๐, ๑๗ มีนาคม ๒๕๐๒
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมืองในสำนักนายกรัฐมนตรี, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๒๓ หน้า ๒๘๑๑, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๖
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง ตั้งราชองครักษ์, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕๔๕, ๑๓ สิงหาคม ๒๔๘๔
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ตั้งสมาชิกประเภทที่ ๒ แทนตำแหน่งที่ว่าง, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๔๔ ง หน้า ๑๕๑๖, ๑ สิงหาคม ๒๔๘๗
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งราชองครักษ์, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๕๓ ง หน้า ๑๗๐๘, ๒๙ สิงหาคม ๒๔๘๗
  7. วุฒิสภา ชุดที่ ๑ (สมาชิกพฤฒสภา พ.ศ. ๒๔๘๙)
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์เวร, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๑๐๐, ๙ เมษายน ๒๕๐๖
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๙๙ ง หน้า ๒๒๘๐, ๘ ตุลาคม ๒๕๐๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการประกาศ ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๕๓ ก หน้า ๕๒๔, ๑๖ มิถุนายน ๒๕๐๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาลูกเสือแห่งชาติ, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๙๘ ง หน้า ๒๕๖๗, ๑๓ ตุลาคม ๒๕๐๗
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๓๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๑๕ เมษายน ๒๕๐๙
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสภากาชาดไทย เรื่อง ตั้งกรรมการและรายนามกรรมการเจ้าหน้าที่สภากาชาดไทย, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๕๗ ง หน้า ๑๖๖๒, ๑ มิถุนายน ๒๕๑๔
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๗๑ ก หน้า ๕, ๔ กรกฎาคม ๒๕๑๔
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศทหารบก, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๓๒, ๗ ธันวาคม ๒๔๗๓
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานยศทหารบก, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๙๘, ๖ พฤษภาคม ๒๔๗๗
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๒๑, ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๘๑
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศหทาร, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๔๗, ๑๙ มิถุนายน ๒๔๘๔
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๗๐ ง หน้า ๒๗๘๗, ๓ พฤศจิกายน ๒๔๘๕
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร, เล่ม ๖๒ ตอนที่ ๗๗ ง หน้า ๙๗๐, ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๘๘
  21. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๑๗ มกราคม ๒๕๐๖
  22. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๐๘
  23. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๒
  24. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๑๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕, ๑๙ ธันวาคม ๒๕๐๙
  25. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๑๖
  26. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
  27. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๔๙, ๗ ตุลาคม ๒๔๗๗
  28. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๔ ง หน้า ๒๖๙๗, ๒๔ สิงหาคม ๒๔๘๖
  29. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๙๐ ง หน้า ๒๖๔๔, ๒๖ กันยายน ๒๕๑๐
  30. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๖๑ ง หน้า ๒๔๒๕, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๕
  31. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๘๐ ง หน้า ๒๔๔๗, ๒๙ สิงหาคม ๒๕๑๐
  32. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๒๕ ง หน้า ๘๘๒, ๑๙ มีนาคม ๒๕๑๑
  33. 33.0 33.1 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๙๐ ง หน้า ๒๔๕๑, ๒๒ กันยายน ๒๕๐๗
  34. 34.0 34.1 34.2 34.3 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕, ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๑๐