ข้ามไปเนื้อหา

ฮ่องกงของบริเตน

พิกัด: 22°16′N 114°09′E / 22.267°N 114.150°E / 22.267; 114.150
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮ่องกง

香港
ค.ศ. 1841–1941
ค.ศ. 1945–1997
Flag of Hong Kong from 1959 to 1997
ธง (ค.ศ. 1959–1997)
Coat of arms of Hong Kong from 1959 to 1997
ตราแผ่นดิน
(ค.ศ. 1959–1997)
ที่ตั้งของฮ่องกง (ค.ศ. 1841-1997)
สถานะ
เมืองหลวงวิกตอเรีย (โดยพฤตินัย)
ภาษาราชการ
ศาสนา
พระมหากษัตริย์ 
• ค.ศ. 1841–1901
วิกตอเรีย
• ค.ศ. 1901–1910
เอ็ดเวิร์ดที่ 7
• ค.ศ. 1910–1936
จอร์จที่ 5
• ค.ศ. 1936
เอ็ดเวิร์ดที่ 8
• ค.ศ. 1936–1941, ค.ศ. 1945–1952
จอร์จที่ 6
• ค.ศ. 1952–1997
เอลิซาเบธที่ 2
ผู้สำเร็จราชการ 
• ค.ศ. 1843–1844
เซอร์ เฮ็นรี พ็อตทิงเกอร์ (คนแรก)
• ค.ศ. 1992–1997
คริส แพตเทิน (คนสุดท้าย)
รัฐมนตรีอาวุโสด้านการบริหาร[หมายเหตุ 2] 
• ค.ศ. 1843
จอร์จ มัลคอล์ม (คนแรก)
• ค.ศ. 1993–1997
อันซอน ชัน (คนสุดท้าย)
สภานิติบัญญัติสภานิติบัญญัติ
ยุคประวัติศาสตร์สมัยวิกตอเรียจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20
26 มกราคม ค.ศ. 1841
29 สิงหาคม ค.ศ. 1842
18 ตุลาคม ค.ศ. 1860
9 มิถุนายน ค.ศ. 1898
25 ธันวาคม ค.ศ. 1941 –
30 สิงหาคม ค.ศ. 1945
1 กรกฎาคม ค.ศ. 1997
ประชากร
• ค.ศ. 1996 ประมาณ
6,217,556[1]
5,796 ต่อตารางกิโลเมตร (15,011.6 ต่อตารางไมล์)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 1996[2] (ประมาณ)
• รวม
1.54 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ
23,843 ดอลลาร์สหรัฐ
จีดีพี (ราคาตลาด) 1996[2] (ประมาณ)
• รวม
1.60 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ
24,698 ดอลลาร์สหรัฐ
จีนี (ค.ศ. 1996)Negative increase 51.8[3]
สูง
เอชดีไอ (ค.ศ. 1995)เพิ่มขึ้น 0.808[4]
สูงมาก
สกุลเงินก่อน ค.ศ. 1895:

ค.ศ. 1895–1937:

หลัง ค.ศ. 1937:
ก่อนหน้า
ถัดไป
ค.ศ. 1841:
เทศมณฑลซินอาน
ค.ศ. 1945:
ฮ่องกงของญี่ปุ่น
ค.ศ. 1941:
ฮ่องกงของญี่ปุ่น
1997:
เขตบริหารพิเศษฮ่องกง
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ
ฮ่องกงของบริเตน
อักษรจีนตัวเต็ม英屬香港
อักษรจีนตัวย่อ英属香港

22°16′N 114°09′E / 22.267°N 114.150°E / 22.267; 114.150 ฮ่องกงของบริเตน (อังกฤษ: British Hong Kong; จีน: 英屬香港; ยฺหวิดเพ็ง: Jing1 suk6 hoeng1 gong2) หรือเรียกอย่างง่ายว่า ฮ่องกง เป็นช่วงสมัยที่ฮ่องกงอยู่ภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรตั้งแต่ปี ค.ศ. 1841 ถึง 1997 (ยกเว้นช่วงที่ถูกญี่ปุ่นยึดครองระหว่าง ค.ศ. 1941 ถึง 1945) เมื่อแรกจัดตั้งมีสถานะเป็นอาณานิคมในพระองค์ ก่อนที่ในปี ค.ศ. 1781 จะมีสถานะเป็นดินแดนโพ้นทะเลของบริเตน ราชวงศ์ชิงจำยอมต้องยกเกาะฮ่องกงให้แก่บริเตนใหญ่ภายหลังจีนพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง และจำยอมต้องยกคาบสมุทรเกาลูนให้อีกเมื่อพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่นครั้งที่สอง ในที่สุดก็มีการทำสนธิสัญญาใหม่ขึ้นใน ค.ศ. 1898 ซึ่งให้สิทธิการเช่าฮ่องกงเป็นเวลา 99 ปี ทางสหราชอาณาจักรได้ส่งคืนฮ่องกงแก่จีนเมื่อสัญญาเป็นอันสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1997 การส่งมอบเกาะฮ่องกงในครั้งนั้นถูกมองว่าเป็นจุดสิ้นสุดจักรวรรดิบริเตน

แม้ว่าเกาะฮ่องกงและเกาลูนจะถูกยกให้เป็นการถาวร แต่พื้นที่เช่าบริเวณนิวเทร์ริทอรีส์นั้นเป็นดินแดนส่วนใหญ่ และอังกฤษถือว่าไม่มีทางเป็นไปได้ในการแบ่งแยกอาณานิคมที่เป็นเอกภาพออกเป็นส่วน ในขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนจะไม่พิจารณาขยายสัญญาเช่าหรืออนุญาต หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาการบริหารของอังกฤษ ในที่สุดสหราชอาณาจักรก็ตกลงที่จะทำการถ่ายโอนอำนาจอธิปไตยเหนือฮ่องกงทั้งหมดให้กับจีนเมื่อสัญญาเช่านั้นหมดอายุลงในปี ค.ศ. 1997 หลังจากได้รับ "การค้ำประกัน" ที่จะ "รักษาระบบการปกครอง เสรีภาพ และวิถีชีวิต" เป็นเวลาอย่างน้อย 50 ปี[5]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

รัฐบาล

[แก้]

ฮ่องกงเป็นอาณานิคมในพระองค์ของสหราชอาณาจักรและดำเนินการบริหารตามแบบของระบบเวสต์มินสเตอร์ พระราชเอกสารสิทธิเป็นพื้นฐานของรัฐธรรมนูญของรัฐบาลอาณานิคม โดยพระราชโองการเป็นการกำหนดรายละเอียดการปกครองและจัดระเบียบดินแดนของอาณานิคม

ผู้สำเร็จราชการเป็นหัวหน้ารัฐบาลและได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร ให้ทำหน้าที่เป็นผู้แทนของสถาบันกษัตริย์ในอาณานิคม อำนาจบริหารมีการรวมศูนย์อยู่ที่ผู้สำเร็จราชการซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติและสภาผู้บริหารเกือบทั้งหมด และยังดำรงตำแหน่งประธานของทั้งสององค์กรด้วย[6] รัฐบาลอังกฤษให้การดูแลรัฐบาลอาณานิคม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักรได้รับอนุมัติอย่างเป็นทางการในการเข้าร่วมสังเกตการณ์ในการประชุมของสภานิติบัญญัติและสภาผู้บริหาร[6] และกษัตริย์มีพระราชอำนาจเพียงพระองค์เดียวในการแก้ไขพระราชเอกสารสิทธิและพระราชโองการ

สภาผู้บริหารเป็นผู้กำหนดนโยบายของการบริหารและพิจารณาร่างกฎหมายหลักก่อนที่จะส่งต่อไปยังสภานิติบัญญัติเพื่อพิจารณาอนุมัติ หน่วยงานที่ปรึกษานี้ยังออกกฎหมายลำดับรองภายใต้กฎหมายอาณานิคมที่จำกัด สภานิติบัญญัติอภิปรายการเสนอกฎหมายและรับผิดชอบในการพิจารณางบประมาณ สภาได้รับการปฏิรูปในช่วงปีท้าย ๆ ของการปกครองอาณานิคมเพื่อริเริ่มการมีผู้แทนประชาชนที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น[6] การเลือกสมาชิกสภาทางอ้อมในเขตเลือกตั้งตามกลุ่มผลประโยชน์ทางวิชาชีพ (functional constituency) เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1985 และการเลือกสมาชิกสภาตามความนิยมในเขตเลือกตั้งทางภูมิศาสตร์เริ่มในปี ค.ศ. 1991 การปฏิรูปการเลือกตั้งเพิ่มเติมในปี ค.ศ. 1994 ทำให้สภานิติบัญญัติมีผู้แทนที่หลากหลาย การบริหารกิจการพลเรือนนำโดยเลขาธิการแห่งรัฐอาณานิคม (ภายหลังคือ รัฐมนตรีอาวุโสด้านบริหาร) ซึ่งเป็นรองผู้สำเร็จราชการโดยตำแหน่ง[6]

ทำเนียบรัฐบาลฮ่องกง c. 1873

ระบบตุลาการตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎหมายอังกฤษ โดยกฎหมายจารีตประเพณีจีนมีบทบาทรองในคดีแพ่งที่เกี่ยวข้องกับชาวจีน[7] ศาลฎีกาฮ่องกงเป็นศาลสูงสุด ทำหน้าที่ตัดสินคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งหมดในอาณานิคม ในช่วงต้นยุคอาณานิคมมีการพิจารณาคดีคำร้องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตจากภูมิภาคอื่น ๆ ของจีนที่เกี่ยวข้องกับชาวอังกฤษในศาลนี้ด้วย คณะกรรมการตุลาการของคณะองคมนตรีทำหน้าที่รับการอุทธรณ์เพิ่มเติมจากศาลฎีกาโดยวินิจฉัยออกคำพิพากษาขั้นสุดท้ายในอาณาเขตจักรวรรดิอังกฤษทั้งหมด[8]

นักเรียนนายทหาร

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1861 ผู้สำเร็จราชการเซอร์เฮอร์คิวลีส โรบินสัน ได้ก่อตั้งโรงเรียนนายทหารฮ่องกง ซึ่งคัดเลือกผู้สำเร็จการศึกษารุ่นใหม่จากสหราชอาณาจักร ให้เรียนภาษาจีนกวางตุ้งและการเขียนภาษาจีนเป็นเวลาสองปีก่อนที่จะรับเข้าปฏิบัติราชการอย่างรวดเร็ว นักเรียนนายทหารค่อย ๆ เป็นกำลังหลักของการบริหารราชการ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้มีเชื้อสายจีนได้รับอนุญาตให้เข้ารับการศึกษา และต่อมาผู้หญิงก็ได้เข้าศึกษาเช่นกัน นักเรียนนายทหารถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเจ้าหน้าที่บริหารในปี ค.ศ. 1950 และพวกเขายังคงเป็นแกนนำของข้าราชการพลเรือนในช่วงที่อังกฤษปกครอง[9]

เศรษฐกิจ

[แก้]

เสถียรภาพ ความปลอดภัย และความสามารถในการคาดเดาได้ของฝ่ายบริหารและระบบกฎหมายอังกฤษ ทำให้ฮ่องกงมีความเจริญรุ่งเรืองในฐานะศูนย์กลางการค้าระหว่างประเทศ[10] ในทศวรรษแรกของอาณานิคมรายได้จากการค้าฝิ่นเป็นแหล่งทุนหลักของรัฐบาล ความสำคัญของฝิ่นลดลงเมื่อเวลาผ่านไป แต่รัฐบาลอาณานิคมยังคงมีรายได้จากฝิ่นจนกระทั่งญี่ปุ่นเข้ายึดครองฮ่องกงในปี ค.ศ. 1941[10] แม้ว่าธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในอาณานิคมยุคแรกจะดำเนินการโดยชาวอังกฤษ อเมริกัน และชาวต่างชาติอื่น ๆ แต่คนงานชาวจีนเป็นกำลังแรงงานหลักในการพัฒนาเมืองท่าแห่งใหม่นี้[11]

ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 คนเชื้อสายจีนจำนวนมากได้กลายเป็นบุคคลสำคัญทางธุรกิจในฮ่องกง เช่น เซอร์ลี กาชิง ซึ่งกลายเป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดของอาณานิคมในเวลานั้น

เชิงอรรถ

[แก้]


อ้างอิง

[แก้]
  1. Main Results (PDF). 1996 Population By-Census (Report). Census and Statistics Department. ธันวาคม 1996. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 ตุลาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2018.
  2. 2.0 2.1 "Hong Kong". International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 6 September 2018.
  3. Gini Coefficient Fact Sheet (PDF) (Report). Legislative Council. ธันวาคม 2004. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2018.
  4. Hong Kong (PDF). Human Development Report 2016 (Report). United Nations Development Programme. 2016. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กรกฎาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2018.
  5. A Draft Agreement Between the Government of the United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland and the Government of the People's Republic of China on the Future of Hong Kong (1984). pp. 1, 8.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Hong Kong Government (July 1984). Green Paper: The Further Development of Representative Government in Hong Kong. Hong Kong: Government Printer.
  7. Lewis, D. J. (April 1983). "A Requiem for Chinese Customary Law in Hong Kong". The International and Comparative Law Quarterly 32 (2) : 347–379. Cambridge University Press. JSTOR 759499.
  8. Jones, Oliver (2014). "A Worthy Predecessor? The Privy Council on Appeal from Hong Kong, 1853 to 1997". In Ghai, Y.; Young, S. Hong Kong's Court of Final Appeal: The Development of the Law in China's Hong Kong. Cambridge: Cambridge University Press. SSRN 2533284.
  9. Tsang 2004, pp. 25–26.
  10. 10.0 10.1 Tsang 2004, p. 57.
  11. Tsang 2004, p. 58.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Snow, Philip (2004). The Fall of Hong Kong: Britain, China and the Japanese Occupation. Yale University Press. ISBN 0300103735.
  • Tsang, Steve (2004). A Modern History of Hong Kong. I. B. Tauris. ISBN 978-1-84511-419-0.

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • Carroll, John M. (2007). A Concise History of Hong Kong. Rowman & Littlefield. ISBN 9780742574694.
  • David Clayton (15 April 2007). Hong Kong since 1945: An Economic and Social History (1st ed.). Routledge. ISBN 978-0415202664.
  • Endacott, G. B. (1964). An Eastern Entrepot: A Collection of Documents Illustrating the History of Hong Kong. Her Majesty's Stationery Office. p. 293. ASIN B0007J07G6. OCLC 632495979.
  • Lui, Adam Yuen-chung (1990). Forts and Pirates – A History of Hong Kong. Hong Kong History Society. p. 114. ISBN 962-7489-01-8.
  • Liu, Shuyong; Wang, Wenjiong; Chang, Mingyu (1997). An Outline History of Hong Kong. Foreign Languages Press. p. 291. ISBN 978-7-119-01946-8.
  • Ngo, Tak-Wing (1 August 1999). Hong Kong's History: State and Society Under Colonial Rule. Routledge. p. 205. ISBN 978-0-415-20868-0.
  • Tsang, Steve (1995). Government and Politics: A Documentary History of Hong Kong. Hong Kong University Press. ISBN 962-209-392-2.
  • Welsh, Frank (1993). A Borrowed place: the history of Hong Kong. Kodansha International. p. 624. ISBN 978-1-56836-002-7.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
Wikiquote
Wikiquote
วิกิคำคมภาษาอังกฤษ มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ: British Hong Kong



อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "หมายเหตุ" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="หมายเหตุ"/> ที่สอดคล้องกัน