ซีลทีมซิกซ์
กองพัฒนาสงครามพิเศษกองทัพเรือ | |
---|---|
![]() ตราสัญลักษณ์ซีลทีมซิกซ์ | |
ประเทศ | ![]() |
รูปแบบ | ปฏิบัติการพิเศษ หน่วยภารกิจพิเศษ |
บทบาท | การปฏิบัติการพิเศษ การต่อต้านการก่อการร้าย การชิงตัวประกัน การปฏิบัติภารกิจโดยตรง การลาดตระเวนพิเศษ |
กำลังรบ | ผู้มีอำนาจ 1,787 คน:[1]
|
กองบัญชาการ | แดมเนกซ์แอนเนกซ์ สถานีอากาศนาวีโอเชียนา เวอร์จิเนียบีช รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐ |
สมญา | "ซีลทีมซิกซ์", "เดฟกรู", "กองกำลังเฉพาะกิจสีน้ำเงิน", "เอ็นเอสดับเบิลยูดีจี" |
คำขวัญ | เพื่อบางสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า[2] |
ค่านิยมหลัก | |
ปฏิบัติการ สำคัญ |
ปฏิบัติการเออเจินฟิวรี การจี้เครื่องบินทีดับเบิลยูเอ เที่ยวบินที่ 847 การจี้เรืออากิลเล ลาอูโร ปฏิบัติการโอกาสครั้งสำคัญ ปฏิบัติการจัสต์คอส ปฏิบัติการพายุทะเลทราย สงครามกลางเมืองโซมาเลีย |
กองพัฒนาสงครามพิเศษกองทัพเรือ (อังกฤษ: Naval Special Warfare Development Group; อักษรย่อ: NSWDG) เป็นที่รู้จักในนาม เดฟกรู (อักษรย่อ: DEVGRU; อังกฤษ: DEVelopment GRoUp) หรือ ซีลทีมซิกซ์ (อังกฤษ: SEAL Team Six)[3][4] เป็นส่วนเสริมกองทัพเรือสหรัฐของกองบัญชาการร่วมปฏิบัติการพิเศษ (JSOC) ซึ่งมักได้รับการอ้างถึงภายในกองบัญชาการดังกล่าวในฐานะ กองกำลังเฉพาะกิจสีน้ำเงิน (อังกฤษ: Task Force Blue)[4] เดฟกรูได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายบริหารโดยหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ และสั่งการดำเนินการโดยกองบัญชาการร่วมปฏิบัติการพิเศษ ข้อมูลส่วนใหญ่เกี่ยวกับเดฟกรูจัดอยู่ในประเภทและรายละเอียดของกิจกรรมที่มักจะไม่ได้รับความเห็นโดยกระทรวงกลาโหมหรือทำเนียบขาว[5] แม้จะมีการเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการ แต่ "ซีลทีมซิกซ์" ยังคงเป็นชื่อเล่นของหน่วยที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง
เดฟกรูและกองทัพบกที่คล้ายกัน, เดลตาฟอร์ซ เป็นหน่วยภารกิจพิเศษระดับ 1 ของทหารสหรัฐ ซึ่งทำหน้าที่ปฏิบัติการภารกิจที่ซับซ้อน, เป็นความลับทางราชการ และอันตรายที่สุด ซึ่งบังคับบัญชาโดยคณะผู้บัญชาการแห่งชาติ[6][7] เดฟกรูดำเนินภารกิจพิเศษต่าง ๆ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย, การชิงตัวประกัน, การลาดตระเวนพิเศษ และการปฏิบัติภารกิจโดยตรง (การปะทะระยะใกล้ หรือปฏิบัติการรุกขนาดเล็ก) ซึ่งมักจะปะทะกับเป้าหมายที่มีค่าสูง[8]
ประวัติ[แก้]
ต้นกำเนิดของเดฟกรูอยู่ในหน่วยซีลทีมซิกซ์ ซึ่งเป็นหน่วยที่สร้างขึ้นจากผลพวงของปฏิบัติการกรงเล็บอินทรี[9][10][11] ในช่วงวิกฤตการณ์ตัวประกันอิหร่านในปี พ.ศ. 2522 ริชาร์ด มาร์ซินโก ได้เป็นหนึ่งในสองผู้แทนกองทัพเรือสหรัฐสำหรับกองกำลังเฉพาะกิจคณะเสนาธิการร่วมที่รู้จักกันในชื่อทีเอที (Terrorist Action Team) วัตถุประสงค์ของทีเอทีคือเพื่อพัฒนาแผนการปลดปล่อยตัวประกันชาวอเมริกันที่ถูกจับในประเทศอิหร่าน โดยหลังจากเกิดความย่อยยับที่ฐานเดสเสิร์ตวันในประเทศอิหร่านแล้ว กองทัพเรือก็ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายเต็มเวลา และมอบหมายให้มาร์ซินโกออกแบบและพัฒนา

มาร์ซินโกเป็นผู้บังคับบัญชาคนแรกของหน่วยใหม่นี้ ซึ่งในขณะนั้นมีทีมซีลเพียงสองทีมคือซีลทีมวัน และซีลทีมทู มาร์ซินโกตั้งชื่อหน่วยซีลทีมซิกซ์เพื่อสร้างความสับสนให้แก่หน่วยสืบราชการลับของสหภาพโซเวียตกับจำนวนทีมซีลที่มีอยู่จริง[11][12][13] แพลงก์โอนเนอร์ของหน่วย (สมาชิกผู้ก่อตั้ง) ได้รับการสัมภาษณ์และคัดเลือกโดยมาร์ซินโกจากทั่วชุมชนทีมทำลายใต้น้ำ/ซีล ซีลทีมซิกซ์ได้รับหน้าที่อย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2523 และโปรแกรมการฝึกการทำงานที่เข้มข้นและก้าวหน้า ทำให้หน่วยพร้อมปฏิบัติภารกิจในอีกหกเดือนต่อมา[13] ซีลทีมซิกซ์กลายเป็นหน่วยกู้ภัยตัวประกันและต่อต้านการก่อการร้ายชั้นนำของกองทัพเรือสหรัฐ ซึ่งได้รับการเปรียบเทียบกับเดลตาฟอร์ซชั้นยอดของกองทัพบกสหรัฐ[5][10] มาร์ซินโกตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยซีลทีมซิกซ์เป็นเวลาสามปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2526 แทนที่จะเป็นผู้บังคับบัญชาสองปีในกองทัพเรือในเวลานั้น[11] ซีลทีมซิกซ์เริ่มต้นด้วยมือปืน 75 นาย อ้างอิงจากมาร์ซินโก เงินสมทบการฝึกอาวุธยุทธภัณฑ์ประจำปีนั้นสูงกว่าของเหล่านาวิกโยธินสหรัฐฯทั้งหมด[ต้องการอ้างอิง][งานค้นคว้าต้นฉบับ?] หน่วยนี้มีทรัพยากรไม่จำกัดในการทำลายล้าง[14] ในปี พ.ศ. 2527 มาร์ซินโกและสมาชิกหนึ่งโหลของซีลทีมซิกซ์จะก่อตั้ง "เรดเซลล์" (หรือที่เรียกว่าโอพี-06ดี) ซึ่งเป็นหน่วยพิเศษที่ออกแบบมาเพื่อทดสอบความมั่นคงของการเข้าประจำตำแหน่งทางทหารของอเมริกา
ในปี พ.ศ. 2530 ซีลทีมซิกซ์ถูกยุบ และมีการจัดตั้งหน่วยใหม่ที่ชื่อ "กองพัฒนาสงครามพิเศษทางเรือ" ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วเป็นผู้สืบทอดของซีลทีมซิกซ์[3][15][16] เหตุผลในการยุบนั้นมีหลายประการ[11] แต่ชื่อซีลทีมซิกซ์มักใช้ในการอ้างอิงถึงเดฟกรู
หน้าที่และความรับผิดชอบ[แก้]

ภารกิจเต็มรูปแบบของเดฟกรูเป็นความลับทางราชการ แต่คิดว่าจะรวมถึงการชิงโจมตีก่อน, ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายในเชิงรุก, การต่อต้านการแพร่ขยายอาวุธ (ความพยายามในการป้องกันการแพร่กระจายของอาวุธธรรมดาและอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูง) รวมถึงการกำจัดหรือการเอากลับคืนเป้าหมายที่มีค่าสูง (HVT) จากประเทศที่มุ่งร้าย[17][18] เดฟกรูเป็นหนึ่งในหน่วยภารกิจพิเศษของสหรัฐที่อนุญาตให้ใช้ปฏิบัติการชิงโจมตีก่อนกับผู้ก่อการร้ายและยุทโธปกรณ์ของพวกเขา[19]
ดูเพิ่ม[แก้]
- หน่วยยุทธการเฉพาะกิจรบพิเศษที่ 1 - เดลตา (สหรัฐ)
- หน่วยอัลฟา และหน่วยวิมเพล (รัสเซีย)
หมายเหตุ[แก้]
- ↑ "SEAL Team 6 by the Numbers – Foreign Policy". 28 July 2015. Archived from the original on 28 July 2015. สืบค้นเมื่อ 10 June 2017.CS1 maint: BOT: original-url status unknown (link)
- ↑ [1]
- ↑ 3.0 3.1 von Rosenbach, Alexander (May 4, 2011). "Devgru: Bin Laden's ultimate nemesis". IHS Jane's Defense & Security Intelligence & Analysis. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ May 9, 2011. สืบค้นเมื่อ June 18, 2013.
Devgru was established in 1987 as the successor to SEAL Team 6 (although it is still colloquially known by this name). The unit serves as the US Navy's dedicated counter-terrorism unit and is believed to consist of about 200 personnel.
- ↑ 4.0 4.1 Naylor, Sean. Relentless Strike. Chapter 4.CS1 maint: location (link)
- ↑ 5.0 5.1 Emerson, Steven (13 November 1988). "Stymied Warriors". The New York Times Magazine. สืบค้นเมื่อ 13 March 2008.
- ↑ https://nationalinterest.org/blog/buzz/us-armys-delta-force-how-secret-group-deadly-soldiers-came-be-55057
- ↑ "In high demand, Air Force commandos must find new ways to cope with stress of duty". The Gaffney Ledger. Gaffney, South Carolina. Associated Press. สืบค้นเมื่อ 2013-05-04.
- ↑ https://www.jcs.mil/Portals/36/Documents/Doctrine/pubs/jp3_05.pdf
- ↑ Fallows, James (13 December 1981). "Iran from five American viewpoints". The New York Times.
- ↑ 10.0 10.1 Halloran, Richard (26 November 1986). "U.S. moving to expand unconventional forces". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 7 May 2011.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 Marcinko, Richard (1992). Rogue Warrior. New York: Pocket Books. ISBN 978-0-671-79593-1.
- ↑ Pfarrer, Chuck (2011). SEAL Target Geronimo: The Inside Story of the Mission to Kill Osama Bin Laden. Macmillan. p. 178. ISBN 978-1-4299-6025-0.
- ↑ 13.0 13.1 Gerth, Jeff; Philip Taubman (8 June 1984). "U.S. military creates secret units for use in sensitive tasks abroad". The New York Times.
- ↑ Wasdin, Howard (9 May 2011). "'SEAL Team Six' And Other Elite Squads Expanding". NPR. สืบค้นเมื่อ 19 May 2011.
- ↑ "Naval Special Warfare Development Group (DEVGRU)". Global Security. สืบค้นเมื่อ 18 June 2013.
- ↑ Ambiner, Marc (10 October 2012). "Delta Force Gets a Name Change". The Atlantic. สืบค้นเมื่อ 18 June 2013.
- ↑ Shanker, Thom; Risen, James (12 August 2002). "Rumsfeld weighs new covert acts by military units". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 7 May 2011.
- ↑ "Frequently Asked Questions". LT Michael P. Murphy USN. United States Navy. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 9 April 2008. สืบค้นเมื่อ 20 May 2008.
- ↑ U.S. Special Ops: America's Elite Forces in the 21st Century, Fred J. Pushies, MBI Publishing Company, 2003.
อ้างอิง[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ซีลทีมซิกซ์ |
- Gormly, Robert A. (1999). Combat Swimmer: Memoirs of a Navy SEAL. New York: Penguin Group. ISBN 978-0-451-19302-5.
- MacPherson, Malcolm (2006). Roberts Ridge: A Story of Courage and Sacrifice on Takur Ghar Mountain, Afghanistan. New York: Bantam Dell. ISBN 978-0-553-58680-0.
- Shipler, David K.; Halloran, Richard (26 November 1985). "Terror: Americans as targets". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 7 May 2011.