ข้ามไปเนื้อหา

สโมสรฟุตบอลไดสตาร์ กรุงเทพฯ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไดสตาร์กรุงเทพ
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลไดสตาร์ กรุงเทพฯ พาณิชย์การ
ฉายาสตางค์รู
ก่อตั้งพ.ศ. 2533 (ในนาม สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ)
ยุบพ.ศ. 2542[1]
ประธานพงศ์พินิจ อินทรทูต
ผู้จัดการวรวรรณ ชิตะวณิช
ฤดูกาลสุดท้าย
2542

อันดับที่ 12
พ้นสมาชิกภาพสมาคมฯและยุบสโมสร
สีชุดทีมเยือน

สโมสรฟุตบอลไดสตาร์ กรุงเทพฯ โดยเริ่มแรกได้ส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันในนามของ ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2542 จึงได้เปลื่ยนชื่อสโมสรเป็น สโมสรฟุตบอลไดสตาร์ กรุงเทพฯ และได้ยุบสโมสรหลังจากที่ตกชั้นใน ไทยลีก ฤดูกาล 2542

ประวัติสโมสร

[แก้]

สโมสรฟุตบอลไดสตาร์กรุงเทพ ในอดีตได้ส่งลงแข่งขันครั้งแรกในนาม สโมสรธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ โดยในช่วงก่อตั้งสโมสรใหม่ๆ ทางสโมสรฯได้ ดึงตัว ประวิทย์ ไชยสาม อดีตผู้ฝึกสอน ทีมชาติไทย มาดูแลทีมร่วมกับ สุรินทร์ เข็มเงิน ผู้ฝึกสอนฟุตบอลของ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โดยนักฟุตบอลส่วนใหญ่ของทีมมีเกียรติประวัติ ติดทีมชาตินักเรียนไทย และทีมชาติไทย ชุดเยาวชนแทบทั้งสี้น โดยในปี พ.ศ. 2533 สโมสรฯ ได้ส่งเข้าร่วมแข่งขัน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. และเข้ารอบ 4 ทีมสุดท้าย ทำให้ได้สิทธิ์เลื่อนชั้นมาเล่นใน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค. [2]

ถ้วย ค. และควีนส์คัพ

[แก้]

หลังจากที่ทีมได้เลื่อนชั้นมาเล่นใน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค. ในปี 2534 ทางผลงานของสโมสรกลับไม่สู้ดีเท่าไรนักโดย ผลงานของสโมสรต้องอยู่ใน ถ้วย ค. ถึง ปี 2537 สโมสรสามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศ และเลื่อนชั้นมาเล่นใน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. อนึ่งในช่วงปี 2534 และ 2535 ทางสโมสรฯ ได้ส่งเข้าร่วมแข่งขัน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ควีนสคัพ ในนามของ สโมสรฟุตบอลราชวิถี และทำผลงานได้เป็นที่น่าจับตามองจากสื่อมวลชนกีฬาสมัยนั้น

ถ้วย ข. และ ถ้วย ก.

[แก้]

หลังจากที่สโมสรคว้าตำแหน่งชนะเลิศ ถ้วยพระราชทานประเภท ค. และเลื่อนชั้นมาได้แล้วนั้น สโมสรเองได้รับการจับตามองจากสื่อกีฬาในสมัยนั้นอย่างหลีกเลื่ยงไม่ได้ จากการที่สโมสรมีนักฟุตบอลระดับทีมชาติไทย ในระดับเยาวชน หลายรายเช่น อาทิตย์ ธนูศร, ตะวัน ศรีปาน, วัชรกร อันทะคำภู รวมไปถึงนักฟุตบอลตัวหลักๆในทีม ที่มีประสบการณ์ในฟุตบอลไทยมาก่อนหน้าเช่น ชลอ หงษ์ขจร, อดุลย์ มหาเรือนลาภ, ดนัย วิสุทธิแพทย์ เป็นต้น[2] และสโมสรก็สามารถเลื่อนชั้นมาเล่นใน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ก. ได้สำเร็จ[3]

ระบบลีกอาชีพ

[แก้]

หลังจากที่สโมสรลงเล่นใน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ก. ฤดูกาล 2538 ต่อมาทาง สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ดำริที่จะจัดการแข่งขันฟุตบอลในระบบ ลีกอาชีพขึ้น โดยได้นำ 18 สโมสรที่ลงเล่น มาแข่งขันในนามของ 2539/40 ซึ่งสโมสร ก็นับว่าเป็นหนึ่งสโมสรที่ก่อตั้งลีกสูงสุดด้วย โดยเกมในลีกอาชีพเกมแรกของสโมสร คือเกมที่แข่งกับ สโมสรราชวิถี โดย ธเนศ บุญลาภ ได้ถูกบันทึกว่าเป็นนักเตะคนแรกของสโมสรที่ยิงประตูได้ในระบบฟุตบอลลีก[4] แต่อย่างไรก็ดี ด้วยการที่ผลงานของสโมสรไม่สม่ำเสมอ และประกอบกับทางสมาคมฯ ในยุคนั้นเปลื่ยนแปลงสโมสรที่ตกชั้น โดยให้ตกชั้น ถึง 5 สโมสร ทำให้สโมสรตกชั้นแบบไม่ได้รับความเป็นธรรมนัก

จุดจบสโมสร

[แก้]

หลังจากที่ตกชั้นจาก ไทยลีก ฤดูกาล 2539/40 สโมสรได้สิทธิ์ลงเล่นในการแข่งขัน ไทยแลนด์ลีก ดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2540 โดยในปีนั้น สโมสรจบฤดูกาลที่ อันดับที่ 5 ก่อนที่ใน ฤดูกาล 2541 สโมสรสามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศ ลีกได้สำเร็จ แต่ทว่า ใน ฤดูกาล 2542 สโมสรได้ทำการเปลื่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลไดสตาร์ กรุงเทพฯ พาณิชย์การ เนื่องเพราะในช่วงนั้น ทางองค์กรที่สนับสนุนสโมสรอย่าง ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ เริ่มมีปัญหาทางการเงินอย่างหนัก และผลงานของสโมสรกลับแย่ไปมาก โดยเมื่อจบฤดูกาลนั้น สโมสร แพ้ไปถึง 20 นัด และมีแค่ 2 คะแนน และนอกเหนือจากนี้ ในเกมนัดสุดท้ายของฤดูกาลนั้น (11 ธันวาคม พ.ศ. 2542) สโมสรต้องพบกับ สโมสรทหารอากาศ ซึ่งในเกมนัดนั้น สโมสรแพ้ ถึง 10 ประตูต่อ 0 ซึ่งกลายเป็นกรณีข้อสงสัย จนทาง สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ต้องมาสอบสวนว่าเป็นการล๊อคผลหรือไม่ ซึ่งในเวลาต่อมา คณะกรรมการสอบสวนฯ ที่นำโดย วิรัช ชาญพานิชย์ มีมติให้สโมสร พ้นจากสมาชิกภาพของสมาคมฟุตบอลฯ[5] (จากเดิม ที่ตกชั้นใน ไทยลีกดิวิชัน 1) และลงโทษ พงศ์พินิจ อินทรทูต และ วรวรรณ ชิตะวณิช ในฐานะ ผู้จัดการทีมและผู้ฝึกสอน ห้ามยุ่งเกี่ยวกับฟุตบอล เป็นเวลา 1 ปี และ 6 เดือนตามลำดับ [6]แต่ต่อมาสโมสรฯได้ยุบทีมเนื่องจากปัญหาทางการเงินในท้ายที่สุด

ชื่อของสโมสร

[แก้]
  • สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ (2533-2541)
  • สโมสรฟุตบอลไดสตาร์ กรุงเทพฯ พาณิชย์การ (2542)

อดีตผู้เล่นคนสำคัญ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=216759.15;wap2 ถามแฟนพันธ์แท้ไทยลีกหน่อยครับ-ไทยแลนด์สู้ๆ
  2. 2.0 2.1 หน้า 13-15 ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ "ทีมน้องใหม่ ที่กำลังมาแรง" . ฟุตบอลสยาม รายสัปดาห์ ฉบับที่ 664: 22-28 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
  3. https://www.facebook.com/pg/thaifootballcyclopedia/photos/?tab=album&album_id=481292691898439 ถ้วยพระราชทาน ก.2538 (ปีสุดท้ายของการแข่งขันระบบทัวร์นาเมนท์) - สารานุกรมฟุตบอลไทย
  4. https://www.facebook.com/pg/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9F%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%95-By-Tommy-Bar-176428522789930/photos/?tab=album&album_id=294749527624495 ไทยแลนด์ลีก ครั้งที่ 1 - รูปภาพฟุตบอลไทยในอดีต By Tommy Bar
  5. http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=4463.10;wap2 เก็บถาวร 2021-09-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กระโดดถีบแบบนี้...แบน5ปีน้อยไปโว้ย! - ไทยแลนด์สู้ๆ
  6. http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=51606.50;wap2 เก็บถาวร 2021-09-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ทุเรศอิ๊บหายยยยยยยย!!!! - ไทยแลนด์สู้ๆ