สเปซเอ็กซ์ ครูว์-3
SpaceX Crew-3 | |
---|---|
จรวดฟัลคอน 9 กับแคปซูล เอนดิวแรนซ์ ถูกปล่อยจากฐาน LC-39A พร้อมลูกเรือสเปซเอ็กซ์ ครูว์-3 บนยาน | |
รายชื่อเก่า | USCV-3 |
ประเภทภารกิจ | การส่งลูกเรือไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ |
ผู้ดำเนินการ | สเปซเอ็กซ์ |
COSPAR ID | 2021-103A |
SATCAT no. | 49407 |
ระยะภารกิจ | 176 วัน 2 ชั่วโมง 39 นาที |
ข้อมูลยานอวกาศ | |
ยานอวกาศ | Dragon |
ชนิดยานอวกาศ | ครูว์ดรากอน |
ผู้ผลิต | สเปซเอ็กซ์ |
มวลขณะส่งยาน | 12,055 kg (26,577 lb)[1] |
บุคลากร | |
ผู้โดยสาร | 4 |
รายชื่อผู้โดยสาร | |
เอ็กซ์เพดิชัน | Expedition 66 / 67 |
เริ่มต้นภารกิจ | |
วันที่ส่งขึ้น | 11 พฤศจิกายน 2021, 02:03:31 UTC |
จรวดนำส่ง | ฟัลคอน 9 บล็อก 5 (B1067.2) |
ฐานส่ง | ศูนย์อวกาศเคนเนดี, LC-39A |
ผู้ดำเนินงาน | สเปซเอ็กซ์ |
สิ้นสุดภารกิจ | |
เก็บกู้โดย | MV Shannon |
ลงจอด | 6 พฤษภาคม 2022, 04:43 UTC[2] |
พิกัดลงจอด | อ่าวเม็กซิโก |
ลักษณะวงโคจร | |
ระบบอ้างอิง | วงโคจรรอบโลก |
ระบบวงโคจร | วงโคจรต่ำของโลก |
ความเอียง | 51.66° |
Docking with สถานีอวกาศนานาชาติ | |
Docking port | Harmony forward |
Docking date | 11 พฤศจิกายน 2021, 23:32 UTC |
Undocking date | 5 พฤษภาคม 2022, 05:20 UTC [3][2] |
Time docked | 174 วันและ 6 ชั่วโมง |
เครื่องหมายภารกิจสเปซเอ็กซ์ ครูว์-3 Chari, Marshburn, Maurer and Barron |
สเปซเอ็กซ์ ครูว์-3 (อังกฤษ: SpaceX Crew-3) เป็นเที่ยวบินปฏิบัติการครั้งที่สามของยานอวกาศครูว์ดรากอน และเป็นเที่ยวบินที่มีลูกเรือเข้าสู่วงโคจรครั้งที่สี่ของคอมเมอร์เชียลครูว์โปรแกรม ภารกิจการปล่อยยานไปยังสถานีอวกาศนานาชาติสำเร็จเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 2021 เวลา 02:03:31 น. UTC[4]
การส่งลูกเรือครั้งนี้ทำให้จำนวนมนุษย์ทั้งหมดที่เคยไปอวกาศมีมากกว่า 600 คนโดยลำดับที่ 600 และ 601 คือเมาเรอร์และแบร์รอนตามลำดับ[5]
ชื่อภารกิจ
[แก้]แคปซูลยานครูว์ดรากอนได้รับการตั้งชื่อโดยทีมลูกเรือเริ่มต้นว่า เอนเดเวอร์ Endeavour สำหรับแคปซูลแรกและ รีซิลเลียน Resilience สำหรับแคปซูลสอง เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2564 มีการประกาศให้แคปซูลที่สามมีชื่อว่า เอนดิวแรนซ์ Endurance[6] เพื่อเป็นเกียรติแก่ทีมงานสเปซเอ็กซ์และนาซาที่ฝ่าฟันการระบาดใหญ่ สร้างยานอวกาศและฝึกนักบินอวกาศที่จะบินไปด้วย[7] ชื่อนี้ยังถูกตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่เรือสามกระโดง Endurance ที่เออร์เนส แชคเคลตันใช้ในโครงการสำรวจทวีปแอนตาร์กติกาในยุคจักรวรรดิอังกฤษ โดยเรือดังกล่าวได้ติดน้ำแข็งก่อนที่จะถึงแอนตาร์กติกาและจมลงในปี ค.ศ. 1915[8]
ลูกเรือ
[แก้]ผู้ได้รับเลือกคนแรกคือ มัสทีอัส เมาเรอร์ นักบินอวกาศชาวเยอรมันจากองค์การอวกาศยุโรป (ESA) ได้รับเลือกเมื่อเดือนกันยายน 2020[9][10][11] จากนั้นนักบินอวกาศสองคนของนาซา ราชา ชารี และทอมัส มาร์ชเบิร์น ได้รับเลือกเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2020[12][13] ที่นั่งลำดับที่สี่นั้นแต่เดิมถูกสำรองไว้ให้กับนักบินอวกาศรัสเซีย นับเป็นจุดเริ่มต้นของข้อตกลงการแลกเปลี่ยนระหว่างนาซาของสหรัฐกับรอสคอสมอสของรัสเซียที่จะให้นักบินอวกาศของตนได้มีที่นั่งทั้งในยานโซยุซและยานคอมเมอร์เชียลครูว์ แม้ว่าสตีฟ จอร์ชิก ผู้อำนวยการนาซาในขณะนั้นได้ออกมากล่าวในเดือนเมษายน ค.ศ. 2021 ว่าข้อตกลงนี้ยังไม่น่าจะเริ่มได้จนกว่าจะปล่อยยานครูว์-3 แล้ว[14] เดือนพฤษภาคม 2021 ที่นั่งลำดับที่สี่จึงเป็นของเคย์ลา แบร์รอนจากนาซา[15]
ชารีเป็นนักบินอวกาศมือใหม่คนแรกที่สั่งการภารกิจอวกาศของนาซานับตั้งแต่สกายแล็บ 4 ในการส่งลูกเรือไปยังสถานีอวกาศสกายแล็บ ในปี ค.ศ. 1973 โดยในปีนั้น เจอรัลด์ คาร์ ซึ่งไม่เคยบินในอวกาศมาก่อน ได้เคยบังคับการลูกเรือสามคนในเที่ยวบิน 84 วันบนสกายแล็บ[16] และยังเที่ยวบินอวกาศเที่ยวแรกของเมาเรอร์และแบร์รอนอีกด้วย[17]
- นักบินอวกาศที่ขึ้นบินไปกับยาน
ตำแหน่ง | นักบินอวกาศ | |
---|---|---|
ผู้บัญชาการ | ราชา ชารี (Raja Chari), NASA เอ็กซ์เพดิชัน 66 / 67 ขึ้นสู่อวกาศครั้งแรก | |
นักบิน | ทอมัส มาร์ชเบิร์น (Thomas Marshburn), NASA เอ็กซ์เพดิชัน 66 / 67 ขึ้นสู่อวกาศครั้งที่สาม | |
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านภารกิจ 1 [18] | มัสทีอัส เมาเรอร์ (Matthias Maurer), ESA เอ็กซ์เพดิชัน 66 / 67 ขึ้นสู่อวกาศครั้งแรก | |
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านภารกิจ 2 [18] | เคย์ลา แบร์รอน (Kayla Barron), NASA เอ็กซ์เพดิชัน 66 / 67 ขึ้นสู่อวกาศครั้งแรก | |
อ้างอิง:[18][19][10][12][13][15] |
- นักบินอวกาศสำรอง
ตำแหน่ง | นักบินอวกาศ | |
---|---|---|
ผู้บัญชาการ | Kjell N. Lindgren, NASA | |
นักบิน | Robert Hines, NASA | |
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านภารกิจ 1 | Samantha Cristoforetti, ESA | |
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านภารกิจ 2 | Stephanie Wilson, NASA | |
อ้างอิง:[20][21][22] |
ชารีและแบร์รอน นักบินอวกาศสองคนแรกของนักบินอวกาศนาซากลุ่ม 22 (ชื่อเล่น The Turtles หรือ เต่า) ที่ได้ขึ้นสู่อวกาศโดยสเปซเอ็กซ์ครูว์-3 ได้นำตุ๊กตาเต่ายัดนุ่นติดตัวไปเพื่อใช้เป็นตัวบ่งชี้สภาวะไร้แรงโน้มถ่วง และเพื่อสื่อถึงกลุ่มนักบินอวกาศของพวกเขา[23] นอกจากนี้ เพื่อรวมเรื่องราวของสมาชิกลูกเรือบนยานอีกสองคน เต่าตัวนี้ได้รับการตั้งชื่อว่า "Pfau" ซึ่งเป็นคำภาษาเยอรมันที่แปลว่า "นกยูง" สำหรับเมาเรอร์ซึ่งเป็นชาวเยอรมัน และสำหรับมาร์ชเบิร์นหมายถึงชื่อเล่นของนักบินอวกาศนาซากลุ่ม 19 ที่มีชื่อว่า The Peacocks หรือ นกยูง[24]
ภารกิจ
[แก้]ตามแผนเดิมภารกิจปฏิบัติการสเปซเอ็กซ์ครั้งที่สามในโครงการคอมเมอร์เชียลครูว์โปรแกรมนี้ ยานถูกกำหนดให้ปล่อยในวันที่ 31 ตุลาคม 2021[25] แต่ถูกเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 3 พฤศจิกายน 2021 เนื่องจากสภาพอากาศในมหาสมุทรแอตแลนติกไม่เอื้ออำนวย[26] และเลื่อนออกไปอีกครั้งเป็นวันที่ 7 พฤศจิกายน 2021 เนื่องจากปัญหาทางการแพทย์เล็กน้อยของนักบินอวกาศ[27] เนื่องจากมีการประเมินว่าสภาพอากาศจะเลวร้าย จึงได้เลื่อนการปล่อยยานอีกครั้งเป็นวันที่ 9 พฤศจิกายน 2021[28]
เนื่องจากความล่าช้าในการปล่อยยาน นาซาจึงได้ตัดสินใจนำนักบินอวกาศจากภารกิจครูว์-2 ที่ได้ปฏิบัติภารกิจบนสถานีอวกาศนานาชาติกลับโลกก่อนที่จะปล่อยยานครูว์-3 นับเป็นการส่งไม้ต่อลูกเรือสถานีอวกาศนานาชาติทางอ้อมครั้งแรกของครูว์ดรากอน[29] สเปซเอ็กซ์ครูว์-2 ได้ออกจากสถานีอวกาศเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน และตกลงมาถึงโลกเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2021 สุดท้ายยานสเปซเอ็กซ์ครูว์-3 จึงได้ถูกปล่อยเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2021 เวลา 02:03:31 UTC ณ แหลมคะแนเวอรัล[30]
ภารกิจในส่วนของยุโรปมีชื่อว่า "Cosmic Kiss"[31]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Dragon Endurance". NASA. 14 November 2021. สืบค้นเมื่อ 15 November 2021.
Mass: 12055 kg
- ↑ 2.0 2.1 Kelvey, Jon (2 May 2022). "Nasa's Crew-3 astronauts set to return to Earth this week". The Independent (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 3 May 2022.
Nasa’s head of human spaceflight Kathy Lueders said the space agency aims to have the Crew-3 astronauts undock from the ISS in their Crew Dragon spacecraft around pm EDT on Wednesday 4 May, with a splashdown off the Florida coast to follow on 5 May.
- ↑ Kanayama, Lee (27 April 2022). "Crew Dragon Freedom makes its first docking at the ISS on the Crew-4 mission". NASASpaceFlight.com. สืบค้นเมื่อ 3 May 2022.
This handover is expected to be complete by May 4, when Endurance is slated to depart the ISS, however this timeline will be contingent on recovery weather conditions.
- ↑ "SpaceX debuts new Dragon capsule in launch to the International Space Station". Spaceflight Now. 11 November 2021.
- ↑ Roulette, Joey (10 November 2021). "More than 600 human beings have now been to space". สืบค้นเมื่อ 11 November 2021.
They've tipped the number of people to have gone to space to over 600, according to a tally maintained by NASA
- ↑ NASA's SpaceX Crew1 Post-Splashdown Briefing. NASA Video. 2 May 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 October 2021. สืบค้นเมื่อ 2 November 2021 – โดยทาง YouTube. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ Wall, Mike (2021-10-07). "Meet "Endurance": New SpaceX Crew Dragon capsule gets a name". Space.com. สืบค้นเมื่อ 2021-11-14.
- ↑ "Astronauts choose "Endurance" as name for new SpaceX crew capsule". Spaceflight Now. 8 October 2021. สืบค้นเมื่อ 8 October 2021.
- ↑ Brown, Mike (1 October 2020). "SpaceX and NASA Detail a Packed 12 months for Crew Dragon: What to Know". Inverse. สืบค้นเมื่อ 16 November 2020.
- ↑ 10.0 10.1 Becker, Joachim Wilhelm Josef (13 November 2020). "Spaceflight mission report: SpaceX Crew-3". Space Facts. สืบค้นเมื่อ 16 November 2020.
- ↑ Crewed Spaceflight Tweets [@MannedTweets] (8 September 2020). "BREAKING NEWS ‼ Michal Vaclavik, Czech representative at ESA: Now baked at ESA. It is clear that ESA astronaut Thomas Pesquet will fly on Crew-2, but we have now agreed that another ESA astronaut, Matthias Maurer, will fly to Crew-3 in September 2021. @ShuttleAlmanac t.co/lQ7LPYfaDp" (ทวีต). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2021. สืบค้นเมื่อ 2 November 2021 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ 12.0 12.1 Potter, Sean (14 December 2020). "NASA, ESA Choose Astronauts for SpaceX Crew-3 Mission to Space Station". NASA. สืบค้นเมื่อ 14 December 2020. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ 13.0 13.1 Clark, Stephen (29 December 2020). "Three astronauts assigned to Crew Dragon mission in late 2021". Spaceflight Now. สืบค้นเมื่อ 29 December 2020.
- ↑ Clark, Stephen. "NASA chief: Russian cosmonauts unlikely fly on U.S. crew capsules until next year". Spaceflight Now. สืบค้นเมื่อ 24 April 2021.
- ↑ 15.0 15.1 "Kayla Barron Joins NASA's SpaceX Crew-3 Mission to Space Station". NASA. 17 May 2021. สืบค้นเมื่อ 17 May 2021.
- ↑ "Raja Chari is the first rookie astronaut in 48 years to command a NASA mission". Spaceflight Now. 10 November 2021. สืบค้นเมื่อ 11 November 2021.
- ↑ "SpaceX launches mostly-rookie Crew-3 mission to ISS". nasaspaceflight.com. NASASpaceFlight.com. 10 November 2021. สืบค้นเมื่อ 11 November 2021.
- ↑ 18.0 18.1 18.2 "JSR 799 draft". Jonathan's Space Report. 10 November 2021. สืบค้นเมื่อ 11 November 2021.
- ↑ "NASA assigns astronauts for third SpaceX commercial crew mission". SpaceNews. 14 December 2020. สืบค้นเมื่อ 21 December 2020.
- ↑ Whiting, Melanie (7 March 2016). "Kjell N. Lindgren (M.D.) NASA Astronaut". NASA. สืบค้นเมื่อ 7 May 2021. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ "Robert Hines NASA Astronaut". NASA. 26 April 2021. สืบค้นเมื่อ 13 June 2021. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ Marshburn, Thomas [@AstroMarshburn] (12 June 2021). "Had a great week in Cologne, Germany, home of our crewmate @astro_matthias Our backup, @Astro_Stephanie joined us for our final training trip to the European Space Agency before we launch this fall! t.co/Zn8TaDn9NK" (ทวีต). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2021. สืบค้นเมื่อ 2 November 2021 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "SpaceX Crew-3". Twitter. สืบค้นเมื่อ 11 November 2021.
- ↑ "Crew-3 Mission". YouTube. สืบค้นเมื่อ 12 November 2021.
- ↑ Sempsrott, Danielle (19 October 2021). "NASA, SpaceX Adjust Next Crew Launch Date to Space Station". NASA. สืบค้นเมื่อ 20 October 2021.
- ↑ Sempsrott, Danielle (30 October 2021). "NASA, SpaceX Adjust Next Space Station Crew Rotation Launch Date". NASA. สืบค้นเมื่อ 30 October 2021.
- ↑ "SpaceX's Crew-3 astronaut launch for NASA delayed by "minor medical issue"". Space.com. 1 November 2021. สืบค้นเมื่อ 5 November 2021.
- ↑ "NASA rules out weekend Crew Dragon launch, may bring station crew home first". Spaceflight Now. 4 November 2021. สืบค้นเมื่อ 5 November 2021.
- ↑ "SpaceX crew launch bumped to next week; astronaut on mend". Associated Press. 4 November 2021. สืบค้นเมื่อ 5 November 2021.
- ↑ "Forum Crew-3". NASASpaceFlight.com. 5 November 2021. สืบค้นเมื่อ 6 November 2021.
- ↑ "ESA astronaut Matthias Maurer officially assigned first flight". esa.int. ESA. 14 December 2020. สืบค้นเมื่อ 15 December 2020.